ภูมิปัญญาไทย สาขาสวัสดิการ

เนื่องจากภูมิปัญญาไทยมีความสำคัญดังกล่าวแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้ดำรงอยู่ เพื่อเป็นฐานความรู้ในการผสมผสานกับวิทยาการสากล ดังนี้

                . ประเทศยกย่องครูภูมิปัญญาไทยให้สามารถทำการถ่ายทอด และพัฒนาผลงานของตนได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ โดยจัดระบบเกื้อหนุนและส่งเสริมกระบวนการถ่ายทอด ที่ท่านเหล่านี้ดำเนินการอยู่แล้วส่วนหนึ่ง และเชื่อมโยงกระบวนการถ่ายทอดของท่าน เข้ากับกระบวนการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน โดยอาจจัดระบบการเทียบโอนหน่วยกิต การเทียบวุฒิเทียบตำแหน่ง เพื่อให้เกิดการลื่นไหลระหว่างความรู้ ผสานเข้าด้วยกันเป็นระบบการศึกษาที่เป็นหนึ่งเดียว

                . จัดให้มีศูนย์ภูมิปัญญาไทย ซึ่งแนวคิดนี้ต้องการให้มีแหล่งสำหรับการเรียนรู้ภูมิปัญญาของชุมชนนั้น ๆ เกิดขึ้น อาจเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วในชุมชน เช่น บ้านของผู้ทรงภูมิปัญญา วัด ศาลาของหมู่บ้าน เวทีชาวบ้าน เป็นต้น เพียงแต่เข้าไปช่วยเสริมเพื่อให้สามารถใช้สถานที่นั้น ๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ ถ่ายทอดภูมิปัญญาคู่กับสถานศึกษาในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

                . จัดตั้งสภาภูมิปัญญาไทย เนื่องจากลักษณะภูมิปัญญาไทยมีความหลากหลายสมดุลกันเป็นองค์รวม หากนำเรื่องภูมิปัญญาไทยเข้าไปไว้ในกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง หรือกรมใดกรมหนึ่ง นโยบายของกระทรวงและกรมนั้น จะเป็นตัวกำหนดกรอบของภูมิปัญญาไทยให้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่อง เช่น หากนำภูมิปัญญาไทยไปไว้ในกระทรวงศึกษาธิการ ประเด็นที่จะถูกยกขึ้นมาพิจารณา คือ ภูมิปัญญาไทยนั้นต้องเป็นเรื่องของการศึกษาเท่านั้น จึงจะได้รับการส่งเสริมและวิธีการส่งเสริมทางหนึ่งที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปได้สูงคือ การนำภูมิปัญญาไทยไปบรรจุไว้ในโรงเรียน ซึ่งจะขัดกับลักษณะของภุมิปัญญาไทยที่ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับภูมิปัญญาไทยแต่ละเรื่องเท่านั้น หากเปลี่ยนสภาพแวดล้อม การเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยก็จะไม่เกิด จึงสมควรให้มีสภาภูมิปัญญาไทย เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ และถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้ทรงภูมิปัญญา

                . จัดตั้งกองทุนส่งเสริมภูมิปัญญาไทย ด้วยความจำกัดของระบบการจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาล ที่มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและระยะเวลา รวมทั้งสภาวการณ์ของประเทศมาเป็นตัวตัดสินว่า โครงการ/งานใดควรได้รับงบประมาณเท่าใด และจะได้รับเงินในปีถัดไปหรือไม่ ทำให้การดำเนินงานส่งเสริมภูมิปัญญาไทยซึ่งต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาและสร้างสรรค์ความรู้ใหม่จากฐานภูมิปัญญาเดิม ต้องอาศัยระยะเวลานาน ไม่อาจกำหนดได้ชัดเจนว่าต้องใช้ระยะเวลานาน ไม่อาจกำหนดได้ชัดเจนว่าต้องใช้ระยะเวลากี่ปีจึงแล้วเสร็จ การกำหนดงบประมาณเป็นรายปี จึงเป็นมูลเหตุขัดขวางการพัฒนาและการส่งเสริมภูมิปัญญาของชาติด้วยความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชน

                . การคุ้มครองลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทย เพื่อให้ภูมิปัญญาไทยอันเป็นมรดกทางปัญญาของแผ่นดินได้อยู่คู่กับคนไทย เป็นทุนทางปัญญาในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมการสงวนและรักษามรดกทางภูมิปัญญาดังกล่าวจึงต้องมีระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางภูมิปัญญาเกิดขึ้น เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ในท้องถิ่นและประเทศชาติ ลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาไทยนี้จึงเปรียบเสมือนระบบคุ้มกันและส่งเสริมปัญญาของชาติ

                . ตั้งสถาบันแห่งชาติว่าด้วยภูมิปัญญาและการศึกษาไทย เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญมากในการทำงานต่อภาพพจน์และสถานภาพของบุคคล หน่วยงาน/องค์กร/สถาบันต่าง ๆ การส่งเสริมภูมิปัญญาไทยนั้นยิ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก เนื่องจากกลไกสำคัญในการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย คือการสร้างความรู้ ความเข้าใจ การสร้างจิตสำนึก และเห็นคุณค่าของสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาไทย การพัฒนาให้บุคคลต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งสามด้าน (ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม) จำเป็นต้องอาศัยการให้การศึกษาในทุกรูปแบบ นั่นคือ การสร้างสังคมของผู้รับให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ภูมิปัญญาในเรื่องหนึ่ง ๆ ให้เกิดขึ้นจนผู้นั้นสามารถไปเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาที่กว้างขึ้น ทั้งในส่วนของการขยายพื้นที่เรียนรู้ และขยายเรื่องที่เรียนรู้ไปสู่การเรียนรู้ในทุกเรื่อง ทุกเวลา ทุกสถานที่ จนกลายเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชนท้องถิ่น และประเทศ

                . การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาไทยทั้งในระดับชาติและระดับโลก

                ระดับชาติ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนหลายองค์กร ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ทรงภูมิปัญญาไทย ในรูปแบบที่หลากหลายประจำปีอย่างต่อเนื่อง เช่น ศิลปินแห่งชาติผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม คนดีศรีสังคม เป็นต้น มีผลทำให้ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยมีขวัญและกำลังใจ ที่จะเผยแพร่และถ่ายทอดภูมิปัญญาของตนอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

                ระดับโลก คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติร่วมกับองค์การศึกษาวิทยาศาตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรตินักปราชญ์ไทย ให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก เริ่มครั้งแรกในปี พ..๒๕๐๕ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปี หรือ ๒๐๐ ปีฯลฯ แห่งชาติกาลของผู้ทรงภูมิปัญญาไทยแต่ละท่าน จนถึงปัจจุบัน องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศยกย่องนักปราชญ์ไทยให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกแล้ว ๙ ท่าน และฝ่ายไทยได้ร่วมกับยูเนสโกจัดงานเชิดชูเกียรติแล้ว ดังนี้

                ครั้งที่ ๑ ฉลองวันประสูติครบรอบ ๑๐๐ ปี ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.. ๒๕๐๕

                ครั้งที่ ๒ ฉลองวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ..๒๕๐๖

                ครั้งที่ ๓ ฉลองวันพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ..๒๕๑๑

                ครั้งที่ ๔ ฉลองวันพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ..๒๕๒๔

                ครั้งที่ ๕ ฉลอง ๒๐๐ ปี กวีเอกสุนทรภู่ เนื่องในวาระคล้ายวันเกิด วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ..๒๕๒๙

                ครั้งที่ ๖ ฉลองวันเกิดครบ ๑๐๐ ปี ของพระยานุมานราชธน วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ..๒๕๓๑

                ครั้งที่ ๗ ฉลองวันประสูติครบ ๒๐๐ ปี ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า พรมพระปรมานุชิตชิโนรส เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ..๒๕๓๓

                ครั้งที่ ๘ ฉลองวันประสูติครบ ๑๐๐ ปี ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ..๒๕๓๔

                ครั้งที่ ๙ ฉลองงานพระราชสมภพครบ ๑๐๐ ปี ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ..๒๕๓๕


                การที่ยูเนสโกได้ประกาศยกย่องนักปราชญ์ไทยดังกล่าว แสดงถึงจุดเด่นของภูมิปัญญาไทยในสายตาของชาวโลก ซึ่งจะนำความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยประการทั้งปวง เพราะยูเนสโกจะเชิญชวนให้ประชาคมโลกร่วมกับประเทศไทยจัดกิจกรรมต่าง ๆ เผยแพร่เกียรติประวัติ และผลงานของนักปราชญ์ไทยให้เป็นที่ปรากฎ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดี และสันติภาพของโลกตามอุดมการณ์ยูเนสโกและสหประชาชาติด้วย เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาเสด็จฯ เยือนสำนักงานใหญ่ยูเนสโก เนื่องในวโรกาสการจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนก ระหว่างวันที่๑๘ - ๒๒ พฤษภาคม พ..๒๕๓๕ เป็นต้น โดยทรงเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดนิทรรศการ และทรงบรรยายถึงพระราชประวัติ พระราชกรณีกิจและพระราชจริยวัตรอันงดงามของสมเด็จพระบรมราชชนก ให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาร่วมงานนิทรรศการได้ทราบและชื่นชมโดยทั่วกัน ต่อมาในวันที่  ๒๐ พฤษภาคม พ..๒๕๓๕ ได้มีการแสดงคอนเสิร์ตในห้องประชุมใหญ่ของยูเนสโก เริ่มด้วยวงออร์เคสตราของนักดนตรีวัยเยาว์อายุระหว่าง ๑๑ - ๑๘ ปี บรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระองค์ได้ทรงพระกรุราร่วมแสดงด้วย ทำให้เกิดความประทับใจแก่บรรดาผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง

คุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาไทย

                คุณค่าของภูมิปัญญาไทย  ได้แก่ ประโยชน์และความสำคัญของภูมิปัญญา ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างสรรค์และสืบทอดมาอย่างต่อเนื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน ทำให้คนในชาติเกิดความรักและความภาคภูมิใจ ที่จะร่วมแรงร่วมใจสืบสานต่อไปในอนาคต เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม ประเพณีไทย การมีน้ำใจ ศักยภาพในการประสานผลประโยชน์ เป็นต้น ภูมิปัญญาไทยจึงมีคุณค่าและความสำคัญดังนี้

                . ภูมิปัญญาไทยช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่น

                พระมหากษัตริย์ไทยได้ใช้ภูมิปัญญาในการสร้างชาติ สร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่ประเทศชาติมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงปกครองประชาชนด้วยพระเมตตาแบบพ่อปกครองลูก ผู้ใดประสบความเดือดร้อนก็สามารถตีระฆังแสดงความเดือดร้อนเพื่อขอรับพระราชทานความช่วยเหลือทำให้ประชาชนมีความจงรักภักดีต่อพระองค์ต่อประเทศชาติ ร่วมกันสร้างบ้านเมืองจนเจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่น

                สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญากระทำยุทธหัตถีจนชนะข้าศึกศัตรู และทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทยคืนมาได้

                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงใช้ภูมิปัญญาสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ และเหล่าพสกนิกรมากมายเหลือคณานับ ทรงใช้พระปรีชาสามารถแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ จนรอดพ้นภัยพิบัติหลายครั้งพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถหลายด้าน แม้แต่ด้านการเกษตร พระองค์ได้พระราชทานทฤษฎีใหม่ให้แก่พสกนิกร ทั้งด้านการเกษตรแบบสมดุลและยั่งยืน ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม นำความสงบร่มเย็นของประชาชนให้กลับคืนมา แนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่แบ่งออกเป็น ๓ ขั้น โดยเริ่มจาก ขั้นตอนแรก ให้เกษตรกรรายย่อยมีพออยู่พอกินเป็นขั้นพื้นฐาน โดยการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นา ซึ่งเกษตรกรจำเป็นที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยราชการ มูลนิธิ และหน่วยงาน

เอกชน ร่วมใจกันพัฒนาสังคมไทย ในขั้นที่สอง เกษตรกรต้องมีความเข้าใจในการจัดการในไร่นาของตน และมีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ เพื่อสร้างประสิทธิภาพทางการผลิตและการตลาด การลดรายจ่ายด้านความเป็นอยู่ โดยทรงตระหนักถึงบทบาทขององค์กรเอกชน เมื่อกลุ่มเกษตรวิวัฒน์มาขั้นที่ ๒ แล้ว ก็จะมีศักยภาพในการพัฒนาไปสู่ขั้นที่ ๓ ซึ่งจะมีอำนาจในการต่อรองผลประโยชน์กับสถาบันการเงิน คือ ธนาคาร และองค์กรที่เป็นเจ้าของแหล่งพลังงาน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งในการผลิตโดยมีการแปรรูปผลิตผล เช่น โรงสี เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตผล และขณะเดียวกันมีการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์เพื่อลดค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน อันเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลในสังคมจะเห็นได้ว่า มิได้ทรงทอดทิ้งหลักของความสามัคคีในสังคมและการจัดตั้งสหกรณ์ ซึ่งทรงสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรสร้างอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจจึงจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงจัดได้ว่าเป็นสังคมเกษตรที่พัฒนาแล้ว สมดังพระราชประสงค์ที่ทรงอุทิศพระวรกายและพระสติปัญญา ในการพัฒนาการเกษตรไทยตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์

                . สร้างความภาคภูมิใจ และศักดิ์ศรีเกียรติภูมิแก่คนไทย

                คนไทยในอดีตที่มีความสามารถปรากฎในประวัติศาสตร์มีมาก เป็นที่ยอมรับของนานาอารยประเทศ เช่น นายขนมต้มเป็นนักมวยไทยที่มีฝีมือ เก่งในการใช้อวัยวะทุกส่วน ทุกท่าของแม่ไม้มวยไทย สามารถชกมวยไทยจนชนะพม่าได้ถึงเก้าคนสิบคนในคราวเดียวกัน แม้ในปัจจุบันมวยไทยก็ยังถือว่า เป็นศิลปะชั้นเยี่ยม เป็นที่นิยมฝึกและแข่งขันในหมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ปัจจุบันมีค่ายมวยไทยทั่วโลกไม่ต่ำกว่า ๓๐,๐๐๐ แห่ง ชาวต่างประเทศที่ได้ฝึกมวยไทยจะรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจ ในการที่จะใช้กติกาของมวยไทย เช่น การไหว้ครูมวยไทย การออกคำสั่งในการชกเป็นภาษาไทยทุกคำ เช่น คำว่าชก” “นับหนึ่งถึงสิบเป็นต้น ถือเป็นมรดาภูมิปัญญาไทย นอกจากนี้ ภูมิปัญญาไทยที่โดดเด่นยังมีอีกมากมาย เช่น มรดกภูมิปัญญาทางภาษาและวรรณกรรม โดยที่มีอักษรไทยเป็นของตนเองมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน วรรณกรรมไทยถือว่าเป็นวรรณกรรมที่มีความไพเราะ ได้อรรถรสครบทุกด้าน วรรณกรรมหลายเรื่องได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา

                                ด้านอาหาร อาหารไทยเป็นอาหารที่ปรุงง่าย พืชที่ใช้ประกอบอาหารส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร ทีหาได้ว่ายในท้องถิ่นและราคาถูก มีคุณค่าทางโภชนาการ และยังป้องกันโรคได้หลายโรค เพราะส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นพืชสมุนไพร เช่น ตะไคร้ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด ใบโหระพา ใบกะเพรา เป็นต้น

                . สามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม

                คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ โดยนำหลักธรรมคำสอนของศาสนามาปรับใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างเหมาะสม ทำให้คนไทยเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ประนีประนอม รักสงบ ใจเย็น มีความอดทน ให้อภัยแก่ผู้สำนึกผิด ดำรงวิถีชีวิตอย่างเรียบง่ายปกติสุข ทำให้คนในชุมชนพึ่งพากันได้ แม้จะอดยากเพราะแห้งแล้ง แต่ไม่มีใครอดตาย เพราะพึ่งพาอาศัยกัน แบ่งปันกันแบบพริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้เป็นต้น ทั้งหมดนี้สืบเนื่องมาจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการใช้ภูมิปัญญาในการนำเอาหลักของพระพุทะศาสนามาประยุกต์ใช้กับวิถีชีวิตประจำวัน และดำเนินกุศโลบายด้านต่างประเทศ จนทำให้ชาวพุทธทั่วโลกยกย่องให้ประเทศไทยเป็นผู้นำทางศาสนา และเป็นที่ตั้งสำนกังานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.) อยู่เยื้อง ๆ กับอุทยานเบญจสิริ กรุงเทพมหานคร โดยมีคนไทย (ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ องคมนตรี) ดำรงตำแหน่งประธาน พสล. ต่อจาก ม..หญิงพูนพิศมัย ดิศกุล

                . สร้างความสมดุลระหว่างคนในสังคมและธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

                ภูมิปัญญาไทยมีความเด่นชัดในเรื่องของการยอมรับนับถือ และให้ความสำคัญแก่คน สังคม และธรรมชาติอย่างยิ่ง มีเครื่องชี้ที่แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนมากมาย เช่น ประเพณีไทย ๑๒ เดือนตลอดทั้งปี ล้วนเคารพคุณค่าของธรรมชาติได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น ประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่ทำในฤดูร้อนซึ่งมีอากาศร้อน ทำให้ต้องการความเย็น จึงมีการรดน้ำดำหัว ทำความสะอาดบ้านเรือนและธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการแห่นางสงกรานต์ การทำนายฝนว่าจะตกมากหรือน้อยในแต่ละปี ส่วนปประเพณีลอยกระทง คุณค่าอยู่ที่การบูชาระลึกถึงบุญคุณของน้ำ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคน พืช สัตว์ ให้ได้ใช้ทั้งบริโภคและอุปโภคในวันลอยกระทง คนจึงทำความสะอาดแม่น้ำ ลำธาร บูชาแม่น้ำ จากตัวอย่างข้างต้น ล้วนเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสังคมและธรรมชาติทั้งสิ้น

                ในการรักษาป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ได้ประยุกต์ให้มีประเพณีการบวชป่า ให้คนเคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ธรรมชาติ และสภาพแวดล้อม ยังความอุดมสมบูรณ์แก่ต้นน้ำ ลำธาร ให้ฟื้นสภาพกลับคืนมาได้มาก

                อาชีพการเกษตรเป็นอาชีพหลักของคนไทยที่คำนึงถึงความสมดุล ทำแต่น้อยพออยู่พอกินแบบเฮ็ดอยู่เฮ็ดกินของพ่อทองดี นันทะ  เมื่อเหลือเกินกินก็แจกญาติญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านบ้านใกล้เรือนเคียง นอกจากนี้ ยังนำไปแลกเปลี่ยนกับสิ่งของอย่างอื่นที่ตนไม่มี เมื่อเหลือใช้จริง ๆ จึงจะนำไปขา อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเกษตรแบบกิน-แจก-แลก-ขายทำให้คนในสังคมได้ช่วยเหลือเกื้อกูล แบ่งปันกัน เคารพรักนับถือ เป็นญาติกันทั้งหมู่บ้าน จึงอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่นธรรมชาติไม่ถูกทำลายไปมากนัก เนื่องจากทำพออยู่พอกิน ไม่โลภมากและไม่ทำลายทุกอย่างผิดกับในปัจจุบัน ถือเป็นภูมิปัญญาที่สร้างความสมดุลระหว่างคน สังคม และธรรมชาติ

                . เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้ตามยุคสมัย

                แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป ความรู้สมัยใหม่จะหลั่งไหลเข้ามามาก แต่ภูมิปัญญาไทยก็สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับยุคสมัย เช่น การรู้จักนำเครื่องยนต์มาติดตั้งกับเรือ ใส่ใบพัดเป็นหางเสือ ทำให้เรือสามารถแล่นได้เร็วขึ้น เรียกว่า เรือหางยาว การรู้จักทำการเกษตรแบบผสมผสาน สามารถพลิกฟื้นคืนธรรมชาติให้อุดมสมบูรณ์แทนสภาพเดิมที่ถูกทำลายไป การรู้จักออมเงิน สะสมทุนให้สมาชิกกู้ยืม ปลดเปลื้องหนี้สิน และจัดสวัสดิการแก่สมาชิก จนชุมชนมีความมั่นคง เข้มแข็ง สามารถช่วยตนเองได้หลายร้อยหมู่บ้านทั่วประเทศ เช่น กลุ่มออมทรัพย์คีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช จัดในรูปกองทุนหมุนเวียนของชุมชน จนสามารถช่วยตนเองได้

                เมื่อป่าถูกทำลายเพราะถูกตัดโค่นเพื่อปลูกพืชแบบเดี่ยวตามภูมิปัญญาสมัยใหม่ที่หวังร่ำรวยแต่ในที่สึดก็ขาดทุนและมีหนี้สิน สภาพแวดล้อมสูญเสีย เกิดความแห้งแล้ง คนไทยจึงคิดปลูกป่าที่กินได้ มีพืชสวนพืชป่า ไม้ผล พืชสมุนไพรซึ่งสามารถมีกินตลอดชีวิตเรียกว่าวนเกษตรบางพื้นที่เมื่อป่าชุมชนถูกทำลาย คนในชุมชนก็รวมตัวกันเป็นกลุ่มรักษาป่า ร่วมกันสร้างระเบียบกฎเกณฑ์กันเอง  ให้ทุกคนถือปฏิบัติได้ สามารถรักษาป่าได้อย่างสมบูรณ์ดังเดิม

                เมื่อปะการังธรรมชาติถูกทำลาย ปลาไม่มีที่อยู่อาศัย ประชาชนสามารถสร้างอูหยัมขึ้นเป็นปะการังเทียม ให้ปลาอาศัยวางไข่และแพร่พันธุ์ให้เจริญเติบโตมีจำนวนมากดังเดิมได้ถือเป็นการใช้ภูมิปัญญาปรับปรุงประยุกต์ใช้ได้ตามยุคสมัย




การจัดแบ่งสาขาภูมิปัญญาไทย

                จากการศึกษาพบว่า  มีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างหลากหลาย  ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ต่างๆ  ที่หน่วยงาน  องค์กร  และนักวิชาการแต่ละท่านนำมากำหนดในภาพรวมภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้เป็น  ๑๐  สาขา  ดังนี้


. สาขาเกษตรกรรม หมายถึง  ความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้  ทักษะ  และเทคนิคด้านการเกษตรกับเทคโนโลยี  โดยการพัฒนาบนพื้นฐานคุณค่าดั้งเดิม  ซึ่งคนสามารถพึ่งพาตนเองในภาวการณ์ต่างๆ  ได้  เช่น  การทำการเกษตรแบบผสมผสานสวนเกษตร  เกษตรธรรมชาติ  ไร่นาสวนผสม  และสวนผสมผสาน  การแก้ปัญหาการเกษตรด้านการตลาด  การแก้ปัญหาด้านการผลิต  การแก้ปัญหาโรคและแมลง  และการรู้จักปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการเกษตร  เป็นต้น


. สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม หมายถึง  การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการแปรรูปผลิตผล  เพื่อชะลอการนำเข้าตลาดเพื่อแก้ปัญหาการบริโภคอย่างปลอดภัย  ประหยัด  และเป็นธรรม  อันเป็นกระบวนการที่ทำให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจได้  ตลอดทั้งการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลทางหัตถกรรม  เช่น  การรวมกลุ่มของกลุ่มโรงงานยางพารา  กลุ่มโรงสี  กลุ่มหัตถกรรม  เป็นต้น


. สาขาการแพทย์แผนไทย หมายถึง  ความสามรถในการจัดการป้องกันและรักษาสุขภาพของคนในชุมชน  โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพและอนามัยได้  เช่น  การนวดแผนโบราณ  การดูแลและรักษาสุขภาพแผนโบราณไทย  เป็นต้น


. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง  ความสามรถเกี่ยวกีบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ทั้งการอนุรักษ์  การพัฒนา  และการใช้ประโยชน์จากคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่าง

สมดุลย์และยั่งยืน  เช่น  การทำแนวปะการังเทียม  การอนุรักษ์ป่าชายเลน  การจัดการป่าต้นน้ำและป่าชุมชน  เป็นต้น 


. สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการสะสมและบริการกองทุน และธุรกิจในชุมชนทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน เช่น การจัดการเรื่องกองทุนของชุมชนในรูปของสหกรณ์ออมทรัพย์ และธนาคารหมู่บ้าน เป็นต้น


. สาขาสวัสดิการ หมายถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคน ให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม เช่น การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลของชุมชน การจัดระบบสวัสดิการบริการในชุมชน การจัดระบบสิ่งแวดล้อมในชุมชน เป็นต้น.


. สาขาศิลปกรรม หมายถึง ความสามารถในการผลิตผลงานทางด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม ปะติมากรรม วรรณกรรม ทัศนศิลป์ คีตศิลป์ ศิลปะมวยไทย เป็นต้น


. สาขาการจัดการองค์กร หมายถึง ความสามารถในการบริหารจัดการดำเนินงานขององค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้สามารถพัฒนา และบริหารองค์กรของตนเองได้ตามบทบาท และหน้าที่ขององค์กร เช่น การจัดการองค์กรของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มประมงพื้นบ้าน เป็นต้น


. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษาทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้งด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรตหนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น



๑๐. สาขาศาสนาและประเพณี หมายถึง ความสามารถประยุกต์และปรับใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนา ความเชื่อ และประเพณีดั้งเดิมที่มีคุณค่า ให้เหมาะสมต่อการประพฤติปฏิบัติ ให้บังเกิดผลดีต่อบุคคลและสิ่งแวดล้อม เช่น การถ่ายทอดหลักธรรมทางศาสนา การบวชป่า การประยุกต์ประเพณีบุญประทายข้าว เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ทรงภูมิปัญญาไทย

                ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้  อย่างน้อยดังต่อไปนี้

                                (เป็นคนดีมีคุณธรรม  มีความรู้ความสามรถในวิชาชีพต่างๆ  มีผลงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นของตน  และได้รับการยอมรับจากบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวาง  ทั้งยังเป็นผู้ที่ใช้หลักธรรมคำสอนทางศาสนาของตนเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงวิถีชีวิตโดยตลอด

                                (เป็นผู้คงแก่เรียนและหมั่นศึกษาความรู้อยู่เสมอ  ผู้ทรงคุณปัญญาจะเป็นผู้ที่หมั่นศึกษา  แสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอไม่หยุดนิ่งเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบ  เป็นผู้ลงมือทำโดยทดลองทำตามที่เรียนมา  อีกทั้งลองผิดลองถูก  หรือสอบถามจากผู้รู้อื่นๆ  จนประสบความสำเร็จเป็นผู้เชี่ยวชาญซึ่งโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละด้านอย่างชัดเจน  เป็นที่ยอมรับความเปลี่ยนแปลงความรู้ใหม่ๆ  ที่เหมาะสมนำมาปรับปรุงใช้ชุมชนและสังคมอยู่เสมอ

                                (เป็นผู้นำของท้องถิ่น  ผู้ทรงภูมิปัญญาส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่สังคมในแต่ละท้องถิ่นยอมรับให้เป็นผู้นำ  ทั้งผู้นำที่ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการ  และผู้นำตามธรรมชาติ  ซึ่งสามารถเป็นผู้นำของท้องถิ่นและช่วยเหลือผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

                                (เป็นผู้ที่สนใจปัญหาของท้องถิ่น  ผู้ทรงภูมิปัญญาล้วนเป็นผู้ที่สนใจปัญหาของท้องถิ่น  เอาใจใส่  ศึกษาปัญหา  หาทางแก้ไข  และช่วยเหลือสมาชิกในชุมชนของตนและชุมชนใกล้เคียงอย่างไม่ย่อท้อ  จนประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับของสมาชิกและบุคคลทั่วไป

                                (เป็นผู้ขยันหมั่นเพียร  ผู้ทรงภูมิปัญญาเป็นผู้ขยันหมั่นเพียร  ลงมือทำงานและผลิตผลงานอยู่เสมอ  ปรับปรุงและพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพมากขึ้น  อีกทั้งมุ่งทำงานของตนอย่างต่อเนื่อง

                                (เป็นนักปกครองและประสานประโยชน์ของท้องถิ่น  ผู้ทรงภูมิปัญญานอกจากเป็นผู้ที่ประพฤติตนเป็นคนดี  จนเป็นที่ยอมรับนับถือจากบุคคลทั่วไปแล้ว  ผลงานที่ท่านทำยังถือว่ามีคุณค่า  จึงเป็นผู้ที่มีทั้ง  “ครองตน  ครองคน  และครองงาน”  เป็นผู้ประสานประโยชน์ให้บุคคลเกิดความรัก  ความเข้าใจ  ความเห็นใจ  และมีความสามัคคีกัน  ซึ่งจะทำให้ท้องถิ่นหรือสังคมมีความเจริญ  มีคุณภาพชีวิตสูงขึ้นกว่าเดิม

                                (มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เป็นเลิศ  เมื่อผู้ทรงภูมิปัญญามีความรู้  ความสามารถ  และประสบการณ์เป็นเลิศ  มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและบุคคลทั่วไป  ทั้งชาวบ้าน  นักวิชาการ  นักเรียน  นิสิต/นักศึกษา  โดยอาจเข้าไปศึกษาหาความรู้  หรือเชิญท่านเหล่านั้นไปเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ได้

                                (เป็นผู้มีคู่ตรองหรือบริวารดี  ผู้ทรงภูมิปัญญา  ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะพบว่า  ล้วนมีคู่ครองที่ดีที่คอยสนับสนุน  ช่วยเหลือ  ให้กำลังใจ  ให้ความร่วมมือในงานที่ท่านทำ  ช่วยให้ผลิตผลงานที่มีคุณค่า  ถ้าเป็นนักบวช  ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดต้องมีบริวารที่ดี  จึงจะสามารถผลิตผลงานที่มีคุณค่าทางศาสนาได้

                                (เป็นผู้มีปัญญารอบรู้และเชี่ยวชาญจนได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์  ผู้ทรงภูมิปัญญา  ต้องเป็นผู้มีปัญญารอบรู้และเชี่ยวชาญรวมทั้งสร้างสรรค์ผลง่นพิเศษใหม่ๆ  ที่เป็นผลประโยชน์ต่อสังคมและมนุษย์ชาติอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ

การเกิดภูมิปัญญา   


                ภูมิปัญญาไทยมีกระบวนการการเกิดที่เกิดจากการสืบทอด  ถ่ายทอด  องค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ  แล้วพัฒนา  เลือกสรรค์และปรับปรุงองค์ความรู้เหล่านั้นจนเกิดทักษะและความชำนาญ  ที่สามารถแก้ไขปัญหา  และพัฒนาชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย  แล้วเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ  ที่เหมาะสมและสืบทอดพัฒนาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด  เช่น  ภาษาไทย  แพทย์แผนไทย  เป็นต้น

 ภูมิปัญญาไทย

ครอบครัวไทยมีปู่ย่าตายาย  พ่อแม่ลูก  วงศาคณาญาติ  สั่งสอนสืบทอดความคิด  ความเชื่อ  และความรู้ที่กลมกลืนกับวิถีชีวิต  เด็กเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับธรรมชาติ  ทำงานเป็น  ปรับตัวได้  เติบโตเป็นผู้ใหญ่  สร้างสรรค์สังคมไทย

                สังคมไทย  ความเป็นชาติไทย  มีฐานที่มั่นคงของภูมิปัญญาไทย  คนไทยรู้จักเลือกถิ่นฐานสร้างบ้านเรือน

                เรามีหมู่บ้านริมสองฝั่งคลอง  บนที่ดอน  บนเนิน  ตามหุบเขาสร้างบ้านใต้ถุนสูง  พ้นน้ำท่วม  หลังคาหน้าจั่วรับลมฝน  ทำเหมืองฝาย  กักน้ำไว้ทำนาทำไร่

                เรามีเครื่องมือทำมาหากิน  มีไถ  มีคราด  แร้ว  เบ็ดราว  ระหัดวิดน้ำ  ชาวสวนแช่ยาฉุน  เปลือกสะเดา  เพื่อพ่นทำลายแมลงที่กัดกินผลไม้

                แม่บ้านเก็บดอกฝ้าย  กรอใยไหม  ทอลวดลายงดงาม  ย้อมผ้าด้วยแก่นขนุน  สีสันสดสวยของดอกไม้  เย็บเสื้อผ้าแบบไทย

                ชาติไทยอักษรไทยและเลขไทยของเราเอง  เรามีถ้อยคำร้อยกรองที่ไพเราะ  เพลงกล่อมเด็ก  เพลงพื้นบ้าน  ท่าร่ายรำที่งดงาม  อ่อนช้อย  ร่าเริง  สง่างาม  ตามเสียงดนตรีไทย

สมุนไพรนานาชนิด  คิดค้นนำมาบดผสมเป็นยาสุชุมแก้ไข

                อาหารไทยนั้นปรุงอย่างประณีต  รสอร่อยเลิศ  ทั้ง  หลน  ยำ  พล่า  แกง  คั่ว  ผัด  ทอด  งานครัวฝีมือปรุงหลากหลาย  เช่น  ปิ้ง  ย่าง  หลาม  เผา  ผิง

                คำสั่งสอนชวนคิดเป็นสุภาษิต  คำผญา  จารึกใบลาน  วรรณกรรม

                ตัวอย่างที่กล่าวนำมานี้  เป็นศักดิ์ศรีของชาติ  เป็นความฉลาด  ความเชี่ยวชาญ  ของบรรพบุรุษที่สั่งสมสืบทอดกันมาเรียกว่า  ภูมิปัญญาไทย 

                ส่วนหนึ่งของเนื้อเพลง  “เราสู้”  ได้แสดงถึง  พระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์  และความกล้าหาญชาญฉลาดของบรรพบุรุษไทย  ที่ได้ร่วมกันธำรงรักษาเอกราชและสร้างศักดิ์ศรีของชาติไทยมาตราบจนปัจจุบัน

คนไทยมิวิถีการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่  มีความรักความผูกพันในหมู่วงศาคณาญาติ  ใกล้ชิดกับธรรมชาติ  และมีลักษณะเป็นชุมชุนเกษตรกรรมแม้ว่าความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยจะมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในชีวิตประจำวันและทำมาหากินในระบบอุตสาหกรรมด้วย  แต่คนไทยก็ยังสามารถดำรงเอกลักษณ์และปรีชาสามารถที่บรรพชนได้สร้างสมไว้และถ่ายทอดสืบต่อกันมา

                ภูมิปัญญาไทย  หมายถึง  ความรู้ความสามารถ  วิธีการ  ผลงานที่คนไทยได้ค้นคว้า  รวบรวม  และจัดเป็นความรู้  ถ่ายทอด  ปรับปรุง  จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  จนเกิดผลิตผลที่ดี  งดงาม  มีคุณค่า  มีประโยชน์  สามารถนำมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตได้

แต่ละหมู่บ้าน  แต่ละชุมชนไทย  ล้วนมีการทำมาหากินที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ  มีผู้นำที่มีความรู้  มีฝีมือทางช่าง  สามารถคิดประดิษฐ์  ตัดสินใจแก้ปัญหาของชาวบ้านได้  ผู้นำเหล่านี้  เรียกว่า  ปราชญ์ชาวบ้าน  หรือผู้ทรงภูมิปัญญาไทย

                ชาวบ้านรู้จักขุดบ่อน้ำ  เพื่อให้มีน้ำดื่มน้ำใช้  ทำเหมืองฝายเพื่อเก็บกักน้ำและแจกจ่ายไปสู่ไร่นา  ชาวบ้านมีความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร  ผักพื้นบ้าน  เครื่องเทศ  สมุนไพร  ว่าชนิดใดกินได้  ชนิดใดเป็นยารักษาได้  พ่อบ้านแม่บ้านรู้จักประดิษฐ์เครื่องมือทำมาหากิน  เช่น  เครื่องมือจับสัตว์  เครื่องมือทำไร่ไถนา  เครื่องใช้ในครัวเรือนและสร้างที่อยู่อาศัย

                พ่อแม่อบรมเลี้ยงดูลูก  สั่งสอนให้เป็นคนดี  มีพิธีกรรมหลายอย่าง  ที่แสดงความรักความผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก  เช่น  การร่อนกระด้ง  พิธีฮ้องขวัญ  ผูกข้อมือ  มีเพลงกล่อมเด็กที่ไพเราะ  และเล่านิทานสุนก  เพื่อสอนใจให้มีคุณธรรม  วรรณกรรม  คำสนนี้แสดงถึงความคิด  ความเชื่อ  และความคาดหวัง  ที่ผู้ใหญ่มีต่อเด็กที่เป็นลูกหลาน  ดังมีตัวอย่างสุภาษิตคำคม  วรรณกรรมคำสอน  และคำผญาภาษิต  ในภาคเหนือ  ภาคใต้  และภาคอีสาน  ซึ่งขอยกมาพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้

เสียมบ่คม  ใส่ด้ามหนักๆ                                                คำฮู้บ่นักหื้อหมั่นเฮียนหนังสือ

                                                                                                   (คำคมล้านนา)

บ่มีความรู้  อย่าเว้าการเมือง                            บ่นุ่งผ้าเหลือง  อย่าเว้าการวัด

                                                                                                   (ผญาภาษิตอีสาน)

อย่ามัดให้เหลือแบก                                          อย่าทำแสกให้เหลือหาบ

เขาว่าเราโลภลาภ                                                                จงแบกหาบพอสมควร

                                                                                                   (สุภาษิตร้อยแปด  ภาคใต้)

เครื่องมือเครื่องใช้ที่คนไทยประดิษฐ์ขึ้น  ล้วนใช้วัสดุพื้นบ้านและใช้ประโยชน์ได้อย่างดียิ่ง  นอกจากเครื่องมือทำไร่ไถนาแล้ว  เครื่องมือจับปลาก็มีมากมายหลายประเภท  เช่น  ลอบ  ไซ  สุ่ม  อีจู้  เบ็ด  ยอ  เป็นต้น

                ภูมิปัญญาไทยมีหลายสาขา  ที่พอจะจัดกลุ่มได้มี  ๑๐  สาขา  คือ  สาขาเกษตรกรรม  สาขาอุตสาหกรรมและหัตถกรรม  สาขาแพทย์แผนไทย  สาขาจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  สาขากองทุนและธุรกิจชุมชน  สาขาสวัสดิการ  สาขาศิลปกรรม  สาขาการจัดการองค์กร  สาขาภาษาและวรรณกรรม  สาขาศาสนาและประเพณี

                ภูมิปัญญาไทยเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ  คนกับบุคคลอื่น  และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ  ทำให้เกิดความไพบูลย์ในวิถีชีวิต  ความคิด  ความเชื่อ  ศิลปวัฒนธรรม  ประเพณี  และพิธีกรรมที่สืบทอดต่อๆ  กันมา

                คนไทยควรคำนึงถึงคุณค่าของภูมิปัญญาไทย  ยกย่องส่งเสริมผู้ทรงภูมิปัญญาให้ท่านสามารถเผยแพร่ความรู้  และธำรงรักษาเอกลักษณ์ศักดิ์ศรีของชาติไทยไว้

                ประเทศไทยได้ประกาศยกย่องผู้ทรงภูมิปัญญาไทยอย่างต่อเนื่อง  เช่น  ศิลปินแห่งชาติ  ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม  และคนดีศรีสังคม  เป็นต้น

นักปราชญ์ไทยที่มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม  ได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ  (ยูเนสโกได้แก่  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  และสุนทรภู่  เป็นต้น

                การถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย  มีความเชื่อถือศรัทธาสืบต่อกันมาเป็นพื้นฐาน  ประชาชนชาวไทยจึงควรสนใจศึกษาองค์ความรู้  ความคิด  ความเชื่อที่ทรงคุณค่านี้  และธำรงรักษาไว้ให้คงอยู่คู่ชาติไทย

                ภูมิปัญญา  ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า  Wisdom  หมายถึง  ความรู้  ความสามารถ  ทักษะ  ความเชื่อ  และศักยภาพในการแก้ปัญหาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างไม่ขาดสายและเชื่อมโยงกันทั้งระบบทุกสาขา

                ภูมิปัญญาไทย  หมายถึง  ความรู้  ความสามารถ  ทักษะและเทคนิคการตัดสินใจ  ผลิตผลงานของบุคคล  อันเกิดจากการสะสมองค์ความรู้ทุกด้านที่ผ่านกระบวนการสืบทอด  พัฒนาปรับปรุง  และเลือกสรรค์มาแล้วเป็นอย่างดี  สามารถแก้ไขปัญหา  และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

                ภูมิปัญญาท้องถิ่น  หรอภูมิปัญญาชาวบ้าน  หมายถึง  ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา  เป็นเทคนิควิธี  เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน  ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง  ทำเอง  โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

                ความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น  คือ  เป็นองค์ความรู้  และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ  ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ความต่างกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น  คือ  ภูมิปัญญาไทย  เป็นองค์ความรู้และความสามรถในส่วนรวม  เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ  ส่วน  ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นองค์ความรู้และความสามารถในระดับท้องถิ่น  ซึ่งมีขอบเขตจำกัดในแต่ละท้องถิ่น  เช่น  ภาษาไทยเป็นภูมิปัญญาไทย  ในขณะที่ภาษาอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นต้น

                ผู้ทรงภูมิปัญญาไทย  หมายถึง  บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญา  หรือเป็นผู้นำภูมิปัญญาต่างๆ  มาใช้ประโยชน์จนประสบความสำเร็จ  มีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับและได้รับการยกย่องในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญ  สามารถเผยแพร่และถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของภูมิปัญญาในแต่ละสาขานั้นๆ  ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง

                ปราชญ์ชาวบ้าน  หมายถึง  บุคคลผู้เป็นเจ้าของภูมิปัญญาชาวบ้าน  และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์จนประสบความสำเร็จ  และนำภูมิปัญญามาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตจนประสบผลสำเร็จสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงคุณค่าของอดีตกับปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม

ความเหมือนกันระหว่างผู้ทรงภูมิปัญญาไทยกับปราชญ์ชาวบ้านคือ  บทบาทและภาระกิจในการนำภูมิปัญญาไปใช้แก้ปัญหา  และการถ่ายทอดเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงจากอดีตถึงปัจจุบัน  ส่วนความแตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับระดับภูมิปัญญาที่จะนำไปแก้ปัญหาและถ่ายทอดกล่าวคือ  ผู้ทรงภูมิปัญญาไทยย่อมมีความสามรถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาระดับชาติไปแก้ปัญหา  หรือถ่ายทอด  หรือผลิตผลงานใหม่ๆ  ที่มีคุณค่าต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม  ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความสามรถหรือภารกิจในการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน  หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นไปแก้ปัญหาหรือถ่ายทอดในท้องถิ่น

                อย่างไรก็ตาม  ภูมิปัญญาไทย  และ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ย่อมมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน  เพราะภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นถือว่าเป็นฐานหลักแห่งภูมิปัญญาไทยเปรียบเหมือนฐานเจดีย์





 มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งนี้ เป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นมาอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและความรู้สึกสืบเนื่องก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

จำแนกออกเป็น ๗ สาขา ดังนี้ 



๑. สาขาศิลปะการแสดง

การแสดงดนตรี การรำ การเต้น และละครที่แสดงเป็นเรื่องราว ทั้งที่เป็นการแสดงตามขนบแบบแผน มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลง และ/หรือ การแสดงร่วมสมัยการแสดงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการแสดงสดต่อหน้าผู้ชม และมีจุดมุ่งหมายเพื่อความงาม ความบันเทิงและ/หรือเป็นงานแสดงที่ก่อให้เกิดการคิด วิพากษ์ นำสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม  ประเภท 

- ดนตรี หมายถึง เสียงที่ประกอบกันเป็นทำนองเพลง และ/หรือลีลา จังหวะ เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดัง ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือ รื่นเริง เป็นต้น ดนตรีมีบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงเพื่อการขับกล่อม ความบันเทิง ประกอบพิธีกรรม และประกอบการแสดง


- การแสดง หมายถึง การแสดงออกทางร่างกาย ท่วงท่าการเครลื่อนไหว ท่าเต้น ท่ารำ การแสดงกิริยาของการเต้น การรำ การเชิด ฯลฯ ซึ่งแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึก และการเล่าเรื่อง การแสดงอาจแสดงร่วมกับดนตรีและการขับร้องหรือไม่ก็ได้

- ดนตรีและการแสดงในพิธีกรรม หมายถึง การผสมผสานระหว่างการแสดง การร้อง การร่ายรำ และดนตรีที่ใช้ประกอบอาชีพ เป็นต้น

- เพลงร้องพื้นบ้าน หมายถึง บทเพลงที่เกิดจากคนในท้องถิ่นนั้นๆ ที่คิดรูปแบบการร้อง การเล่น เป็นบทเพลงที่มีท่วงทำนอง ภาษาที่เรียบง่าย มุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลินในโอกาสต่างๆ หรือการร่วมแรงร่วมใจการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในการประกอบอาชีพ

 

๒. งานช่างฝีมือดั้งเดิม 

ภูมิปัญญา ทักษะฝีมือช่าง การเลือกใช้วัสดุ และกลวิธีการสร้างสรรค์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ สะท้อนพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชน 

 ประเภท 

- ผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้า หมายถึง ผลผลิตที่เกิดจากการทอ ย้อม ถัก ปัก ตีเกลียว ยก จก มัดหมี่ พิมพ์ลาย ขิด เกาะ/ล้วง เพื่อใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม แสดงสถานภาพทางสังคม ลวดลายผ้ามีความเกี่ยวข้องกับตำนานพื้นถิ่น ความเชื่อและธรรมชาติ ซึ่งลวดลายดังกล่าวมักเกิดจากเส้นพุ่งเป็นหลัก


- เครื่องจักสาน หมายถึง ภาชนะเครื่องใช้ประจำบ้านของคนไทยทำจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ไผ่ หวาย หระจูด ลำเจียก โดยนำมาจักและสาน จึงเรียนกว่า เครื่องจักสาน กลวิธีในการทำเครื่องจักสาน ได้แก่ การถัก ผูก รัด มัด ร้อย โดยใช้ตอก หวาย เพื่อให้เครื่องจักสานคงทนและคงรูปอยู่ได้ตามต้องการ

- เครื่องรัก หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้รักเป็นวัสดุสำคัญในการสร้างผลงาน เช่น ปิดทองรดน้ำ ภาพกำมะลอ ประดับมุก ประดับกระจกสี ปั้นกระแหนะ และเขิน รักหรือยางรัก มีคุณลักษณะเป็นยางเหนียว สามารถเกาะจับพื้นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ประสงค์จะทาหรือถมทับหรือเคลือบผิวได้ดี ทำให้เป็นผิวมันภายหลังรักแห้งสนิท มีคุณภาพคงทนต่อความร้อน ความชื้น กรดหรือด่างอ่อนๆ และยังเป็นวัสดุที่ใช้เชื่อมสมุก หรือสีเข้าด้วยกัน

- เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง หัตถกรรมที่ใช้ดินเหนียวเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต มีทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ โดยที่เนื้อดินเหนียวต้องมีส่วนผสมของทรายแม่น้ำที่เป็นทรายเนื้อละเอียดและช่วยให้เนื้อดินแห้งสนิทไม่แตกร้าว ดินเหนียวที่ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาจากที่ต่างๆ ให้สีแตกต่างกัน

- เครื่องโลหะ หมายถึง สิ่งที่มีวัสดุหลักเป็นเหล็ก ทองเหลือง หรือทองแดง เครื่องโลหะที่ทำจากเหล็กนิยมทำ โดยการเผาไฟให้อ่อนตัวและตีเหล็กเป็นรูปทรงต่างๆ เครื่องโลหะที่ทำจากทองเหลืองนิยมนำทองเหลืองมาเผาจนหลอมเหลวแล้วจึงนำไปเทลงในแบบรูปตามลักษณะที่ต้องการแล้วนำมาตกแต่ง ส่วนเครื่องโลหะที่ทำจากทองแดง มีการนำทองแดงมาใช้เป็นโลหะเจือหลักสำหรับผลิตตัวเรือนเครื่องประดับโลหะเงินเจือ

- เครื่องไม้ หมายถึง งานฝีมือช่างที่ทำจากไม้ซุงหรือไม้แปรรูปเป็นท่อน เป็นแผ่น เพื่อใช้ในงานช่างก่อสร้างประเภทเครื่องสับ เครื่องเรือน เครื่องบูชา เครื่องตั้ง เครื่องประดับ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องศาสตรา เครื่องดนตรี เครื่องเล่น และยานพาหนะ โดยอาศัยเทคนิควิธีการแกะ สลัก สับ ขุด เจาะ กลึง ถาก ขูด และขัด

- เครื่องหนัง หมายถึง งานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ทำมาจากหนังสัตว์ โดยผ่านกระบวนการหมักและฟอกหนังเพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย และให้เกิดความนิ่มนวลสามารถบีบงอได้ตามที่ต้องการ เครื่องหนังนิยมนำไปใช้เกี่ยวกับศิลปะการแสดง รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีหนังเป็นส่วนประกอบ

- เครื่องประดับ หมายถึง งานช่างฝีมือที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อการตกแต่งให้เกิดความงดงาม เริ่มต้นจากการใช้วัสดุที่พบได้ง่ายในท้องถิ่นนำมาผลิตเป็นเครื่องประดับตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เป็นการใช้อัญมณีและโลหะมีค่าชนิดอื่น

- งานศิลปกรรมพื้นบ้าน หมายถึง งานที่มีการแสดงอารมณ์สะท้อนออกทางฝีมือการช่างให้ประจักษ์เห็นเป็นรูปธรรมเพื่อตอบสนองในด้านการยังชีพและความต้องการคุณค่าด้านความงาม เช่น ภาพเขียน งานปั้น งานแกะสลักงานหล่อ เป็นต้น

- ผลิตภัณฑ์อย่างอื่น หมายถึง งานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ไม่สามารถจัดอยู่ใน ๙ ประเภทแรกได้ ซึ่งอาจเป็นงานช่างฝีมือที่ประดิษฐ์หรือผลิตขึ้นจากวัสดุในท้องถิ่นหรือจากวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น

 


 ๓. วรรณกรรมพื้นบ้าน 

วรรณกรรมที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิตชาวบ้านโดยครอบคลุมวรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยวิธีการบอกเล่า และที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร   ประเภท 

- นิทานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา ประกอบด้วย นิทาน เทวปกรณ์/ตำนาน นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานมหัศจรรย์ นิทานชีวิต นิทานประจำถิ่น นิทานอธิบายเหตุ นิทานเรื่องสัตว์ นิทานเรื่องผี มุขตลก และเรื่องโม้ นิทานเข้าแบบของไทย


- ประวัติศาสตร์บอกเล่า หมายถึง เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติการตั้งถิ่นฐาน การอพยพ ความเป็นมา และบุคคลสำคัญของชุมชน

- บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม หมายถึง คำสวดที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บททำขวัญ คำบูชา คำสมา คำเวนทาน บทสวดสรภัญญ์ คาถาบทอานิสงส์ บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน คำให้พร คำอธิษฐาน ฯลฯ

- บทร้องพื้นบ้าน หมายถึง คำร้องที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น บทเกี้ยวพาราสี บทจ๊อย คำเซิ้ง ฯลฯ

- สำนวนและภาษิต หมายถึง คำพูดหรือคำกล่าวที่สืบทอดกันมามักมีสัมผัส คล้องจองกัน เช่น โวหาร คำคม คำพังเพย คำอุปมาอุปไมย คำขวัญ คติพจน์ คำสบถสาบาน คำสาปแช่ง คำชม คำคะนอง ฯลฯ

- ปริศนาคำทาย หมายถึง คำหรือข้อความที่ตั้งเป็นคำถาม คำตอบ ที่สืบทอดกันมา เพื่อให้ผู้ตอบได้ทายหรือตอบปัญหา เช่น คำทาย ปัญหาเชาวน์ ผะหมี


-ตำรา หมายถึง องค์ความรู้ที่มีการเขียนบันทึกในเอกสารโบราณ เช่น ตำรา โหราศาสตร์ ตำราดูลักษณะคนและสัตว์ ตำรายา ฯล 

 


๔. กีฬาภูมิปัญญาไทย 

การเล่น การกีฬา และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่มีการปฏิบัติกันอยู่ในประเทศไทยและมีเอกลักษณ์สะท้อนวิถีไทย 

ประเภท

 - การเล่นพื้นบ้าน หมายถึง การเล่นของคนไทยในแต่ละวัยที่มีวัตถุประสงค์ต่างๆ กันออกไป โดยมีผลลัพธ์สุดท้าย คือ ความรัก ความสามัคคี และความสนุกสนานเพลิดเพลิน


- กีฬาพื้นบ้าน หมายถึง การเล่น และการแข่งขันของคนไทยในแต่ละวัย โดยมีอุปกรณ์และกฎกติกาที่เป็นลักษณะเฉพาะถิ่น

- ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว หมายถึง วิธีการหรือรูปแบบการต่อสู้ที่ใช้ร่างกายหรืออุปกรณ์โดยได้รับการฝึกฝนตามวัฒนธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดกันมา


๕. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล 

การประพฤติปฏิบัติในแนวทางเดียวกันของคนในชุมชนที่สืบทอดต่อกันมาบนหนทางของมงคลวิธี นำไปสู่สังคมแห่งสันติสุขแสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของชุมชนและชาติพันธุ์นั้นๆ  

ประเภท 

- มารยาท หมายถึง การประพฤติปฏิบัติที่ดีงามต่อผู้อื่น

- ขนบธรรมเนียบประเพณี หมายถึง การประพฤติปฏิบัติและการกระทำกิจกรรมที่สืบทอดต่อๆ กันมาในวิถีชีวิตและสังคมของชุมชนนั้นๆ

- งานเทศกาล หมายถึง กิจกรรมที่กระทำตามกำหนดเวลาในรอบปี


๖. ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล
องค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ ความเชื่อ แนวปฏิบัติและการแสดงออกที่พัฒนาขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ 

 ประเภท 

 - อาหารและโภชนาการ

- การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน

- โหราศาสตร์และดาราศาสตร์

- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

- ชัยภูมิและการตั้งถิ่นฐาน


๗. ภาษา
เครื่องมือที่ใช้สื่อสารในวิถีการดำรงชีวิตของชนกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสะท้อน โลกทัศน์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งเสียงพูด ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด

 ประเภท

- ภาษาไทย หมายถึง ภาษาราชการที่ใช้ในประเทศไทย

- ภาษาไทยถิ่น หมายถึง ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารตามท้องถิ่นต่าง ๆ สามารถสื่อความหมาย  สร้างความเข้าใจกันในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยแต่ละท้องถิ่นอาจพูดแตกต่างกันไปจากภาษาราชการ ทั้งในด้านเสียง คำ และการเรียงคำ ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นภาคเหนือ ภาษาไทยถิ่นภาคอีสาน ภาษาไทยถิ่น ภาคกลาง และภาษาไทยถิ่นภาคใต้

- ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ หมายถึง ภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารภายในกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น ๕ ตระกูลภาษา ได้แก่ กลุ่มภาษาตระกูลไท กลุ่มภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษาตระกูลจีน ทิเบต กลุ่มภาษาออสโตรเนเชียนติก และกลุ่มภาษาม้ง เมี่ยน


             การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้า อนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ ฟื้นฟู และพัฒนาวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมพื้นบ้านมาอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ มาตรการ โครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะตอบสนองต่อภารกิจดังกล่าว                  
 ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ พ.ศ. ๒๕๕๒ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูล และจัดทำฐานข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยบัจจุบัน ได้มีการจัดเก็บข้อมูลด้านศิลปะการแสดง จำนวน ๓๕๐ เรื่อง ด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิม จำนวน ๕๐๐ เรื่อง และด้านมุขปาฐะ จำนวน ๔๐ เรื่อง นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ ๒๔๔๓ กรมส่งเสริมวัฒนธรรมสนับสนุนให้มีการจัดทำทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในระดับจังหวัด โดยให้ดำเนินการนำร่องในการทำทะเบียนสาขาศิลปะการแสดง งานช่างฝีมือดั้งเดิม วรรณกรรมพื้นบ้านและกีฬาภูมิปัญญาไทย

เพื่อเป็นการต่อยอดการดำเนินงาน กรมส่งเสริมวัฒนธรรมจึงกำหนดภารกิจในการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมขึ้น โดยมีกิจกรรมสำคัญ คือ การขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นหลักฐานสำคัญของชาติและเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตน รวมทั้งเป็นการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ อันจะนำไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่า ยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุขของคนในสังคมต่อไป

ความสำคัญของภูมิปัญญาไทยมีอะไรบ้าง

ภูมิปัญญาไทยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ช่วยสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นมั่นคงสร้างความภาคภูมิใจ และ ศักดิ์ศรีเกียรติภูมิ แก่คนไทยสามารถปรับประยุกต์หลักธรรมคำสอนทางศาสนาใช้กับชีวิตได้อย่างเหมาะสม สร้างความสมดุลระหว่างคนกับสังคม และธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน ช่วยเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิถีชีวิตของคน ไทยให้เหมาะสมได้ตามยุคสมัยที่เปลี่ยน ...

ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ อะไร มีประโยชน์อย่างไร

ภูมิปัญญาระดับท้องถิ่น เป็นองค์ความรู้ ทักษะและความสามารถต่าง ๆของประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ ภูมิปัญญาในระดับท้องถิ่นมีส่วนคล้ายกันและแตก ต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาหรืออำนวยความสะดวกในการดำนินชีวิตประจำวันของประชาชนใน ท้องถิ่น ๆ นั้น เช่น การอนุรักษ์

ปัจจุบันภูมิปัญญาไทยสามารถแบ่งได้กี่สาขา

จากการศึกษาพบว่า มีการกำหนดสาขาภูมิปัญญาไทยไว้อย่างหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่หน่วยงาน องค์กร และนักวิชาการแต่ละท่านนำมากำหนด สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน ฉบับกาญจนาภิเษก (เล่มที่ 23) จัดแบ่งสาขาภูมิปัญญาไทย ออกเป็น 10 สาขา ดังนี้

การทำสารนุกรมภาษาถิ่นเป็นภูมิปัญญาสาขาใด

๙. สาขาภาษาและวรรณกรรม หมายถึง ความสามารถผลิตผลงานเกี่ยวกับด้านภาษาทั้งภาษาถิ่น ภาษาโบราณ ภาษาไทยและการใช้ภาษา ตลอดทั้ง ด้านวรรณกรรมทุกประเภท เช่น การจัดทำสารานุกรมภาษาถิ่น การปริวรรต หนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่างๆ เป็นต้น