สัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นไทย


สมัยก่อนหากมีคนถามว่าสัญลักษณ์ประจำชาติไทยคืออะไร ก็มักจะตอบไปคนละทิศละทาง บ้างว่าเรือสุพรรณหงส์ บ้างก็ว่าวัดพระแก้ว วัดอรุณฯ แต่หากครั้งนี้มีคนถามอีก คำตอบที่ถูกต้องก็คือช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ และศาลาไทย
ที่มาที่ไปของสัญลักษณ์ประจำชาติไทย จนปรากฏออกมาเป็นภาพที่นำมาให้ดูนี้ ก็สืบเนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย และการส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยให้มีผลในระยะยาว
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ จึงได้รับไปพิจารณาศึกษาและรวบรวมข้อมูล จนกระทั่งได้มา ๓ สิ่งคือ ช้างไทย(Elephant Elephas หรือ Maximus) ดอกราชพฤกษ์ หรือดอกคูน(Cassia fistula Linn) และศาลาไทย (Pavilion)
สาเหตุที่เลือกช้างไทยด้วยเหตุผลที่ว่า กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร ได้มีมติในการประชุมเรื่องกำหนดต้นไม้และสัตว์ประจำชาติ เมื่อ ปี ๒๕๐๖ ว่าให้กำหนดช้างเผือกเป็นสัตว์ประจำชาติ เพราะช้างเผือกเป็นสัตว์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีของไทย รู้จักกันแพร่หลายและมีอายุยืนนาน รวมทั้งคณะรัฐมนตรีก็มีมติเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอให้วันที่ ๑๓ มีนาคม เป็นวันช้างไทย ส่วนดอกราชพฤกษ์นั้น ก็มาจากมติของกรมป่าไม้ในปีเดียวกันนั่นเองที่กำหนดให้ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติ เพราะเป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันแพร่หลาย สามารถขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย มีทรวดทรงและพุ่มงาม ใช้ประโยชน์ได้มาก มีอายุยืนนาน และทนทาน มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทย เป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม และแก่นไม้ราชพฤกษ์เคยใช้ในพิธีสำคัญๆมาก่อน เช่น พิธีลงหลักเมือง ใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำคธาจอมพล และยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร และมีดอกสีเหลืองอร่ามเต็มต้น เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา รวมทั้งสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้เคยเสนอโครงการส่งเสริมให้มีการปลูกต้นราชพฤกษ์ทั่วประเทศ จำนวน ๙๙,๙๙๙ ต้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ สำหรับศาลาไทยนั้น เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาช่างไทย และมีความสง่างามที่โดดเด่นจาก สถาปัตยกรรมชาติอื่น และเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย ตลอดจนส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสชื่นชมศาลาไทย
จากนั้นนายกรัฐมนตรี(พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)ลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ และลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๙๙ ง ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๔
ต่อมาคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้พิจารณาการออกแบบภาพสัญลักษณ์ประจำชาติไทยทั้ง ๓ สิ่ง โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรออกแบบภาพช้างไทย ส่วนภาพดอกราชพฤกษ์และภาพศาลาไทยได้จัดให้มีการประกวด โดยมีการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขหลายครั้ง กระทั่งวันที่ 27 ธันวาคม 2547 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติจึงเห็นชอบในสัญลักษณ์ประจำประเทศไทยดังกล่าว และต่อมาเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติรับทราบภาพสัญลักษณ์ประจำชาติทั้ง ๓ สิ่ง ตามที่คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอมา
สำหรับแนวคิดในการออกแบบและเลือกใช้สีของภาพสัญลักษณ์ มีดังนี้
ช้างไทย
ออกแบบโดยมีข้อกำหนดว่า เป็นช้างเผือก ขาก้าวเดินแบบธงชาติ ลักษณะของช้างที่ดีคือต้องมีรูปร่างใหญ่โต แข็งแรง ศีรษะโต แก้มเต็ม หน้าผากกว้าง ดวงตาแจ่มใส ขาแข็งแรง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ ลักษณะของหลังเช่นนี้ เรียกว่า “แปก้านกล้วย” เวลายืนศีรษะจะเชิดขึ้น มองดูสง่า ช้างงาต้องมีงาใหญ่แข็งแรง และยื่นขนานคู่กัน ไม่ชิดไม่ห่างจากกันมากเกินไป ลักษณะของชายใบหู ควรเรียบ ไม่ฉีกขาด เล็บเท้าต้องมีเหงื่อซึมออกมาจากโคนเล็บ หางช้างยาวจนปัดดินไม่ดี หางสั้นเกินไปจนเลยข้อกลางขาหลังไม่ดี หรือหางงอเป็นข้อไม่ดี
ช้างมงคลเป็นลักษณะอวัยวะที่เป็นมงคล ๗ ประการของช้างสำคัญ ซึ่งมีสีขาวหรือเรียกว่า “ช้างเผือก” คือ ๑.ตาสีขาว ๒.เพดานในปากขาว ๓.เล็บสีขาว ๔.ขนสีขาว ๕.พื้นหนังสีขาว หรือสีชมพูแดงคล้ายสีหม้อใหม่ ๖.ขนหางยาว ๗.อัณฑโกศขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่
ดอกราชพฤกษ์
นายสวาสดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้ออกแบบ ได้ให้แนวคิดการออกแบบว่า ดอกราชพฤกษ์ช่อ(ภาพสีวาดเหมือนจริง)ออกแบบเป็นภาพสีดอกช่อ แสดงให้เห็นลักษณะของดอกช่อที่ชัดเจน มีทั้งดอกตูม บาน เกสรร่วงบ้างในบางดอก ตามกาลเวลาของดอกที่เป็นจริงตามธรรมชาติที่บานไม่พร้อมกัน โดยเริ่มบานตั้งแต่ดอกแรกของช่อไปจนสุดปลายช่อดอก มีใบแสดงให้เห็นบ้างเล็กน้อย ผู้ออกแบบเลือกช่อที่เห็นดอกเด่นชัดไม่มีดอกมากเกินไป เพราะเมื่อย่อภาพเล็กลงแล้ว ผู้พบเห็นสามารถเข้าใจความหมายได้
ศาลาไทย
นายพงศกร ยิ้มสวัสดิ์ ผู้ออกแบบ ได้ให้แนวความคิดในการออกแบบภาพว่า เลือกใช้รูปแบบศาลาไทยในลักษณะงานสถาปัตยกรรมไทย ประเภทเรือนเครื่องสับ เพราะเป็นอาคารที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางของประเทศ เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมประจำชาติ ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะของเรือนที่พักอาศัยของคนไทยมาแต่เดิม ด้วยลักษณะเด่นของหลังคาทรงจั่วและตัวเหงาที่ปลายของป้านลมที่มีเส้นสายอ่อนช้อย ทำให้รูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยประเภทเรือนเครื่องสับ มีความสง่างาม และเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยได้เป็นอย่างดี
นอกจากรูปทรง เส้นสายที่มีความงดงามดังกล่าวมาแล้วนั้น เรือนเครื่องสับที่นำมาปรับใช้งานเป็นศาลาไทยนี้ ยังมีประโยชน์ใช้สอยเพิ่มเติมเข้ามาอีก โดยหากเป็นศาลาที่ตั้งอยู่บนนอกชานเรือนหรือในสวน ก็มักจะเป็นศาลาที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือหากเป็นศาลาที่มีผู้มีจิตศรัทธาสร้างไว้ตามเส้นทางสัญจรก็จะเป็นที่พักหลบร้อนหลบฝนของผู้เดินทางสัญจรผ่านไปมาอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ “ศาลาไทย” จึงนับเป็นรูปสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมีไมตรีจิตและความปรารถนาดีอย่างจริงใจต่อผู้อื่นด้วย
ส่วนการเลือกใช้สีนั้น วัสดุหลักซึ่งเป็นโครงสร้างของเรือนได้แก่ ไม้ จึงแสดงด้วยสีน้ำตาล ส่วนหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา จึงแสดงด้วยน้ำตาลส้มแบบสีดินเผา และมีส่วนปูนหลบกระเบื้องเป็นปูนปั้นทาสีขาว
รูปศาลาไทยตั้งอยู่บนพื้นสีเขียว แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และความเป็นประเทศเกษตรกรรมของชาติไทย ส่วนฉากหลังเป็นสีฟ้า แสดงถึงท้องฟ้าที่สดใสของประเทศไทย อันเป็นประเทศในเขตร้อน สีของท้องฟ้าที่สดใสจึงแสดงถึงความสดชื่นเบิกบาน


สิ่งที่แสดงถึงความเป็นไทยมีอะไรบ้าง

เรื่อง ภาษาไทย ภาษาไทย ถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญและชัดเจน ... .
เรื่องการแต่งกาย ถือว่า เรามีเสื้อผ้าแสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็น ... .
วัฒนธรรมการแสดงความเคารพ ความนอบน้อม อ่อนน้อม ต่อ ... .
อาหารไทย ก็ถือเป็นเอกลักษณ์แสดงความเป็นไทย เช่นกัน จะเห็น ... .
เรื่องสถาปัตยกรรม ของไทย ก็ถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่.

เอกลักษณ์ของชาติไทยมี 3 อย่างคืออะไร

ประเภทของเอกลักษณ์ไทยแบ่งเป็น ๓ ประเภท ๑. เอกลักษณ์ทางวัตถุและศิลปกรรม ๒. เอกลักษณ์ทางพฤติกรรมการกระทา ๓. เอกลักษณ์ทางความรู้สึกนึกคิดและความเชื่อ

สัญลักษณ์ที่เกี่ยวกับชาติไทยมีอะไรบ้าง5อย่าง

เรื่องน่ารู้:สัญลักษณ์ประจำชาติไทย มีอะไรบ้าง?.
สัตว์ประจำชาติไทย คือ “ช้างไทย” Chang Thai (Elephant หรือ Elephas Maximas) ลักษณะ : เป็นช้างเผือก ภายในวงกลมพื้นสีแดง ... .
ดอกไม้ประจำชาติ คือ “ดอกราชพฤกษ์” (คูน) Ratchapruek (Cassiafistula Linn.) ... .
สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ “ศาลาไทย” Sala Thai (Pavilion).

เอกลักษณ์ของชาติไทยคืออะไร

เอกลักษณ์ไทยเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงลักษณะเฉพาะโดย รวมของวัฒนธรรมไทย ที่ทำาให้ประเทศไทย มีความแตกต่างไป จากสังคมอื่นๆ เอกลักษณ์ไทยก็เหมือนกับเอกลักษณ์ของชาติ อื่นๆ ที่มีรูปแบบเฉพาะที่เป็นตัวของตัวเอง มีระบบระเบียบและ แบบแผน อาจปรากฏออกมาในรูปแบบของประเพณีที่ได้ยึดถือ ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา (นิวัฒน์ สุขประเสริฐ, 2556) ถึง ...