รสในวรรณคดีเรื่อง พระ อภัย มณี

รสวรรณคดี หมายถึง อารมณ์สัมผัส รับรู้ด้วยใจ เช่น รสเสียง รสถ้อยคำ สัมผัสคำ ฯลฯ เกิดจากจังหวะของวรรคตอนในการอ่านบทประพันธ์ ซึ่งช่วยเสริมสร้างมโนภาพด้านอารมณ์  ความเคลื่อนไหวของภาพให้ชัดเจน มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น อันยังผลให้เข้าถึงรสภาพอย่างลึกซึ้ง กล่าวคือ เมื่ออ่านหรือฟังคำประพันธ์ใดแล้ว เกิดความรู้สึกอย่างไร หากคำประพันธ์ใดไม่มีรส ย่อมจืดชืด ไม่เกิดอารมณ์สะเทือนใจแต่อย่างใดแก่ผู้อ่าน รสในวรรณคดีไทยมี ๔ ชนิด ได้แก่

เสาวรจนีย์ (บทชมโฉม)

(เสาว ว. ดี, งาม. + รจนี ก. ตกแต่ง, ประพันธ์; ว. งาม)

คือการเล่าชมความงามของตัวละครในเรื่อง ซึ่งอาจเป็นตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ หรือสัตว์ซึ่งการชมนี้อาจจะเป็นการชมความเก่งกล้าของกษัตริย์ ความงามของปราสาทราชวังหรือความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง ดังเช่น บทชมนางเงือก ซึ่งติดตามพ่อแม่มาเพื่อพาพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร จากเรื่อง พระอภัยมณี

          องค์กษัตริย์ทัศนานางเงือกน้อย                ดูแช่มช้อยโฉมเฉลาทั้งเผ้าผม
        ประไพพักตร์ลักษณ์ล้ำล้วนขำคม                ทั้งเนื้อนมนวลปรางออกเต่งทรวง 
                ขนงเนตรเกศกรอ่อนสะอาด                ดังสุรางค์นางนาฏในวังหลวง
      พระเพลินพิศคิดหมายเสียดายดวง                แล้วหนักหน่วงนึกที่จะหนีไป
                                              (พระอภัยมณี : สุนทรภู่) 

นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยว โอ้โลม)

(นารี น. หญิง + ปราโมทย์ น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมช)

คือการกล่าวข้อความแสดงความรัก ทั้งที่เป็นการพบกันในระยะแรกๆ และในโอ้โลมปฏิโลมก่อนจะถึงบทสังวาสนั้นด้วย

                 ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร                ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
                     แม้นเกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร                ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
             แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ                พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
                    แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา                เชยผกาโกสุมปทุมทอง
                           เจ้าเป็นถ้ำไพขอให้พี่                เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่ครอง
          จะติดตามทรามสงวนนวลละออง                เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
                                                       (สุนทรภู่)

พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ)

(พิโรธ ก. โกรธเกรี้ยว ไม่สบอารามณ์ + วาทัง น. วาทะ คำพูด)

คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่น้อยไปจนมาก จึงเริ่มตั้งแต่ ไม่พอใจ โกรธ ตัดพ้อ ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี เกลียด เจ็บใจ และด่าว่าอย่างรุนแรง

บทตัดพ้อที่แทรกอารมณ์ขันของ  จากบทกวี ปากกับใจ

                       เมื่อรักกันไม่ได้ก็ไม่รัก                 ไม่เห็นจักเกรงการสถานไหน
                     ไม่รักเราเราจักไม่รักใคร                  เอ๊ะน้ำตาเราไหลทำไมฤา
                                                  (สุจิตต์ วงษ์เทศ)

บทตัดพ้อที่แสดงทั้งอารมณ์รักและแค้นของ อังคาร กัลยาณพงศ์ จากบทกวี เสียเจ้า

                        จะเจ็บจำไปถึงปรโลก                  ฤๅรอยโศกรู้ร้างจางหาย
                        จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย                  อย่าหมายว่าจะให้หัวใจหัวใจ
                                              (อังคาร กัลยาณพงศ์)

สัลลาปังคพิไสย (บทโศก)

(สัลล น. ความโศกโศกาเศร้าร่ำน้ำตานอง, ความเจ็บปวดแปลบ ๆ แลบแล่นในเนื้อใจ, การครวญคร่ำรำพันรำพึง / สัลลาป น. การพูดจากัน + องค์ น. บท, ชิ้น อัน, ตัว + พิไสย น. ความสามารถ ฤาจะแผลงมาจาก วิสัย ซึ่งแปลว่า ธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ฤาสันดาน )

คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก บทโศกของนางวันทอง ซึ่งคร่ำครวญอาลัยรักต้นไม่ในบางขุนช้าง อันแสดงให้เห็นว่านางไม่ต้องการตามขุนแผนไป แต่ที่ต้องไปเพราะขุนแผนร่ายมนต์สะกด ก่อนลานางได้ร่ำลาต้นไม้ก่อนจากไป จากเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี

              ลำดวนเอยจะด่วนไปก่อนแล้ว                  ทั้งเกดแก้วพิกุลยี่สุ่นสี
                        จะโรยร้างห่างกลิ่นมาลี                  จำปีเอ๋ยกี่ปีจะมาพบ
                                 (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)

สุนทรภู่คร่ำครวญถึงรัชกาลที่ ๒ ซึ่งสวรรคตแล้ว เป็นเหตุให้สุนทรภู่ต้องตกระกำลำบาก เพราะไม่เป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่ ๓ ต้องระเห็ดเตร็ดเตร่ไปอาศัยในที่ต่างๆขณะล่องเรือผ่านพระราชวัง สุนทรภู่ซึ่งรำลึกความหลังก็คร่ำครวญอาลัยถึงอดีตที่เคยรุ่งเรืองจากนิราศภูเขาทอง

งานวิจัยเรื่องศฤงคารรสในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศฤงคารรสในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ จำนวน 64 ตอน โดยใช้กระบวนการอ่านแบบวิเคราะห์และอ่านเพื่อจับประเด็นเกี่ยวกับความรัก วิเคราะห์และสังเคราะห์ประเภทของความรักตามทฤษฎีศฤงคารรสของกุสุมา  รักษมณี


ผลการวิจัยพบว่ามีศฤงคารรสในรูปแบบความรักที่สรุปได้ คือ ความรักต่อบุคคล ได้แก่ ความรักต่อทายาท ความรักต่อบุพการี ความรักต่อญาติพี่น้องและความรักต่อเพศตรงข้าม


ความรักต่อเพศตรงข้ามตามทฤษฎีศฤงคารรส แบ่งประเภทความรักไว้ 2 ประเภท คือ สัมโภคะและ
วิประลัมภะ  1. สัมโภคะ คือ ความรักของผู้ที่ได้อยู่ด้วยกันกับบุคคลผู้เป็นที่รัก ดังเช่น ความรักของศรีสุวรรณกับนางเกษรา ความรักของพระอภัยมณีกับนางสุวรรณมาลี ความรักของพระอภัยมณีกับนางละเวง ความรักของสินสมุทรกับนางอรุณรัศมี  ความรักของสุดสาครกับนางเสาวคนธ์  ความรักของหัสไชยกับนางสร้อยสุวรรณ
นางจันทร์สุดา ความรักของท้าวสุทัศน์กับนางปทุมเกสร  ความรักของท้าวทศวงศ์กับมเหสี ความรักของ
ท้าวสุริโยไทกับนางจันทรวดี ความรักของพราหมณ์วิเชียรกับนางจงกลนี  ความรักของพราหมณ์โมรากับ
นางประภาวดี ความรักของพราหมณ์สานนกับนางอุบลรัศมี 2. วิประลัมภะ คือ ความรักของผู้ที่อยู่ห่างไกลกันหรือพลัดพรากจากกันกับบุคคลผู้เป็นที่รัก ดังเช่น ความรักของพระอภัยมณีกับนางผีเสื้อสมุทร นางเงือกและนางวาลี ความรักของศรีสุวรรณกับนางรำภาสะหรี ความรักของสินสมุทรกับนางยุพาผกา ความรักของสุดสาคร
กับนางสุลาลีวัน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

ฉบับ

ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 (2018): กรกฎาคม - ธันวาคม 2561

บท

บทความวิจัย (Research Article)

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่

ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว

รสในวรรณคดีมีอะไร

๑. เสาวรจนี ๒. นารีปราโมทย์ ๓. พิโรธวาทัง ๔. สัลลาปังคพิสัย

เสาวรจนีเป็นรสในวรรณคดีประเภทใด

เสาวรจนี เป็นรสวรรณคดีที่ชมความงาม นารีปราโมทย์ เป็นวสวรรณคดีที่เกี่ยวกับความรักใคร่และเกี้ยวพาราสี พิโรทวาทัง เป็นรสวรรคดีที่เกี่ยวกับการแสดงความโกรธ ตัดพ้อ เสียดสี

ข้อใดให้รสทางวรรณคดี นารีปราโมทย์

๒. นารีปราโมทย์ (ซึ่งเป็นที่ยินดีของหญิง) คือ การแต่งบทร้อยกรองให้มีเนื้อความและ ท่วงทำนอง ฝากรักและแสดงความรักต่อนางอันเป็นที่ต้องใจ บทโอ้โลม เกี้ยวพาราสี การแสดงความรัก รวมถึงบทสังวาส ตัวอย่าง “ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน

ลีลาวรรณคดีมีกี่รส

อธิบายว่ารสของคำประพันธ์มี 8 อย่างได้แก่ ๑. ธรรมชาติก็ได้ ๒.นารีปราโมทย์ เป็นลีลาการ ศฤงคารรส (สิงคารรส) หรือรสรักเป็นรสที่พบมาก ประพันธ์ที่มุ่งไปในทำนองเกี้ยวพาราสีออดอ้อน ที่สุดในคำประพันธ์ทำให้เกิดความซาบซึ้งอ่อนหวาน ประเล้าประโลมด้วยคำหวาน ๓. พิโรธวาทั้ง ได้แก่ ในจิตใจของมนุษย์ ๒. กรุณารส คือ รสแห่งความ ลีลาที่แสดง ...