แนวทางแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ดำเนินการเป็น 3 ระยะคือ 1) ระยะประเมินสถานการณ์ 2) ระยะพัฒนาแนวทาง จำนวน 3 รอบปฏิบัติการ และ 3) ระยะประเมินผล  ผู้ร่วมศึกษาประกอบด้วย 1) ผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการทั้งหมด  จำนวน 37 คน 2) ครูศูนย์เด็กเล็ก จำนวน 5 คน    3) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการเสวนาและประชุมระดมสมอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และให้ผู้ร่วมศึกษามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ทุกกระบวนการ ผลการวิจัยพบว่า

ด้านความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารของผู้จัดเตรียมอาหารในครอบครัว ผลการศึกษา พบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารใน ระดับปานกลาง (x̄ = 12.50,   SD= 2.357)  ด้านเจตคติเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของผู้จัดเตรียมอาหารในครอบครัว พบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่มีเจตคติในระดับดี (x̄ = 3.12  S.D. = 0.570)  และด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดอาหาร พบว่า ส่วนใหญ่ ผู้ปกครองมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดอาหารระดับที่ดี (x̄ = 3.58  S.D. = 0.283)

ทางการดูแลเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลทุ่งฝน อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี มีการทดลองใช้ประยุกต์แนวคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนการสะท้อนคิด และสามารถพัฒนารูปแบบได้ดังนี้ 1) มีรูปแบบที่ชัดเจน และมีความตระหนักร่วมกัน  2) มีกติกาสำหรับการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพและเครือข่าย 3) สามารถแก้ไขปัญหาและดูแลเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้อย่างครอบคลุม

         ภาวะทุพโภชนาการเกิดได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัยหากได้รับสารอาหารอาหารที่ร่างกายต้องการไม่ครบถ้วนซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัย  ดังต่อไปนี้ 

๑)    รัปประทานอาหารไม่เพียงพอ                         

         ทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย  หรือ  กรณีโรคอ้วนนั้นเกิดจากการรับประทานอาหารบางชนิดมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารที่ทีไข

มันสูง   นอกจากนี้การได้รับสารอาหารไม่เพียงพออาจเกิดจากความยากจน  ไม่มีเงินซื้ออาหารและอยู่ห่างไกลความเจริญและไม่มีอาหารเพียงพอ

ในท้องถิ่นนั้น     

 ๒)   รับประทานอาหารไม่ถูกต้อง         

       เนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับโภชนาการและมีความเชื่อผิด ๆ   พยายามงดอาหารเพื่อให้ร่างกายผอม  มีสัดส่วนดี หรือเพื่อลดความ

อ้วน  ทำให้ขาดสารอาหารบางชนิดการบริโภคของวัยรุ่นที่ก่อให้เกิดปัญหาภาวะโภชนาการอีกประการหนึ่งคือ  การดื่มน้ำอัดลม 

 ๓)    เป็นโรคบางชนิด         

ทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่รับประทานเข้าไป  เช่น  อุจจาระร่วง  หรือมีพยาธิ  เป็นต้น               

         จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น  ต้องใช้วิธีป้องกันซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุด  และหลีกเลี่ยงจากการบริโภคสิ่งที่จะทำให้เกิดปัญหาด้านโภชนาการ  โดย

การปฏิบัติดังนี้

๑.   รับประทานอาหารให้เป็นเวลาทั้ง 3 มื้อ  ไม่ควรรับประทานอาหารก่อนนอน

๒.   รับประทานอาหารหลาย ๆ อย่างให้ครบ 5 หมุ่

๓.    เลือกรับประทานอาหารโดยคำนึงถึงคุณค่าและประโยชน์มากกว่ารสชาติและราคา

๔.    หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจุบจิบไม่เป็นเวลา  ไม่ควรรับประทานขนมกรุบกรอบต่าง ๆ เพราะจะยิ่งทำให้อ้วน

๕.    อย่ารับประทานอาหารให้อิ่มมากจนเกินไปเพราะจะทำให้ติดนิสัยและกลายเป็นโรคอ้วนได้

๖.    รับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ทุกวัน  ดื่มน้ำมาก ๆ และควรฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา

๗.    เลือกรับประทานอาหารตามฤดูกาลและที่หาได้ในท้องถิ่นจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

๘.    ไม่ควรเลือกรับประทานอาหารตามคำโฆษณา

๙.    มีมารยาทที่ดีในการรับประทานอาหารให้เป็นนิสัยประจำตัว

๑๐.  ออกกำลังกายเป็นประจำ               

            ถ้าเราสามารถปฏิบัติตนตามลักษณะ ทั้ง 10 ข้อข้างต้นได้เราก็จะมีร่างกายที่แข็งแรงและมีรูปร่างที่สมดุล

ที่มา https://www.l3nr.org/posts/77862

ดาวน์โหลดใบงาน ๖.๓ (ด้านล่าง)

คนผอมมีปัญหาภาวะโภชนาการแบบใด

โรคขาดสารอาหารเกิดจากการที่ร่างกายได้รับสารอาหารเข้าไปไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรืออาจจะเกิดการจากที่ร่างกายได้รับสารอาหารตามปกติ ในระดับที่พอเหมาะกับความต้องการของร่างกายแล้ว แต่ไม่สามารถดึงเอาสารอาหารเหล่านั้นไปใช้ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะผิดปกติกับร่างกายได้ อย่างการมีรูปร่างผอมกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคได้ง่าย ...

การแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกินได้แก่อะไร

๑. รับประทานอาหารให้เป็นเวลาทั้ง 3 มื้อ ไม่ควรรับประทานอาหารก่อนนอน ๒. รับประทานอาหารหลาย ๆ อย่างให้ครบ 5 หมุ่ ๓. เลือกรับประทานอาหารโดยคำนึงถึงคุณค่าและประโยชน์มากกว่ารสชาติและราคา ๔. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจุบจิบไม่เป็นเวลา ไม่ควรรับประทานขนมกรุบกรอบต่าง ๆ เพราะจะยิ่งทำให้อ้วน

ข้อใดจัดอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ

ภาวะทุพโภชนาการ คือการที่ร่างกายมีภาวะโภชนาการไม่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารชนิดหนึ่งชนิดใด หรือหลายชนิด หรือสารอาหารที่ให้พลังงานไม่เพียงพอ หรือมากเกินความต้องการของร่างกาย แล้วแสดงอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น หากร่างกายได้รับโปรตีนไม่เพียงพอจะทำให้เกิดโรคควาชิออร์กอร์ (Kwashiorkor) ในเด็ก และหากขาด ...

ปัญหาที่เกิดจากภาวะโภชนาการเกินมีอะไรบ้าง

ภาวะโภชนาการเกิน หรือ ภาวะอ้วน คือ สภาวะของร่างกาย ที่เกิดจากการได้รับอาหารหรือสารอาหารบางอย่างเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ เกิดการสะสมพลังงาน หรือสารอาหารบางอย่างไว้จนเกิดโทษแก่ร่างกาย เช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น