จงบอกคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

ความรู้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี> Blog> ครูไอซ์ สอนคอม> ลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์

ครูไอซ์ สอนคอม อื่น ๆ เทคโนโลยี

จงบอกคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
จงบอกคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

ลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์

จงบอกคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
จงบอกคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

มาดูลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ ว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ลักษณะสำคัญ คือ

1. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
หลังที่เราได้ทำความรู้จักกับ ความหมายของคอมพิวเตอร์ไปแล้ว ก็เข้าใจดีว่าระบบของคอมพิวเตอร์จะมีส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์ นั้นก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่ประกอบและรวมตัวกันกลายเป็นคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาศัยกระแสไฟฟ้า และซอร์ฟแวร์ หรือชุดคำสั่ง ทำให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลการทำงาน และแสดงผลออกมาในรูปแบบที่คนทั่วไปสามารถเข้าใจได้ง่าย

2. ประมวลผลด้วยความเร็วสูง
ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลข้อมูล ด้วยความเร็วพันล้านคำสั่งต่อวินาที ซึ่งจะเห็นได้ว่าการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์มีการทำงานได้อย่างรวดเร็วมาก ทำให้การทำงานเป็นไปด้วยประสิทธิภาพ

3. ติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้
เป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อทำงานร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเรียกว่า (Network System) ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อด้วยระบบสายแลน (Lan) หรืออุปกรณ์ไร้สาย

4. เก็บข้อมูลได้มาก
แน่นอนว่าเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลในการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก ปัจจุบันความจุในการจัดเก็บข้อมูลภายในระบบคอมพิวเตอร์มีความจุมากขึ้นเป็น TB (Terabyte) ซึ่งความจุ 1TB จะเท่ากับ 1,000 GB ดังนั้นไม่ต้องพูดถึงการจัดเก็บข้อมูลเลยว่า จะสามารถจัดเก็บได้มากขนาดไหน เพราะปัจจุบันมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่นอกเหนือจาก Harddisk แล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่รองรับการจัดเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเช่นกัน

5. สะดวกในการย้ายข้อมูล
วิวัฒนาการของระบบคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบัน ในการย้ายข้อมูล สำรองข้อมูล สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย ผ่านโปรแกรม หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ให้บริการจัดเก็บ หรือจัดการเกี่ยวกับข้อมูล ซึ่งสามารถจัดการได้ทุกรูปแบบ ง่าย ๆ และไม่ซับซ้อน

6. ทำงานอย่าง ถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้
คอมพิวเตอร์ทำงานภายใต้ชุดคำสั่งตามกระบวนการ ทำให้ผลลัพท์ของข้อมูลที่แสดงออกมานั้น ถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้

7. ทำงานได้หลากหลายในเวลาเดียวกัน
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันได้ เช่น เปิดเพลง ทำงานเอกสาร ออกแบบ การคำนวณ เป็นต้น

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการที่ทันสมัย และตอบโจทย์ต่อการก้าวสู่ห่วงเวลามากยิ่งขึ้น เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ชีวิตของเรามากยิ่งขึ้น เราก็ต้องแอคทีฟตัวเองทั้งในด้านที่มีประโยชน์และด้านเปล่าประโยชน์เช่นกัน
อ.กิตติศักดิ์ กล่าว

เข้าใจง่าย ๆ สั้น ๆ กระชับ สำหรับคนทั่วไป
(คำเตือน ไม่เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเรียนรู้เชิงลึกในหัวข้อนี้)

ข้อมูลดี ๆ จาก
อาจารย์กิตติศักดิ์ ชูเลม็ด
ผู้สอนในหมวดรายวิชาคอมพิวเตอร์
ครูน้ำแข็งใสสอนคอม
ความรู้ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

Tags: ครูน้ำแข็งใส สอนคอม คอมพิวเตอร์ ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ ลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ ลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์

Share on

Share on Facebook

Beenexts 22 ตุลาคม 2021

ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมทั้งจะต้องศึกษาถึงผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ต่อสังคมในวันนี้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยในแง่บวกนั้นจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป นั่นคือทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์จดหมาย การจัดทำหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ การฝาก – ถอนเงินในธนาคาร การจ่างเงินซื้อสินค้า ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย

ในแง่ลบก็มีไม่น้อย เช่น

    • โรงงานผลิตอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ มากมาย

      คอมพิวเตอร์ มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”

      คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์มีดังนี้

      1. ความเร็ว (Speed)
      2. หน่วยความจำ (Memory)
      3. ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกต์ (Electronic & Automatic)
      4. การเก็บรักษาข้อมูล หรือ โปรแกรม (Retention)
      5. ความถูกต้องและความเชื่อถือได้ (Accuracy & Reliability)

      องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

      1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า “ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)” ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น

      2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา

      ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

      1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

      2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ

      3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ

      4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

      – เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)

      – บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)

      – ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)

      – ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)

      5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

      หน่วยรับข้อมูล (INPUT UNIT)

      เป็นอุปกรณ์รับเข้า ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับข้อมูลมีหลากหลายอุปกรณ์

      หน่วยประมวลผล (PROCESSING UNIT)

      คือ สมองของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการปฏิบัติงานหลักของเครื่อง กล่าวคือ ทำหน้าที่ด้านการคำนวณ ประมวลผลและการเปรียบเทียบตามคำสั่งหรือโปรแกรม โดยทั่วไปในเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์จะติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งจะประกอบด้วย Microprocessor Chip, แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Card) และ Chip ประกอบอื่น ๆ ไว้บนแผงวงจรหลักที่เรียกว่า Mainboard หรือ Motherboard
      รวมเรียกทั้งหมดนี้ว่า System Unit หรือ System Cabinet นำไปติดตั้งไว้ในตัวถัง หรือ Case

      จงบอกคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

       

      1. หน่วยควบคุม (Control Unit) 

      • หน่วยควบคุม(Control Unit) ทำหน้าที่ส่งสัญญาณควบคุม(Control Signal) ไปควบคุมการทำงานของหน่วยประมวลผล เป็นเหมือนผู้ที่ทำหน้าที่ปิด-เปิดสวิตช์ เพื่อควบคุมวงจรให้ทำงานตามคำสั่งหรือ โปรแกรมได้รับมา สัญญาณควบคุมต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่– ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลักกับหน่วยต่าง ๆ
        – ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างหน่วยต่าง ๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง
        จงบอกคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

      2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit : ALU)

      หน่วยคำนวณและตรรกะ หรือที่เรารียกอีกอย่างหนึ่งว่า ALU ซึ่งวงจรนี้จะทำหน้าที่หลัก 2 อย่างคือ

      1. ทำหน้าที่ด้านตรรกะ คือ การเปรียบเทียบ ได้แก่ เท่ากับ ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่า มากกว่าหรือเท่ากับ น้อยกว่า หรือเท่ากับ
      2. ทำหน้าที่เป็นเครื่องคิดเลขคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร

      หน่วยความจำ (MEMORY UNIT)

      หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งออกหน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และรับผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล และเตรียมส่งออกหน่วยแสดงผลข้อมูลต่อไป ซึ่งหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ดังนี้

      • หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM : Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำทีใช้ในขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่ปิดเครื่อง
      • หน่วยความจำถาวร หรือหน่อยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดิสก์ (Hard Disk) ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และรอม (ROM : Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม้่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง

        คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์คืออะไร

        ทำให้มีการประมวลได้รวดเร็วและถูกต้องจากการที่หน่วยความจำสามารถบันทึกโปรแกรมและข้อมูลไว้ในเครื่องได้ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติพิเศษ คือสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติในกรณีที่มีงานที่ต้องทำซ้ำๆหรือบ่อยครั้งถ้าใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานเหล่านั้นก็จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงซึ่งจะได้ทั้งความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำ ...

        คอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติที่สำคัญ 5 ประการ มีอะไรบ้าง จงอธิบาย

        3.คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์.
        1. การทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic machine) ... .
        2. การทำงานด้วยความเร็วสูง (Speed) ... .
        3. ความถูกต้องแม่นยำเชื่อถือได้ (Accuracy and Reliability) ... .
        4. การเก็บข้อมูลได้ในปริมาณมาก (Storage) ... .
        5. การสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูล (Communication).

        คุณสมบัติใดของคอมพิวเตอร์ที่เหนือกว่าความสามารถของมนุษย์

        1.ทำงานได้อย่างรวดเร็ว โดยคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลที่รวดเร็วกว่ามนุษย์หลายล้านเท่าจึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานเพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของงาน ได้อย่างรวดเร็ว เช่นการประมวลผลประกอบการซื้อขาย การรายงานและการประมวลผลก่อนการเกิดแผ่นดินไหว

        ความสําคัญของคอมพิวเตอร์ คือ อะไร

        การใช้ประโยชน์จากคอมพิวเตอร์ นับว่ามีความสำคัญมากไม่ว่าจะใช้งานในด้านการจัดทำเอกสาร จัดเก็บข้อมูล การบริหารข้อมูลบัญชีพนักงาน หรือจัดการสต็อกคลังสินค้า การใช้ควบคุมเครื่องจักรอุตสาหกรรม ใช้วิเคราะห์งานด้านวิทยาศาสตร์ หรือใช้ควบคุมอุปกรณ์การแพทย์ ใช้ในงานออกแบบสถาปัตย์กรรม และงานศิลปรวมไปถึงใช้ในการสื่อสาร และอีกมากมาย ...