งานอุปกรณ์เครื่องมือโม่หิน

5.4.3.2 เหล็กหล่อสีขาว 

      เหล็กหล่อสีขาว ใช้งานไม่กว้างขวางเหมือนเหล็กหล่อสีเทา คุณสมบัติที่เด่นของมันก็คือมันมีความแข็งกว่า แต่ก็มีความเปราะมาก มีคาร์บอนผสมอยู่ในรูปของเหล็กคาร์ไบน์ (Carbide) หรือซีเมนไทต์ (Cementile: Fe3 C (จะได้กล่าวถึงรายละเอียดในภายหลัง)) เมื่อมันมีความแข็ง ทำให้การใช้เครื่องมือกลตัดเฉือนทำได้ยากกว่า แต่ทนทานต่อแรงกระแทกได้น้อย ที่เรียกว่าเหล็กหล่อสีขาว ก็มาจากเมื่อหักเหล็กหล่อให้แตก แล้วดูรอยแตกจะเห็นเป็นสีขาว เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า การหลอมเหล็กเข้าแม่พิมพ์ แล้วทำการปล่อยให้เย็นเป็นไปอย่างรวดเร็ว

รูปชุดเฟอนิเจอร์ที่ทำมาจากเหล็กหล่อสีขาว

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

      เพราะคุณสมบัติด้านความแข็งที่ดีของเหล็กหล่อสีขาว ทำให้มันเป็นเหล็กที่นำไปใช้ประโยชน์ในงานบางอย่าง เช่น ในงานที่ต้องทนต่อการเสียดสี งานแม่พิมพ์เครื่องดัดเหล็กดัดท่อ, การใช้ในเครื่องบดโม่หิน (ต้องการความแข็งมากเพื่อใช้ในการทำลายหิน) และบดวัสดุอื่น ๆ, ล้อรถบดถนน (Road roller tire)

รูปเครื่องดัดโลหะลูกกลิ้งดัดมักทำมาจากเหล็กหล่อสีขาว

รูปรถบดถนนล้อบดด้านหน้าทำมาจากเหล็กหล่อสีขาว

คุณสมบัติของเหล็กหล่อสีขาวมีดังนี้

§  มีความแข็งสูง

§  มีความเปราะสูง

§  ทนแรงกระแทกได้น้อย

§  ทนต่อการเสียดสีได้ดี

      นอกจากนี้เหล็กหล่อสีขาว ยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเหล็กหล่อมัลลีเบิลอีกด้วย เมื่อนำเหล็กหล่อสีขาวมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ สังเกตดี ๆ จะพบความแตกต่างกันของเหล็กหล่อสีขาว และเหล็กหล่อสีเทา

รูปโครงสร้างทางจุลภาคของเหล็กหล่อสีขาว

รูปโครงสร้างทางจุลภาคของเหล็กหล่อสีขาว อีกหนึ่งรูป

วิดีโอเครื่องดัดท่อแม่พิมพ์ดัดทำมาจากเหล็กหล่อสีขาว

5.4.3.3 เหล็กหล่อมัลลีเบิล

       เหล็กหล่อมัลลีเบิล หรืออีกชื่อก็คือ เหล็กหล่ออบเหนียว มีคุณสมบัติพิเศษมากมายที่เหนือกว่าเหล็กหล่อสีเทา และเหล็กหล่อสีขาว โดยเหล็กหล่อมัลลีเบิลมีความเหนือกว่าในด้าน มีความเหนียว และทนทานต่อแรงกระแทกได้ดี มีความยืดหยุ่นคล้ายกับเหล็กกล้า มีค่าความแข็งแกร่งในดึงสูงกว่าเหล็กหล่อสีเทา และเหล็กหล่อสีขาว แต่ต่ำกว่าเหล็กหล่อที่มีแกรไฟต์เป็นก้อนเม็ดกลม (เหล็กหล่อเหนียว) เล็กน้อย แน่นอนราคาก็ย่อมจะสูงกว่าเหล็กหล่อทั้งสองชนิดที่กล่าวมา

รูปอุปกรณ์จับยึดซีแคล็ม ที่ตัวซีทำมาจากเหล็กหล่อมัลลีเบิล

      เหล็กหล่อมัลลีเบิลปรับปรุงสภาพมาจากเหล็กหล่อสีขาว โดยการนำเหล็กหล่อสีขาวมาอบเพิ่มอุณหภูมิความร้อนให้สูงเพื่อปรับปรุงโครงสร้างให้ดีขึ้น จนเกิดการเปลี่ยนแปลงของคาร์บอน และธาตุเหล็กอิสระไปเป็น คาร์ไบน์ คาร์บอนจะสะสมอยู่ในอนุภาคของเนื้อเหล็กเป็นเม็ดหยาบ ที่เรียกว่า อนุภาคคาร์บอนแข็ง (Temper carbon particles)

รูปโครงสร้างทางจุลภาค อนุภาคคาร์บอนแข็งของเหล็กหล่อมัลลีเบิล

รูปโครงสร้างทางจุลภาค อนุภาคคาร์บอนแข็งของเหล็กหล่อมัลลีเบิล อีกหนึ่งรูป

การก่อรูปแบบของอนุภาคแบบนี้ เป็นผลให้เหล็กหล่อมัลลีเบิลมีความเหนียวมากกว่า และสามารถนำไปใช้งานได้โดยที่ไม่ทำให้ความแข็งแกร่งต่อการอัดตัวลดลง การใช้งานดูที่รูป

รูปข้อต่อรูปแบบต่าง ๆ ของท่อประปาที่ทำมาจากเหล็กหล่อมัลลีเบิล มีคุณสมบัติเด่นด้านความเหนียว

คุณสมบัติของเหล็กหล่อมัลลีเบิล

Øความเหนียวมีมากกว่าเหล็กหล่อสีเทา และเหล็กหล่อสีขาว

Øมีความแข็งเพิ่มมากกว่าเหล็กหล่อสีขาว

Øสามารถยืดตัวได้มากขึ้น

Øทนทานต่อการกระแทกได้ดีกว่า

Øนำไปชุบผิวแข็งได้ดี

5.4.3.4 เหล็กหล่อเหนียว

      เหล็กหล่อเหนียว มีอีกชื่อเรียกว่า เหล็กหล่อโนดูล่า (Nodular cast iron) หรือ เหล็กหล่อแกรไฟต์ก้อนกลม (Spheroidal cast iron) สาเหตุที่เรียกชื่อนี้ก็เพราะอนุภาคแกรไฟต์ มีรูปร่างเป็นเม็ดกลม (หรือโนดูล่า (เม็ดตุ่ม)) ตกผลึกอยู่ในเนื้อเหล็กหล่อ ซึ่งมีความแตกต่างจากอนุภาคคาร์บอนของเหล็กหล่อมัลลีเบิล เม็ดตุ่มที่เกิดขึ้นในเหล็กหล่อเหนียวเกิดจากการตกตะกอนจากการหลอมเหล็กหล่อโดยตรง ทำให้มันมีความเหนียว และรับแรงกระแทกได้ดีกว่าเหล็กหล่อสีเทาเป็นอย่างมาก

รูปโครงสร้างทางจุลภาคของเหล็กหล่อเหนียว

รูปโครงสร้างทางจุลภาคของเหล็กหล่อเหนียว อีกหนึ่งรูป

      การผสมธาตุซีเรียม หรือแมกนีเซียม ลงไปในเหล็กหล่อทำให้มันเกิดแกรไฟต์เม็ดกลม โดยธาตุคาร์บอนที่มีอยู่ในเนื้อเหล็กตกตะกอนแตกตัว ออกมารวมกลุ่มกัน ในรูปร่างของแกรไฟต์เม็ดกลม

      ที่เราเรียกว่า เหล็กหล่อเหนียว มาจากมันมีความเหนียว และทนทานต่อแรงดึงมากกว่า เมื่อเทียบกับเหล็กหล่อมัลลีเบิล 

      การนำไปใช้งานจะทนทานกว่าเหล็กหล่อสีเทามาก จึงมีการนำไปใช้งานหนัก อาทิเช่น เพลาหมุน (Spindle) ของเครื่องกลึง, เพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) ของเครื่องยนต์ดูได้ในรูป

รูปเพลาหมุนของเครื่องกลึง

รูปการประกอบเพลาข้อเหวี่ยงที่ทำมาจากเหล็กหล่อเหนียว

คุณสมบัติของเหล็กหล่อเหนียว

vทนแรงดึงได้ประมาณ 540 – 700 N/mm2

vอัตรายืดตัวประมาณ 1 – 5%

vสามารถนำไปชุบแข็ง อบอ่อนเพื่อลดความเครียด หรือนำไปชุบผิวแข็งได้

v นำไปผ่านกระบวนการทางเครื่องมือกลได้ง่าย

vทนทานต่อการสึกหรอ

vทนความร้อนได้ดี

vสามารถนำไปดีขึ้นรูปได้

v รับแรงกระแทกได้ดี

รูปท่อเหล็กหล่อเหนียว

วิดีโอการแสดงกระบวนการผลิตท่อที่ทำมาจากเหล็กหล่อเหนียว

5.4.3.5 เหล็กหล่อผสมชนิดพิเศษ

       เหล็กหล่อส่วนมาก จะมีส่วนประกอบพื้นฐานที่ผสมเข้าไปในเนื้อเหล็ก นั่นก็คือคาร์บอน และซิลิกอน แต่เหล็กหล่อผสมชนิดพิเศษจะมีการผสมธาตุต่าง ๆ เพิ่มเข้าไปทั้งนี้ก็เพื่อการนำไปใช้งานเฉพาะทาง  

      เหล็กหล่อผสมพิเศษจะแบ่งเป็นเกรดไป ธาตุที่นำมาผสมมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น นิกเกิล, ทองแดง, โครเมียม และธาตุผสมอื่น ๆ

      ถ้าเหล็กหล่อผสมพิเศษ มีส่วนผสมของ นิกเกิล, ทองแดง และโครเมียม เหล็กหล่อผสมพิเศษนี้จะมีความทนทานต่อการกัดกร่อนของกรดได้เป็นอย่างดี ส่วนเหล็กหล่อผสมพิเศษอื่น ๆ ก็มีการพัฒนาให้มีความแข็งแกร่งขึ้น และมีคุณสมบัติทนต่ออุณหภูมิสูง

เหล็กหล่อผสมพิเศษนิยมนำไปใช้ในการทำกระบอกสูบ, ลูกสูบ, แหวนลูกสูบ และใบพัดกังหันแก๊ส

รูปแหวนลูกสูบเครื่องยนต์ที่ทำมาจากเหล็กหล่อผสมพิเศษ

รูปกังหันเทอร์ไบน์ทำมาจากเหล็กหล่อผสมพิเศษ

เหล็กหล่อประเภทต่าง ๆ

ประเภทเหล็กหล่อ

ส่วนผสม % โดยน้ำหนัก  

ความเค้นที่จุดครากตัว (ความเผื่อ 0.2% ) MN/m2

ความเค้นจากการดึง MN/m2

เปอร์เซ็นต์การยืดตัว  

(%)

ค่าความแข็งแบบบริเนล

ตัวอย่างการใช้งาน

เหล็กหล่อสีเทา (ASTM A48)

C 3.4, Si 1.8, Mn 0.5

344.738

0.5

260

เสื้อสูบเครื่องยนต์, ล้อช่วยแรง, โครงฐานเครื่องมือกล ฯลฯ

เหล็กหล่อสีขาว

C 3.4, Si 0.7, Mn 0.6

172.369

0

450

ตลับลูกปืน, ล้อรถบดถนน, แม่พิมพ์เครื่องดัดท่อ ฯลฯ

เหล็กหล่อมัลลีเบิล (ASTM A47)

C 2.5, Si 1.0, Mn 0.55

227.527

358.527

12

130

แกนตลับลูกปืน, ข้อต่อท่อน้ำ ฯลฯ

เหล็กหล่อเหนียว

C 3.4, P 0.1, Mn 0.4, Ni 1.0, Mg 0.06

365.422

482.633

18

170

เฟือง, เพลาลูกเบี้ยวเพลาข้อเหวี่ยงเครื่องยนต์, เพลาลูกเบี้ยว

             

ตาราง 5.10 การเปรียบเทียบคุณสมบัติต่าง ๆ ของเหล็กหล่อ

5.5 เหล็กบริสุทธิ์

      เหล็กบริสุทธิ์ หรือเหล็กดัด (Wrought Iron) มีความแตกต่างจากเหล็กหล่ออย่างมาก เหล็กบริสุทธิ์เกือบจะไม่มีสารเจือปน มันมีคาร์บอนผสมเป็นองค์ประกอบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

      เหล็กบริสุทธิ์มีความแข็งแกร่ง และความแข็งต่ำมาก เนื่องมาจากมีปริมาณคาร์บอนเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี มันจะมีความเหนียว และความทนทานต่อการกัดกร่อนมาก ก่อนประมาณปี พ.ศ. 2400 เหล็กบริสุทธิ์ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในงานโครงสร้าง และงานโลหะ เป็นโลหะที่สำคัญมากที่สุดในสมัยนั้น

      ต่อมาเมื่อการวิจัยทางด้านโลหะวิทยา ได้พัฒนาขึ้น งานด้านโลหะเหล็กบริสุทธิ์ถูกนำมาใช้น้อยลง แต่ยังคงมีใช้งานอยู่บ้างในงานโครงสร้าง

รูปตัวอย่างประตูเหล็กดัดที่ทำจากเหล็กบริสุทธิ์

      คุณสมบัติที่สำคัญสำหรับเหล็กบริสุทธิ์ที่มีอยู่ทุกวันนี้ คือมันมีความสามารถต้านทานต่อการกัดกร่อนที่ดี โดยมีการเสริมเส้นใยของกากแร่ (เป็นกากซิลิกอน) จำนวนมากกระจายไปทั่วเหล็กบริสุทธิ์ ถ้ามีการกัดกร่อนเกิดขึ้นในเนื้อเหล็ก จนมันจะเจอกับเส้นใยกากแร่ที่เนื้อเหล็ก การกัดกร่อนก็จะชะลอ หรือหยุดลง เพราะกากแร่จะปกคลุม แล้วป้องกันสัณฐานของเหล็ก กากแร่จึงทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันการกัดกร่อนที่เกิดขึ้น

ภาพขยายของเหล็กบริสุทธิ์ จะเห็นเส้นใจกากแร่อยู่จำนวนมาก ดังแสดงในรูป

รูปเหล็กบริสุทธิ์มีส่วนประกอบของเส้นไยกากแร่ ตามแนวยาว เส้นไย ประกอบด้วยเหล็กออกไซด์ และซิลิกอน

นอกจากเป็นการกระจาย ตัวกันของกากซิลิกอนที่อยู่ในเหล็กบริสุทธิ์ แล้วยังมีธาตุอื่นปะปนอีกเล็กน้อย ดูในตารางที่ 5.11

ส่วนผสมของธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในเหล็กบริสุทธิ์

ธาตุ

เปอร์เซ็นต์ผสม

เหล็ก

มากกว่า 99.6 %

คาร์บอน

0.06 % – 0.08 %

ซิลิกอน

0.10 % – 0.16 %

แมงกานีส

0.02 % – 0.05 %

กำมะถัน

0.01 %

ฟอสฟอรัส

0.06 % – 0.07 %

ตารางที่ 5.11แสดงธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเหล็กบริสุทธิ์

      จำนวนของเหล็กบริสุทธิ์มีการนำมาใช้ได้น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเหล็กหล่อ และเหล็กกล้าที่ใช้ทางการค้า การใช้ประโยชน์ของเหล็กบริสุทธิ์เช่น แท็งก์น้ำ, ท่อกำจัดน้ำเสีย, แผ่นแบนในเรือ, ลูกกรง (Gratings) และทำเป็นเหล็กดัดในอาคารบ้านพัก ฯลฯ

วิดีโอแสดงการทำประตูเหล็กดัด

จบบทที่ 5

บทต่อไปพบกับ การถลุงเหล็ก ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตเหล็กกล้า และเหล็กหล่อ

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“การออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับจิตใจ

                              คือการก้มลงแล้วช่วยคนอื่นให้ลุกขึ้น”


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที


  • ตอนที่ 1 : บทที่ 1 การนำทฤษฏีโลหะไปใช้งาน
  • ตอนที่ 2 : 1.2 ประโยชน์ของโลหะวิทยาในภาคอุตสาหกรรม
  • ตอนที่ 3 : 1.3 ผู้ที่เหมาะจะนำไปใช้ กับสิ่งที่พบในหนังสือเล่มนี้ (จบบทที่ 1)
  • ตอนที่ 4 : บทที่ 2 พื้นฐานเคมีในโลหะวิทยา 2.1-2.3
  • ตอนที่ 5 : 2.4 โมเลกุล ,เกรน และผลึก, สารประกอบ
  • ตอนที่ 6 : 2.7 ของผสม, สารละลาย และชนิดของสารละลาย
  • ตอนที่ 7 : สารละลายของแข็ง (จบบทที่ 2)
  • ตอนที่ 8 : ภาค 2 คุณสมบัติของโลหะ / บทที่ 3 ความแข็ง
  • ตอนที่ 9 : 9 3.4 หน่วยของความแข็ง, 3.5 วิธีการทดสอบความแข็ง, 3.6 กรรมวิธีทดสอบความแข็งแบบบริเนล
  • ตอนที่ 10 : 10 3.6.1 ขั้นตอนการทดสอบความแข็งแบบบริเนล
  • ตอนที่ 11 : 11 การทดสอบความแข็งแบบวิคเกอร์
  • ตอนที่ 12 : 12 3.8 การทดสอบความแข็งแบบคนูบ
  • ตอนที่ 13 : 13 3.9 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล
  • ตอนที่ 14 : 14. การแบ่งสเกลร็อคเวล
  • ตอนที่ 15 : 15. 3.10 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวลอย่างคร่าว ๆ
  • ตอนที่ 16 : 17 3.11 วิธีการทดสอบความแข็งแบบชอร์ เชโรสโคป และแบบโซโนเดอร์
  • ตอนที่ 17 : 3.13 การทดสอบความแข็งแบบโมห์สเกล และตะไบ
  • ตอนที่ 18 : 18 การเปรียบเทียบค่าความแข็ง (จบบทที่ 3)
  • ตอนที่ 19 : บทที่ 4 คุณสมบัติโลหะ
  • ตอนที่ 20 : 20 ความแข็งแกร่ง ,ความเค้น
  • ตอนที่ 21 : 21 ความแข็งแกร่งต่อการดึง, การอัด, การเฉือน
  • ตอนที่ 22 : 22 ความแข็งแกร่งต่อการบิด, การโค้งงอ
  • ตอนที่ 23 : ความทนทานต่อการล้าตัว และการกระแทก
  • ตอนที่ 24 : 24 คุณสมบัติที่สัมพันธ์กันระหว่างความเค้น /ความเครียด
  • ตอนที่ 25 : 25 โมดูลัสความยืดหยุ่น
  • ตอนที่ 26 : 26 ขอบเขตความยืดหยุ่น, การคืบคลาน และอัตราส่วนพอยส์สัน
  • ตอนที่ 27 : 27 คุณสมบัติทางเคมี และคุณสมบัติทางไฟฟ้า
  • ตอนที่ 28 : 28 คุณสมบัติทางแม่เหล็ก และทางความร้อน
  • ตอนที่ 29 : 29 จุดหลอมเหลว, ความจุความร้อน และความร้อนจำเพาะ
  • ตอนที่ 30 : 30 คุณสมบัติอื่น ๆ ของวัสดุ(จบบทที่ 4)
  • ตอนที่ 31 : 31 บทที่ 5 เหล็กกล้า
  • ตอนที่ 32 : 32 ธาตุต่าง ๆ ที่นำมาผสมในเหล็ก, ชนิดของเหล็กกล้า
  • ตอนที่ 33 : 33 เหล็กกล้าคาร์บอน
  • ตอนที่ 34 : 34 เหล็กกล้าผสม
  • ตอนที่ 35 : 35 เหล็กกล้าโครงสร้าง, เหล็กกล้ามาราจิง, เหล็กกล้าเครื่องมือ
  • ตอนที่ 36 : 36 เหล็กกล้าไร้สนิม, เหล็กกล้าสปริง,เหล็กกล้าผสมพิเศษ
  • ตอนที่ 37 : 37 เหล็กหล่อ
  • ตอนที่ 38 : 38 เหล็กหล่อสีขาว, เหล็กหล่อมัลลีเบิล, เหล็กหล่อเหนียว, เหล็กบริสุทธิ์ (จบบทที่ 5)
  • ตอนที่ 39 : 39 บทที่ 6 การถลุงเหล็ก
  • ตอนที่ 40 : 40 ชนิดของแร่เหล็ก, กระบวนการจัดการแร่เหล็ก
  • ตอนที่ 41 : 41 เตาบลาสต์
  • ตอนที่ 42 : 42 การผลิตเหล็กกล้าด้วย เตาออกซิเจนพื้นฐาน
  • ตอนที่ 43 : 43 เตาอาร์คไฟฟ้า
  • ตอนที่ 44 : 44 เตาโอเพนฮาร์ท
  • ตอนที่ 45 : 45 การทำเหล็กอินก็อท
  • ตอนที่ 46 : 46 โรงรีดเหล็ก
  • ตอนที่ 47 : 47 การจัดวางลูกรีด
  • ตอนที่ 48 : 48 รีดเหล็กเป็นแผ่นแบน แท่ง และท่อนกลม กับการผลิตต่อเนื่อง
  • ตอนที่ 49 : 49 การผลิตเหล็กหล่อด้วยเตาคิวโพล่า
  • ตอนที่ 50 : 50 เตาเหนี่ยวนำไฟฟ้า และการควบคุมมลภาวะ (จบบทที่ 6)
  • ตอนที่ 51 : 51 บทที่ 7 โครงสร้างผลึก
  • ตอนที่ 52 : 52 สเปซแลตทิซแบบบีซีซี, เอฟซีซี
  • ตอนที่ 53 : 53 สเปซแลตทีซ ซีพีเฮช, บีซีที, โครงสร้างสเปซแลตทีซในเหล็ก
  • ตอนที่ 54 : 54อุณหภูมิเปลี่ยนรูป, การเติบโตของผลึก
  • ตอนที่ 55 : 55 ขนาดเกรนกับช่วงเวลาทำความเย็น (จบบทที่ 7)
  • ตอนที่ 56 : 56 บทที่ 8 การพัง และการเสียรูปของโลหะ
  • ตอนที่ 57 : 57 โลหะเหนียว พังแบบถูกเฉือน
  • ตอนที่ 58 : 58 ผลของขนาดผลึก และการเพิ่มความแข็งในงาน (จบบทที่ 8)
  • ตอนที่ 59 : 59 บทที่ 9 แผนผังเหล็กคาร์บอน
  • ตอนที่ 60 : 60 เฟสไดอะแกรมของเหล็ก-คาร์บอน
  • ตอนที่ 61 : 61 การใช้ และการอ่านเฟสไดอะแกรมเหล็กกล้า-คาร์บอน
  • ตอนที่ 62 : 62 การเปลี่ยนแปลงไปสู่มาเทนไซต์ ,โครงสร้างเหล็กกล้าในบริเวณต่าง ๆ
  • ตอนที่ 63 : 63 บริเวณเปลี่ยนรูป, อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงกับคุณสมบัติทางกล, ปรับปรุงความแข็งให้ดีขึ้น (จบบทที่ 9)
  • ตอนที่ 64 : 64 บทที่ 10 การวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค
  • ตอนที่ 65 : 65 โครงสร้าง มาเทนไซต์, ออสเตนไนต์ และโครงสร้างผสม
  • ตอนที่ 66 : 66 การเตรียมชิ้นงานก่อนส่องกล้องจุลทรรศน์ (จบบทที่ 10)
  • ตอนที่ 67 : 67 บทที่ 11 การปรับสภาพทางความร้อน และการชุบแข็ง
  • ตอนที่ 68 : 68 เทคนิคและ สารตัวกลางชุบแข็ง
  • ตอนที่ 69 : 69 อุณหภูมิสารตัวกลาง, เทคนิคการชุบแข็ง (จบบทที่ 11)
  • ตอนที่ 70 : 70 บทที่ 12 การอบอ่อน และการอบปกติ
  • ตอนที่ 71 : 71 ตอบคำถามจากอีเมล์, ผลที่ได้จากการอบ, การอบอ่อนเต็ม
  • ตอนที่ 72 : 72 การอบอ่อนหลังการขึ้นรูปเย็น, การเปลี่ยนเป็นคาร์ไบต์เม็ดกลม, การอบปกติ (จบบทที่ 12)
  • ตอนที่ 73 : 73 บทที่ 13 ผังไดอะแกรมการเปลี่ยนแปลงแบบอุณหภูมิคงที่
  • ตอนที่ 74 : 74 เส้นอุณหภูมิเวลา, การนำไปใช้ และอาณาบริเวนในแผนภาพไอที
  • ตอนที่ 75 : 75 อาณาบริเวณต่าง ๆ ในแผนภาพไอที
  • ตอนที่ 76 : 76 การใช้แผนภาพไอทีเพื่อระบุเหล็กกล้า
  • ตอนที่ 77 : 77 แผนภาพไอทีทางอุตสาหกรรม, การเปรียบเทียบแผนภาพไอทีอุตสาหกรรม
  • ตอนที่ 78 : 78 การคิดค่าความแข็งจากแผนภาพ, การพล็อตแผนภาพ
  • ตอนที่ 79 : 79 ตอบคุณ Ekakrat Gmail, การเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่
  • ตอนที่ 80 : 81 ตัวอย่างเปรียบเทียบแผนภาพการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคงที่ (จบบทที่ 13)
  • ตอนที่ 81 : 80 บทที่ 14 การอบคืนตัว / ความจริงของการศึกษาไทย
  • ตอนที่ 82 : 82 กลไกการอบคืนตัว, คำถามก่อนทำการอบคืนตัว
  • ตอนที่ 83 : 83 ประเภทการอบคืนตัว
  • ตอนที่ 84 : 84 ออสเทมเปอร์ริ่ง , การชุบแข็ง และการอบคืนตัวความร้อนคงที่ (จบบทที่ 14)
  • ตอนที่ 85 : 85 บทที่ 15 การชุบผิวแข็ง
  • ตอนที่ 86 : 86 การชุบผิวแข็งเครื่องมือ เครื่องกล และวิธีการพื้นฐาน
  • ตอนที่ 87 : 87 กระบวนการชุบผิวแข็ง