ควรมีวิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างไร บ้าง

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

จะแก้ปัญหาพนักงานลาออกได้อย่างไร

หลัก 3 ประการสร้างพนักงานให้เป็นนักแก้ปัญหา

วิธีแก้ไขปัญหา  เทคนิคการแก้ปัญหา  เทคนิคแก้ปัญหา  เทคนิคแก้ไขปัญหา  แนวทางแก้ไขปัญหา

บทความยอดนิยม

ควรมีวิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างไร บ้าง

20 ประเภทเพื่อนร่วมงานชวนป่วน พร้อมวิธีรับมือ

ในหนึ่งวันชาวออฟฟิศอย่างเรา ๆ ใช้เวลาอยู่ที่ออฟฟิศไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ถ้าไม่นับเวลาที่เราต้องนอนในแต่ละวัน...

ในการดำเนินชีวิต การทำงาน หรือการทำกิจกรรมต่างๆ มักจะมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อโดยที่เราไม่ได้คาดคิด แม้ว่าเราจะคิดว่าได้เตรียม วิธี แก้ ปัญหา เอาไว้แล้วก็ตาม

การพยายามป้องกัน หรือควบคุมไม่ให้เกิดปัญหา ก็เป็นสิ่งที่ควรทำ แต่ปัญหาก็เหมือนกับ “ฝน” ที่เราไม่รู้เลยว่าจะตกลงมาเมื่อไหร่ เวลาไหน แต่ถึงอย่างไร เราก็ยังสามารถสังเกตได้จากสิ่งรอบๆ ตัว และสัมผัสได้ว่า “ฝนกำลังจะตก” ปัญหาก็เป็นเช่นนั้น แม้จะเป็นสิ่งที่เราไม่รู้ว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่เราก็สามารถสัมผัสได้จากการสังเกตจากสิ่งรอบๆ ตัว เพราะฉะนั้น วิธี การ แก้ ปัญหา จึงไม่ได้มาจากการเตรียม วิธี แก้ ปัญหา ของทุกสิ่งทุกอย่างไว้ล่วงหน้า เพราะหากทำเช่นนั้น คนทำงานคงต้องปวดหัวกันไม่น้อย

 

ควรมีวิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างไร บ้าง

กราฟแสดงคน 4 ประเภท กับการแก้ปัญหา 4 ลักษณะ

 

ดังนั้น ผมจึงอยากให้ทุกคนเข้าใจว่า ปัญหาเป็นเรื่องธรรมดา และเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการ แก้ ปัญหา ก็คือ “ทัศนคติ” ที่มีต่อ “ปัญหา” นั่นเองครับ

หากเราเป็นคนที่มองปัญหาออก และแก้ปัญหาเป็น ก็จะทำให้เราสามารถ ใช้ชีวิต หรือ ทำงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คราวนี้ เราลองมาสำรวจตัวเองกันสักนิด ลองสังเกตดูว่าเราเป็นคนประเภทไหนเมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา? มาลองเช็ค “ทัศนคติ” ของคุณที่มีต่อปัญหากันดีกว่าครับ

 


 

คนประเภทที่ 1 – “เฉยเมย”

ลองนึกถึงการทำงานครั้งล่าสุด ที่ได้มีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกับงานของคุณดูสิครับ ว่าตอนนั้นคุณจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร? หากคำตอบคือ คุณปล่อยผ่าน ทำตัวเป็นทองไม่รู้ร้อน จนในที่สุดปัญหานั่นก็เกิดขึ้นและไม่ได้ถูกแก้ไข อาจจะเป็นเพราะคุณมีทัศนคติต่อปัญหาว่า “นั่นไม่ใช่เรื่องของตัวเอง” จึงไม่ได้คิดหาวิธีแก้ปัญหาอะไรเลย และไม่ได้ลงมือจัดการกับปัญหานั่นด้วย หากเป็นเช่นนั่น แสดงว่าคุณเป็นคนประเภทที่ 1 ที่มัก “เฉยเมย” ต่อปัญหาที่เกิดขึ้น

คนประเภทที่ 2 – “วิจารณ์ เพ้อเจ้อ”

หากคุณรู้สึกว่า คุณก็มักจะคิดหาหนทางหลายๆ อย่าง หรือมักจะออกความเห็นเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น แต่สุดท้ายแล้ว ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหานั่นได้ แสดงว่าคุณอาจจะเป็นคนประเภทที่ 2 หรือพูดง่ายๆ คือ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา คุณมักจะใช้แต่ความคิด ในการวิพากษ์ วิจารณ์ หรือคิดนู้นคิดนี่ไปเรื่อย แต่ไม่ยอมหา วิธี แก้ ปัญหา จนท้ายที่สุดก็ไม่ได้ลงมือแก้ไขปัญหานั่นอย่างจริงจัง หรือหากดูจากกราฟด้านบน ก็จะไปตกอยู่ในช่องของคนที่ “คิด” แต่ไม่ลงมือ “ทำ” นั่นเอง

คนประเภทที่ 3 – “มุทะลุ”

คนประเภทนี้เป็นคนที่มีความกล้าหาญ และทำอะไรรวดเร็ว แต่ติดตรงที่บางครั้งอาจจะไม่ค่อยคิดวางแผนให้ดีเสียก่อน ดังนั้น เมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา จึงมักจะ รีบกระโจนเข้าไปแก้ปัญหาในทันที  ซึ่งบ่อยครั้ง ก็ไม่ได้มี การคิดวางแผน ให้ดีเสียก่อน ส่งผลให้ต้องเสียเวลาในการจัดการกับปัญหา และในหลายๆ ครั้งก็ไม่สามารถ แก้ ปัญหา ได้อย่างตรงจุด

คนประเภทที่ 4 – “นักแก้ปัญหา”

คนประเภทนี้ เราเรียกได้ว่าเป็น “นักแก้ปัญหา” เพราะคนประเภทนี้ หากดูจากกราฟในภาพข้างต้น จะเห็นว่าเป็นบุคคลที่ทั้ง “คิด” และ “ทำ” แสดงว่าคุณสามารถ ตั้งสติ รับมือกับปัญหาได้เป็นอย่างดี พร้อมที่จะลงมือ “ทำ” การแก้ปัญหาได้เสมอ นอกจากพร้อมที่จะลงมือทำแล้ว ยังสามารถ “คิด” วิเคราะห์ปัญหาได้อย่างรอบคอบ ทำให้สามารถ แก้ไข ปัญหา ได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

 


 

หลังจากที่ได้ลองสังเกตตัวเองกันดูแล้ว หากคุณเป็นคนประเภทที่ 4 หรือ “นักแก้ปัญหา” แสดงว่าคุณเป็นคนที่มี “ทัศนคติที่ดี” ต่อ การ แก้ ปัญหา แต่หากคุณสังเกต แล้วกลับพบว่า หลายครั้งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับปัญหา คุณไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้สำเร็จ โดยที่ในความเป็นจริง การที่คุณแก้ปัญหาไม่ได้ ไม่ได้เกิดจากการ ขาดความรู้ หรือ ความสามารถ แต่มาจากจุดเริ่มต้นที่สำคัญ คือ “ทัศนคติที่ดีต่อการแก้ปัญหา” นั่นเอง

การปรับทัศนคติต่อการแก้ปัญหา เป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจและสามารถฝึกฝนได้ ซึ่งหากเราพัฒนาทักษะ การ แก้ไข ปัญหา และปรับเปลี่ยนทัศนคติได้ ก็จะช่วยให้การทำงานและการใช้ชีวิตของตัวเราเอง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การประสบความสำเร็จในสิ่งที่ต้องการได้ทุกเรื่อง

 


 

มาทำความเข้าใจถึง การแก้ปัญหา และพัฒนา ทัศนคติที่ดี เพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

หลักสูตร การ แก้ ปัญหา และ การ ตัดสินใจ “Systems Problem Solving and Decision Making”

โดยผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร จาก A@LERT Learning and Consultant

 

หลักสูตรนี้ เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสาน ระหว่าง…

 

Activity Based Learning

ใช้เกมและกิจกรรมเข้ามาเชื่อมโยงกับเนื้อหาการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

 

Problem Based Learning

มีกิจกรรม Workshop เพื่อให้ผู้เรียนเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง

 

สนใจฝึกอบรมติดต่อ

086-777-1833 (คุณสุภาวดี)

081-711-3466 (คุณทิพย์สุวรรณ)

[email protected]

 

เป็นเพื่อนกับ “นายเรียนรู้” เพื่อติดตามบทความสาระน่ารู้อีกมากมายได้แล้วตอนนี้!

ควรมีวิธีการแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างไร บ้าง

 

อ่านเพิ่มเติม : แก้ปัญหาไม่ถูกจุด…เพราะไม่รู้ประเภทของปัญหา

อ่านเพิ่มเติม : “เทคนิคย้อนรอย” ในการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้า

อ่านเพิ่มเติม : “Thought Model” แผนภาพความคิดเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์

 


 

Tags: วิทยากร Decision Making, วิทยากร Problem Solving, วิทยากร Problem Solving and Decision Making, หลักสูตร Decision Making, หลักสูตร Problem Solving, หลักสูตร Problem Solving and Decision Making, อบรม Decision Making, อบรม Problem Solving, อบรม Problem Solving and Decision Making

แนวทางการแก้ปัญหาคืออะไร

ความหมายของการคิดแก้ปัญหามีผู้ให้ความหมายของการคิดแก้ปัญหาไว้ ดังนี้ กัลยา ตากูล (2550: 20) ให้ความหมายว่า “การคิดแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถในการคิด รวบรวม หรือเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเข้าด้วยกัน เพื่อหาทางแก้ไขอุปสรรค ที่เกิดขึ้นให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการขจัดปัญหาให้หมดไป”

การแก้ไขปัญหาที่ดีควรคำนึงถึงปัจจัยใด

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาใดๆคือการรวบรวมข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ บางคนพอ เห็นปัญหาก็สรุปเลย แบบ Jump conclusion โดยไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลให้ถี่ถ้วน ส่งผลให้เกิดปัญหาใหม่อีกไม่สิ้นสุด ข้อมูลที่สมบูรณ์หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เรียกว่า “ภาวะวิสัย” (Objective evidence) ไม่ใช่จากการปรุงแต่งใส่ไข่ ...

ความสามารถในการแก้ปัญหา มีอะไรบ้าง

2. ความสามารถในการแก้ปัญหา หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการแก้ปัญหาสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติจริงระหว่างการจัดการเรียนการสอนในรายวิชางานประกอบอาหาร แล้วน าความรู้ และประสบการณ์มาคิดหาวิธีการในการแก้ปัญหาซึ่งประกอบด้วย กระบวนการแก้ปัญหาและปฏิบัติการแก้ปัญหา มีความหมายดังนี้