การเรียนรู้ด้วยตนเอง หมายถึง

สำหรับวัยรุ่น การเรียนรู้ด้วยตนเองถือเป็นเรื่องท้าทาย แต่หากได้ฝึกฝน ทักษะนี้ก็จะมีประโยชน์อย่างมากในอนาคต เพราะเมื่อสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ ก็จะสามารถปรับตัวและก้าวทันโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้อย่างทันท่วงที

บทความนี้ StarfishLabz มีข้อมูลเกี่ยวกับ Self-directed learning ซึ่งอาจจัดได้ว่าเป็นทักษะแห่งอนาคตที่สำคัญอีกทักษะหนึ่ง พร้อมวิธีที่พ่อแม่จะช่วยให้ลูกเป็นนักเรียนรู้ด้วยตนเองมาฝากกันค่ะ 

Self-directed learning คืออะไร?

Self-directed learning การเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือบางคนเรียกว่าการเรียนรู้แบบนำตนเอง คือ วิธีการเรียนรู้ที่ผู้เรียน วางแผน ปฏิบัติ และประเมินผลความก้าวหน้าของการเรียนด้วยตนเอง มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าไม่ได้อยู่ในห้องเรียน หรือจบการศึกษาไปแล้วก็ตาม

การเรียนรู้ด้วยตนเองถือเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long learning) ซึ่งเหมาะสมอย่างมากสำหรับการเตรียมพร้อมสู่โลกอนาคตที่ข้อมูลข่าวสารเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเองนี้ จะช่วยทำให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพและอยู่ในโลกอนาคตอย่างมีความสุขได้

Self-directed learning ทำไมจึงสำคัญ

ยุคที่องค์ความรู้ต่างๆ มีอยู่มากมาย เทคโนโลยีอันทันสมัยได้เชื่อมโลกทั้งใบไว้ด้วยกัน ข้อมูลและองค์ความรู้ต่างๆ หาง่ายได้เพียงปลายนิ้ว แต่จะมีประโยชน์อะไรหากองค์ความรู้ทั้งหมดนั้น ไม่ถูกเรียนรู้

การเรียนรู้ด้วยตนเองจึงมีความสำคัญตรงที่ เป็นทักษะสำหรับอนาคตที่เด็กทุกคนควรมี เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ยิ่งใครเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น นอกจากนี้ การเรียนรู้ด้วยตนเองยังมีประโยชน์ต่อผู้เรียน 4 ประการ เรียกสั้นๆ ว่า S.E.F.L คือ

  • S-Satisfaction การเรียนรู้ด้วยตนเองตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ตรงวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดความพอใจในการเรียน และนำมาซึ่งความสุขในการเรียนรู้
  • E-Everyone ทุกคนมีสิทธ์เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้จึงไม่ได้จำกัดเพศ อายุ หรือฐานะ สามารถเรียนรู้เรื่องอะไร เมื่อใดก็ได้ การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในห้องเรียนหรือเฉพาะนักเรียนเสมอไป
  • F-Flexibility การเรียนรู้ด้วยตัวเองมีความยืดหยุ่นสูง เพราะผู้เรียนบริหารจัดการการเรียนด้วยตนเอง ทำให้มีอิสระ ขยายขีดจำกัดการเรียนไปได้ทุกที่ ทุกเวลา และการเรียนเมื่อผู้เรียนพร้อมที่สุด ย่อมเกิดประโยชน์มากกว่า
  • Life–Long การเรียนรู้ด้วยตัวเองจัดเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงถือเป็นทักษะแห่งอนาคตที่ควรมี

พ่อ แม่ โรงเรียน ร่วมมือสร้างทักษะเรียนรู้ด้วยตนเอง

ประสบการณ์การเรียนรู้เป็นเรื่องสำคัญในการฝึกทักษะเรียนรู้ด้วยตนเอง การร่วมมือกันทั้งที่บ้านและโรงเรียน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองจะทำให้เด็กๆ ได้รับประโยชน์สูงสุด ซึ่งการปลูกฝังทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง อาจทำได้โดยมอบหมายงานที่เด็กๆ ทำเองได้ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบกระบวนการ โดยสิ่งที่ต้องคำนึงเพื่อให้การฝึกทักษะเรียนรู้ด้วยตนเองประสบความสำเร็จ คือ

  • การควบคุมตนเอง และ ความรับผิดชอบ ผู้ปกครองและคุณครู ควรมั่นใจว่างานที่มอบหมายให้เด็กๆ ทำนั้น เป็นงานที่เด็กได้แสดงความคิดเห็น ใส่ความเป็นตัวเอง วางแผน ดำเนินการด้วยตนเองจริงๆ ทั้งรูปแบบการทำงาน จนถึงระยะเวลา เพื่อฝึกให้เด็กๆ ควบคุมตนเองและมีความรับผิดชอบ
  • ความซับซ้อน งานที่มอบหมายให้เด็กๆทำ ควรมีจุดสมดุลระหว่างความท้าทาย แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ยากเกินความสามารถของเด็กๆ แต่ก็ต้องไม่ง่ายจนทำสำเร็จได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายามอะไร ซึ่งในข้อนี้ผู้มอบหมายงาน ควรพิจารณาถึงทักษะและความสามารถของเด็กแต่ละคน ประเมินว่างานที่มอบหมายมีความซับซ้อนในระดับที่เด็กสามารถลงมือทำได้เอง
  • ระยะเวลา การมอบหมายงานแต่ละครั้ง แม้มีจุดประสงค์เพื่อฝึกให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่ก็จำเป็นต้องมีช่วงเวลาเพื่อให้เด็กๆ ได้รับคำแนะนำจากคุณครูหรือผู้ปกครองด้วย ผู้มอบหมายงาน อาจแนะนำให้เด็กๆ กำหนดระยะเวลาทำงาน โดยให้มีช่วงที่สามารถขอคำปรึกษาจากผู้ใหญ่ได้ วิธีนี้จะช่วยรักษาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้อยู่นานยิ่งขึ้น เพราะเด็กๆ ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวเกินไป
  • ทางเลือก เด็กๆ ควรรู้สึกว่าพวกเขามีโอกาสเลือกสภาพแวดล้อม หรือหัวข้อที่จะเรียนรู้ ดังนั้น การมอบหมาย งานควรเลือกหัวข้อที่ผู้เรียนมีความสนใจ เมื่อผู้มอบหมายงานและผู้เรียนร่วมมือกัน ก็จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกได้รับการยอมรับ ยิ่งหากได้ศึกษาในเรื่องที่สนใจด้วยตนเอง ก็ช่วยให้งานลุล่วงไปด้วยดียิ่งขึ้น 

สุดท้ายแล้วต้องไม่ลืมว่า หัวใจแห่งการพัฒนาทักษะอนาคต อยู่ที่การสร้างทักษะ (Skill) ซึ่งเมื่อพูดถึงเรื่องทักษะไม่ได้หมายความว่ามีหรือไม่ทักษะนั้นๆ เพราะทุกทักษะสามารถพัฒนาได้ และ Self-directed learning ก็เป็นอีกทักษะหนึ่งที่พ่อแม่ช่วยให้ลูกพัฒนาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับโลกอนาคตได้ไม่ต่างจากทักษะอื่นๆ เช่นกัน 

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นมิได้เกิดจากการฟังคำบรรยายหรือทำตามที่ครูผู้สอนบอกเสมอไป แต่อาจเกิดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ต่อไปนี้ (สมคิด อิสระวัฒน์, 2532, หน้า 74)

  1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) เป็นการเรียนที่เกิดจากความอยากรู้ อยากเห็น ผู้เรียนจะมีการวางแผนด้วยตนเอง
  2. การเรียนรู้ที่จัดโดยสถาบันศึกษา (provide sponsored) โดยมีกลุ่มบุคคล จัดกำกับดูแล มีการให้คะแนน ให้ปริญญา หรือประกาศนียบัตร
  3. การเรียนรู้จากกลุ่มเป็นการเรียนรู้แบบไม่เป็นทางการ คือ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (collaborative learning)
  4. การเรียนรู้โดยบังเอิญ (random or incidental learning) อาจเป็นผลพลอยได้จากเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนมิได้เจตนา

จะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นวิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่งที่นักการศึกษาให้ความสำคัญและเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมให้มีขึ้นในตัวผู้เรียน เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผู้เรียนมีใจรักที่จะศึกษาค้นคว้าตามความต้องการ ก็จะเกิดการศึกษาต่อเนื่องโดยไม่ต้องบอก และมีแรงกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นไม่สิ้นสุด ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต (life long learner) หรือบุคคลแห่งการเรียนรู้ที่หยั่งยืน (learning person) อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการศึกษา

การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นมีความสำคัญอย่างไร

การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นคุณลักษณะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาในปัจจุบันที่จะต้องมีส่งเสริมให้บุคคลมีคุณลักษณะของการชี้นำตนเองในการเรียนรู้เพื่อให้บุคคลมีประสบการณ์ และมีศักยภาพในการแสวงหาความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาตลอดชีวิตต่อไป

การเรียนรู้ด้วยตัวเองมีอะไรบ้าง

การเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-directed learning) เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนมีความตระหนักและรับผิดชอบต่อแผนการเรียนของตนเอง ผู้เรียนจะทำการวางแผนและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ เลือกแหล่งข้อมูลเลือกวิธีการเรียนรู้ และการประเมินผลด้วยตนเอง โดยจะมีผู้ช่วยเหลือหรือไม่มีผู้ช่วยเหลือก็ได้

การเรียนรู้โดยบังเอิญหมายถึงอะไร

การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ(Incidental learning) หมายถึงประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมิได้มีความตั้งใจมาก่อนว่าจะต้องเรียนสิ่งนั้น แต่เมื่อได้รับประสบการณ์ ขาก็รับรู้ได้ว่าเขาได้เรียนรู้บางอย่างขึ้นมาดังนั้น จึงเป็นความไม่ตั้งใจแต่รู้สึกตัว (unintended but conscious.

ลักษณะความพร้อมของการเรียนรู้ด้วยตนเองมีกี่ประการ อะไรบ้าง

1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีองค์ประกอบย่อย คือ 1) การนำสิ่งที่เรียนรู้มา ประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต 2) การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา 3) การสังเกต พฤติกรรมการเรียนรู้จากบุคคลอื่นแล้วนำมาปรับใช้กับตนเอง 4) การเลือกวิธีการเรียนรู้ใน รูปแบบใหม่ ๆ 5) การฝึกปฏิบัติเพื่อได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ 6) การใช้เวลาว่างในการ ...