ตารางเงินชราภาพประกันสังคม

เงินบำนาญชราภาพ เป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33 (ผู้ที่ทำงานประจำ) สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยสามารถติดต่อขอเลือกรับสิทธิเงินชราภาพ ในรูปแบบเงินบำเหน็จชราภาพหรือเงินบำนาญชราภาพ (แล้วแต่กรณี) ตามเงื่อนไขและระยะเวลาการส่งเงินสมทบกรณีชราภาพที่ได้ออมไว้ขณะเป็นผู้ประกันตน

  • ลดจ่ายสมทบประกันสังคม ม.33 เหลือ 1% เริ่ม พ.ค.- ก.ค.65
  • ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด บัตรทอง 30 บาท ประกันสังคม ข้าราชการ วิธีใช้สิทธิรักษา

เงินบำนาญชราภาพ ของผู้ประกันตน

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับ เงินบำนาญชราภาพ

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป (หรือประมาณ 15 ปี)
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (เช่น ออกจากงาน)

ประกันสังคมจ่าย เงินบำนาญชราภาพ เท่าไหร่?

สำนักงานประกันสังคม จะจ่ายเงินบำนาญชราภาพเป็น “รายเดือน” โดยจะจ่ายให้ผู้ประกันตน “ตลอดชีวิต” ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะคำนวณจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ต้องจ่ายรายเดือนดังนี้

วิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพ

กรณีจ่ายครบ 180 เดือน (15 ปี)

คำนวณจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ยช่วง 60 เดือนสุดท้าย (5 ปี) ก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยจะคำนวณโดยใช้ฐานค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (ฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท)

สูตรคำนวณกรณีจ่ายครบ 180 เดือน = (20 x อัตราค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) ÷ 100

เช่น หากคุณอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ไปแล้ว และได้รับเงินเดือนเฉลี่ยช่วง 5 ปีล่าสุด เกิน 15,000 บาท จะใช้ฐานเงินเดือน 15,000 บาท สำหรับคำนวณเงินบำนาญชราภาพ โดยจะจ่ายเงินบำนาญชราภาพให้สูงสุดเดือนละ 3,000 บาทให้ผู้ประกันตนไปตลอดชีวิต

กรณีจ่ายเกิน 180 เดือน (เกิน 15 ปี)

คำนวณจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ยช่วง 60 เดือนสุดท้าย (5 ปี) ก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยจะคำนวณโดยใช้ฐานค่าจ้างสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท (ฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท) เช่นกัน และจะได้รับเพิ่มอัตราการจ่ายเงินบำนาญให้อีก 1.5% ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือนที่เกิน 60 เดือนแรก (ได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย + 1.5% ทุกๆ 1 ปีที่เกิน 5 ปี)

สูตรคำนวณกรณีจ่ายเกิน 180 เดือน = [20 + (1.5 x จำนวนปีส่วนเกิน 180 เดือน) x อัตราค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย] ÷ 100

เช่น หากคุณอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ไปแล้ว จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 20 ปี และได้รับเงินเดือนเฉลี่ยช่วง 5 ปีล่าสุด เกิน 15,000 บาท จะใช้ฐานเงินเดือน 15,000 บาท สำหรับคำนวณเงินบำนาญชราภาพ ทำให้อัตราเงินบำนาญชราภาพสำหรับกรณีนี้ คือ 20% + (1.5% x 15 ปี) = 27.5% โดยจะจ่ายเงินบำนาญชราภาพให้สูงสุดเดือนละ 4,125 บาท (ฐานเงินเดือนเฉลี่ย 15,000 x 27.5%) ให้ผู้ประกันตนไปตลอดชีวิต

ตารางสรุปเงินบำนาญชราภาพตามระยะเวลาจ่ายเงินสมทบ

กรณีผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพและได้รับค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายในอัตรามากกว่าเดือนละ 15,000 บาท จะสามารถคำนวณเงินบำนาญชราภาพที่ตนจะได้รับ ดังนี้

ระยะเวลาที่ส่งเงินสมทบ อัตราร้อยละของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เงินบำนาญชราภาพที่จะได้รับต่อเดือน
ไม่ครบ 15 ปี ไม่มีสิทธิ์ได้รับ ไม่มีสิทธิ์ได้รับ
15 ปี 20% ฿3,000
16 ปี 21.5% ฿3,225
17 ปี 23% ฿3,450
18 ปี 24.5% ฿3,675
19 ปี 26% ฿3,900
20 ปี 27.5% ฿4,125
21 ปี 29% ฿4,350
22 ปี 30.5% ฿4,575
23 ปี 32% ฿4,800
24 ปี 33.5% ฿5,025
25 ปี 35% ฿5,250
26 ปี 36.5% ฿5,475
27 ปี 38% ฿5,700
28 ปี 39.5% ฿5,925
29 ปี 41% ฿6,150
30 ปี 42.5% ฿6,375
31 ปี 44% ฿6,600
32 ปี 45.5% ฿6,825
33 ปี 47% ฿7,050
34 ปี 48.5% ฿7,275
35 ปี 50% ฿7,500

หมายเหตุ

กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทจะมีสิทธิ์ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

เช่น หากผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ เดือนละ 3,000 บาท แต่เสียชีวิตภายใน 5 ปีนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในกรณีนี้ทายาทจะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพจำนวน 30,000 บาท

เงินบำเหน็จชราภาพ ของผู้ประกันตน (กรณีส่งเงินสมทบไม่ถึง 15 ปี)

สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน (15 ปี) แม้จะไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ แต่ก็สามารถขอรับเงินบำเหน็จชราภาพจากสำนักงานประกันสังคมได้

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับ เงินบำนาญชราภาพ

  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือนขึ้นไป (ไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์)
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (เช่น ออกจากงาน)

ประกันสังคมจ่าย เงินบำเหน็จชราภาพ เท่าไหร่?

สำนักงานประกันสังคม จะจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็น “เงินก้อนครั้งเดียว” ให้ผู้ประกันตน ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมจะคำนวณจำนวนเงินบำเหน็จชราภาพที่ต้องจ่ายดังนี้

วิธีคำนวณเงินบำเหน็จชราภาพ

กรณีจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 12 เดือน (ไม่ถึง 1 ปี)

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินดังต่อไปนี้

  • เงินออมชราภาพของผู้ประกันตนฝ่ายเดียว
กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 12-179 เดือน (ครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี)

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินดังต่อไปนี้

  • เงินออมชราภาพของผู้ประกันตน
  • เงินสมทบนายจ้าง และ
  • ผลประโยชน์ตอบแทน ตามยอดเงินชราภาพ

ช่องทางสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์เงินชราภาพและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ของผู้ประกันตน

  • สายด่วน 1506 บริการตลอด 24 ชั่วโมง
  • เว็บไซต์ www.sso.go.th
  • ไลน์ LINE OFFICIAL ACCOUT: @ssothai
  • สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ใกล้บ้าน

เงินบํานาญประกันสังคมออกวันไหน 2565

เดือนกันยายน 2565 เงินเข้าบัญชี วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2565. เดือนตุลาคม 2565 เงินเข้าบัญชี วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565. เดือนพฤศจิกายน 2565 เงินเข้าบัญชี วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565. เดือนธันวาคม 2565 เงินเข้าบัญชี วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2565.

เงินประกันสังคมชราภาพได้เท่าไร

เงินบำนาญชราภาพ หมายถึง เงินกรณีชราภาพที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายให้ ผู้ประกันตน รายเดือน ตลอดชีวิตผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และจะบวกเพิ่มอีก 1.5% ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน

เงินชราภาพของประกันสังคมคิดยังไง

สำหรับวิธีคำนวณคำนวณเงินบำนาญชราภาพประกันสังคม มาตรา 33 มีดังนี้ เงินบำนาญ คือ เงินกรณีชราภาพที่ประกันสังคมจ่ายให้ผู้ประกันตนรายเดือนตลอดชีวิต ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย และจะบวกเพิ่มอีก 1.5% ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน

เงินประกันสังคมจะเข้าวันไหน

"ประกันสังคม" กำหนดวันโอนคืน "เงินสมทบ" ให้ผู้ประกันตน มาตรา 40 (ม.40) ดังนี้ ผู้ที่ผูกบัญชีก่อนวันที่ 1 ส.ค. 2565 จะได้รับการคืนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ ระหว่างวันที่ 8-11 ส.ค. 2565. ผู้ที่ผูกบัญชีก่อน 8 ก.ย. 2565 จะได้รับการคืนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ ระหว่างวันที่ 14-16 ก.ย. 2565.