จงบอกนามราชธานีกรุงรัตนโกสินทร์

การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี

          เมื่อเกิดเหตุจราจลขึ้นในตอนปลายสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึกทราบข่าว จึงยกทัพ

กลับจากเขมร บรรดาขุนนางน้อยใหญ่ทั้งหลายก็พากันมาอ่อนน้อมยอมสวามิภักดิ์ เรียกร้องให้ทรงแก้ไข 

     วิกฤติการณ์ พร้อมทั้งทูลอัญเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ซึ่งนับเป็นวันเริ่มต้น

แห่งราชวงศ์จักรี ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 6 เมษายน ของทุกปี เป็นวันจักรี 

           หลังจากสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกทรงรับเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว จึงทรงชำระสอบสวนพฤติกรรม

ของขุนนางข้าราชการทั้งหลาย ที่พบว่าไม่จงรักภักดีก็ให้เอาตัวไปประหารชีวิตเสีย พร้อมทั้งได้ทรงปูนบำเหน็จ

แก่ผู้มีความดีความชอบ และทรงมีดำริว่า พระราชวังเดิมมีวัดขนาบทั้งสองด้าน ทำให้ขยายกว้างขวางออกไปไม่

ได้ ไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีสืบไป จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายพระนครมายังฝั่งตะวันออก (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำ     

     เจ้าพระยา) สร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานีใหม่ 

          เหตุผลในการย้ายราชธานี

       1. ราชวังเดิมไม่เหมาะสมในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ยาก แก่การป้องกันรักษา 

       2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะเป็นด้านหัวแหลม มีลำน้ำเป็นพรมแดนกว่าครึ่ง

       3. เขตพระราชวังเดิมขยายไม่ได้ เพราะมีวัดกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง ได้แก่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาด

          ลักษณะของราชธานีใหม่

         ราชธานีใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯให้สร้างขึ้นได้ทำพิธียกเสาหลักเมือง

เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 การสร้างราชธานีใหม่นี้โปรดฯให้สร้างเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือกำหนด

ผังเมืองเป็น 3 ส่วน

        1.ส่วนที่เป็นบริเวณพระบรมมหาราชวัง วังหน้า วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ทุ่งพระเมรุ และสถาน

ที่สำคัญอื่น ๆ มีอาณาบริเวณตั้งแต่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามาจนถึงคูเมืองเดิมสมัยกรุงธนบุรี

        2.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยภายในกำแพงเมือง เริ่มตั้งแต่คูเมืองเดิมไปทาง ทิศตะวันออก จนจดคูเมืองที่

ขุดใหม่หรือคลองรอบกรุง ประกอบด้วย คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง และเพื่อสะดวกในการคมนาคม โปรด

ให้ขุดคลองสองคลองคือคลองหลอด 1 และคลองหลอด 2 เชื่อมคูเมืองเก่ากับคูเมืองใหม่ติดต่อถึงกัน ตามแนว

คลองรอบกรุงนี้ ทรงสร้างกำแพงเมือง ประตูเมือง และป้อมปราการขึ้นโดยรอบ นอกจากนี้ยังโปรดให้สร้างถนน

สะพาน และสถานที่อื่น ๆ ที่จำเป็น ราษฎรที่อาศัยอยู่ในส่วนนี้ประกอบอาชีพค้าขายเป็นหลัก

3.ส่วนที่เป็นบริเวณที่อยู่อาศัยนอกกำแพงเมือง มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมคลองรอบกรุง เป็นหย่อม ๆ กระจายกันออก

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบจลาจลภายในกรุงธนบุรีและสร้างความมั่นคงภายในประเทศแล้ว พระองค์ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรีซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาและตั้งชื่อใหม่ว่ากรุงเทพฯ ทั้งนี้เนื่องด้วยสาเหตุหลายประการ คือ

  1. พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ มีวัดขนาบอยู่ทั้ง 2 ด้าน คือ วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) ทำให้ไม่สามารถขยายอาณาเขตของพระราชวังให้กว้างขวางขึ้นได้
     
  2. พระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยที่จะให้พระนครแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาผ่ากลางเป็นเสมือนเมืองอกแตก ดังเช่น เมืองพิษณุโลก สุพรรณบุรี เพราะหากข้าศึกยกทัพมาตามลำน้ำ ก็สามารถบุกตีใจกลางเมืองหลวงได้ ทำให้ยากแก่การป้องกันพระนคร ครั้นจะสร้างป้อมปราการทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำ ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองเงินทองมาก ทำให้ยากแก่การเคลื่อนพลจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง ซึ่งเป็นการยากลำบากมาก ดังนั้นพระองค์จึงย้ายพระนครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาเพียงแห่งเดียว โดยมีแม่น้ำเป็นคูเมืองทางด้านตะวันตก และใต้ ส่วนทางด้านตะวันออกและทางด้านเหนือ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองขึ้นเพื่อเป็นคูเมืองป้องกันพระนคร
     
  3. พื้นที่ทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปได้เรื่อยๆ ตรงบริเวณที่ตั้งพระนครพื้นที่เป็นแหลม โดยมีแม่น้ำเป็นกำแพงกั้นอยู่เกือบครึ่งเมือง
     
  4. ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายอยู่เสมอ จึงไม่เหมาะแก่การสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุใดๆ ไว้ริมฝั่งแม่น้ำ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีรับสั่งให้สร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณหัวโค้งแม่น้ำเจ้าพระยา คือ บริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน พระราชทานนามเมืองใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธนา มหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนจากคำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์”

ในการสร้างพระมหาบรมราชวัง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นภายในด้วย คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว แล้วให้อัญเชิญพระแก้วมรกตขึ้นประดิษฐาน ทรงพระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” เพื่อเป็นสิริมงคลแก่กรุงเทพฯ