คำสอน เกี่ยว กับ ความสะอาด

ส้วมธรรมะ-ธรรมะในส้วมที่...โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

โรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล (ภาวนารังสี) จ.พระนครศรีอยุธยา เปิดสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๑๙ เริ่มสอนตั้งแต่ ป.๑- ป.๔ โดยใช้อาคารของวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นสถานที่เรียน ต่อมาพระครูภาวนารังสี อดีตเจ้าอาวาสวัดใหญ่ชัยมงคล มอบที่ดินให้เป็นจำนวน ๖ ไร่ ๒ งาน ๘๐ ตารางวา เพื่อสร้างอาคารปัจจุบันมีจำนวนห้องเรียนมากขึ้น สามารถรองรับเด็กจำนวนประมาณ ๗๐๐ คน และมีนางจุฑามาศ รอดภัย ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

คำสอน เกี่ยว กับ ความสะอาด
"มุ่งมั่นการบริหารจัดการศึกษา พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการกระจายอำนาจเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและคุณภาพได้มาตรฐาน" ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นวิสัยทัศน์ของโรงเรียนจากคำบอกเล่าของ ผอ.จุฑามาศ

ด้วยเหตุที่เป็นโรงเรียนวัด ผอ.จุฑามาศ บอกว่า โรงเรียนวัดใหญ่เป็นโรงเรียนวิถีพุทธ โดยนักเรียนระดับ ป.๔ ขึ้นไป ทุกคนต้องเรียนธรรมะศึกษา โดยทางโรงเรียนได้เขียนไว้ในหลักสูตรการเรียน ขณะเดียวกันพระครูพิสุทธิ์บุญสาร เจ้าอาวาสวัดใหญ่ชัยมงคล ท่านเป็นพระนักเทศน์ที่เก่งมาก ทุกครั้งที่ได้พบท่านก็จะได้รับธรรมะเล็กๆ น้อยๆ จากท่าน ทำให้รู้สึกดีและมีความสุข จึงมีแนวความคิดว่าทำอย่างไรจะให้เด็กได้ซึมซับธรรมะโดยไม่รู้ตัว ขณะเดียวกันอยากให้เด็กได้รับธรรมะตั้งแต่แรกเริ่มเข้าโรงเรียนในลักษณะซึม เข้าไปในสายเลือด

ในการทำ "ส้วมธรรมะ-ธรรมะในส้วม" นั้น โรงเรียนได้นิมนต์พระครูสุทธิปัญญาโสภณ เจ้าอาวาสวัดท่าการ้องมาเป็นที่ปรึกษา ด้วยเหตุที่ท่านพัฒนาวัดพร้อมๆ กับปรับปรุงส้วม ซึ่งเดิมเคยเป็นวัดร้างมาก่อน จากแนวคิดที่ว่าเพื่อให้ญาติโยมที่เข้ามาทำบุญ ซึ่งประกอบไปด้วยคนทุกระดับ ได้มีความพึงพอใจในบริการส้วมสะอาดของวัด เพื่อให้มีความสุข ความสบายใจที่ได้ใช้ส้วมสะอาด

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ก่อนที่จะมีการพัฒนาส้วมนอกจากความสกปรกแล้ว ที่เห็นเป็นเรื่องปกติ คือ การเขียนระบายอารมณ์บนประตู และผนังส้วม แต่ทุกวันนี้ไม่มีอีกแล้ว โดยได้เปลี่ยนให้เขียนระบายอารมณ์ลงในกระดาษแล้วใส่ในตู้ระบายอารมณ์ ซึ่งเดิมทีต้องยอมรับว่าไม่มีใครเคยใส่ใจข้อความบนผนังส้วม แต่เมื่อได้อ่านทุกๆ ข้อความ ทำให้พบว่าเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เด็กต้องการบอกและระบายอะไรบางอย่าง สามารถนำไปใช้แก้ไขปรับรุงโรงเรียนได้อย่างหนึ่ง

"เราใช้ห้องน้ำเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมะ การได้อ่านธรรมะเล็กๆ น้อยๆ นอกจากทำให้เด็กรู้สึกไม่เบื่อแล้ว เด็กยังซึมซับรับธรรมะเข้าไปอยู่ในสายเลือดอย่างไม่รู้ตัว ห้องน้ำเป็นสถานที่ปลดทุกข์ เป็นสถานที่สงบแห่งหนึ่ง ใครได้เข้าแล้วมีความสุข การได้ธรรมะเล็กๆ น้อยๆ เท่ากับความเป็นการเติมเต็มความสุขให้มากยิ่งขึ้น" ผอ.จุฑามาศ กล่าว

อย่างไรก็ตามด้วยความตั้งใจทำส้วมให้ให้เป็น "ส้วมธรรมะและมีธรรมะในส้วม" ในที่สุดส้วมของโรงเรียนวัดให้จึงได้รับรางวัล "สุดยอดแห่งส้วมระดับประเทศ" ทั้งนี้ นางจุฑามาศ ได้ให้ข้อคิดว่า การทำส้วมให้สะอาดและเป็นส้วมสอนธรรมะนั้น ไม่จำเป็นต้องมีเงินทุน หากนักการภารโรง ครู ครูใหญ่ รวมทั้งผู้อำนวยการของโรงเรียนนั้นๆ พัฒนาส้วมที่มีอยู่ให้เป็นส้วมธรรมะใช้เงินเพียงเล็กน้อยก็ทำได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องลงทุนสร้างส้วมใหม่

ผอ.จุฑามาศ ยังบอกด้วยว่า เมื่อส้วมของโรงเรียนวัดใหญ่ได้รับรางวัล ก็ส่งผลต่อส้วมของครูน้อยที่โรงเรียนได้กลับไปดูส้วมที่บ้าน ขณะเดียวกันเมื่อผู้ปกครองมาโรงเรียนได้เห็นส้วมของโรงเรียนถูกสุขอนามัยก็ กลับไปพัฒนาทำความสะอาดส้วมที่บ้าน แม้ว่าที่นี่จะมีแม่บ้านและนักการภารโรง แต่เรื่องความสะอาดของส้วมต้องเป็นหน้าที่ของเด็ก โดยแต่ละชั้นต้องจัดเวรมาทำความสะอาด ทั้งนี้ แม่บ้านและนักการภารโรงจะมาดูแลซ้ำในส่วนของรายละเอียดเท่านั้น"

ด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเทเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กในโรงเรียนให้มีคุณภาพ ทำให้ ผอ.จุฑามาศ ได้รับรางวัลมากมาย เช่น เกียรติบัตรและเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "ครุฑทองคำ" ในฐานะเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น พ.ศ.๒๕๕๐ จากนายกรัฐมนตรี พ.ศ.๒๕๔๖ ได้รับรางวัล "ทิชเชอร์ อวอร์ด" สาขาการบริหารโรงเรียนประจำปี ๒๕๔๖ จากสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา และได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระ ราชทานระดับประถมศึกษา ขนาดเล็กประจำปีการศึกษา ๒๕๔๘

ส้วมชื่อ "พรหมวิหาร ๔"

ในการจัดทำ "ส้วมธรรมะและมีธรรมะในส้วม" ผอ.จุฑามาศ บอกว่า เริ่มต้นจากการตั้งชื่อห้องน้ำ โดยมีแนวความคิดว่า "ทำอย่างไรให้เด็กรู้คำและความหมายที่เป็นหลักธรรมทางพุทธศาสนา" ขณะเดียวกันต้องไม่ยากและหนักเกินไป ทั้งนี้ ได้จัดให้มีการประกวดแข่งขันตั้งชื่อ ด้วยเหตุที่ห้องน้ำมีทั้งหมด ๕ หลัง หลายคนส่งชื่อที่เป็นศีล ๕ ข้อ แม้จะครบทั้ง ๕ หลัง แต่หลักธรรมดังกล่าวเป็นเรื่องที่หนักเกินไปที่เด็กระดับอนุบาล ประถมจะรับรู้ศีล ๕ เป็นเรื่องห้ามทำความชั่วต่างๆ ซึ่งเด็กบางคนยังไม่รู้อะไรมาก จึงคิดว่าน่าจะเป็นหลักธรรมเกี่ยวการทำความดีมากกว่า น่าจะเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์มากกว่า ในที่สุดก็มาลงหลักธรรม พรหมวิหาร ๔

ความหมายของพรหมวิหาร คือ ธรรมของพรหม หรือของท่านผู้เป็นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุกคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างประเสริฐและ บริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ ได้แก่

เมตตา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ ใช้ตั้งชื่อห้องน้ำของเด็กเล็กและเด็กอนุบาล เพราะเด็กในวัยนี้ควรสอนเรื่องให้มีเมตตาน่าจะเหมาะสมที่สุด โดยจะเขียนอธิบายความหมายไว้อย่างง่ายๆ เมื่อสอนการใช้ห้องน้ำ ครูก็จะอธิบายธรรมในหัวข้อเมตตาด้วย

กรุณา หมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน เป็นชื่อห้องน้ำของเด็กชั้นประถมต้น (ป.๑-ป.๓)

มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา (ป.๔-ป.๖)

อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติม เขาในเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นชื่อห้องน้ำของเด็กชั้นมัธยมต้น (ม.๑-ม.๓) ชาย

ส่วนหลังที่ ๕ ใช่ชื่อว่า "หิริโอตัปปะ" หมายถึง ความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เป็นหลักที่คอยเตือนใจเมื่อเราจะทำบาปทั้งปวงความละอายและเกรงกลัวต่อบาป นั่นเอง หลักธรรมและหลักการนี้จะคอยเป็นหลักกระตุ้นเตือนเมื่อเราจะประพฤติปฏิบัติใน สิ่งที่ไม่ดี สิ่งที่ไม่เป็นกุศล ถ้าเรามีหลักธรรมนี้อยู่ในใจ เราจะมีสำนึกและละการกระทำนั้นเสีย เป็นชื่อห้องน้ำของเด็กชั้นมัธยมต้น (ม.๑-ม.๓) หญิง

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130604/160123/ส้วมธรรมะธรรมะในส้วมที่ร.ร.วัดใหญ่ชัยมงคล.html#.UbANTdhHWzs (ขนาดไฟล์: 16)