ทะเบียนบ้านชั่วคราว มีอายุ

เลขที่บ้าน หรือ เลขประจำบ้าน มีความสำคัญที่แต่ละบ้านจะต้องมีเพื่อวัตถุประสงค์ด้านต่างๆ คือ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของประชาชน ป้องกันการแอบอ้างสิทธิในที่ดิน หรืออ้างเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นๆ

Show

เมื่อมีการปลูกสร้างบ้านนอกจากจะต้องมีการดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างอาคารแล้ว เมื่อบ้านก่อสร้างแล้วเสร็จ เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน หรือสำนักงานเทศบาล หรือสำนักงานเขต เพื่อออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ก.ร.9) สำหรับนำไปประกอบการยื่นคำร้องขอเลขที่บ้าน และสมุดทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียน โดยต้องยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่บ้านนั้นสร้างแล้วเสร็จ

ทะเบียนบ้านชั่วคราว มีอายุ

เอกสารที่ต้องใช้เมื่อขอเลขที่บ้าน

(1) ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน (ท.ร.9) ออกโดยผู้ใหญ่บ้าน หรือกำนัน หรือเจ้าหน้าที่ท้องที่ที่ปลูกสร้างบ้าน

(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน

(3) กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถดำเนินการยื่นคำร้องขอเลขที่บ้านได้ด้วยตัวเอง ให้ใช้เอกสารเพิ่มเติมคือ หนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ รวมถึงพยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงลายมือชื่อ หรือลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือข้างขวาในหนังสือมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบถ้วนทุกฉบับ จำนวน 1 ชุด

(4) ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร หรือ หนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้าง

(5) เอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดินที่บ้านหลังนั้นตั้งอยู่ เช่น โฉนดที่ดิน, น.ส.3, ส.ป.ก

(6) รูปถ่ายบ้านที่ปลูกสร้างเสร็จทั้ง 4 ด้าน คือด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้วนขวา ทั้งนี้บ้านที่ปลูกสร้างต้องมีห้องน้ำ

(7) แบบแปลนในการสร้างบ้านออกโดยผู้มีคุณวุฒิ

กรณีที่มีการปลูกบ้านในที่ดินของบุคคลอื่นให้ใช้เอกสารเพิ่มเติมคือ

(1) หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดินแปลงนั้น

(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของที่ดิน

(3) สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของที่ดิน

ทะเบียนบ้านชั่วคราว มีอายุ

ขั้นตอนการขอเลขที่บ้าน

(1) ยื่นเรื่องติดต่อขอเลขที่บ้าน และสมุดทะเบียนบ้าน พร้อมกับเอกสารให้ครบถ้วน ที่สำนักงานเทศบาล สำนักงานเขต ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำภอ

(2) นายทะเบียนหรือเจ้าหน้าที่ จะกำหนดเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน ให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน กรณีปลูกสร้างบ้านในเขตเทศบาล และภายในเวลา 30 วัน กรณีปลูกสร้างบ้านนอกเขตเทศบาล

ข้อควรรู้เมื่อขอเลขที่บ้าน

(1) ค่าธรรมเนียมการขอเลขที่บ้าน ปัจจุบันเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2551 ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย

(2) เจ้าบ้านจะต้องดำเนินการขอเลขที่บ้านต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ปลูกสร้างบ้านเสร็จสมบูรณ์ หากฝ่าฝืน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

(3) สำหรับบ้านที่ปลูกสร้างเสร็จนานแล้ว แต่ยังไม่มีเลขที่บ้าน เจ้าบ้านสามารถดำเนินการขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้านได้ แต่จะเสียค่าปรับการแจ้งล่าช้ากว่ากำหนด

(4) บ้านที่ปลูกสร้างในเขตท้องที่ที่ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร จะต้องมีการแจ้งขออนุญาตปลูกสร้างอาคารก่อน กรณีไม่ขออนุญาตปลูกสร้าง นายทะเบียนจะกำหนดเลขที่บ้านและจัดทาทะเบียนบ้านชั่วคราวให้

(5) การแก้ไขทะเบียนบ้านชั่วคราวให้เป็นทะเบียนบ้านปกติ สามารถทำได้โดยเจ้าบ้านทำเรื่องขออนุญาตปลูกสร้างอาคารให้เรียบร้อย แล้วนำหลักฐานยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนเพื่อขอแก้ไขทะเบียนบ้าน

(6) บ้านที่ปลูกสร้างโดยบุกรุกที่สาธารณะ หรือปลูกในพื้นที่ป่าสงวน สามารถขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้านได้ แต่จะเป็นแบบทะเบียนบ้านชั่วคราว

ดังนั้น…หลังจากคุณสร้างบ้านเสร็จจะต้อง “ขอเลขที่บ้าน”
ภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะโดนปรับ 1,000 บาท

เพราะเลขที่บ้านนั้นสำคัญ เป็นเหมือนตัวช่วยคุมครองกรรมสิทธิ์ของเจ้าของบ้าน รวมทั้งยังใช้ประกอบการรับสิทธิ์ประโยชน์พื้นฐานต่างๆ ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลใดที่เมื่อมีบ้านแล้วเจ้าของบ้านจะไม่อยากแจ้งขอเลขที่บ้าน เพราะท้ายที่สุดผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุด คือเจ้าของบ้านเอง

ทะเบียนบ้าน คือ งานในระบบทะเบียนราษฎร จัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร หรือข้อมูลตัวบุคคล ทะเบียนประจำบ้านของแต่ละบ้าน ที่มีการแสดงรหัสประจำบ้าน และรายชื่อคนที่อยู่ในบ้านนั้น โดยจะบ่งบอกว่าใครเป็นเจ้าบ้าน และ ผู้อยู่อาศัย ในรายละเอียดของบุคคลจะมีบอกชื่อ พ่อ แม่ เลขประจำตัวประชาชน เกิดเมื่อไหร่ เป็นเจ้าบ้าน หรือผู้อยู่อาศัย แจ้งย้ายเมื่อไหร่ เป็นต้น โดยทะเบียนบ้าน กล่าวคือ เอกสารชนิดนี้แสดงถึงตัวตน หลักแหล่ง สถานะ และตำแหน่งที่อยู่ของเราอย่างชัดเจน ถูกต้องตามกฎหมายที่สุด

ทะเบียนบ้านชั่วคราว มีอายุ

บ้านทุกหลัง จะได้รับทะเบียนบ้านหลังละ 1 เล่ม แต่บุคคลหนึ่ง ๆ จะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

ทะเบียนบ้านจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

ส่วนที่ 1. รายการเกี่ยวกับบ้าน

เป็นหน้าแรกของเล่มสำเนาทะเบียนบ้าน ระบุข้อมูลของบ้านหลังนั้น ๆ

  • ระบุเลขรหัสประจำบ้าน เป็นเลขรหัส 11 หลัก ซึ่งจะไม่ซ้ำกันแต่อย่างใด ความสำคัญคือหลักที่ 1-4 ซึ่งเป็นรหัสของสำนักทะเบียนตามรหัสจังหวัด และอำเภอของประเทศไทย เช่น 1037 คือ สำนักทะเบียนท้องถิ่นเขตราชเทวี ส่วนหลักที่ 5-10 เป็นเลขเรียงลำดับของแต่ละบ้านในสำนักทะเบียนนั้น ตามเจ้าหน้าที่ได้กำหนด และหลักที่ 11 เป็นเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำบ้านทั้งหมด
  • สำนักทะเบียน ระบุชื่อท้องถิ่น สอดคล้องกับเลขรหัสประจำบ้าน 4 หลักแรก
  • รายการที่อยู่ ระบุที่อยู่ทางการของบ้าน คือ บ้านเลขที่ หมู่ ถนน แขวง เขต จังหวัด ซึ่งเราใช้อ้างอิงสำหรับกรอกข้อมูลที่อยู่ทะเบียนบ้านเวลาติดต่องานทั่วไป
  • ชื่อหมู่บ้าน ระบุชื่อหมู่บ้าน หรือชื่อโครงการ
  • ชื่อบ้าน ระบุชื่อหมู่บ้าน หรือชื่อโครงการ
  • ประเภทบ้าน แบ่งเป็นบ้าน อาคารชุด ตึกแถว
  • ลักษณะบ้าน แบ่งเป็นบ้าน อาคารชุด ตึกเดี่ยว ตึกแฝด
  • และสุดท้ายคือ วัน เดือน ปี ที่กำหนดบ้านเลขที่

ทะเบียนบ้านชั่วคราว มีอายุ

ส่วนที่ 2. รายการบุคคลในบ้าน

เป็นหน้าเอกสารลำดับถัดไป จะระบุรายชื่อ และรายละเอียดของผู้พักอาศัยในบ้านหลังนั้น เป็นรายบุคคลไป 

ทั้งนี้เราจะพักอาศัยจริงหรือไม่นั้น ไม่เป็นประเด็นแต่อย่างใด ในความเป็นจริง เราไม่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ในบ้านที่มีชื่อในทะเบียนบ้านก็ได้ เช่น บางคนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ต่างจังหวัด แต่มาทำงานที่กรุงเทพ จึงเช่าคอนโด หรืออพาร์ทเมนท์อาศัยอยู่แทน กรณีเช่นนี้จึงแยกเป็นที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน กับที่อยู่ติดต่อได้ หรือที่อยู่จัดส่งเอกสาร ซึ่งไม่ใช่ที่เดียวกัน 

ข้อมูลที่อยู่ในหน้านี้ เป็นข้อมูลเฉพาะของบุคคลแต่ละคน ตั้งแต่ชื่อนามสกุล ชื่อบิดา-มารดา เลขที่บัตรประชาชน สัญชาติ เพศ วันเดือนปีเกิด ประวัติย้ายที่อยู่เดิม และสถานภาพ

สำหรับสถานภาพหลัก ๆ แบ่งเป็น 2 สถานะ คือ

  1. เจ้าบ้าน คือ ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครองครองบ้านหลังนั้น ซึ่งการครอบครองนี้อาจจะครอบครองในฐานะเจ้าของบ้าน ผู้เช่า หรือในฐานะอื่นๆ ก็ตาม กรณีที่ไม่ปรากฎเจ้าบ้าน หรือเจ้าบ้านไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติกิจการได้ ให้ถือว่าผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเจ้าบ้าน
  2. ผู้อยู่อาศัย คือ ผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน

บุคคล ๆ หนึ่งจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ทะเบียนบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีชื่อผู้อยู่อาศัยทุกหลังก็ได้

ผู้ที่มีชื่อปรากฎอยู่ในเล่มทะเบียนบ้าน ไม่ว่าจะในฐานะเจ้าบ้าน หรือผู้อาศัย ภาครัฐจะตีความว่าบ้านหลังนั้นเป็น “บ้านหลังหลัก” ของบุคคลนั้น ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับหลักการคิดคำนวนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไปจนถึงภาษีอื่น ๆ กรณีซื้อขายด้วย

ส่วนกรณีที่เราซื้อบ้าน หรือคอนโด มากกว่า 1 หลัง จุดประสงค์การซื้อเพื่อการลงทุนขายต่อ ปล่อยเช่า หรือซื้อเก็บไว้เป็นทรัพย์สิน เป็นบ้านพักตากอากาศส่วนตัว เป็นบ้านหลังที่ 2 ไม่ได้ทำประโยชน์ใด ๆ มากนัก ทางภาครัฐมองว่าเป็น “บ้านหลังอื่น” จะต้องเสียภาษีกันต่อไป ทะเบียนบ้าน จึงเป็นอีกหนึ่งเอกสารสำคัญ ควรเก็บไว้อย่างดีเพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินนั่นเอง 

ประเภทของทะเบียนบ้าน มีอะไรบ้าง?

หลังจากผ่านขั้นตอนการสร้างบ้านเสร็จ หรือมีบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปที่เจ้าของบ้านจะต้องทำ คือ ขั้นตอนของการขอบ้านเลขที่ และขอทะเบียนบ้าน ซึ่งจะเป็นทะเบียนประจำบ้านของบ้านแต่ละหลัง มีบ้านเลขที่กำกับอยู่ รวมถึงรายชื่อของบุคคลทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในบ้าน โดยทะเบียนบ้านแยกออกเป็น 5 ประเภท ด้วยกัน ดังนี้

  • ทะเบียนบ้านชั่วคราว

เป็นทะเบียนบ้านที่ออกโดยสำนักบริหารการทะเบียน ซึ่งทะเบียนบ้านชั่วคราวนั้น จะถูกใช้ในกรณีที่บ้านไม่ได้ขออนุญาตปลูกสร้างบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือเป็นบ้านที่ปลูกสร้างอยู่ในบริเวณพื้นที่สาธารณะ เขตพื้นที่ป่าสงวน พื้นที่ป่าบุกรุกโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่มีเอกสารสิทธิ์ในการก่อสร้าง

ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องได้รับการออกทะเบียนบ้านชั่วคราวก่อน และหลังจากมีการพิสูจน์ หรือดำเนินการตรวจสอบเป็นที่แล้วเสร็จแล้ว จึงจะได้รับเอกสารทะเบียนบ้านฉบับปกติ

  • ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน

เป็นทะเบียนบ้านที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อใช้ในการลงรายการชื่อของบุคคลต่าง ๆ ที่ทำการขอแจ้งย้ายทะเบียนบ้านจากที่อยู่เดิมไปยังบ้านเลขที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ทำการย้ายออก

  • ทะเบียนบ้าน(ท.ร.13)

เป็นทะเบียนบ้านที่ใช้ลงรายการชื่อบุคคลของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ชอบด้วยกฎหมาย

  • ทะเบียนบ้าน(ท.ร.14)

เป็นทะเบียนบ้านที่ใช้ลงรายการชื่อบุคคลที่มีสัญชาติไทย และบุคคลต่างด้าวที่มีใบประจำตัวคนต่างด้าว

  • ทะเบียนบ้านกลาง

เป็นเอกสารที่ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน จะใช้ลงรายการชื่อบุคคลในกรณีที่บุคคลนั้นไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน

ข้อควรรู้ในการขอทะเบียนบ้าน

เจ้าของบ้านจะต้องดำเนินการยื่นเอกสารขอทะเบียนบ้านภายในระยะเวลา 15 วัน หลังการก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ (ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. 2534) หากเจ้าของบ้านไม่ดำเนินการขอทะเบียนบ้านภายในระยะเวลา 15 วัน ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่วันที่ก่อสร้างบ้านเสร็จสมบูรณ์ จะถือว่ามีความผิด และมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อขอทะเบียนบ้าน

  • เอกสาร ท.ร.9 หรือใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ออกโดยหน่วยงานท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน/อบต.)
  • ใบอนุญาตก่อสร้างหรือหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือหนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน (ถ้ามี)
  • โฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้าง
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งขอทะเบียนบ้าน หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
  • หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี) หนังสือมอบอำนาจ จะใช้ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถติดต่อยื่นเรื่องขอบ้านเลขที่หรือทะเบียนบ้านด้วยตัวเอง และมีการมอบหมายให้บุคคลอื่นดำเนินการยื่นเรื่องขอทะเบียนบ้านแทนตน

โดยจะมีเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน พร้อมลงกำกับสำเนาถูกต้องในเอกสารสำคัญอย่างละ 1 ชุด ซึ่งใช้ประกอบในหนังสือมอบอำนาจ รายละเอียดในเอกสารหนังสือมอบอำนาจ จะต้องมีพยานบุคคล จำนวน 2 คน ลงชื่อรับทราบ เพื่อเป็นพยานในการมอบอำนาจ

  • รูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวาของตัวบ้าน

ทะเบียนบ้านชั่วคราว มีอายุ

ขั้นตอนในการขอทะเบียนบ้าน

หลังจากจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการขอทะเบียนบ้าน ดังนี้

  1. ยื่นเรื่องติดต่อขอบ้านเลขที่และสมุดทะเบียนบ้าน ณ สำนักทะเบียนในพื้นที่ปลูกสร้าง
  2. นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  3. ออกบ้านเลขที่ รวมถึงจัดทำสมุดทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน
  4. ส่งมอบทะเบียนบ้านให้แก่เจ้าของบ้านหรือผู้ได้รับมอบอำนาจ

ระยะเวลาในการดำเนินการยื่นขอทะเบียนบ้าน

หลังจากทำการยื่นเอกสารคำร้องขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน หลังก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบเอกสารและความถูกต้องของข้อมูลว่ามีลักษณะถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดหรือไม่ หากเป็นไปตามข้อกำหนด เจ้าหน้าที่จะกำหนดบ้านเลขที่และสมุดทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้งภายใน 7 วัน ในกรณีปลูกสร้างบ้านในเขตเทศบาล ไปจนถึงระยะเวลา 30 วัน ในกรณีปลูกสร้างบ้านนอกเขตเทศบาล

ค่าใช้จ่ายในการขอทะเบียนบ้าน

สามารถสอบถามได้ที่สำนักทะเบียนท้องที่ หรือ Call Center 1548 และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง http://www.bora.dopa.go.th/index.php/th/

5 เรื่องเกี่ยวข้องของทะเบียนบ้าน ที่คนซื้อบ้านจำเป็นต้องรู้

ขั้นตอนทางกฎหมายที่คนซื้อบ้านจำเป็นต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งสามารถสรุปรายละเอียดความสำคัญของทะเบียนบ้านได้ 5 ข้อ ดังนี้

1. เจ้าบ้าน และเจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หากใครสังเกตในทะเบียนบ้านมักจะมีคำว่า “เจ้าบ้าน” ปรากฎอยู่ แน่นอนว่ายังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจหน้าที่ที่แท้จริงของเจ้าบ้านนั้นคืออะไร แตกต่างอย่างไรกับเจ้าของบ้าน โดยสามารถแยกบทบาท และสิทธิทางกฎหมาย ได้ดังนี้

ความหมายและหน้าที่ของ เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน

  • เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่น ๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้าน สามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้
  • หน้าที่ของเจ้าบ้าน เจ้าบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 อาทิ แจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้
    • แจ้งคนเกิดในบ้าน
    • แจ้งคนตายในบ้าน
    • แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
    • สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
    • ขอเลขที่บ้าน
  • เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย
  • หน้าที่ของเจ้าของบ้าน เจ้าของบ้าน มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการขาย โอนบ้าน และที่ดินหลังนั้น ทั้งนี้สามารถโอนถ่ายให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้

2. ซื้อบ้านหลายหลัง ชื่อในทะเบียนบ้านทำอย่างไร?

เรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างสำคัญสำหรับคนที่มีบ้านหลายหลัง โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนอสังหาฯ แน่นอนว่าคนเหล่านี้ จะมีทะเบียนบ้านหลายฉบับ แต่ทางกฎหมายจำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น โดยสามารถใช้ชื่อฐานะเจ้าบ้าน หรือผู้ดูแลบ้านได้ เนื่องจากตามกฎหมายไม่อนุญาตให้บุคคลเดียวกันมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่าหนึ่งฉบับในเวลาเดียวกัน เพราะจะกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ดังนั้น นักลงทุนอสังหาฯ หรือกลุ่มคนทำงานที่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สามารถใช้วิธีนำชื่อของญาติ พ่อแม่ พี่น้องมาใส่ในทะเบียนบ้านหลังอื่น ๆ ได้

3. ชื่อในทะเบียนบ้าน สามารถปล่อยว่างได้หรือไม่?

หลายคนอาจสงสัยว่าจากกรณีข้อที่ 2 หากไม่สามารถหาชื่อญาติ พ่อแม่ พี่น้อง มาใส่ในทะเบียนบ้านได้ สามารถทำให้ชื่อในทะเบียนปล่อยว่างได้หรือไม่ กรณีดังกล่าว สามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งอยากขายบ้าน ขายคอนโดขึ้นมา และถือครองอสังหาฯ นั้นไม่ถึง 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด คือ “พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยโดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันได้มา ดังนั้น หากท่านที่ขายอสังหาฯ ไปโดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ”

4. วิธีแจ้งชื่อย้ายเข้า-ย้ายออกทะเบียนบ้าน ทำอย่างไร?

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนที่ซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่ และกำลังมีแผนย้ายบ้านต่างตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสาร รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

แจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้าน การแจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้าน จะเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน ซึ่งจำเป็นต้องย้ายออกภายใน 15 วัน หากเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ตามกฎหมายกำหนดให้มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยเจ้าบ้านสามารถยื่นเอกสารกับนายทะเบียนท้องที่ของทะเบียนบ้านเดิม ซึ่งจะผ่านการตรวจสอบเอกสารจากนายทะเบียนก่อนมีการประทับ “ย้าย” หน้าเอกสาร พร้อมมอบเอกสารแจ้งย้ายเข้าต่อไป สำหรับเอกสารที่ใช้ย้ายออกทะเบียนบ้านมีดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

5. ทะเบียนบ้านหาย ต้องทำอย่างไร?

สำหรับกรณีของทะเบียนหาย น่าจะเป็นสถานการณ์ที่พบบ่อยสำหรับนักลงทุนที่มีคอนโดหลายห้อง หรือคนที่ซื้อบ้านไว้ให้เช่าหลายหลัง และถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น สามารถยื่นคำร้องกับฝ่ายทะเบียน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานได้ ดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
  • กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องมีบัตรประจำตัวของผู้มอบ และผู้รับมอบหมาย หนังสือผู้มอบหมาย ค่าธรรมเนียมในการออกเล่มใหม่ฉบับละ 20 บาท

เป็นอย่างไรกันบ้างกับความรู้เรื่องทะเบียนบ้านที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ จะเห็นได้ว่าการขอทะเบียนบ้านนั้นจะอยู่ในขั้นตอนท้าย ๆ ของการก่อสร้างบ้าน ซึ่งหลังจากที่ขอบ้านเลขที่และสมุดทะเบียนบ้านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เจ้าบ้านจะต้องนำบ้านเลขที่ที่ได้ไปใช้ในการขอใช้ไฟฟ้า และน้ำประปาในลำดับต่อไปนั่นเอง👌🏻

ทะเบียนบ้านกับทะเบียนบ้านชั่วคราวต่างกันอย่างไร

ทะเบียนบ้านชั่วคราว” คือ ทะเบียนบ้านที่นายทะเบียนออกให้บ้านที่ปลูกสร้างในที่สาธารณะ หรือโดยบุกรุกป่าสงวน หรือไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือไม่ได้รับเอกสารสิทธิ์ จะได้รับการแก้ไขเป็น ทะเบียนบ้านชั่วคราวให้เป็นทะเบียนบ้านปกติทำได้หลังจากได้ยื่นเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อเจ้าหน้าที่ครบถ้วน

ทะเบียนบ้านชั่วคราวใช้ทำอะไรได้บ้าง

ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน เป็นทะเบียนบ้านที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง กำหนดให้ ทุกสำนักทะเบียนจัดทำขึ้น เพื่อใช้ลงรายการของบุคคลซึ่งขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน บ้านใดยังไม่มีเลขประจำบ้าน ๆ ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งเพื่อขอ เลขประจำบ้านภายใน ...

มีทะเบียนบ้านชั่วคราวขอใช้ไฟฟ้าได้ไหม

2.2.1 ทะเบียนบ้านชั่วคราว ซึ่งออกให้กับบ้านที่ปลูกสร้างโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคารหรือตามกฎหมายอื่น กรณีนี้ต้องมีหนังสือรับรองจากนายทะเบียนว่าเป็นทะเบียนบ้านชั่วคราว เพื่อใช้ในการปลูกสร้างกรณีมิได้รับอนุญาต มาประกอบการขอใช้ไฟฟ้าเพิ่มเติม

สำเนาทะเบียนบ้านมีความสำคัญต่อเราอย่างไร

ทะเบียนบ้านเป็นงานในระบบทะเบียนราษฎร์ จัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร หรือข้อมูลตัวบุคคลเกี่ยวกับชื่อ ชื่อสกุล เพศ วันเดือนปีเกิดและตาย สัญชาติ ศาสนา ภูมิลำเนา เป็นต้น กล่าวคือ เอกสารชนิดนี้แสดงถึงตัวตน หลักแหล่ง สถานะ และตำแหน่งที่อยู่ของเราอย่างชัดเจน ถูกต้องตามกฎหมายที่สุด