การที่เรามีเมตตากรุณา

การที่เรามีเมตตากรุณา

เมตตา-กรุณา...นิยามรัก"วิถีพุทธ"

หน้าหนึ่ง X-CITE / แทบลอยด์ 09.02.2018   0 Comments   9867  Add to Reading List

การที่เรามีเมตตากรุณา

ใกล้ถึงเทศกาลวาเลนไทน์ ประเด็นเรื่องความรักมักถูกหยิบยกมานำเสนอเพื่อให้เข้ากับธีม 14 ก.พ. และหากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าปัจจุบัน ความรักของหนุ่มสาวยุคใหม่มักมีจุดจบด้วยความรุนแรง บางรายก็เสียชีวิต บ้างก็พิการตลอดชีวิต จากปัญหาพิษรักแรงหึง ซึ่งล้วนเป็นความรักที่มาจากความอยากครอบครองทั้งสิ้น 
แท้ที่จริงแล้ว ความรักเป็นสิ่งสวยงาม และมีมุมมองอื่นๆ อีกมากมาย เช่น นิยามคำว่า "รัก" ในทางพุทธศาสนา     

การที่เรามีเมตตากรุณา

(พระพยอม กัลยาโณ)


พระพยอม กัลยาโณ จากวัดสวนแก้ว สะท้อนคำว่า “รัก” ในมุมของพระพุทธศาสนาว่า “ความรักในนิยามของพระพุทธเจ้า ความรักคือความเมตตาและปรารถนาให้คนที่รักมีความสุข เมื่อเห็นเขามีทุกข์ก็พร้อมที่จะช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ แต่ปัจจุบันความรักของคนยุคนี้เป็นอะไรที่แปลก คือเน้น “การครอบครอง” และ “ความต้องการ” มาก่อนเสมอ เมื่อเราอยากได้เขา ถ้าเขาไม่รักตอบก็มักจะจบลงด้วยการฆ่าตัวตาย ตัวอย่างเช่น เด็กวัยรุ่นที่เซลฟีและกระโดดน้ำฆ่าตัวตาย 
พูดง่ายๆ ว่าเราไม่รักตัวเองเลย เพราะถ้ามีสติสักนิด เราก็จะคิดได้ว่าเมื่อเขาไม่รักเรา เราต้องรักตัวเอง ไม่ใช่เอาความรักไปให้เขาจนหมด ดังนั้น ความรักในมุมมองของพระพุทธศาสนา ความรักคือการทำให้คนที่รักมีความสุข ไม่เช่นนั้นจะถือเป็น “มิจฉาทิฐิ” คือความเห็นผิดไปจากความเป็นจริง หรือเป็นความรักที่ขาดสติ อีกทั้งผิดทำนองคลองธรรม เช่น การฆ่าตัวตายประชดรัก ซึ่งถือเป็นบาปมหันต์ เพราะต้องชดใช้กรรมด้วยการเกิดเป็นสุนัข 500 ชาติ”

การที่เรามีเมตตากรุณา

(พระครูสิริวิหารการ)


ขณะที่ พระครูสิริวิหารการ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ ให้มุมมอง “คำว่ารัก” คล้ายคลึงกันว่า “ในทางพุทธศาสนา “คำว่ารัก” คือการเมตตาและปรารถนาดีต่อกัน เวลาที่เห็นคนรักมีความสุข หรือเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ก็ต้องพลอยยินดีกับเขา อีกทั้งต้องเกื้อกูลกัน ที่ลืมไม่ได้คือต้องมีความกรุณาต่อกัน ยกตัวอย่างความรักของพ่อแม่ เป็นต้น ที่ต้องมีทั้ง 3 สิ่งที่บอกมา จึงจะถือว่าเป็นความรักที่แท้จริง แต่ความรักของคนทั่วไปในยุคนี้ หรือความรักทางโลกนั้น ภาษาพระจะพูดว่า มักเจือปนด้วย “กามคุณ” หรือ “กามราคะ” ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า เรามักจะมุ่งยินดีและชอบในสิ่งสวยงาม ซึ่งถูกใจเรา ก็จะเกิดความประทับใจและรักในสิ่งเหล่านั้น แต่เมื่อไรก็ตามที่เราเห็นคนหน้าตาดีและต้องการให้เขามาเป็นแฟนเรา เมื่อไม่ได้ดังปรารถนา เราก็จะเกิดความโกรธและไม่พอใจ กระทั่งเกิดเป็นความต้องการอยาก “ครอบครอง” ก็ถือว่าไม่ถูกต้องแล้ว 
“เท่าที่พระอาจารย์ดูแล้วนั้น ความรักของเด็กยุคโซเชียลมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและขาดการกลั่นกรอง ตลอดจนขาดการพินิจพิเคราะห์ว่าความรักที่เข้ามานั้นมันจะไปด้วยกันได้จริงๆ หรือไม่ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เด็กมักจะถูกใจกันง่ายและก็เลิกกันง่าย เรียกได้ว่าเป็นความรักที่มีความหลากหลายอยู่สูงมาก พูดให้ถูกคือต่างฝ่ายต่างไม่รู้จักกันจริง แต่จะมี “ความหลง” เป็นเหตุให้เกิดความรักมากกว่า นั่นจึงทำให้ความรักไม่ยั่งยืน หรือเกิดความผิดพลาด จนกระทั่งก่อทุกข์ เป็นต้น”

การที่เรามีเมตตากรุณา

(หลวงปู่พุทธะอิสระ)


ปิดท้ายกันที่ หลวงปู่พุทธะอิสระ แห่งวัดอ้อน้อย ให้มุมเรื่อง “ความรักในทางพุทธศาสนา” ว่า ไม่มีอยู่พจนานุกรม ตรงข้ามกัน คำว่ารักในมุมของพระพุทธเจ้ามองว่า ความรักเป็นความอยาก ความตะกละ และทะเยอทะยาน “อันที่จริงแล้วความรักในทางพระพุทธศาสนาไม่มี จะมีก็แต่ความเมตา กรุณา ที่ต้องมาพร้อมกับการให้อภัย เพราะถ้าเมตตาอย่างเดียวและไม่ให้อภัย จึงไม่ถือว่าเป็นผู้ที่มีเมตตา เช่น ความรักของพ่อแม่ที่มีต่อบุตร สรุปให้เข้าใจว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยพูดถึงเรื่องความรัก มีแต่เรื่องความเมตตาและความกรุณา รวมถึงการให้อภัยที่บอกไปข้างต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรียกกันว่า “พรหมวิหาร 4” ที่ประกอบด้วย 1.เมตตา 2.กรุณา 3.มุทิตา 4.อุเบกขา
แต่ถ้าพูดถึงความรักในทางโลกที่เชื่อมโยงกับเทศกาลวาเลนไทน์ หรือความรักของพระเจ้าตามศาสนาคริสต์ ที่หลวงปู่เคยไปเทศนาสอนเด็กนักเรียนในแง่ของการที่คนสองคนรักกัน กระทั่งแต่งงานมีลูกนั้น ความรักในลักษณะดังกล่าวต้องเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม จับต้องได้ และมีคุณค่า หมายความว่าต้องเป็นรักที่ช่วยเหลือกัน สนับสนุนและส่งเสริม ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน หรือที่เรียกกันว่า “รักคือการให้” นอกจากนี้ก็ยังมีอีกมุมมองความรักที่เรียกกันว่า “รักของซาตาน” ซึ่งจะมองว่าความรักเป็นของกู ใครแตะต้องไม่ได้ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะทำให้เกิดความหวาดระแวง กอบโกย เห็นแก่ตัว มีแต่การเอาเปรียบ สุดท้ายแล้วก็จะตกเป็นจำเลย และเป็นผู้ที่น่ารังเกียจในสังคม”.

Tags:

  • หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

Facebook Google+ Twitter Linkedin

ต่อไปนี้อยากจะพูดอีกสักเรื่อง ๒ เรื่อง ในการทำงานนั้น เราต้องเกี่ยวข้องกับผู้คน เช่นเพื่อนร่วมงาน และผู้รับบริการ หรือโดยเฉพาะผู้บริหาร ก็ต้องทำงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลด้วย

ในการเกี่ยวข้องกับผู้คนนั้น เราจะต้องมีหลักในการปฏิบัติ หลักการปฏิบัติต่อคนก็มีหลายอย่างหลายประการ แต่หลักธรรมที่ครอบคลุมที่สุดมีอยู่หมวดหนึ่ง ลองทายซิว่า หลักอะไร ที่ใช้ได้ครอบคลุมหมด หลักอะไรเอ่ย? ได้ยินแว่วๆ พูดดังๆ หน่อย “พรหมวิหาร ๔” แน่นอนเลย พรหมวิหาร ๔ เป็นหลักที่ครอบคลุมสำหรับการที่มนุษย์อยู่ในโลก และเป็นส่วนร่วมของโลก คำว่าพรหมวิหาร ก็บอกอยู่ในตัวแล้ว เพราะพรหมวิหาร แปลว่า ธรรมประจำใจของพรหม ก็คือ ธรรมประจำใจของผู้สร้างสรรค์อภิบาลโลก พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ทุกคนทำตัวเป็นพรหมโดยไม่ต้องรอเทพเจ้า คือพระพรหม

ขอขยายความว่าในศาสนาพราหมณ์เขามีเทพเจ้าสูงสุด คือ พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก และบำรุงเลี้ยงอภิบาลโลกไว้ พอครบกัปหนึ่งโลกทะลาย พระพรหมก็สร้างโลกขึ้นมาใหม่อีก พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ให้เราทุกคนทำตัวเป็นพรหมผู้ทำหน้าที่สร้างโลก โดยไม่ต้องรอพระพรหมเทพเจ้ามาสร้าง หมายความว่าให้เราทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์อภิบาลโลกเสียเอง เราจะทำอย่างไร จึงจะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์อภิบาลโลก ก็ต้องมีธรรมประจำใจของพรหม ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ทำอย่างไรถึงจะมีพรหมวิหาร ๔ ประการนี้ได้ วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ พูดโดยสัมพันธ์กับสถานการณ์ที่จะต้องใช้ปฏิบัติ หลายคนแยกความหมายของ ๔ ข้อนี้ไม่ออก เช่น เมตตา กับกรุณา หลายท่านแยกไม่ได้เลยว่าต่างกันอย่างไร? แต่ถ้าใช้วิธีพูดแบบสถานการณ์ จะเข้าใจได้ทันที

เมตตา กับกรุณา คนไทยใช้มากจนเป็นภาษาไทย ส่วนมุทิตาใช้น้อยลงไป บางทีใช้เป็นพิธี เช่นไปแสดงมุทิตาจิต ส่วนอุเบกขาคนไทยไม่รู้เรื่องแล้วยังใช้ผิดด้วย

ทีนี้ก็ดูว่า ๔ ข้อนี้มีความหมายอย่างไร โดยดูสถานการณ์ที่เราจะปฏิบัติ คือสถานการณ์ที่เกิดแก่คนอื่น เพราะธรรมชุดนี้เป็นธรรมที่จะใช้กับผู้อื่น เพราะฉะนั้นจะเข้าใจความหมายชัดเมื่อดูการใช้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับคนอื่น

สถานการณ์ที่ ๑ คนอื่นเขาอยู่เป็นปกติ เราก็ใช้ธรรมข้อที่ ๑ คือ เมตตา ได้แก่ ความเป็นมิตร

เมตตา มาจากรากศัพท์เดียวกับ มิตตะ ซึ่งแปลว่า มิตร เอา อิ ข้างหน้าเป็น เอ เอา อะ ข้างหลังเป็น อา ก็เป็น เมตตา มิตตะ เป็นคน เมตตา เป็นคุณธรรม เมตตาก็คือ คุณธรรมของมิตร ความเป็นมิตร น้ำใจของมิตร หรือคุณสมบัติของมิตรนั้นเอง ความเป็นมิตรก็คือ ความมีน้ำใจหวังดี ความปรารถนาดีต่อกัน อยากให้เขามีความสุข พูดง่ายๆ เมื่อเขาอยู่เป็นปกติเราก็เป็นมิตร

สถานการณ์ที่ ๒ เขาเปลี่ยนจากปกติ เป็น ตกต่ำลง เดือดร้อน มีความทุกข์ มีปัญหา เราก็ย้ายไปสู่ข้อที่ ๒ เป็นกรุณา

กรุณา แปลว่า พลอยหวั่นใจในทุกข์ของเขา พอเห็นคนอื่นมีทุกข์ก็พลอยมีจิตใจไหวไปตามความทุกข์ของเขา ทนอยู่ไม่ได้ ต้องขวนขวายหาทางช่วยเหลือ ปลดเปลื้องความทุกข์ของเขา ให้เขาพ้นจากความทุกข์ หรือช่วยแก้ปัญหาให้เขา จะเห็นว่าเมตตา กับกรุณา ต่างกันชัดเลย

สถานการณ์ที่ ๓ เขาขึ้นสูง ประสบความสำเร็จ ทำสิ่งที่ถูกต้องดีงาม มีความสุข เราก็ย้ายมาใช้ข้อที่ ๓ คือ มุทิตา ได้แก่พลอยยินดีด้วย เอาใจช่วย ส่งเสริมสนับสนุน

เขาทำความดี ทำถูกต้องแล้ว ก็ส่งเสริมเขา สนับสนุนเขาให้ทำดีมีความสุขสำเร็จยิ่งขึ้นไป ร่วมอนุโมทนาด้วย มุทิตาก็พลอย กรุณาก็พลอย กรุณานั้นพลอยหวั่นใจในทุกข์ของเขา มุทิตานั้นพลอยยินดีในความสุขของเขา