ปัญหาน้ำเน่าเสีย แนวทางแก้ไข

ปัญหาน้ำเสีย นับเป็นหนึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อมของไทย ที่เกิดขึ้นในหลายจุดทั่วประเทศ และยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงไม่น่าแปลกใจที่โจทย์เรื่อง การแก้ปัญหาน้ำเสีย จะถูกนำมาเป็นหัวข้อในการวิจัย ศึกษาค้นคว้าของนักวิจัยไทยมาแทบทุกยุคทุกสมัย จนกระทั่ง มาในวันนี้ มีหนึ่งงานวิจัย ที่นำเสนอแนวคิดการสืบแหล่งกำเนิดน้ำเสีย เพื่อลด “มลพิษทางน้ำ” อย่างยั่งยืน โดยผลงานวิจัยนี้เป็นของ นักวิจัย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่สามารถคว้ารางวัลวิจัยดีเด่นแห่งชาติ 2565 มาครองได้สำเร็จ ด้วยผลการวิจัยที่นำไปปรับใช้แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้ให้ประเทศได้จริง
โดย ดร.ขวัญรวี สิริกาญจน นักวิจัยเชี่ยวชาญ จากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ในฐานะหัวหน้าโครงการนี้ ได้พัฒนาเทคโนโลยีกลุ่มจุลินทรีย์ เพื่อระบุแหล่งกำเนิดน้ำเสียในประเทศไทย (Microbial Source Tracking) แก้ปัญหามลพิษและโรคทางน้ำ ฟื้นฟูและจัดการคุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ นอกจากจะเป็นที่ยอมรับและนำไปปรับใช้แก้ ปัญหาน้ำเสีย ในประเทศโดยร่วมมือกับการประปาฯ กรมปศุสัตว์ กรมควบคุมมลพิษ ใช้ประโยชน์งานวิจัยอย่างได้ผลแล้ว งานวิจัยนี้ยังเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติด้วย
ปัญหาน้ำเน่าเสีย แนวทางแก้ไข
ดร.ขวัญรวี สิริกาญจน

รับรู้ ปัญหาน้ำเสีย ภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม ที่อยู่กับสังคมไทยมานาน ผ่านกรณีศึกษา คลองแสนแสบ

หากให้ยกตัวอย่าง ปัญหาน้ำเสีย ที่คลาสสิค และคนไทยต่างรับรู้กันมากที่สุด เชื่อว่าปัญหาน้ำเสียที่เกิดขึ้นใน คลองแสนแสบ กรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งใน Cast study ที่เห็นได้ชัดที่สุด
ปัญหาน้ำเสีย ในคลองแสนแสบพบว่า ร้อยละ 70 เกิดจากกิจกรรมในชุมชนริมคลอง รองลงมาเกิดจากโรงงานและสถานประกอบการ ยกตัวอย่างปี 2563 มีปริมาณน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดถูกปล่อยลงคลองแสนแสบและคลองสาขา กว่า 8 แสนกว่าลูกบาศก์เมตรต่อวัน และมีค่าเฉลี่ยความสกปรก อยู่ระหว่าง 6.9-12.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือว่าเป็นมลพิษอย่างรุนแรง
ตลอดความยาว 74 กิโลเมตร ของคลองแสนแสบ ซึ่งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 47.5 กิโลเมตร และ จ.ฉะเชิงเทรา 26.5 กิโลเมตร พบว่าในปัจจุบันมีการปล่อยน้ำที่ไม่ผ่านการบำบัด 800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ปัญหาน้ำเน่าเสีย แนวทางแก้ไข
คลองแสนแสบ
นี่เป็นเพียงหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ภาพจำของคลองแสนแสบจากอดีตจนถึงปัจจุบัน คือ น้ำสีดำ ส่งกลิ่นเน่าเหม็น ผู้ที่ต้องสัญจรไปมาผ่านคลองนี้ ก็ต้องทนทุกข์ทรมานกันแบบหลบเลี่ยงไม่ได้ในทุกวี่วัน โดยบนหน้าประวัติศาสตร์ เล่ากันว่าที่มาของชื่อคลองแสนแสบ มาจากการที่มียุงชุมมาก เพราะมีการทิ้งขยะและสิ่งปฎิกูลลงในแม่น้ำ แม้จะผ่านมากว่า 180ปี แต่สภาพของคลองแสนแสบ ก็ยังไม่ดีขึ้น
ล่าสุด เมื่อปีที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าทางภาครัฐจะเอาจริง ทุ่มงบประมาณ 82,563 ล้านบาทในการฟื้นฟูคลองแสนแสบ เป็นระยะเวลา 11 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2574  รวมทั้งสิ้น 84 โครงการ ดำเนินการ 3 ระยะ คือ1.ระยะเร่งด่วน (พ.ศ. 2564) 2.ระยะกลาง ( พ.ศ.2565-2570) 3.ระยะยาว (พ.ศ. 2571 -2574)
อย่างไรก็ดี ศ.กิตติคุณ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ได้ให้มุมมองต่อโครงการฯล่าสุดที่ภาครัฐจะดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองแสนแสบอย่างเป็นรูปธรรมนี้ว่า

“กรุงเทพมหานครเป็นหน้าเป็นตาของประเทศไทย เป็นเมืองท่องเที่ยว เมืองวัฒนธรรมและมีอารยธรรม แต่ขณะนี้กรุงเทพฯ มีริ้วรอยและไม่น่าดู ทุกคลองเน่าเสีย ในเบื้องต้นจึงเห็นด้วยกับที่มีแนวคิดจัดทำแผนหลักการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบ แต่แนวทางโครงการ งบประมาณ จำเป็นต้องให้ข้อมูลต่อสาธารณะ โครงการต่างๆ ควรจัดทำเวที Technic Hearing กับนักวิชาการ เพื่อให้นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของโครงการที่ทั้ง 8 หน่วยงานจะจัดทำเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูมลภาวะของคลองแสนแสบ จากนั้นจะต้องดำเนินการจัดทำเวทีประชาพิจารณ์ หรือ Public Hearing กับประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน”

ปัญหาน้ำเน่าเสีย แนวทางแก้ไข
คลองแสนแสบ
“นอกจากนั้น แผนพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบที่ผ่านการอนุมติของ ครม. จะต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงระบบการจัดการน้ำเสียของชุมชนเมือง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดน้ำเสียและลงสู่สิ่งแวดล้อม เพราะ กรุงเทพฯ เป็นเมืองเก่า ใช้ท่อร่วม แต่ประเทศที่เจริญแล้วมีระบบท่อแยก คือ แยกท่อระบายน้ำฝนกับท่อน้ำเสีย ท่อระบายน้ำฝนจะส่งน้ำลงคลอง แม่น้ำ และทะเล” 
“ถ้ามีท่อแยก จะส่งน้ำเสียไปบำบัดที่โรงบำบัดฯ วิธีการจัดการน้ำเสียชุมชนในปัจจุบันของกรุงเทพฯ ยังปลดปล่อยก๊าซมีเทนที่มีศักยภาพทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากกว่าก๊าซคาร์บอนถึง 20 เท่า ถ้ายังปล่อยให้เป็นแบบนี้ นอกจากจะไม่แก้ปัญหาน้ำเสีย ยังจะเป็นอุปสรรคต่อการผลักดันกรุงเทพฯ สู่เมืองคาร์บอนเป็นศูนย์อีกด้วย”
ที่หยิบยกปัญหาน้ำเสียในคลองแสนแสบมานี้ ก็เพื่อเป็นการยืนยันให้เห็นว่า ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาระดับชาติที่ต้องการการแก้ไข มิเช่นนั้นจะเป็นอุปสรรคที่มาในรูปแบบ “ปัญหาสิ่งแวดล้อม” ที่มาขัดขวางการพัฒนาประเทศในหากหายด้านก็ได้

ปัญหาน้ำเน่าเสีย แนวทางแก้ไข

เปิดผลงานวิจัยดีเด่น ปี 2565 ความหวังของการแก้ปัญหาน้ำเสียไทย ด้วยงานวิจัยอย่างได้ผล

ดังที่เกริ่นมาในตอนต้น เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียอย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดทางฝั่ง “นักวิจัยไทย” ได้พัฒนาเทคโนโลยีกลุ่มจุลินทรีย์ เพื่อระบุแหล่งกำเนิดน้ำเสียในประเทศไทย (Microbial Source Tracking) แก้ปัญหามลพิษและโรคทางน้ำ ฟื้นฟูและจัดการคุณภาพแหล่งน้ำธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลงานนี้ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นปี 2565 ด้วย
โดย ดร.ขวัญรวี หัวหน้าโครงการวิจัย จาก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ อธิบายเพิ่มเติมถึงที่มาของงานวิจัยนี้ว่า
“ปัจจุบัน แหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ น้ำฝน น้ำแม่น้ำ ลำคลอง น้ำใต้ดินและน้ำทะเล ประสบปัญหาเสื่อมโทรมอย่างมาก ผลมาจากการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่างๆ ทั้งแบบทราบจุดแน่นอน และแบบไม่ทราบจุดแน่นอน เช่น การรั่วไหลของท่อรวบรวมน้ำเสียใต้ดิน น้ำฝนที่ชะพาสิ่งสกปรกลงสู่ดินและแหล่งน้ำ ตลอดจนสิ่งปฏิกูลจากสัตว์ป่าและนกน้ำ เป็นต้น”

ปัญหาน้ำเน่าเสีย แนวทางแก้ไข

“อย่างไรก็ตาม มลพิษทางน้ำแบบไม่ทราบแหล่งกำเนิดแน่ชัด กลับมีปริมาณที่หลากหลายและส่งผลกระทบต่อภาวะมลพิษที่ลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้มากกว่า ซึ่งยังคงไม่มีระบบบริหารจัดการ หรือระบบติดตาม ตรวจสอบ ที่เป็นรูปธรรม ทำให้ประเทศไทยสูญเสียงบประมาณในการจัดการคุณภาพน้ำและน้ำเสียในปี พ.ศ. 2562 สูงถึง 2,154 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50 ของงบประมาณทั้งหมดที่ใช้ในการบริหารจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อม”
“จากผลของโครงการวิจัย โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่มีผลกระทบสูงต่อประเทศ ช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหามลพิษทางน้ำ คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม และลดปัญหาข้อขัดแย้งจากการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  ซึ่งประเทศไทยได้ประสบปัญหานี้มาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน”

ปัญหาน้ำเน่าเสีย แนวทางแก้ไข

ปัญหาน้ำเน่าเสีย แนวทางแก้ไข

“ผลการวิจัยได้รับการต่อยอดร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การประปานครหลวง และกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อใช้ประโยชน์งานวิจัยในการระบุแหล่งปนเปื้อนมลพิษ พร้อมกำหนดแผนจัดการฟื้นฟูคุณภาพน้ำให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน แผนแม่บทบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ได้อย่างเหมาะสมกับงบประมาณและความรุนแรงของปัญหาในพื้นที่ต่างๆ”
“โดยเฉพาะการส่งเสริมแนวคิดใหม่ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง หรือ Blue Economy ให้เกิดการกระตุ้นการท่องเที่ยวทางน้ำ และเพื่อเตรียมพร้อมให้ไทยเป็นผู้นำด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดในอาเซียน อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ สร้างสุขภาพที่ดีให้ประชาชนชาวไทย ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ”
“ผลสำเร็จของโครงการเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยได้เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ กว่า 13 ผลงาน อ้างอิงผลกระทบเชิงวิชาการในระดับนานาชาติ 95 ครั้ง และคว้ารางวัลผลงานวิจัยระดับนานาชาติ จำนวน 6 รางวัล”

ปัญหาน้ำเน่าเสีย แนวทางแก้ไข

“สำหรับการใช้เทคโนโลยีกลุ่มจุลินทรีย์ในการตรวจระบุแหล่งกำเนิดน้ำเสียในประเทศไทย (Microbial Source Tracking ; MST) มีกรอบการทำงานครอบคลุมตั้งแต่
  • การพัฒนาวิธีการตรวจวัดจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารที่จำเพาะกับมนุษย์และสัตว์แต่ละชนิด โดยอาศัยการตรวจวัดเชื้อไวรัสที่จำเพาะกับแบคทีเรีย หรือเรียกว่า แบคเทอริโอเฟจ
  • การตรวจทางอณูชีวโมเลกุลของสารพันธุกรรมด้วยวิธีพีซีอาร์ และพีซีอาร์เชิงปริมาณ การศึกษาลักษณะเฉพาะต่าง ๆ เช่น ความคงทนในสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการวิเคราะห์ จนได้เป็นเทคโนโลยีการตรวจแหล่งปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อม
  • การทดสอบวิธีที่พัฒนาใหม่ในพื้นที่จริงของประเทศ พัฒนาเทคนิคตัวอย่าง ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้สัมผัสน้ำปนเปื้อน และต่อยอดองค์ความรู้พัฒนาเครื่องมือแบพกพาสำหรับตรวจวัดจุลินทรีย์เพื่อระบุการปนเปื้อนในภาคสนาม 
  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านห้องปฏิบัติการวิจัยขั้นสูง ที่สามารถรองรับการแก้ไขปัญหาในโจทย์ใหม่ที่มีความท้าทายสูง เช่น การเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคอุบัติใหม่โควิด-19 ในน้ำเสีย ทำให้ไทยสามารถตอบสนองปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และเท่าทันต่อสถานการณ์
นี่นับเป็นที่ไม่ได้วางอยู่บนหิ้ง แต่สามารถนำมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศได้อย่างแท้จริง

อ้างอิง :

  • รายงานข่าว เรื่อง “เดิมพัน 8.25 หมื่นล้าน ลบภาพ’คลองแสนแสบ’เป็น’คลองแสนสวย'” จากเว็บไซต์ไทยโพสต์
  • รายงานข่าว จาก Facebook : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ 

อัปเดตผลงานวิจัยจากนักวิจัยไทย ที่สามารถนำไปปรับใช้แก้ปัญหาให้สังคมไทยได้จริง

‘เรือหางยาวไฟฟ้า’ ต้นแบบการนำเทรนด์ EV แก้ปัญหามลพิษจากการท่องเที่ยว ‘ตลาดน้ำดำเนินสะดวก’ อย่างได้ผล

รู้จักแล้วจะรัก ‘4 แพลตฟอร์ม Wonder Waste!’ นวัตกรรมคัดแยกขยะชุมชน ต่อยอดสู่การผลิตพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน

เบื้องหลังความสำเร็จของทีมเยาวชนไทย ผู้คว้าแชมป์จากเวที Asian Herb in Space กับการปลูกโหระพาบนอวกาศ

Post Views: 3,067

  • TAGS
  • คลองแสนแสบ
  • งานวิจัยดีเด่น
  • นักวิจัยไทย
  • ปัญหาสิ่งแวดล้อม
  • ปี 2565
  • สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

Previous articleEECMd ปลดล็อคศักยภาพประเทศ สู่ Medical valley แห่งภูมิภาคของไทย

Next articleสาลิกาคาบข่าว Vol.14

ปัญหาน้ำเน่าเสีย แนวทางแก้ไข

Praornpit Katchwattana

https://www.salika.co

เริ่มต้นขีดเขียนในฐานะ สื่อมวลชน กับงานผู้สื่อข่าวประจำกองประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ในปี 2546 ก่อนไปหาประสบการณ์ชีวิตที่เมลเบิร์น ออสเตรเลียมา 1 ปี และกลับมายึดอาชีพ “นักเขียน” จริงจัง กับการเป็น กองบรรณาธิการนิตยสารชีวจิต 3 ปี หลังจากนั้นคิดว่าน่าจะเปลี่ยนสายไปทำงานในบริษัท PR agancy ได้ 6 เดือน เมื่อรู้ว่าไม่ถูกจริต เลยออกมาเป็นนักเขียนฟรีแลนซ์ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารฟีลกู้ดอย่าง Happy+ อยู่ 1 ปี สัมภาษณ์ทั้งดาราและคนบันดาลใจ ก่อนเข้าสู่ระบบงานประจำอีกครั้งกับนิตยสาร MBA กับการเป็นนักเขียนที่รับผิดชอบในเซคชั่นหลักสูตร MBA ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ สั่งสมประสบการณ์อยู่ 3 ปี ก็ได้เวลา Upskill สู่งาน Online content writer ที่ใช้ความชอบและความหลงใหลในการถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ความรู้ใหม่ๆ ในยุค Education 4.0 อุตสาหกรรมทางการแพทย์ ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ และการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

แนวทางการป้องกัน และ แก้ไขปัญหาน้ำ เน่า เสีย มี อะไร บ้าง

การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย.
1. น้ำดีไล่น้ำเสีย ... .
2. เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ ... .
3. สระเติมอากาศชีวภาพบำบัด ... .
4. การผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ ... .
5. หลักธรรมชาติ บำบัดธรรมชาติ ... .
6. การเติมอากาศ โดยใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา.

ข้อใดคือการแก้ปัญหาน้ำเสีย

การบำบัดน้ำเสีย หมายถึงการดำเนินการเปลี่ยนสภาพของเสียในน้ำเสียให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมพอที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาต่อแหล่งรับน้ำเสียนั้น ๆ ซึ่งวิธีการบำบัดน้ำเสียแบ่งได้ 3 ประเภท คือ การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางกายภาพ การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี และการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางชีวภาพ

ปัญหาน้ำเสียมีอะไรบ้าง

ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางน้ำ เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด และท้องเสีย มีผลกระทบต่อการเพาะปลูก เพราะน้ำเสียที่มีความเป็นกรดและด่างไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตร มีผลต่อกระทบต่อทัศนียภาพ เพราะความสวยงามของแหล่งน้ำสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือจัดกิจกรรมทางน้ำเพื่อความบันเทิงได้

ปัญหาน้ำเน่าเสียคืออะไร

Ø น้ำเน่า ได้แก่ น้ำที่มีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก จุลินทรีย์ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายจนเหลือละลายอยู่น้อย น้ำมีสีดำคล้ำ และอาจส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากการปล่อยก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) จากการย่อยสลายของแบคทีเรียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic bacteria)