สุชีพ ปุญญานุภาพ คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง

"สุชีโวภิกขุ" คือ นามฉายาของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ เมื่อครั้งท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดกันมาตุยาราม   ชื่อเสียงของท่านโด่งดัง เป็นที่เคารพเลื่อมใสอย่างยิ่งยวดในหมู่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนเสมอมา จากผลงานการประพันธ์ทั้งในเชิงวิชาการและด้านวรรณกรรม   เป็นที่ประจักษ์ถึงความรอบรู้ด้านพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ และความสามารถในการเล่าพระธรรมอย่างยากที่จะมีใครทัดเทียมได้   มรดกงานวรรณกรรมอันล้ำค่านี้ ได้สร้างคุณูปการอันสำคัญยิ่งให้แก่บรรณพิภพไทย

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2460 อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ กำเนิด ณ ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางปลา (อำเภอบางเลนในปัจจุบัน) จังหวัดนครปฐม มีพี่น้องรวม 12 คน แต่เสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ไปถึง 11 คน เหลือท่านเพียงคนเดียว พ่อแม่จึงตั้งชื่อท่านว่า "บุญรอด"

เมื่ออายุราว 13 ปี หลังจากที่เรียนจบชั้นประถมปีที่ 5 ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรเพื่อศึกษาต่อในทางพุทธศาสนา ณ วัดสัมปทวน อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จนสอบไล่นักธรรมและภาษาบาลี เปรียญธรรม 7 ประโยคได้ตั้งแต่ยังเป็นสามเณร ต่อมาท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดกันมาตุยาราม เมื่อ พ.ศ. 2480 และได้รับฉายาว่า "สุชีโวภิกขุ" หลังจากอุปสมบทได้ 2 พรรษา ก็สอบไล่เปรียญธรรม 9 ประโยคได้

ในขณะที่ท่านเป็นพระภิกษุ จำพรรษาอยู่ ณ วัดกันมาตุยารามนั้น นอกเหนือจากความรู้ภาษาบาลีอันแตกฉานแล้ว ท่านมีความชำนาญอื่น ๆ หลายวิชา อาทิ ภาษาอังกฤษ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภาษาสันสกฤต และภาษาปรากฤต   อีกทั้งท่านยังขวนขวายศึกษาวิชาสมัยใหม่อื่น ๆ จากตำราทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศด้วย ทำให้ท่านเป็นภิกษุหนุ่มที่มีความรู้ในวิชาการสมัยใหม่ โลกทัศน์กว้างไกล และมีวิธีการเทศนาสั่งสอนพระพุทธศาสนาในแนวใหม่ที่ทันสมัย เป็นที่นิยมชมชอบในหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ อีกทั้งเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ

เมื่อท่านเห็นว่าความรู้ในวิชาการสมัยใหม่เป็นประโยชน์ต่อการสั่งสอนและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านจึงเริ่มถ่ายทอดวิชาเหล่านั้นแก่ภิกษุสามเณรที่วัดกันมาตุยาราม และริเริ่มประยุกต์พระพุทธศาสนาให้เข้ากับสังคมร่วมสมัย ซึ่งต่อมา พระเถรานุเถระจากคณะธรรมยุตได้ทราบเรื่อง และสนับสนุนเทคนิคการสอนของอาจารย์สุชีพ จนกระทั่งจัดตั้งขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกของประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า "สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย" ใน พ.ศ. 2488

บทบาทของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพนับว่าเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการริเริ่มสถาบันการศึกษาขั้นสูงของพระพุทธศาสนา หลังจากนั้น ท่านได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาการศึกษามหามกุฎฯ เป็นรูปแรก และเป็นผู้วางรากฐานด้านวิชาการและการบริหารให้แก่มหาวิทยาลัยจนกระทั่งลาสิกขา เมื่ออายุ 35 ปี ใน พ.ศ. 2495 รวมเวลาที่ท่านดำรงอยู่ในตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี

นอกเหนือจากก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ อาจารย์สุชีพยังมีผลงานที่โดดเด่นในด้านวิชาการทางพระพุทธศาสนาที่เป็นอมตะ คือ การจัดทำพระไตรปิฏกฉบับประชาชน ซึ่งเป็นการย่อความพระไตรปิฎกจำนวน 45 เล่ม ให้เหลือเพียง 5 เล่ม เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการศึกษาพระธรรมเป็นภาษาไทยสำเร็จเป็นคนแรก นับว่าเป็นผลงานที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการศึกษาพระไตรปิฏกและพุทธศาสนาประเทศไทย

ในด้านวรรณกรรม อาจารย์สุชีพเป็นผู้ริเริ่มการแต่งนวนิยายอิงหลักธรรม อันได้แรงบันดาลใจมาจากเรื่อง “กามนิต” ที่ท่านได้อ่านเมื่อครั้งเป็นสามเณร โดยนวนิยายอิงหลักธรรมนี้ คือ นวนิยายที่อาศัยเรื่องราวจากพระพุทธประวัติ สอดแทรกการสั่งสอนหลักธรรม ทำให้ผู้อ่านได้รับอรรถรสทั้งในแง่วรรณกรรมและหลักธรรมะไปพร้อม ๆ กัน

ผลงานเรื่องแรกของท่าน คือเรื่อง “ใต้ร่มกาสาวพัสตร์” บอกเล่าเรื่องราวขององคุลิมาลกับพระพุทธเจ้า ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือธรรมจักษุ เมื่อ พ.ศ. 2494 ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม และได้รับการขอร้องให้ประพันธ์อีกหลาย ๆ เรื่อง ต่อมาท่านจึงประพันธ์เรื่อง “กองทัพธรรม” บอกเล่าเรื่องของพระสารีบุตรกับพระธรรมเสนาบดี และเรื่อง “ลุ่มน้ำนัมมทา” “เชิงผาหิมพานต์” และ “นันทะ-ปชาบดี” ตามลำดับ โดยนวนิยายอิงหลักธรรมของอาจารย์สุชีพนี้ นับว่าเป็นการริเริ่มการเผยแผ่พุทธศาสนาในรูปแบบใหม่ รวมถึงทำให้เกิดนวนิยายแขนงใหม่ในวงการวรรณกรรมไทยซึ่งต่อมาเป็นที่นิยมของนักอ่านทั่วไป และส่งอิทธิพลต่อนักประพันธ์ให้ประพันธ์นวนิยายในแขนงเดียวกันนี้อีกหลายท่าน เช่น วศิน อินทสระ ทวี วรคุณ สุทัสสนา อ่อนค้อม เป็นต้น

หลังจากอาจารย์สุชีพลาสิกขา ท่านยังได้ดำรงตำแหน่งสำคัญในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ รวมถึงเป็นอาจารย์สอนและที่ปรึกษาในสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย และในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงแก่กรรมในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เวลา 15.51 น. สิริรวมอายุ 83 ปี 21 วัน

ด้วยผลงานที่ได้กล่าวมา ผนวกกับอุปนิสัยส่วนตัวที่อ่อนน้อม มีเมตตากรุณา และตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมคำสอน ทำให้อาจารย์สุชีพเป็นที่รักและเคารพยิ่งของศิษย์ ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศมาจนถึงปัจจุบัน

...................................................................


เนื้อหาอ้างอิงจาก
ptipitaka.org/aj_sucheep_profile
posttoday.com/life/healthy/576105
dharma-gateway.com/ubasok/ubasok_hist/ubasok-sucheep.htm
jiab007.wordpress.com/2011/04/01
gotoknow.org/posts/616907

รูปภาพจากบทความ ชีวประวัติ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ผู้ริเริ่ม “พระไตรปิฎกฉบับประชาชน”  โดย มูลนิธิพระไตรปิฎกเพื่อประชาชน

สุชีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 — 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ภิกขุ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด เพราะประการแรก ท่านเชี่ยวชาญพระพุทธศาสนาเป็นเลิศ ประการที่สอง ท่านรอบรู้วิชาการสมัยใหม่อย่างเยี่ยม ประการที่สาม ท่านเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่บรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษ ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างชาวพุทธในต่างประเทศกับประเทศไทย แม้ว่าท่านจะมีภาระงานมากมาย แต่ท่านก็เป็นนักเขียน ที่ผลิตงานเขียน ทั้งในรูปหนังสือและตำราเผยแพร่ความรู้ด้านพุทธศาสนา รวมทั้งนวนิยายอิงธรรมะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังเป็นผู้บุกเบิกทำพจนานุกรมศัพท์พระพุทธศาสนาอีกด้วย

อาจารย์สุชีพได้ถึงแก่กรรมลง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เวลา 15.51 น. สิริอายุ 83 ปี 21 วัน

ประวัติ

สุชีพ ปุญญานุภาพ เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2460 ที่ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางปลา (อำเภอบางเลน ในปัจจุบัน) จังหวัดนครปฐม ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 12 คนที่เกิดร่วมพ่อแม่เดียวกัน แต่ทั้งหมดเสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ เหลือท่านเพียงคนเดียวเท่านั้น พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "บุญรอด" ภายหลัง ท่านได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น 'สุชีพ' ตามฉายาภาษาบาลีของท่านคือ "สุชีโว" (ผู้มีชีวิตที่ดี) ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) พระอุปัชฌาย์ของท่านได้ตั้งให้เพื่อเป็นสิริมงคล

อาจารย์สุชีพสร้างลูกศิษย์ผู้ชำนาญทางพระพุทธศาสนามากมายทั่วประเทศ ทั้งพระทั้งฆราวาส ศิษยานุศิษย์เหล่านี้ต่างมีบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาระดับชั้นต่าง ๆ ของสังคม อาทิ พระธรรมเมธาภรณ์ (ระแบบ ฐิตญาโณ), พระราชญาณกวี (สุวิทย์ ปิยวิชฺโช), พระเทพปริยัติวิมล (แสวง ธมฺเมสโก) รักษาการอธิการบดีมหามกุฏราชวิทยาลัย, พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย), รศ.ดร. สุภัทร ปัญญาทีป, รศ. สุวรรณ เพชรนิล, วศิน อินทสระ, ศ. แสง จันทร์งาม (หรือ ธรรมโฆษ), รศ.ดร. สุนทร ณ รังษี, เสถียร โพธินันทะ, สุเชาวน์ พลอยชุม ฯลฯ รวมทั้งเจ้าอาวาสวัดหลายแห่งทั่วประเทศไทย จากความพยายามในการพัฒนาการศึกษาสงฆ์จนเกิดเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ของท่าน

การศึกษา

ท่านสำเร็จการศึกษาเปรียญ 9 ประโยค วัดกันตมาตุยาราม ซึ่งขึ้นกับสำนักเรียนวัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร อย่างไรก็ดี แม้ว่าท่านจะจบเพียงเปรียญ ๙ ประโยค แต่ท่านก็มีวิริยะอุตสาหะเรียนรู้วิชาสมัยใหม่อื่นๆ ด้วยตนเองเป็นหลัก จึงชำนาญหลายๆ วิชา อาทิ ภาษาอังกฤษ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ ภาษาสันสกฤต และ ภาษาปรากฤต ท่านสามารถค้นวรรณคดีและพจนานุกรมภาษาเหล่านี้ได้อย่างละเอียด สำหรับภาษาสันสกฤตนั้น ท่านเป็นศิษย์ของ พระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ตอนหลัง ท่านได้ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหงและ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพเคยให้สัมภาษณ์ว่าบุคคลในพระพุทธศาสนาในอุดมคติที่ท่านถือเป็นแบบในการพัฒนาตนเป็นนัก วิชาการทางพระพุทธศาสนาคือพระวชิรญาโณ ภิกฺขุ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ท่านเคยให้เหตุผลว่าสองท่านนี้เป็นคนไทยรุ่นบุกเบิกที่ประยุกต์พระพุทธศาสนาให้เข้ากับสังคมร่วมสมัยโดยนำเอาวิชาการสมัยใหม่มาใช้เป็นประโยชน์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

อาจารย์สุชีพอยู่ในเพศพระภิกษุจนได้ตำแหน่งสมณศักดิ์ที่ ‘พระศรีวิสุทธิญาณ’ สมัยที่ท่านยังเป็นพระภิกษุนั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ ไม่มีใครยุคนั้นเทียบได้ ต่อมาได้ลาสิกขาสู่เพศฆราวาส ระหว่างที่ท่านลาสิกขาเมื่ออายุ 35 ปี มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากร้องไห้เพราะความเสียดาย หลังจากสึกหาลาเพศแล้ว ท่านเช่าห้องพักที่ถนนข้าวสาร บางลำภู ก่อนจะย้ายไปปลูกบ้านหลังใหม่บริเวณถนนสุขุมวิท

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่สุภาพอ่อนโยน ในด้านความรู้ทางพระพุทธศาสนานั้น ท่านได้รับการยกย่องจาก ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรีและประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ว่าเป็น พระไตรปิฎกเคลื่อนที่ หมายเลข 1 ของประเทศเพราะท่านสามารถอธิบายและตอบคำถามทาง พระพุทธศาสนา หรือหลัก พุทธธรรม ได้ทุกอย่างอย่างละเอียด พร้อมอ้างที่มาในพระไตรปิฎกให้เพื่อการค้นคว้าต่อไปอย่างแม่นยำอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เองชาวพุทธจำนวนมากจึงได้กล่าวขานถึงท่านด้วยฉายา 'พระไตรปิฎกเคลื่อนที่' ตาม ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพมีคุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่างอะไรบ้าง

สุชีพ ปุญญานุภาพ (13 เมษายน พ.ศ. 2460 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นนักวิชาการที่ได้รับการยอมรับทั้งจากพุทธศาสนิกชนและคณะสงฆ์ไทยอย่างกว้างขวาง ในฐานะที่สมบูรณ์ด้วยวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนาอย่างเยี่ยมยอด หาใครเทียมได้ยาก ในเวลาเดียวกัน ก็มีความประพฤติที่ดีงาม สุภาพอ่อนโยน ระหว่างที่ท่านเคยบวชเป็นพระอยู่ในชื่อว่า สุชีโว ...

ข้อใดคือผลงานของ สุชีพ ปุญญานุภาพ *

ผลงานเรื่องแรกของท่าน คือเรื่อง “ใต้ร่มกาสาวพัสตร์” บอกเล่าเรื่องราวขององคุลิมาลกับพระพุทธเจ้า ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือธรรมจักษุ เมื่อ พ.ศ. 2494 ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม และได้รับการขอร้องให้ประพันธ์อีกหลาย ๆ เรื่อง ต่อมาท่านจึงประพันธ์เรื่อง “กองทัพธรรม” บอกเล่าเรื่องของพระสารีบุตรกับพระธรรมเสนาบดี และ ...

ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้สุชีพ ปุญญานุภาพ ว่าอย่างไร

สุชีพ ปุญญานุภาพ เกิด 13 เมษายน พ.ศ. 2460 ที่ตำบลบางไทรป่า อำเภอบางปลา (อำเภอบางเลน ในปัจจุบัน) จังหวัดนครปฐม ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 12 คนที่เกิดร่วมพ่อแม่เดียวกัน แต่ทั้งหมดเสียชีวิตตั้งแต่วัยเยาว์ เหลือท่านเพียงคนเดียวเท่านั้น พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "บุญรอด" ภายหลัง ท่านได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น 'สุชีพ' ตามฉายาภาษาบาลี ...

ใครเป็นพระภิกษุรูปแรกที่สามารถแสดงธรรมเป็นภาษาอังกฤษแก่ชาวต่างประเทศได้

6 มิถุนายน 2493 วัฒนธรรมทางจิตใจ เป็นต้น 3. เป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่สามารถแสดง ธรรมเทศนา เป็นภาษาอังกฤษแก่ชาวต่างประเทศ ชีวิตและงานหลังการลาสิกขา สุชีโวภิกขุ ลาสิกขาจากสมณเพศเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2495 ใช้ชื่อว่า สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้ ปฏิบัติงานต่าง ๆ ดังนี้