เฉลยใบงาน เวลาและการแบ่งยุค

เว็บไซต์ {โดเมนเว็บของเรา} มีการใช้งานเทคโนโลยีคุกกี้ หรือ เทคโนโลยีอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับคุกกี้ บนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษา นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ก่อนใช้บริการเว็บไซต์ ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

คุกกี้ที่จำเป็น คุกกี้ที่จำเป็น Always active

คุกกี้ที่จำเป็นต่อการใช้งานเว็บไซต์ หากขาดคุกกี้ประเภทนี้ เว็บไซต์จะไม่สามารถใช้งานได้อย่างปกติ

การตั้งค่า การตั้งค่า

การจัดเก็บหรือการเข้าถึงทางเทคนิคมีความจำเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายในการจัดเก็บการตั้งค่าที่ผู้ใช้บริการหรือผู้ใช้ไม่ได้ร้องขอ

คุกกี้เก็บสถิติ คุกกี้เก็บสถิติ

The technical storage or access that is used exclusively for statistical purposes. คุกกี้ที่ใช้เก็บสถิติการเข้าใช้บริการเว็บไซต์

คุกกี้การตลาด คุกกี้การตลาด

คุกกี้ที่ใช้ในการตลาดออนไลน์ ใช้เพื่อนำเสนอข้อมูลทางการตลาดให้เหมาะสมเฉพาะบุคคลมากยิ่งขึ้น

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติตามกาลเวลา และสามารถเปรียบเทียบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์

สารบัญ

  • สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด
  • ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
  • การวัดผลและประเมินผล
  • สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด
  • ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้
  • การวัดผลและประเมินผล

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1 อธิบายการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยได้

2 ทักษะการวิเคราะห์เหตุการณ์ในยุคสมัยต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ไทย

3 เห็นความสำคัญของการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

การวัดผลและประเมินผล

ชิ้นงานหรือภาระงาน

1 ใบงาน เรื่อง การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

2 ความถูกต้องของการทำใบงาน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติตามกาลเวลา และสามารถเปรียบเทียบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้

2. ทักษะการเปรียบเทียบลักษณะสำคัญการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

3. เห็นความสำคัญของการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

การวัดผลและประเมินผล

ชิ้นงานหรือภาระงาน

1. ใบงาน เรื่อง การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

2. ความถูกต้องของการทำใบงาน

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติตามกาลเวลา และสามารถเปรียบเทียบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้

2. ทักษะการเปรียบเทียบลักษณะสำคัญการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

3. เห็นความสำคัญของการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

การวัดผลและประเมินผล

ชิ้นงานหรือภาระงาน

1. ใบงาน เรื่อง การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

2. ความถูกต้องของการทำใบงาน

ห้องไหนที่ไม่ได้ใบงานลอกโจทย์แล้วจดใส่สมุดด้วยนะครับ

ใบงานเรื่อง  การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อาศัยหลักเกณฑ์ใดบ้าง

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาจใช้หลักเกณฑ์การแบ่งตามเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยแบ่งเป็นยุคหินกับยุคโลหะ หรือแบ่งตามลักษณะการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยแบ่งเป็นยุคล่าสัตว์ ที่มนุษย์รู้จักเก็บหาอาหาร ล่าสัตว์ป่า ยังไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่ถาวร ยุคสังคมเกษตรกรรม มนุษย์รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่รวมกัน                เป็นชุมชน และยุคสังคมเมือง ชุมชนพัฒนาไปเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากขึ้น มีการจัดระเบียบการปกครอง               เป็นต้น

สมัยประวัติศาสตร์ จะใช้หลักเกณฑ์การแบ่งเมื่อมนุษย์รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ         ซึ่งอาจบันทึกลงบนกระดูก ไม้ไผ่ แผ่นดินเหนียว ศิลา เป็นต้น

2. การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ตามแบบสากล มีกี่สมัย และแต่ละสมัยเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด

การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ ตามแบบสากลมี 4 สมัย ได้แก่

1)  ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์ตัวอักษรของชาวซูเมเรียเมื่อ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราชจนถึงกรุงโรมของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพวกอนารยชนตีแตกใน ค.ศ. 476              

2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังกรุงโรมแตก ค.ศ. 476 จนถึงพวกเติร์กตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลของจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออกแตกใน ค.ศ. 1453

3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2                 ใน ค.ศ.1945

4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน             

3. การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ตามแบบสากลและแบบไทย เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของไทยจะแตกต่างจากแบบสากลเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย โดยสากลจะแบ่งออกเป็นสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบันร่วมสมัย ส่วนไทยจะแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ออกหลายแบบ เช่น แบ่งตามอาณาจักร เช่น สมัยทวารวดี สมัยละโว้ สมัยศรีวิชัย แบ่งตามราชธานี เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา  แบ่งตามราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วง สมัยราชวงศ์อู่ทอง สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ แบ่งตามรัชกาล เช่น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยรัชกาลที่ 1 แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น สมัยสมบูรณา ญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

กรณีตัวอย่างที่ 1

                ครั้นศักราช ๘๙๑ ปีฉลูศก ญ วันอาทิตย์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดกันกับแม่อยู่หัว     ศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา แต่พระศรีศิลป์น้องชาย  พระชนม์ได้เจ็ดพรรษานั้นเลี้ยงไว้ สมเด็จพระยอดฟ้าอยู่ในราชสมบัติปีกับสองเดือน

1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยกรุงศรีอยุธยา

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      จุลศักราช                              

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       วันอาทิตย์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน  ๘  ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๘๙๑             

กรณีตัวอย่างที่ 2

                        “...ภายหลังมานับถอยหลังขึ้นไปในรัตนโกสินทร์ศก ๘๕ มีจีนคนหนึ่งชื่อเจ๊กฮง จัดตั้งโรงรับจำนำขึ้นโรงหนึ่งที่    ริมประตูผีนี้เอง...

1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยกรุงรัตนโกสินทร์        

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      รัตนโกสินทร์ศก

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       รัตนโกสินทร์ศก ๘๕          

กรณีตัวอย่างที่ 3

                เมื่อก่อนลายสือไทนี้ บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทนี้  ลายสือไทนี้      จึ่งมีเพื่อพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้

1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยสุโขทัย          

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      มหาศักราช                            

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       ๑๒๐๕  ศก ปีมะแม