วิทยาศาสตร์ ป.3 น้ํา และอากาศ แบบฝึกหัด

คุณครูสามารถติดตามบทความการศึกษาก่อนใครได้ที่ ครูประถม ได้ที่ Line Open Chat เข้าร่วมกลุ่ม Line คลิกที่นี่ หรือ Page Facebook ครูประถม

ข่าวการศึกษา โดย ครูประถม. เพื่อส่งเสริมครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเกียวการส่งเราจึงเตรียม ข่าวการศึกษา สื่อการสอน การเลื่อนวิทยฐานะ ข่าวการสอบบรรจุครูผู้ช่วย การสอบโอเน็ต และข่าวสารอื่นๆที่เกี่ยวกับการศึกษา

ลงข่าว,ฝากข่าวเปิดรับสมัครครู,ครูอาสา,ค่ายกิจกรรมฟรีได้ที่ https://www.facebook.com/krupatomcom

  • วิทยาศาสตร์ ป.3 น้ํา และอากาศ แบบฝึกหัด

    ข้อสอบมาตรฐานชั้น ป.1 - ภาษาอังกฤษ Module 5 - ข้อสอบมาตรฐานชั้น ป.1 - ภาษาอังกฤษ Module 5 *Download เป็น PDF File เฉลย*

    3 สัปดาห์ที่ผ่านมา

  • Main - - ****รวมแบบทดสอบ แบบฝึกหัด - อนุบาล - ประถม - มัธยม**** - *ข้อสอบมาตรฐาน ป.1 - ป.6* - *ข้อสอบมาตรฐาน ป.1* - ข้อสอบมาตรฐาน ป.1 - วิชาพระพุ...

    4 ปีที่ผ่านมา

  • ***ข้อสอบมาตรฐาน ชั้น ป.1 วิชาภาษาอังกฤษ*** - ****ข้อสอบมาตรฐาน ชั้น ป.1 วิชาภาษาอังกฤษ**** - ข้อสอบมาตรฐานชั้น ป.1 ภาษาอังกฤษ เรื่อง Module 1 - ข้อสอบมาตรฐานชั้น ป.1 ภาษาอังกฤษ เรื่อง Module 2 ...

    5 ปีที่ผ่านมา

  • Main - หน้าแรก เลือกหัวข้อได้เลยค่ะ

    59 ปีที่ผ่านมา

น้ำและอากาศบนโลก

น้ำกับสิ่งมีชีวิต

      น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามหาศาล มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ และมนุษย์ด้วย ถ้าขาดน้ำสิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ บนโลกของเราประกอบด้วยน้ำ 3 ส่วน และพื้นดิน 1 ส่วน น้ำมีทั้งน้ำบนผิวดิน น้ำใต้ดิน และน้ำในบรรยากาศ 
      น้ำผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ห้วย ลำธาร ทะเล ทะเลสาบ และมหาสมุทร และน้ำที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ น้ำบนดิน
น้ำใต้ดิน น้ำใต้ดินมี 2 ประเภท คือ น้ำในดิน และน้ำบาดาล
น้ำในบรรยากาศ เช่น ไอน้ำ ละอองน้ำในอากาศ เป็นต้น 



วัฎจักรของน้ำ

       วัฏจักรของน้ำ คือ ลักษณะของน้ำที่หมุนเวียน เกิดจากการระเหยของน้ำบนพื้นโลก โดยแสงแดด ความร้อน ลม เมื่อไอน้ำลอยขึ้นสูงจะรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆ แล้วเคลื่อนที่ไปตามกระแสลม เมื่อไปกระทบความเย็น เป็นฝนตกลงมาสู่พื้นดิน น้ำฝนไหลลงสู่แหล่งน้ำบนผิวดิน และใต้ดินต่อไป ปรากฏการณ์หมุนเวียนของน้ำเราเรียกว่า วัฏจักรของน้ำ

วิทยาศาสตร์ ป.3 น้ํา และอากาศ แบบฝึกหัด


สมบัติของน้ำ

      น้ำเป็นสสารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีทั้งสถานะของแข็ง ของเหลว และก๊าซ น้ำเป็นสสารมีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้ โดยปกติน้ำอยู่ในสภาวะของเหลวมีสมบัติ ดังนี้

  1. น้ำจะมีรูปร่างเปลี่ยนไปตามภาชนะที่บรรจุ เช่น เมื่ออยู่ในแก้วจะมีรูปร่างของแก้ว เป็นต้น
  2. น้ำเมื่อได้รับความร้อนถึงจุดเดือดจะกลายเป็นไอ และเช่นเดียวกับเมื่อได้รับความเย็นจะเป็นสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิศูนย์องศาเซลเซียส
  3. การเคลื่อนที่ของน้ำ น้ำจะเคลื่อนที่เพื่อรักษาระดับผิวน้ำให้เท่ากันเสมอไม่ว่าจะอยู่ในภาชนะที่มีรูปร่างต่างกันอย่างไร 
    น้ำจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำกว่า ด้วยแรงดึงดูดของโลก ซึ่งทำให้น้ำจากที่สูงไหลไปรวมกับน้ำแหล่งต่างๆ ที่ต่ำกว่า เช่น น้ำตก น้ำในทะเล มหาสมุทร
  4. แรงดันของน้ำ คือ แรงของน้ำที่กดลงพื้นที่บริเวณหนึ่งๆ แรดันของน้ำจะสัมพันธ์กับระดับความลึกของน้ำ โดยน้ำที่ระดับเดียวกันจะมีแรงดันของน้ำเท่ากัน และน้ำที่ระดับลึกกว่าแรงดันมากกว่าน้ำที่ระดับต้นกว่า

ประโยชน์ของน้ำ 

น้ำมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช ดังนี้

  1. ด้านอุปโภคบริโภค มนุษย์ สัตว์ ต้องการน้ำเพื่อการดื่มกิน ใช้ประกอบอาหาร ชำระล้างร่างกาย และสิ่งสกปรกต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
  2. ด้านเกษตรกรรม ใช้ในการเกษตร การเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์
  3. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ประโยชน์ในการอุตสาหกรรมทุกชนิด เพราะอุตสาหกรรมทุกประเภทต้องอาศัยน้ำเป็นวัตถุดิบ เช่น อาหารกระป๋อง เครื่องดื่ม ใช้ระบายความร้อน ของเครื่องจักร เครื่องยนต์ ใช้ล้างทำความสะอาดผลิตภัณฑ์และกากอาหารของเสียต่างๆ เป็นต้น 
  4. ด้านการคมนาคมทางน้ำ ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมในการติดต่อสื่อสาร และติดต่อทางการค้า เช่น เรือ แพ ตามแม่น้ำลำคลอง สามารถขนส่งสินค้าได้ทีละมากๆ เป็นการคมนาคมขนส่งที่ราคาถูกกว่าใช้รถยนต์หรือเครื่องบิน
  5. ด้านแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้า นำพลังน้ำจากการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำมาผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นต้น
  6. ด้านที่อยู่อาศัย น้ำเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและพืช เช่น ปลา กุ้ง ปู หอย และสาหร่ายทุกชนิด
  7. ด้านทรัพยากรธรรมชาติ เป็นแหล่งของทรัพยากรที่สำคัญ เช่น แก๊สธรรมชาติ และเกลือ เป็นต้น
  8. ด้านนันทนาการ เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ

คุณภาพของน้ำ

       น้ำตามแหล่งต่างๆ โดยทั่วไปจะมีสิ่งเจือปนอยู่ในปริมาณต่างๆ ตามประเภทของแหล่งน้ำ น้ำจากแหล่งน้ำบางแห่งมองดูแล้วใสสะอาด แต่เราไม่สามารถบอกได้ว่า น้ำนั้นสะอาดหรือไม่ น้ำที่สะอาดจะต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส สามารถใช้ดื่มได้ ซึ่งเราเรียกว่า 

เป็นน้ำที่มีคุณภาพการปรับปรุงคุณภาพของน้ำ

     น้ำที่ใช้เพื่อการบริโภคและอุปโภคของคนเรานั้น หากได้มาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ อาจมีสิ่งเจือปนต่างๆ ละลายอยู่ ดังนั้น ก่อนที่จะนำมาใช้จะต้องทำให้สะอาดเสียก่อน ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้

  1. การต้ม นำน้ำมาต้มให้เดือดประมาณ 20-30 นาที เพราะความร้อนจะเป็นตัวทำลายเชื้อโรคที่ปนมากับน้ำได้ดี น้ำต้มเป็นน้ำที่ใช้ดื่มได้อย่างปลอดภัย
  2. ให้ตกตะกอน โดยกานำสารส้มมาแกว่งเร็วๆ ในน้ำ ให้สารส้มกระจายไปทั่วประมาณ 1 นาที แล้วแกว่งช้าๆ ประมาณ 10-20 นาที จะทำให้สารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำตกตะกอนนอนก้นได้น้ำใส แต่ไม่เหมาะสำหรับดื่มเพราะไม่ได้ฆ่าเชื้อโรค แต่สามารถนำไปใช้ชำระร่างกายและภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ ได้
  3. การใส่คลอรีน ในปริมาณที่เหมาะสมเป็นการฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้คลอรีนผงครึ่งช้อนต่อน้ำ 1 ตุ่ม (10 ปีบ) โดยละลายผงคลอรีนในน้ำ 1 ถ้วยก่อน คนให้สะอาด เทลงตุ่มกวนให้ผสมกันดี ทิ้งไว้อย่างน้อย 20 นาที จึงนำไปใช้ได้
  4. การกรอง เป็นการนำวัตถุชนิดต่างๆ มาวางซ้อนกันหลายๆ ชั้น เช่น ทรายละเอียด ทรายหยาบ ถ่าน กรวดละเอียด กรวดหยาบ และสำลี แล้วเทน้ำลงไปให้ไหลผ่านชั้นต่างๆ เพื่อได้น้ำที่สะอาดแต่ไม่ควรบริโภค เพราะยังไม่ได้ฆ่าเชื้อโรค (ภาพการกรอง)
  5. การกลั่น เป็นวิธีการที่นำน้ำมาต้นให้กลายเป็นไอ แล้วให้ไอน้ำผ่านความเย็น ไอน้ำจะกั่นตัวเป็นหยดน้ำ ซึ่งน้ำที่ได้จะสะอาดมากที่สุด แต่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก นิยมนำมาใช้ในการแพทย์ (ภาพการกลั่น)

การอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

          น้ำมีประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิตมาก ถ้าไม่มีน้ำสิ่งมีชีวิตก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เราจึงควรช่วยกันแก้ปัญหาการสูญเสียทรัพยากรน้ำด้วยการอนุรักษ์น้ำ ดังนี้

  1. การปลูกต้นไม้ ทำให้อากาศมีความชุ่มชื้น ทำให้มีฝนตกตามฤดูกาล นอกจากนี้ ต้นไม้ยังช่วยลดปัญหาการตื้นเขินของแหล่งน้ำตามธรรมชาติต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะรากของต้นไม้ จะช่วยยึดดินไว้ไม่ให้ถูกน้ำพัดพาไปทับถมกันในแหล่งน้ำได้
  2. การใช้น้ำอย่างประหยัด สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
    • หมั่นตรวจสอบการั่วไหลของน้ำ
    • ไม่เปิดน้ำทิ้งไว้หลังเลิกใช้น้ำแล้ว
    • ใช้สบู่เหลวแทนสบู่ก้อนเวลาล้างมือ เพราะจะใช้น้ำน้อยกว่า
    • ใช้ฝักบัวรดน้ำต้นไม้แทนสายยาง
    • ล้างรถเท่าที่จำเป็น
    • หมั่นตรวจสอบท่อน้ำในบ้านว่ามีรอยรั่วหรือไม่
    • ล้างผักหรือผลไม้ในอ่างหรือภาชนะทุกครั้ง
    • ล้างจานในอ่างล้างจาน
    • ใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ
    • อย่าทิ้งน้ำดื่มที่เหลือโดยเปล่าประโยชน์
    • รินน้ำให้พอดีดื่ม
  3. การเผาป่า การถางป่า เพื่อทำไร่เลื่อนลอยไม่ควรกระทำ เพราะป่าไม้เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำ
  4. การป้องกันมลพิษทางน้ำ เราสามารถช่วยป้องกันมลพิษทางน้ำได้ด้วยการไม่ทิ้งขยะหรือสิ่งปฏิกูลหรือสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ
  5. การนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เราสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เช่น นำน้ำที่เหลือจากการซักผ้าในครั้งสุดท้ายมารดน้ำต้นไม้ เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ
  6. ในบริเวณที่มีโรงงานอุตสาหกรรม ควรตรวจสอบว่าโรงงานเหล่านี้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือไม่ และควรมรการตรวจสอบคุณภาพในแหล่งน้ำอยู่เสมอ เพื่อจะได้ทราบว่าเกิดปัญหาน้ำเสียหรือไม่และเกิดในช่วงใดของแหล่งน้ำ

อากาศกับสิ่งมีชีวิต

            อากาศเป็นสสารชนิดหนึ่ง มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่และสัมผัสได้ โลกของเรามีอากาศห่อหุ้มอยู่ เราเรียกอากาศที่อยู่รอบตัวเราและห่อหุ้มโลกของเราว่า บรรยากาศ

ส่วนประกอบของอากาศ

อากาศประกอบด้วยก๊าซหลายชนิด ส่วนประกอบของก๊าซที่สำคัญในอากาศโดยปริมาตร ได้แก่

  • ไนโตรเจน ร้อยละ 78
  • ออกซิเจน ร้อยละ 21
  • อาร์กอน ร้อยละ 0.93
  • คาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 0.03
  • ก๊าซอื่นๆ ฝุ่นละอองและไอน้ำ ร้อยละ 0.04

        อากาศที่ไม่มีไอน้ำเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วย เรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0-4 ของอากาศทั้งหมด ไอน้ำเป็นส่วนผสมที่สำคัญของอากาศ และไอน้ำก็เป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง รุ้งกินน้ำ เป็นต้นสมบัติของอากาศ

  1. อากาศมีตัวตนและสัมผัสได้
  2. อากาศมีน้ำหนัก
  3. อากาศต้องการที่อยู่
  4. อากาศเคลื่อนที่ได้ และเมื่ออากาศได้รับความร้อนจะขยายตัว ลอยตัวสูงขึ้น ทำให้ความหนาแน่นของอากาศบริเวณนี้ลดลง อากาศบริเวณใกล้เคียงที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าความหนาแน่นมากกว่าจะเข้ามาแทนที่ ซึ่งเรียกว่า การเคลื่อนที่ของอากาศหรือลม

          อากาศ จะเกิดการเคลื่อนที่อยู่เสมอ บางเวลาเคลื่อนที่น้อย แต่บางเวลาเคลื่อนที่มาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอากาศขึ้น ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น มีลมพัด มีเมฆ มีฝนตก เป็นต้น 
          ถ้าอุณหภูมิสองบริเวณมีความแตกต่างกันมาก จะทำให้ความหนาแน่นของอากาศสองบริเวณนั้น ทำให้เกิดลมที่มีกระแสลมพัดมีความเร็วสูง เรียกว่า พายุ ชื่อภาพยุนั้นจะเรียกแตกต่างไปตามแหล่งทวีปโลก และตามความรุนแรงของพายุที่เกิดขึ้น ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น เช่น เกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง บ้านเรือนพังทลาย ประชากรเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
          อุณหภูมิ คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิจะลดต่ำลง ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิจะสูงขึ้น เครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิหรือระดับความร้อนหนาวของสิ่งต่างๆ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หน่วยของอุณหภูมิใช้หน่วยเป็นองศาเซลเซียส และองศาฟาเรนไฮต์
          เทอร์โมมิเตอร์ มีลักษณะคล้ายหลอดแก้ว หัวท้ายปิดมีกระเปาะเล็กๆ อยู่ปลายด้านหนึ่งภายในกระเปาะบรรจุของเหลว เมื่ออากาศร้อนของเหลวจะขยายตัว ทำให้ระดับของเหลวสูงขึ้น เราเรียกว่า อุณหภูมิสูง แต่ถ้าอากาศหนาวของเหลวจะหดตัว ระดับของเหลวจะลดลง เรียกว่า อุณหภูมิต่ำวิธีใช้เทอร์โมมิเตอร์

  1. จับเทอร์โมมิเตอร์ค่อนไปทางปลายของเทอร์โมมิเตอร์ ห้ามจับตรงกระเปาะ
  2. หันตัวเลขเข้าหาตัวเพื่ออ่านค่าได้ง่าย
  3. เมื่อวัดสิ่งของใด ต้องให้ก้านเทอร์โมมิเตอร์ตั้งในแนวดิ่งเสมอ และอยู่ในระดับสายตา เพื่ออ่านค่าถูกต้องและแม่นยำ
  4. ให้กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์สัมผัสกับสิ่งที่จะวัดเท่านั้น
  5. ไม่ควรนำเทอร์โมมิเตอร์คนสารต่างๆ และห้ามนำเทอร์โมมิเตอร์ไปวัดอุณหภูมิของเปลวไฟ เพราะจะทำให้เทอร์โมมิเตอร์แตกได้ และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้

ประโยชน์ของอากาศ

  1. อากาศเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการหายใจของสิ่งมีชีวิต ถ้าขาดอากาศ สิ่งมีชีวิตจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
  2. อากาศช่วยปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ โดยทำหน้าที่คล้ายเครื่องปรับอุณหภูมิไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป นอกจากนั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกยังทำหน้าที่กรองและดูดรังสีอุลตราไวโอเลตหรือแสงเหนือม่วงไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าสู่โลกชั้นในมากจนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
  3. ช่วยป้องกันอันตรายจากสิ่งที่มาจากภายนอกโลก เช่น อุกกาบาต ขยะอวกาศ 
  4. ทำให้เกิดเมฆฝน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการทำเกษตรกรรมในประเทศ
         ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของอากาศ คือ ใช้หายใจ ถ้าไม่มีอากาศสิ่งมีชีวิตทุกชนิดก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่ปัจจุบันเรากำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับอากาศเสีย ซึ่งสาเหตุมาจากสิ่งต่อไปนี้สาเหตุของการเกิดอากาศเสียหรือเกิดมลพิษทางอากาศ มีดังนี้

  1. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ภูเขาไฟระเบิด ทำให้เกิดกลุ่มควันไฟ ฝุ่นละออง และก๊าซต่างๆ การเน่าเปื่อยของซากพืชซากสัตว์ ทำให้เกิดก๊าซต่างๆ ปะปนในอากาศ
  2. การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และควันจากท่อไอเสีย จะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ออกมา
  3. โรงงานอุตสาหกรรม จะปล่อยควันของสารพิษ ฝุ่นละอองและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ก๊าซอื่นๆ อีกหลายชนิดออกมา
  4. โรงไฟฟ้า ใช้เชื้อเพลิงไปเผาไหม้ เช่น น้ำมันเตา ถ่านหิน ลิกไนต์ หรือเชื้อเพลิงอื่นๆ ไปผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซอื่นๆที่เป็นอันตราย
  5. การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงในบ้าน เช่น การเผาฟืน ถ่าน ในการหุงต้ม ล้วนทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  6. แหล่งน้ำเสีย ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และก๊าซไฮโดรคาร์บอน
  7. การระเหยของสารเคมีต่างๆ เช่น น้ำมัน กรด สี เป็นต้น

ผลกระทบจากสิ่งเจือปนในอากาศ
    ผลกระทบจากสิ่งเจือปนในอากาศทำให้เกิดความเสียหายเป็นอันตรายต่อสุขภาพสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ พืช สัตว์ เป็นต้นแนวทางในการป้องกันมลพิษในอากาศ

  1. ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และคายก๊าซออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจออกมา
  2. ลดการใช้ผลิภัณฑ์ที่ทำมาจากโฟมและพลาสติก
  3. ไม่เผาขยะที่ทำให้เกิดควันพิษ แต่ใช้วิธีกำจัดโดยการฝัง
  4. ช่วยกันจัดระเบียบของบ้านเมือง เช่น ปรับปรุงชุมชนแออัด กวดขันรถที่ปล่อยควันเสีย

จากการศึกษาเรื่องน้ำและอากาศ สรุป ได้ว่า

  1. โลกของเรามีอากาศและน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืช
  2. น้ำมีได้ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ
  3. น้ำที่สะอาดจะต้องไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส
  4. น้ำมีการหมุนเวียนตามธรรมชาติตลอดเวลา เราจึงรักษาน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ
  5. อากาศเป็นสสารชนิดหนึ่ง มีตัวตน มีน้ำหนัก ต้องการที่อยู่อาศัย และสัมผัสได้
  6. อากาศประกอบด้วย ไนโตรเจน ร้อยละ 78 ออกซิเจน ร้อยละ 21 อาร์กอน ร้อยละ 0.93 คาร์บอนไดออกไซด์ ร้อยละ 0.03 ก๊าซอื่นๆ ฝุ่นละอองและไอน้ำ ร้อยละ 0.04 
  7. ไอน้ำเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น ลม พายุ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง เป็นต้น
  8. อากาศเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความหนาแน่นสูงไปยังบริเวณที่มีความหนาแน่นต่ำ
  9. อุณหภูมิ คือ ระดับความร้อนหนาวของอากาศ ถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิสูง ถ้าอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำ
  10. อากาศช่วยให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่ได้ และปรับอุณหภูมิของโลกให้พอเหมาะ
  11. สาเหตุของอากาศเสีย คือ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ ในโรงงานอุตสาหกรรม