เรียนการจัดการ หรือ การตลาด ดีกว่ากัน

ส่วนประสมทางการตลาด หมายถึง ปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยให้การดำเนินธุรกิจด้านการตลาดบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์กร เปรียบเสมือนอาหารที่ถูกปากต้องอาศัยถูกปากต้องอาศัยส่วนประสมของเครื่องปรุงต่าง ๆ ในสัดส่วนที่พอเหมาะซึ่งกันและกันอย่างกลมกลืน ซึ่งอาจจะถูกปากและไม่ถูกปากของแต่ละคนต่างกันออกไป ฉะนั้นนักการตลาดจะบริหารงานการตลาดให้ประสบผลสำเร็จจึงควรใช้ปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วย 4 P's ซึ่งเรียกว่า "ปัจจัยที่ควบคุมได้" หรือ "ปัจจัยภายใน" นอกจากนี้นักการตลาดยังต้องพิจารณา "ปัจจัยภายนอกองค์การ" ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ประกอบการพิจารณาบริหารงานด้านการตลาดให้ประสบผลสำเร็จ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ดังต่อไปนี้

1. ปัจจัยที่ควบคุมได้ (Controllable Factors) ประกอบด้วย

1. ผลิตภัณฑ์ (Product) จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตรงตามความต้องการของลูกค้า เพราะผลิตภัณฑ์เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานที่นำไปตอบสนองความต้องการ สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าที่แตกต่างกัน

2. ราคา (Price) เป็นการกำหนดราคาของสินค้าในรูปของมูลค่าผลิตภัณฑ์ออกเป็นเงินตรา เพื่อใช้เป็นสิ่งจูงใจในการตัดสินใจซื้อ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และเป็นผลตอบแทนจากการดำเนินงาน

3. การจัดจำหน่าย (Place of Distribution) เป็นการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน อำนวยความสะดวกด้านเวลา สถานที่และปริมาณให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งนักการตลาด ต้องพิจารณาว่าจะนำผลิตภัณฑ์นั้นเสนอขายที่ไหน (Where) และให้ใคร (Who) เป็นคนกลางเป็นผู้ขาย ตลอดทั้งการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการซื้อและขายให้คล่องตัวยิ่งขึ้น

4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion) เป็นการจัดกิจกรรมการติดต่อสื่อสาร เพื่อเผยแพร่ข่าวสารทั้งสามองค์ประกอบที่ผ่านมาไปสู่กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด เพื่อให้ลูกค้าทราบ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นหรือจูงใจให้เกิดความต้องการและตัดสินใจซื้อ

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation)

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) หมายถึงกระบวนการในการแบ่งหรือแยกลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อให้ลูกค้าที่มีลักษณะความต้องการคล้ายคลึงกันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทางการตลาดและจัดสรรงบประมาณในการเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความต้องการแตกต่างกัน

Example sentence(s):

การแบ่งส่วนตลาด (Market segmentation หรือ Segmenting) เป็นการแบ่งตลาด สำหรับผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งออกเป็นตลาดย่อยๆ ที่แตกต่างกันทางด้านความชอบ ความต้องการ และพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละตลาดย่อยๆ นั้น โดยอาศัยคุณสมบัติของผู้บริโภคหรือตลาดเป็นปัจจัยในการแบ่ง ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแยกตลาดออกเป็นส่วนๆ (Market Segments) และทำให้เห็นความเด่นชัดที่แตกต่างกันของคุณสมบัติ ความชอบ ความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่อยู่ในแต่ละส่วนของตลาด เพื่อจะได้วางแผนและใช้ความพยายามทางการตลาดได้เหมาะสมกับแต่ละส่วนตลาด ตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์กระเป๋าแบ่งส่วนตลาดโดยยึดเกณฑ์เพศ วัย รายได้ และรสนิยม เป็นพื้นฐานในการแบ่งตลาดกระเป่าออกเป็นส่วนๆ (Market Segment) - chaotic กลยุทธ์การแบ่งส่วนตลาด (Strategic Marketing Segmentation) การค้นหากุญแจแห่งความสำเร็จโดยใช้กลยุทธ์การแบ่งส่วนตลาดนั้น แท้จริงแล้วเป็นการมุ่งค้นหาข้อได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดนั่นเอง โดยมุ่งหาทางเจาะตลาดในส่วนที่คู่แข่งขันไม่ได้ให้ความสนใจ หรือมีจุดอ่อน แนวความคิดการแบ่งส่วนตลาดที่ใช้กันมากก็คือ แนวความคิดความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์กับตลาด (Product/Market Strategy) ซึ่งเป็นเรื่องของการออกแบบผลิตภัณฑ์เฉพาะอย่าง สำหรับการขายในแต่ละส่วนของตลาดที่แบ่งไว้ เนื่องจากลูกค้าแต่ละส่วนหรือแต่ละกลุ่มมีความต้องการที่แตกต่างกันไป หากบริษัทใดสามารถสนองสิ่งที่ลูกค้าต้องการทุกกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ดีกว่า บริษัทนั้นจะเป็นฝ่ายชนะในเกมการแข่งขัน - gotomanager Market Segmentation (การแบ่งส่วนตลาด) หมายถึง การแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อยที่แตกต่างกัน โดยใช้เกณฑ์ความต้องการ บุคลิกลักษณะ หรือพฤติกรรม ซึ่งผู้บริโภคที่อยู่ในแต่ละกลุ่มเดียวกัน จะมีความต้องการในสินค้าหรือบริการที่คล้ายคลึงกัน หรือส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกัน

Explanationการแบ่งส่วนตลาดเป็นกลยุทธในการบริหารการตลาดอย่างหนึ่งเพื่อที่จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้า และ/หรือ บริการ นั้นเพิ่มขึ้น

การแบ่งกลุ่มทางการตลาด (Segmentation)/ กลุ่มเป้าหมาย (Targeting)/ ตำแหน่งทางการตลาด (Product Positioning)

4.1 การแบ่งกลุ่มทางการตลาด (Segmentation)

การแบ่งกลุ่มตาม ราคาสินค้า

1. ราคาสูง: Panteen Dove

2. ราคาระดับกลาง: Head & Shoulder Sunsilk Clinic Caroll

3. ราคาระดับล่าง: Father rejoice

การแบ่งกลุ่มตามคุณสมบัติสินค้า

1. กลุ่มที่มุ่งเน้นเพื่อความงาม: Panteen Dove Sunsilk Caroll Father rejoice

2. กลุ่มเพื่อขจัดรังแค: Head & Shoulder Clinic

3. กลุ่มอื่นๆเช่นแชมพูสำหรับเด็ก

4.2 กลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Targeting)

1. ซันซิล

เป็นสินค้าที่ Focus ไปที่กลุ่ม mass เป็นหลักโดยมีการเพิ่มคุณสมบัติต่างโดยการนำเสนอสินค้าที่หลากหลายเหมาะกับแต่ละเส้นผมเช่นผู้ที่ผมเสีย ผู้ที่ต้องการผมที่เงางาม กลุ่มเป้าหมายของซันซิลนั้น เสนอในระดับที่ผู้บริโภคทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้หรือที่เรียกว่า standard product

2. โดฟ

เจาะจงคุณสมบัติเป็นแชมพูที่ปลอดภัย มีส่วนผสมของ Milk protein ปลอดภัยไม่ระคายเคือง โดยพยายามจับกลุ่มที่ต้องการสินค้าระดับ premium หรือระดับบนและต้องการการบำรงเส้นผมเป็นพิเศษ

3. คลีนิค

เสนอกลุ่มผู้บริโภคในลักษณะ Mass แต่มีการเฉพาะเจาะจงไปที่คุณสมบัติขจัดรังแค และทำให้ผมสะอาดดังนั้นไม่ว่าผู้บริโภคจะเป็นกลุ่มที่กังวลเรื่องรังแค หรือไม่ก็สามารถใช้ได้

4. เฮดแอนด์โชว์เดอร์

เป็นสินค้าที่เสนอต่อกลุ่ม Mass แต่มีคุณสมบัติหลักคือขจัดรังแค และยังมีหลากหลายคุณสมบัติเสริมอีกในหลายๆ variety จึงทำให้ สินค้าเป็น mass ที่เสนอกลุ่มลูกค้าทั่วๆไปที่มองเรื่องขจัดรังแคเป็นหลักและต้องการคุณสมบัติเสริมอื่นๆ อีก

5. แพนทีน

นำเสนอสินค้าในตำแหน่งสินค้าระดับบนหรือ Premium โดยเสนอคุณสมบัติพิเศษที่นำนวัตกรรมทางเคมีมาช่วย โดยมีส่วนผสมในหลายๆสูตรให้ผู้บริโภคเลือกใช้

6. แครอล

แรกเริ่มนำเสนอเป็นสินค้าเป็นแชมพูขจัดรังแค ต่อมามีการปรับรูปลักษณ์ของสินค้าเป็น Herbal essence โดยเสนอเป็นแชมพูที่ให้ความสดชื่นแบบธรรมชาติมุ่ง mass market ที่ชอบความหอมกลิ่นพรรณพฤกษาเป็นหลัก

7. รีจอยส์

แรกเริ่มนำเสนอสินค้าเป็น 2 in 1 product คือเป็นแชมพูที่นำเสนอสินค้าแบบรวมแชมพูและครีมนวดเข้าด้วยกัน เพื่อความสะดวกแก่ผู้ใช้ อย่างไรก็ตามการทำตลาดในระยะหลังมุ่งเน้นไปที่ระดับกลางถึงล่างโดยยังให้ความสำคัญกับกลุ่ม mass เป็นหลัก

8. แฟซ่า

เป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสำคัญกับกลุ่ม Mass โดยอาศัยความเข้มแข็งของตราสินค้ามุ่งเน้นตลาดกลางถึงล่างเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีสูตรและกลิ่นที่หลากหลายให้ผู้ใช้เลือกใช้หลากหลายตามความชอบ

การตลาดเป้าหมาย (Target Margeting) หมายถึง การกำหนดกลยุทธ์การตลาดเพื่อคัดเลือกกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายโดยต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ คือ ส่วนประสมทางการตลาดที่ผู้คาดหวังว่าจะเป็นลูกค้าในอนาคต

ขั้นที่ 1 การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation) คือ การแบ่งตลาดใหญ่เป็นตลาดส่วนย่อยตามคุณลักษณะบางประการของกลุ่มผู้ซื้อ โดยยึดถือหลักเกณฑ์ว่าผู้บริโภคหรือผู้ซื้อแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่จะมีผู้ซื้อที่มีความต้องการชอบพอคล้ายคลึงกัน โดยพิจารณาได้ดังนี้

1. ระดับการแบ่งส่วนตลาด (Levels of market segmentation) ครีมอาบน้ำลักส์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งตลาดเป้าหมาย กลุ่มเพศหญิง ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป

2. หลักเกณฑ์ในการแบ่งตลาดผู้บริโภค (Bases for Segmenting Consumer)

2.1 ตามหลักประชากรศาสตร์ มีการแบ่งส่วนตลาดของผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ กลุ่มเพศ หญิงที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ระดับชั้นของสังคมอยู่ในระดับปานกลาง

2.2 การแบ่งส่วนตลาดตามหลักจิตวิทยา คือ มีการแบ่งส่วนตลาดตามลักษณะนิสัย คือ ชอบลองของใหม่ ๆ และ การดำเนินชีวิต คือ ช่วยทำความสะอาด

2.3 การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรมทัศนคติและความต้องการ

- สถานการณ์ในการซื้อ คือ จะซื้อเมื่อผลิตภัณฑ์เก่าที่ใช้อยู่หมดไป เพื่อนำไปใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย

- ประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้า คือ ช่วยทำความสะอาดร่างกาย ให้กลิ่นหอมสดชื่นและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวกาย

- ลักษณะการซื้อการใช้ คือ จะซื้อเมื่อต้องการทำความสะอาดหรืออาจซื้อเป็นจำนวนมากตามความเหมาะสม

- ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์ คือ ผู้บริโภคจะมีทัศนคติที่ดีต่อผลิตภัณฑ์ ครีมอาบน้ำลักส์ โดยมีการบอกต่อให้เพื่อน ๆ รู้ถึงคุณสมบัติต่างๆ ของครีมอาบน้ำลักส์ ว่ามีคุณภาพดีจริงและเมื่อใช้แล้วจะไม่เปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น ขั้นที่ 2 การกำหนดเป้าหมาย (Market Targeting) หมายถึง การประเมินและเลือกส่วนหนึ่งส่วนใดหรือเลือกสองสามส่วน ของตลาดเป้าหมายซึ่งสามารถทำได้โดยการแบ่งส่วนตลาดก่อนและทำการกำหนดตลาดเป้าหมาย ดังนี้

1. การประเมินส่วนตลาด (Evaluating the Market Segment)

1.1 ขนาดและความเจริญเติบโตของตลาดเป้าหมาย คือ ทางบริษัทได้มีการคาดคะเนว่าผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ จะสามารถสร้างยอดขาย และทำกำไรให้กับบริษัทได้มากและยังเป็นที่ยอมรับของตลาดอีกด้วย

1.2 ความสามารถของบริษัทในการชักจูงให้กลุ่มเป้าหมายในตลาดส่วนนี้ยอมรับสินค้าใหม่คือ ครีมอาบน้ำลักส์ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด จึงสามารถชักจูงให้ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายนี้มีความภักดีกับผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ ได้เป็นอย่างดี

1.3 ความสามารถ ทรัพยากร กำลังเงิน และบุคลากรของบริษัท คือในการผลิตครีมอาบน้ำลักส์ ทางบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด ได้มีผู้เชี่ยวชาญและความชำนาญเป็นอย่างดีในการผลิต โดยเน้นการผลิตในเรื่องของความสะอาดและความปลอดภัยที่ผู้บริโภคได้รับ

2. การเลือกส่วนตลาด (Selecting the Market Segment) คือ มีการกำหนดส่วนประสมทางการตลาดที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

ขั้นที่ 3 การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Prouduct Positioning) มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดผลิตภัณฑ์ดังนี้

1. การวิเคราะห์ถึงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ครีมอาบน้ำลักส์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่างกาย ซึ่งมีคุณสมบัติคือให้กลิ่นหอมสดชื่นในขณะอาบน้ำ

2. การวิเคราะห์ลักษณะตลาดเป้าหมายและการเลือกตลาดเป้าหมาย คือ กลุ่มเป้าหมายจะเป็นเพศหญิง ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปโดยมีระดับชั้นของกลุ่มสังคม คือ ระดับปานกลาง

การตลาดกับการจัดการแตกต่างกันอย่างไร

เรียนการจัดการ เพื่อการทำงานที่ทำให้คนในองค์กรมีวัตถุประสงค์จุดมุ่งหมายเดียวกัน เป็นนักวางแผน สรรหาบุคคล เรียนการตลาด เกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสารระหว่างผลิตภัณฑ์ สินค้า ไปยังลูกค้าผู้รับบริการ รวมถึงการดูแนวโน้ม การเจริญเติบโต การขยายตลาด การสื่อสารที่มีคุณภาพ การตอบสนองต่อลูกค้า การส่งสินค้าเป็นไปตามข้อตกลงเป็นต้น

บริหารกับการตลาดเหมือนกันไหม

หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า บริหาร การตลาด หรือว่าเศรษฐศาสตร์ ต่างกันหรือเปล่า แตกต่างกันอย่างไร จริงๆต้องบอกว่า อย่างในกรณีของมหาวิทยาลัยที่พี่เรียน การตลาดเป็นส่วนหนึ่งของบริหาร เพราะบริหารจะแบ่งเป็นหลายแขนงมากเลย เช่น การตลาด HR เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการตลาดก็คือแขนงหนึ่งในบริหารนั่นเอง

จบการตลาดทํางานอะไร เงินเดือน

Marketing Assistant: เงินเดือนเริ่มต้นอาจไม่สูงมากเท่าไรครับ มีตั้งแต่ 12,000-20,000 บาท Senior Marketing Executive: เงินเดือนจะค่อนข้างน่าพึงพอใจ อาจสูงถึง 80,000 บาทครับ Marketing Director: รายได้สูงได้ถึง 100,000 บาทหรือมากกว่านั้น แต่ต้องการประสบการณ์และความสามารถที่โดดเด่นเช่นกัน

ปริญญาโทการตลาดเรียนอะไรบ้าง

ครอบคลุมแนวคิด Digital Marketing, Social Media Marketing, Marketing 5.0, Data-Driven, Data Mining, และ Big Data ภายใต้ 5 วิชา ด้านการตลาด ได้แก่ พฤติกรรมผู้บริโภค การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ ประเด็นสำคัญในปัจจุบันทางการตลาด การสร้างแบรนด์และคอนเทนต์ทางการตลาด และการตลาดดิจิทัล