เงื่อนไขการแต่งงานในอิสลาม

ชาวมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมที่ต้องการจะแต่งงานในประเทศไทยนั้นทำได้อย่างง่ายดาย สามารถทำได้โดยผ่านการเยี่ยมชมศูนย์อิสลามแห่งชาติในกรุงเทพฯ กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่ง่ายและตรงไปตรงมาเพื่อให้คุณได้เพลิดเพลินไปกับเวลาอื่นๆที่เหลือของการเข้าพักของคุณในดินแดนแห่งรอยยิ้ม หลังจากที่พิธีแต่งงานใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง ซึ่งการจดทะเบียนสมรสในภาษาไทย, อังกฤษหรือภาษาอาหรับขึ้นอยู่กับคำร้องขอของคู่แต่งงาน

ชาวมุสลิมและที่ไม่ใช่มุสลิมที่ต้องการจะแต่งงานในประเทศไทยนั้นทำได้อย่างง่ายดาย สามารถทำได้โดยไปที่ศูนย์อิสลามแห่งชาติในกรุงเทพฯ กระบวนการไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้คุณประหยัดเวลาในการท่องเที่ยวในดินแดนแห่งรอยยิ้มแห่งนี้ พิธีการแต่งงานนั้นใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะออกใบทะเบียนสมรสมาให้ทั้งภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอาหรับขึ้นอยู่กับความต้องการของคู่แต่งงาน

เอกสารหรือสิ่งที่ต้องการ

    1. การเปลี่ยนเป็นศาสนาอิสลามสำหรับคนที่ไม่ใช่มุสลิม

ก่อนอื่นบุคคลที่ไม่ใช่มุสลิมจะสามารถแต่งงานได้นั้นต้องเข้าพิธีเปลี่ยนศาสนาก่อน โดยการจดทะเบียนสมรสกับบุคคลที่เป็นชาวมุสลิมภายใต้กฎหมายอิสลามบังคับไว้ พิธีกรรมดังกล่าวสามารถทำได้ที่บ้านเกิดของคนที่ไม่ใช่มุสลิมก่อนที่จะมาถึงประเทศไทย คุณเพียงแค่ต้องนำใบรับรองการเปลี่ยนเป็นนับถือศาสนาอิสลามของคุณมาเท่านั้น ถ้าคุณไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ ทางศูนย์อิสลามแห่งชาติก็จะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้ก่อนที่คุณจะจดทะเบียนสมรสอยู่ดี ใบรับรองการสมรสจะออกโดยศูนย์ฯนี้ด้วยเช่นกัน

– หนังสือเดินทาง – ทั้งสองฝ่ายต้องมีสำเนาหนังสือเดินทางจำนวน 3 ชุด รวมถึงแสตมป์ของด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วย

– หนังสือรับรองการหย่าหรือใบมรณบัตร (ถ้ามี)

– ใบรับรองแพทย์ – เอกสารนี้จำเป็นสำหรับหญิงที่ได้แต่งงานและได้มีการหย่าร้างมาก่อน ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 310 วันที่ ใบรับรองแพทย์นี้จะต้องระบุว่าผู้หญิงไม่ได้ตั้งครรภ์

– รูปถ่ายบัตรประชาชน จำนวน 6 รูป ขนาด 1.5 “x 1.5”

– จดหมายจากสถานทูตหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ ประเทศบ้านเกิดของคุณ ซึ่งรับรองว่าคุณสามารถแต่งงานได้ *เอกสารนี้จำเป็นสำหรับชาวคูเวตและชาวบาห์เรนเท่านั้น

พิธีการแต่งงาน

การแต่งงานที่จะทำพิธีในมัสยิด คุณจะต้องแต่งตัวให้เหมาะสม หากคุณนำแขก หรือ ญาติมากับคุณ คุณต้องแจ้งให้แขกของคุณทราบเกี่ยวกับการแต่งกายที่เหมาะสมในพิธีนี้ พิธีการแต่งงานมักจะใช้เวลาชั่วโมงหรือสองชั่วโมง ใบรับรองการสมรสจะออกให้แก่คู่แต่งงานหลังจากการแต่งงานเสร็จสิ้น

หาคุณไม่ค่อยมีเวลา และอยากให้การแต่งงานเสร็จสิ้นโดยเร็ว คุณสามารถใช้บริการ การแต่งงานที่จะช่วยจัดการกับพิธีการแต่งงานให้คุณให้เป็นเรื่องง่าย เช่นขั้นตอนการทำพิธีแต่งงานและจดทะเบียนสมรสที่ศูนย์อิสลาม ดังนั้นเพื่อให้การแต่งงานให้ผ่านไปได้ด้วยดีและสมบูรณ์แบบ ทางเรายินดีที่จะช่วยเหลือคุณ

วิดีโอ YouTube


การแต่งงานแบบอิสลามหรือพิธีนิกะห์

โดย มา Napatsorn Princess

มาเห็นว่า ความรู้เรื่องพิธีแต่งงานอิสลามยังมีคนพูดถึงบนโลกอออนไลน์กันน้อย แล้วในปัจจุบันก็มีเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งซึ่งนับถือศาสนาอื่นมาแต่งงานกันคนอิสลามกันเยอะ วันนี้มาเลยอยากจะหยิบยกเรื่องจากขั้นตอนและพิธีแต่งงานอิสลามมาเล่าสู่กันฟังค่ะ

#กฎหรือข้อบังคับของพิธีแต่งงานแบบอิสลาม

พิธีแต่งงานแบบอิสลาม จะเรียกว่า นิกะห์ จะเกิดขึ้นได้เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงตกลงปลงใจที่จะแต่งงานกัน โดยมีเงื่อนไขว่า ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ทั้งคู่ต้องเป็นอิสลามทั้งคู่ ซึ่งถ้าหากฝ่ายใดไม่ได้เป็นอิสลาม ต้องทำพิธีเข้ารับอิสลามก่อน ถึงจะทำพิธีนิกะห์ได้ ถ้าไม่ใช่อิสลามทั้งคู่หรือทำพิธีเข้ารับอิสลาม พิธีนิกะห์จะถือว่าเป็นโมฆะ

เงื่อนไขการแต่งงานในอิสลาม

ในการเข้ารับอิสลามนั้น จะต้องมีพยานรู้เห็นในการรับอิสลามอย่างน้อย 2 คน  และปฏิญานตนโดยพูดว่า " ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกนมัสการกราบไหว้โดยเที่ยงแท้ นอกจากพระเจ้าอัลเลาะห์ องค์เดียวเท่านั้น และมี นบีมูหมัดเป็นพระศาสนฑูตของพระองค์ " แค่พูดปฏิญานเพียงเท่านี้ โดยที่มีพยานรับรู้ก็ถือว่าคุณเข้ารับอิสลามเรียบร้อยแล้ว และหลังจากนั้นคุณต้องศึกษาถึงข้อห้าม ข้อใช้ต่างๆ ด้วยค่ะ ซึ่งอาจจะไปศึกษากับสถานที่หรือสถาบันที่เปิดสอน เช่น มูลนิธิสันติชน รามคำแหง 53 หรือ สถาบันศูนย์ศึกษาศาสนาอิสลาม บางกอกใหญ่ เป็นต้น โดยที่นั่นจะมีอาจารย์เป็นผู้สอนข้อห้าม และข้อใช้ต่างๆ หลังจากเข้ารับอิสลามเรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถเข้าพิธีแต่งงานอิสลามหรือพิธีนิกะห์ได้แล้วค่ะ

#พิธีนิกะห์

การทำพิธีนิกะห์ ไม่จำเป็นต้องมีฤกษ์ คือถือฤกษ์สะดวกค่ะ ซึ่งแตกต่างกับพิธีไทยที่มักจะต้องมีฤกษ์ยามเพื่อเป็นสิริมงคล แต่พิธีนิกะให้ความสำคัญกับพยานและตัวพิธีกรรม พิธีแต่งงานอิสลามจะเริ่มตั้งแต่ 1 วันก่อนวันพิธีหรือเรียกว่าวันสุกดิบ โดยจะมีการจัดเลี้ยงที่บ้านฝ่ายหญิง

การจัดพิธีนิกกะห์มักนิยมจัดบ้านฝ่ายหญิง หรือถ้าไม่สะดวก ในกรุงเทพก็จะมีศูนย์กลางอิสลาม ซึ่งมีพื้นที่ให้เช่าทำพิธีและห้องจัดเลี้ยง (แต่ต้องบอกว่าคิวค่อนข้างแน่นค่ะ ต้องจองล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน)

ในการเตรียมพิธีนิกะห์นั้น พิธีก็จะเริ่มจากการแห่ขันหมากของฝ่ายเจ้าบ่าวตามปกติ โดยพิธีต่างๆ แขกต่างศาสนาสามารถเข้าร่วมเป็นพยานในพิธีได้ค่ะ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนศาสนาอิสลามเท่านั้นจึงจะเข้าร่วมได้ พอขบวญขันหมากมาถึงบ้านเจ้าบ่าวก็จะต้องเข้ามาในที่ประชุม โดยที่ประชุมจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ค่ะ

1. ตัวแทนทำพิธี จะเป็นอิหม่ามหรืออาจารย์ที่เป็นตัวแทนก็ได้

2. เจ้าบ่าว

3. เจ้าสาว

4. พ่อเจ้าสาว หรือตัวแทนของพ่อเจ้าสาว โดยต้องมีการซักซ้อมบทสนทนาในพิธีร่วมกับเจ้าบ่าว

5. มีพยานรับรู้ ซึ่งต้องเป็นคนอิสลาม เป็นชายตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และเป็นหญิงตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป

6. นักอ่านกุรอ่านหรืออิสลามที่สามารถอ่านกุลอ่านได้

 

#ขั้นตอนในพิธีนิกะห์

1. องค์ประชุมครบก็สามารถเริ่มอ่านกุรอ่านได้

2. ฟังคุตบะห์ หรือโอวาทสอนคู่บ่าวสาวจากผู้รู้ อาจจะเป็นคนเดียวกับคนอ่านกุรอ่านหรือเป็นผู้ใหญ่ที่นับถือก็ได้

3. เจ้าบ่าวและ พ่อเจ้าสาวหรือตัวแทน (ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอนุตาโตตุลาการมาแทนพ่อเพื่อมาเป็นผู้ปกครอง หรือ อิหม่าม/ผู้นำศาสนา) จะต้องทำนิกกะห์ โดยจะมีบทสนทนาโต้ตอบกัน ซึ่งเปรียบเสมือนพิธีมอบลูกสาวให้ฝ่ายชาย ตรงนี้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนวันงานค่ะ สามารถทำเป็นภาษาอาหรับก็ได้

4. หลังจากนั้นก็จะมีการชี้แจงสินสอดที่เรียกว่า มะฮัร ให้ที่ประชุม ที่เป็นพยานรับทราบ

5. จบแล้วก็จะมีการขอดุอา คือการขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าจากผุ้รู้

6. เจ้าบ่าวก็ไปรับตัวหรือเชิญเจ้าสาวออกมาได้ ก็จะมีบทสนทนาบ่าวสาวอีกนิดหน่อยเป็นอันจบพิธีค่ะ