Shopee ส่งจากต่างประเทศ ภาษี

จากประเด็นระอุใน Twitter เมื่อร้านจีนมาเปิดขายใน Shoppee เอง จนทำให้พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ในไทยที่รับสินค้านำเข้าจากจีนมาขายได้รับผลกระทบหนัก อะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้ร้านจีนต่างเข้ามาบุกจับจองชิงพื้นที่ขายของออนไลน์ในไทย โดยเฉพาะ Shoppee Lazada ? พิมเพลินมีข้อสรุปและการวิเคราะห์เหตุการณ์นี้มาฝากค่ะ


อะไรที่ทำให้จีนต่างพากันบุกเข้ามาช่วงชิงพื้นที่ขายของออนไลน์ในไทย

คำถามนี้ตอบได้ไม่ยาก เพราะความเป็นมาอยู่ที่ตรงนี้ค่ะ เนื่องจาก Alibaba Group ของ Jack Ma ได้เข้ามาเจรจากับผู้นำของไทย โดยมีการจับจองพื้นที่พิเศษ ศูนย์กระจายสินค้า ECC (Eastern Economic Corridor ) และได้รับการ “ยกเว้นภาษีศุลกากร” ในการนำเข้าอีคอมเมิร์ซ สามารถคืน - เคลม สินค้า ได้ภายใน 14 วัน

หมายความว่าอย่างไร?

คิดง่าย ๆ ว่าศูนย์กระจายสินค้า ECC นี้เป็นพื้นที่ประเทศจีน เพียงแค่ตั้งอยู่ในไทย การซื้อ - ขาย บนอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ จะส่งสินค้าออกจากศูนย์กระจายสินค้า ECC คนซื้อสามารถ คืน - เคลมสินค้าได้ภายใน 14 วัน คนขายไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร สำหรับออเดอร์นั้น ต่อไปนี้ ไม่ว่าคุณจะซื้ออะไรบนอีคอมเมิร์ซ ก็ตัดสินใจไม่ยากเลย เพราะส่งกลับไปเคลมได้ง่าย ฝั่งคนขายก็ไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร Win - Win ทั้งคนซื้อและคนขาย

ผลกระทบกับคนขายออนไลน์

  • อวสานแม่ค้าคนกลาง แม่ค้าพรีออเดอร์

    แม่ค้าที่ขายแบบ ซื้อมา - ขายไป งานนี้มีหนาว ลองคิดดูว่าสินค้าเหมือนกันมีขายอยู่ทั่วไป แล้วทำไมลูกค้าต้องเลือกซื้อที่ร้านคุณ?

    ลูกค้าสั่งของใน Lazada ฐานส่งอยู่ไทย ไม่ต้องรอ 2 - 3 สัปดาห์แล้ว จะลดเวลาขนส่งเหลือแค่ 1 สัปดาห์ก็ได้ค่ะ ราคาก็ถูกกว่าแน่ ๆ อยู่แล้ว นอกจากถูกแล้วยังเคลมสินค้าได้ง่ายอีกด้วย ร้านคุณล่ะ...เคลมสินค้าได้ไหม?

  • สงครามราคากำลังปะทุ

    เจอมาหลายปีกันแล้ว แต่ครั้งนี้จะทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก เพราะคนเข้าถึงสินค้าได้ง่ายขึ้น แล้วทีนี้จะเกิดอะไร?

    คำตอบคือ แม่ค้าออนไลน์ก็จะเพิ่มขึ้น ตัดราคาแย่งลูกค้ากันแน่นอน!!  นอกจากนั้นการสั่งสินค้าราคาไม่เกิน 1500 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี (ถ้าเคยสั่งสินค้าจาก Aliexpress ราคาไม่เกิน 1500 บาท จะรู้ว่าไม่ต้องเสียภาษี หากราคาสินค้าเกิน 1500 บาท ก็ต้องเสียภาษีตามปกติค่ะ) แล้วคุณคิดว่าลูกค้าจะไปสั่งสินค้าที่ไหนล่ะ?

  • SME ที่ผลิตสินค้าคล้ายจีน

    มองไปทางไหนสินค้าเกือบทุกอย่างก็ผลิตจากจีนทั้งนั้น SME ที่รับผลิตสินค้าคล้ายสินค้าของจีนก็จะต้องหาทางรับมือให้ได้กันแล้ว บางทีอาจจะเกิดคำถามขึ้นมาแล้วว่างานนี้จะสู้หรือจะหมอบดี? 

คนค้าออนไลน์ปรับตัวยังไง?

  • ต้องเพิ่มมูลค่าให้สินค้า หมดยุคซื้อมา - ขายไป

    สินค้าที่ขายอยู่ มีคุณค่าอย่างไร? ช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างไรบ้าง เอาไปเสริมเติมแต่งจับคู่กับสินค้าอื่น ๆ ได้ไหม? หรือว่าสามารถเอาไปแปรรูปต่อจากเดิมได้ไหม?

  • เลือกซื้อสินค้า Aliexpress แล้วส่งจากเลือกโกดังไทย

    ในเมื่อไหน ๆ ก็มาตั้งศูนย์กระจายสินค้าแล้ว ลองสั่งเลยสิ ถูกกว่า ไวกว่า ไม่ต้องผ่านชิปปิ้ง เชื่อเถอะว่ามีหลายคนที่สั่งของจาก Aliexpress Lazada Shopee มาขายใน Facebook จริง ๆ

  • ตีแบรนด์สินค้า

    ถ้าพอมีทุนก็ทำแบรนด์ของตัวเอง ผลิตเองหรือซื้อมาตีแบรนด์ก็ได้ค่ะ จะได้เป็นเจ้าของเองตั้งแต่ต้นน้ำไปเลย (เพราะยังไงลูกค้าก็จำแบรนด์ได้มากกว่าจำร้านนะจ๊ะ)

  • ส่งออกสินค้าไทยไปให้ทั่วโลก

    โจทย์ง่าย ๆ คือสินค้าอะไรที่จีนผลิตไม่ได้? ด้วยความร่วมมือที่ Alibaba จะสนับสนุนสินค้าเกษตร และสินค้า OTOP เพราะฉะนั้น! ลองค้นหาสินค้าใกล้ตัวที่ผลิตโดยคนไทย แล้วพาสินค้าเหล่านี้ไปแจ้งเกิดสิคะ

การมาครั้งนี้ของ Alibaba Group ไม่ได้มีแต่ข้อเสียซะทีเดียว โอกาสใหม่ๆก็มีมาด้วย งานนี้ก็อยู่ที่คุณแล้วล่ะค่ะ ว่ากำลังมองมุมไหนอยู่?

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ขายของ Shopee เสียภาษีไหม?

เป็นคำถามยอดฮิตสำหรับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์เลยก็ว่าได้ บทความนี้ทีมงานจะขอสรุปเป็นหัวข้อๆ เพื่อคลายข้อสงสัยไม่มากก็น้อย
โดยจะเน้นไปที่การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นรูปแบบบริษัท) เนื้อหาอาจจะดูเยอะ แต่คัดสรรมาเน้น ๆ จุก ๆ ให้ได้อ่านและสำรวจตัวเองกันครับ (เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายทีมงานจะลดการใช้คำศัพท์ทางภาษีให้น้อยที่สุดนะครับ โดยสามารถจิ้มที่หัวข้อต่าง ๆ เพื่อขยายรายละเอียดของหัวข้อนั้น ๆ อ่านได้เลย 😅)

1. ขายของออนไลน์บน Facebook / Shopee / Lazada หรือช่องทางอื่น ๆ เสียภาษีไหม?

ตอบ เสียครับ ถ้า.. “รายได้ของพ่อค้าแม่ค้าถึงเกณฑ์เสียภาษี” แต่ก่อนอื่นอยากให้แยกระหว่างคำว่า “เสียภาษี” กับ “ยื่นภาษี” ก่อน
คำว่า “ยื่นภาษี” หมายถึง การยื่นแบบแสดงรายการว่าเรามีรายได้ให้แก่ทางสรรพากร (ยื่นผ่านระบบออนไลน์ก็ได้/ยื่นที่สำนักงานสรรพากรก็ได้) ส่วนคำว่า “เสียภาษี” (เสียเงินค่าภาษีให้รัฐ) หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับ “ยอดรายได้” ที่เรา “ยื่นภาษี” ว่าถึงเกณฑ์ชำระภาษีหรือเปล่า ( ยื่นไปแล้ว ในขั้นตอนการยื่นยังสามารถยื่นหักลบค่าใช้จ่ายและค่าลด(หย่อน)ได้ด้วยนะ )

แล้วเบื้องต้นทุกคนต้อง “ยื่นภาษี” หรือไม่? ตอบให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า หากรายได้ (รายได้คือเงินที่เราขายของได้ ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งหมดนะ 😅) ต่อเดือนตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป (หรือรวมแล้วเท่ากับหรือเกิน 60,000 บาท/ปี) ก็ต้อง “ยื่นภาษี” ทุกคน  แต่เดี๋ยวก่อน! ใครที่สละโสดแต่งงานเเล้วหลักเกณฑ์จะเปลี่ยนไปตรงที่ เกณฑ์รายได้ขั้นต่ำก็จะขยับขึ้นเป็น 120,000 บาท/ปี เรียกง่ายๆ ว่า “ทั้งเดือน” สองคนมีรายได้รวมกันเท่ากับหรือเกิน 10,000 บาทนั่นเอง ดังนั้น ข้อที่ 1 นี้ให้เช็คตัวเองก่อนว่าเรามีรายได้เข้าเกณฑ์แบบนี้หรือเปล่านะ? และเอาล่ะ ถ้าเช็คแล้วว่าไม่เข้าเงื่อนไขก็ไม่ต้องยื่น เมื่อไม่ต้องยื่นก็ไม่ต้องเสียภาษีนั่นเอง แต่เดี๋ยว! เดือนนี้เช็คแล้วไม่เข้าเกณฑ์แต่ถ้าเดือนหน้าขายดีมากก เดือนเดียวมีรายได้เข้ามาเยอะ ก็อย่าลืมทบทวนตัวเองอยู่เรื่อยๆ ว่าวันนี้เราเข้าเกณฑ์ที่จะต้องยื่นภาษีหรือยังนะ 😅

“แม้ว่าจะไม่เสีย(เงิน)ภาษี  แต่ก็ยังต้องยื่นภาษี(ถ้ารายได้เข้าเกณฑ์) ถ้าเข้าเกณฑ์แล้วไม่ยื่น อาจโดนโทษไม่เกิน 2,000 บาท และถ้าโดนปรับ(กะตังค์)เสร็จเรียบร้อยแล้วตรวจพบว่า ที่ไม่ยื่นในวันนั้น วันนี้ตรวจย้อนไปแล้วต้องเสีย(เงิน)ภาษี ก็จะโดนเสียเงินเพิ่มในอัตรายอดต้องชำระ * 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน) ด้วยนะ ถ้าไม่มียอดภาษีที่ต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่มเติมนั่นเอง”

สรุปเพิ่มเติมเกี่ยวกับเกณฑ์ในการยื่นภาษี (เลือกอ่านหรือไม่ก็ได้ครับ แต่อ่านแล้วอาจจะมี งง นิด ๆ 😅)

1. มีรายได้จากเงินเดือนเพียงทางเดียว ตลอดทั้งปีไม่เกิน 120,000฿ หรือตกเดือนละ ฿10,000
2. มีรายได้ทางอื่นด้วยตลอดทั้งปีไม่เกิน 60,000฿ หรือเดือนละ 5,000฿ (พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ เข้าเงื่อนไขนี้)
3. สมรสจดทะเบียนตามกฎหมายและทั้งคู่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงทางเดียว รวมกันตลอดทั้งปีไม่เกิน 220,000฿ หรือตกเดือนละ 18,333.33฿
4. สมรสจดทะเบียนตามกฎหมาย และทั้งคู่มีรายได้รวมกันตลอดทั้งปีไม่เกิน 120,000฿ หรือตกเดือนละ 10,000฿
5. มีรายได้จากดอกเบี้ยธนาคาร, ดอกเบี้ยพันธบัตร, ดอกเบี้ยหุ้นกู้,  ส่วนต่าง Discount bond, เงินปันผลของบริษัทห้างร้าน, กำไรจากการขายตราสารหนี้ แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย (ภาษีสุดท้าย คือ เงินได้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว โดยผู้มีเงินได้สามารถเลือกที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณ ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้)
6. มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นมรดกหรือมีคนให้มาแล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
7. มีรายได้จากเงินปันผล จากกองทุนรวม แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย
8. มีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น ที่ไม่ได้มุ่งหากำไร แล้วปล่อยให้ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย

1.1. กรมสรรพากรรู้โดยที่เราไม่ต้องแจ้ง(หมายถึง..ยื่นภาษีน่ะ)หรือไม่ ว่าเรามีรายได้จากการขายของออนไลน์

ตอบ กรณีที่เราขายผ่านแพลตฟอร์ม Shopee และ Lazada สรรพากรรู้ได้จากรายการที่แพลตฟอร์มทั้งสอง (Shopee/Lazada) แจกแจงรายได้ (ก็คือการยื่นแสดงรายการภาษีนั่นแหละ) ให้สรรพากรว่า..รายรับค่าธรรมเนียมการขาย / ค่าธรรมเนียมธุรกรรมทางการเงิน / ค่าธรรมเนียมค่าบริการ / ค่าขนส่ง / ค่าธรรมเนียมอื่นๆ  (ซึ่งถือเป็นรายได้ของแพลตฟอร์ม) มาจากร้านค้าใดบ้าง (ซึ่งข้อมูลร้านค้าอาจประกอบไปด้วย ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน จากข้อมูลที่เราลงทะเบียนไว้กับช้อปปี้ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง) ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าเองต้องอย่าลืมว่า..ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่แพลตฟอร์มคิดจากออเดอร์ของเรานั้น ถูกคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ ( ก็คือเอาเปอร์เซ็นต์ของค่าธรรมเนียมไปคูณ(x)ออกมาเป็นค่าธรรมเนียม(บาท)นั่นแหละ ) ดังนั้นต่อให้สรรพากรจะไม่รู้ว่ารายรับเต็ม ๆ ของเราเท่าไหร่ แต่ก็สามารถคำนวณกลับมาได้ว่าค่าธรรมเนียมที่แพลตฟอร์มทั้งสองได้จากเรา เมื่อทำการคูณกลับ (คูณย้อนไป) ด้วยเปอร์เซ็นต์ค่าธรรมเนียมของแต่ละแพลตฟอร์มแล้ว…รายได้ของเราจะอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่นั่นเอง แต่ทั้งนี้สรรพากรก็อาจจะไม่ได้ตรวจตราข้อมูลทั้งหมดในทันทีทันใด เนื่องจากมีปริมาณเยอะมาก ๆ อีกทั้งบุคคลากรที่ดูแลในด้านนี้อาจจะยังไม่เพียงพอที่จะตรวจสอบได้รวดเร็วเมื่อเทียบกับจำนวนพ่อค้าแม่ค้าที่เยอะเอามาก ๆ  หรือข้อมูลของเราอาจจะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่สรรพากรจะต้องตรวจสอบ แต่.. “ไม่วันใดก็วันหนึ่ง” เมื่อยอดเราถึงเกณฑ์แต่ยังคงรอคอยไม่ยื่นภาษี เมื่อวันนั้นประจวบเหมาะกับที่สรรพากรตรวจสอบข้อมูลแล้วพบว่า “เราถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี” แล้วนะ แต่ทำไมยังไม่ยื่นภาษี ก็อาจจะโดนจดหมายเชิญให้ไปพบที่สำนักงานสรรพากรในท้องที่ได้ ข้อความในจดหมายดังกล่าวอาจมีเนื้อความประมาณว่า “กรมสรรพากรพบข้อมูลว่า ท่านมีเงินได้จากการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ท่านจะต้องนำมายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในวันที่ …… เดือน ….. พ.ศ. ….. ”  เป็นต้น ครับ

ปล. บางท่านอาจมีคำถามว่า..แล้วกรณีนี้ถ้ามีการแยกบัญชี เอาบัญชีของคนในครอบครัว พ่อ แม่ พี่ น้อง แฟน ลุง ป้า น้า อา มาสลับให้แพลตฟอร์มโอนเข้าไปจะได้หรือไม่? ตอบว่า.. ก็ไม่รอดครับ ถึงแม้ว่าเราจะมีการเปลี่ยนเลขที่บัญชีในการจ่ายเงินให้กับผู้ขาย แต่หัวเอกสารที่ทางช้อปปี้ยื่นให้กับสรรพากร ยังไงก็เป็นข้อมูลเดิม นั่นหมายความว่า เลขที่บัญชีเปลี่ยน แต่ข้อมูลของผู้รับเงินยังคงเดิม สรรพากรก็ตรวจสอบได้เหมือนกัน แต่ถ้าจะตรวจสอบให้ละเอียดก็ขึ้นอยู่กับการตกลงวิธีการระหว่างแพลตฟอร์มและสรรพากรเอง
* ข้อมูลที่ทางช้อปปี้ยื่นให้กับสรรพากร จะยื่นผ่านระบบออนไลน์อิเล็กทรอนิกส์ โดยยื่นเป็นรายวันหรือตามรอบรายเดือนที่ช้อปปี้กำหนดครับ
* ข้อมูลข้างต้นเป็นเพียงการยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของทีมงาน โปรดติดต่อช้อปปี้สำหรับข้อมูลที่ถูกต้องชัวร์ ๆ อีกครั้งครับ

กรณีที่ 2 เราอาจจะไม่ได้ขายบนแพลตฟอร์ม Shopee และ Lazada เช่น อาจจะขายบน Facebook / Line อื่น ๆ กระจายไปทั่ว แบบนี้ สรรพากรก็อาจรู้ได้ เหมือนกันครับ 

Shopee ส่งจากต่างประเทศ ภาษี

2. เลือกช่วงวันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม (หรือหากยื่นภาษีกลางปี ก็สามารถเลือกเป็นช่วงเวลาเพียงครึ่งปีได้) เมื่อเลือกแล้วกดปุ่ม “ส่งออก” และรอให้ระบบประมวลผลไฟล์ให้เราสักครู่ บางร้านอาจใช้เวลา 15 นาที บ้างก็ 60 นาที บ้างก็ 2-3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับจำนวนออเดอร์ของเราทั้งปีว่ามีมากน้อยแค่ไหน สามารถนั่งจิบกาแฟรอ และหมั่นคอยมาเช็คสถานะไฟล์ว่าพร้อมให้ดาวน์โหลดแล้วหรือไม่..ได้ที่..แฮมเบอร์เกอร์เมนู (ที่มีสัญลักษณ์ขีด 3 ขีดซ้อนกัน สีเทา) ก็จะพบว่าไฟล์ของเราขณะนี้สามารถดาวน์โหลดได้แล้วหรือไม่ โดยจะขึ้นเป็นปุ่มสีส้ม มีคำว่า “ดาวน์โหลด” เมื่อระบบจัดเตรียมไฟล์เสร็จสิ้นแล้ว ทีมงานขอข้ามขั้นตอนนี้ไป สามารถรอและกดปุ่มดาวน์โหลดไฟล์ลงมาในเครื่องได้เลยครับ

Shopee ส่งจากต่างประเทศ ภาษี

3. เปิดไฟล์ด้วยโปรแกรม Excel โดยหากโปรแกรมขึ้นแทบสีเหลืองด้านบนเตือนว่า “PROTECTED VIEW” ก็สามารถกดปุ่ม “Enable Editing” ได้เลย หรือกรณีเป็นเมนูภาษาไทยให้คลิกคำว่า “เปิดใช้งานโหมดแก้ไข”

Shopee ส่งจากต่างประเทศ ภาษี

4. ใช้เมาส์ลากคลุมช่องตัวเลขด้านบนตามภาพตัวอย่าง จากนั้นคลิกที่เมนูหัวลูกศรชี้ลงด้านล่างที่เครื่องหมายตกใจ และเลือก “Convert to Number” เพื่อเปลี่ยนข้อความทั้งหมดในช่องดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบตัวเลข

Shopee ส่งจากต่างประเทศ ภาษี

5. ขั้นตอนนี้เป็นการหายอดรวมของ “ยอดที่จะใช้ยื่นภาษี” โดยสามารถทำได้ 2 แบบ ได้แก่
1. คำนวนบนโปรแกรม Excel เลย 
2. คำนวนด้วยมือหรือเครื่องคิดเลข

กรณีคำนวนบนโปรแกรม Excel เลย สามารถหาเซลล์ (พื้นที่ช่องว่าง) ตั้งสูตร = ผลรวม (แถวที่ 5) ของช่องที่ 1 + ช่องที่ 2 + ช่องที่ 3 + ช่องที่ 4 + ช่องที่ 5 + ช่องที่ 6 + ช่องที่ 7 จากนั้นกดปุ่ม Enter จะได้ออกมาเป็นยอดที่จะใช้ยื่นภาษีครับ
* หมายเหตุ คำว่าช่องที่ 1, ช่องที่ 2, ช่องที่ 3, ช่องที่ … ทีมงานพิมพ์กำกับขึ้นมาเพื่อให้ดูง่ายขึ้น ตอนคำนวณให้ใช้ยอดในแถวที่ 5 ดูเทียบกับคำช่องที่.. นะครับ

โดยหากปัจจุบันที่ผู้อ่านได้ทดลองทำตามทีมงานอยู่ หากช้อปปี้ไม่เปลี่ยนตำแหน่งของการจัดวางข้อมูล สูตรจะออกมาเป็น =G5+H5+I5+J5+K5+L5+M5 ตามภาพครับ 

จะสังเกตุเห็นได้ว่าข้อมูลภายในไฟล์ บางช่อง (เซลล์) ตัวเลขจะมีติดลบอยู่ ใช่แล้วครับ มันติดลบอยู่ ซึ่งช่องที่ตัวเลขติดลบนั้นหากเราคำนวณด้วยมือ/เครื่องคิดเลขเราจะต้องใช้วิธีการลบ(-)/หัก ออกแต่หากใช้สูตรบน Excel เราจะใช้วิธีการ + เข้าไป ช่องไหนที่ตัวเลขติดลบ โปรแกรมก็จะใช้วิธีการลบ/หักออกให้เราเองครับ

กรณีสะดวกคำนวนด้วยมือหรือเครื่องคิดเลข สามารถเอาผลรวมในแถวที่ 5 โดยตั้ง “ช่องที่ 1 – ช่องที่ 2 – ช่องที่ 3 – ช่องที่ 4 – ช่องที่ 5 – ช่องที่ 6 + ช่องที่ 7” ครับ กรณีข้อมูลตามภาพตัวอย่าง จะได้ออกมาเป็น 6687344 – 8954 – 630 – 0 – 2960 – 0 + 126216 ครับ
* ช่องที่ตัวเลขติดลบ ไม่ต้องป้อนตัวเลขแบบติดลบเข้าไปตอนคำนะครับ เป็นให้ค่าเป็นบวกปกติครับ

จากตัวอย่างของทีมงาน จะได้ยอดที่จะใช้ยื่นภาษีคือ 782406 ครับ
เราก็สามารถใช้ยอดนี้ในการยื่นภาษีได้เลย

และบางคนอาจมีคำถามเพิ่มเติมว่า แล้วยอดรายจ่ายของเราล่ะ มียอดไหนบ้างที่สามารถใช้หักค่าใช้จ่ายในการยื่นภาษี กรณีเราใช้วิธีการเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริง (กรณีนี้ให้เราขอเอกสารต่าง ๆ จากช้อปปี้นะครับ เช่น ใบเสร็จค่าธรรมเนียม ใบเสร็จค่าขนส่ง ใบเสร็จค่าธุรกรรมทางการเงิน ลองติดต่อช้อปปี้ดูครับ ว่าเขาสามารถให้เอกสารรายการไหนกับเราได้บ้าง) ยอดค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้หักได้ยกตัวอย่างเช่น
– ค่าจัดส่งที่ Shopee ชำระโดยชื่อของคุณ ก็เอาช่อง (โอห้า) O5 ที่มียอด 170289 – ช่อง N5 ที่มียอด 50277 จะได้มาเป็นค่าใช้จ่ายค่าขนส่งของเราครับ เช่นจากตัวอย่าง เมื่อคำนวณจะได้มาเป็น 120,012 บาทครับ
– ค่าคอมมิชชั่น ใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ครับ
– ค่าบริการ ใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ครับ
– ค่าธุรกรรมการชำระเงิน ใช้เป็นค่าใช้จ่ายได้ครับ

Shopee ส่งจากต่างประเทศ ภาษี

Shopee ส่งจากต่างประเทศ ภาษี

เรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับ “ระบบการเงินของ Shopee ที่ผู้ขายควรรู้ ” สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ https://cdngarenanow-a.akamaihd.net/shopee/seller/seller_cms/5a82a34465f79d98fe6e72c1d037d1a4/EDH-Finance%20Course.pdf

3.2 ยื่นภาษีช่วงไหนของปี ยื่นปีละกี่ครั้ง

ตอบ ภาษีสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ยื่นปีละ 2 ครั้ง 

  1. ยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี การยื่นภาษีครึ่งปีจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณมี เงินได้ประเภทที่ 5, 6, 7 และ 8 (ซึ่งประเภทที่ 8 นี่แหละของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์) รวมกันแล้วเกิน ฿60,000 เท่านั้น (กรณีสถานภาพโสด) โดยจะยื่นภาษีกันช่วงกลางปี คือระหว่าง 1 กรกฎาคม — 30 กันยายน  เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ ค่าลดหย่อน บางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งนึงด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว จะลดลงจาก ฿60,000 เหลือ ฿30,000 บาท (เก็บภาพด้านล่างนี้ไว้เพื่อความเข้าใจ)

Shopee ส่งจากต่างประเทศ ภาษี

 

และเมื่อพ่อค้าแม่ค้า ยื่นภาษีเงินได้ครึ่งปี (ภาษีกลางปี) ไปแล้ว สุดท้ายก็ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีประจำปี (ภาษีปลายปี) อีกครั้งโดยสรุปเงินได้ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะแค่เงินได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ทั้งนี้ก็ไม่จำเป็นจะต้องกังวลว่าการเสียภาษี 2 ช่วงเวลานี้พ่อค้าแม่ค้าจะต้องเสียภาษีซ้ำซ้อนหรือเสียภาษี 2 ต่อหรือเปล่า เพราะเมื่อเราจะต้องเสียภาษีปลายปี (หรือ ภ.ง.ด. 90) ก็จะมีการนำภาษีกลางปี (หรือ ภ.ง.ด. 94) มาทำการคำนวณไปด้วยเสมอว่าคุณเสียภาษีไปแล้วเท่าไหร่และยังต้องชำระภาษีอีกเท่าไหร่

การยื่นภาษีเมื่อคู่สมรสมีรายได้

หากคู่สมรสมีรายได้ พ่อค้าแม่ค้าสามารถเลือกนำรายได้ของคู่สมรสมารวมคำนวณและยื่นภาษีร่วมกันก็ได้ หรือจะแยกยื่นภาษี กันก็ได้ โดยทั่วไปแล้ว หากทั้งคู่ต่างฝ่ายต่างมีรายได้ การแยกยื่นภาษีจะช่วยให้ภาระภาษีรวมของทั้งคู่ต่ำกว่าการยื่นภาษีร่วมกัน

 

2. ยื่นภาษีเงินได้ประจำปี ช่วงเดือน มกราคม – มีนาคม เป็นการสรุปเงินได้ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งปี ไม่ใช่เฉพาะแค่เงินได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังมายื่นภาษี

 

และอย่าลืม พ่อค้าแม่ค้าที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านต่อปี จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้วย โดยต้องไปยื่นคำขอจดทะเบียน VAT ที่สรรพากรพื้นที่ ภายใน 30 นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี และในทุก ๆ เดือน จะต้องนำใบกำกับภาษีไปยื่นเพื่อเสียภาษีแก่กรมสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปครับผม

3.3 ยื่นภาษีที่ไหน?

ตอบ
1. สำนักงานสรรพากรได้ทุกพื้นที่ ทุกสาขา ทุกแห่ง
2. ยื่นออนไลน์ผ่านเน็ต บนระบบ E-Filing ของกรมสรรพากร ได้ที่ลิงก์ https://rdserver.rd.go.th/publish/index.php?page=taxonline

3.4 กรณียื่นภาษีล่าช้า หรือยื่นภาษีไม่ทันควรทำอย่างไรดี?

ตอบ ให้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องและติดต่อที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ให้เร็วที่สุด โดยจะต้องยื่นเพิ่มเติม หรือยื่นเกินกำหนดเวลาซึ่งจะไม่สามารถยื่นภาษีผ่านออนไลน์ได้ครับ นอกจากนี้อาจต้องจ่ายภาษีส่วนที่ค้างอยู่และอาจจะต้องจ่ายค่าปรับซึ่งเป็นบทลงโทษที่เกิดจากการยื่นภาษีล่าช้า หรือจ่ายภาษีไม่ทันกำหนดอีกด้วยครับ

ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90, 91) เกินกำหนดเวลา

1. ค่าปรับอาญา (กรณีไม่ยื่นแบบภาษี) 

  • ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ค่าปรับ 100 บาท
  • ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ค่าปรับ 200 บาท
  • โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

2. เงินเพิ่ม 

  • เสียเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
  • หากไม่มียอดภาษีต้องชำระ ก็ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม

4. ยื่นภาษีอย่างไรผ่านระบบออนไลน์

ตอบ สามารถทำตามคลิปวีดีโอของกูรูด้านภาษี โดย พรี่หนอม @TAXBugnoms ได้เลยครับผม


ผู้อ่านเข้าใจว่า ผู้อ่านเป็นผู้รับความเสี่ยงทั้งหมดในการปฏิบัติตาม หรือไม่ปฏิบัติตามเนื้อหาที่อยู่ในเพจนี้ ซึ่งเป็นเพียงแนวทางที่ได้ให้ไว้เท่านั้น เนื้อหาในปัจจุบันอาจเปลี่ยนไปหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือบางส่วน ทีมงาน Maekha จะไม่รับผิดต่อค่าชดเชยหรือความรับผิดใดๆ สำหรับผลลัพธ์หรือผลที่ตั้งใจไว้กับเนื้อหาที่อยู่ในเพจนี้

สั่งของจาก Shopee ต่างประเทศ เสียภาษีไหม

เมื่อผู้ขายมีรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์ รายได้ในส่วนนี้จะถูกนำมาคำนวณภาษีโดยการ นำยอดเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากการขายสินค้าบน Shopee ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนคูณด้วยอัตราภาษี 0.5%

ของส่งมาจากต่างประเทศต้องเสียภาษีไหม

ทุกครั้งที่มีการสั่งของจากต่างประเทศจะต้องเสียภาษีที่เรียกว่า “ภาษีนำเข้า” ในกรณีที่มูลค่าสินค้านั้น ๆ เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ นั่นคือ เมื่อทำการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศแล้วมีราคา CIF (ราคาศุลกากร (ค่าสินค้า + ค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง + ค่าประกันภัย) สูงกว่า 1,500 บาท ซึ่งอัตราภาษีนั้นจะขึ้นอยู่กับหมวดหมู่ของ ...

สั่งของจากจีนผ่าน Shopee เสียภาษีไหม

1.หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ ที่ซื้อมาเพื่อจำหน่าย ไม่ได้ผลิตเอง 2.หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ผลิตสินค้าเอง ในกรณีนี้ต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นเยอะมาก 3.หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา คือ คิดภาษีเพียง 0.5% ถ้ามีรายได้จากการขายของออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท

สั่งของจากต่างประเทศกี่บาท ต้องจ่ายภาษี

ถ้าลองค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการสั่งของนำเข้าจากต่างประเทศ เราจะเจอคำถามเรื่องภาษีเป็นลำดับต้น ๆ กันเลย ไม่ว่าสินค้าที่สั่งเข้ามานั้น จะชิ้นเล็ก ชิ้นใหญ่ ของใช้ส่วนตัว จะของขวัญหรือของฝาก ก็เลี่ยงภาษีได้ยาก โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศมีมูลค่ามากกว่า 1,000 บาทและไม่เกิน 40,000 บาท จะต้องเสียภาษีอากรขา ...