ต่อเติมบ้านทาวน์โฮม หลังมุม

“ครัวไทย” แค่ชื่อ ก็ได้ยินเสียง โขลกน้ำพริก ก็ดังมาแต่ไกล ผัดกะเพรากลิ่นฉุนเตะจมูก หรือ กลิ่นไข่เจียวหอมฟุ้ง ไปทั่วบ้าน แต่บ้านของหลายๆคน อาจมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด การ ต่อเติมครัวไทย โดยเฉพาะบ้าน ทาวน์โฮม หรือตึกแถว ที่มักเหลือพื้นที่หลังบ้านไว้ให้ ไม่มากนัก ครั้นจะวางครัวไว้ในบ้าน ก็เป็นห่วงเรื่องกลิ่น ที่จะวนเวียนอยู่ในบ้าน ไม่ยอมจากไปไหน แต่พอจะต่อเติม แบบปิดทึบเต็มพื้นที่ ก็กลัวว่ากลิ่นก็จะไม่มีทางไป แล้วจะ ต่อเติมครัวไทยหลังบ้านทาวน์โฮม แบบไหนดี ให้เหมาะกับ “ครัวไทย” และ “ถ่ายเทกลิ่น”

รูป Before ก่อนเริ่ม ต่อเติมครัวไทยหลังบ้านทาวน์โฮม

ต่อเติมบ้านทาวน์โฮม หลังมุม

Show

พื้นที่ว่าง หลังบ้านทาวน์โฮม มักถูกปล่อยไว้ให้เจ้าของบ้าน ไปสานต่อโครงการในฝันเอาเอง ซึ่งถ้ามีงบมากหน่อย ก็อาจจะ ต่อเติมครัวไทย เป็นห้องเต็มรูปแบบ มีพื้น – ผนัง – เพดาน พร้อมครัวแบบจัดหนักจัดเต็ม แต่หลายคนก็ชอบครัวแบบ โอเพ่นแอร์ ที่เปิดโล่งลมโกรก ข้อดีของครัวเปิด คือ เรื่องของอากาศถ่ายเท และที่แน่นอน คือ ใช้งบประมาณที่น้อยกว่า เพราะไม่ต้องสร้างผนังขึ้นมาทั้งหมด จะเช็ดล้างทำความสะอาด ก็สะดวกสบาย หรือถ้าเหลือพื้นที่ข้างๆ จะแอบแบ่งไว้ปลูกพืชผักสวนครัว ทำไป เด็ดใส่กระทะไป ก็ยังไหว xxx xxx xxx xxx xxx xxx xxx xxx x

ต่อเติมบ้านทาวน์โฮม หลังมุม

ครัวขนาดเล็ก – สำหรับบ้านที่มีระยะห่างจากรั้ว 2 เมตรขึ้นไป

ครัวแถวเดียว เหมาะสำหรับ บ้านที่พื้นที่ไม่มาก แต่ยังมีครบทุกฟังชั่น ในการใช้งาน ตำแหน่งเคาน์เตอร์ วางชิดผนัง ทำให้เราสามารถเพิ่มพื้นที่ จัดเก็บข้าวของ เครื่องครัวบนผนัง ไม่ว่าจะเป็นตู้แขวนติดผนัง หรือชั้นแบบเปิดโล่ง เพิ่มได้อีกด้วย

ต่อเติมบ้านทาวน์โฮม หลังมุม

ต่อเติมส่วนที่เป็นหลังคา ออกมาจากตัวบ้าน 1.50 เมตร เหลือพื้นที่โดยรอบ ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และ แสงแดดสามารถส่องถึง  ช่วยฆ่าเชื้อโรค แถมยังปลูกต้นไม้เพิ่มความเขียว หรือ พืชผักสวนครัวไว้ใกล้มือ เด็ดใช้ ใส่อาหารได้สดๆ ก็ได้เช่นกัน ครัวแบบเปิด ช่วยให้ถ่ายเทอากาศได้ดี ระบายกลิ่นอาหาร และลดความอับชื้น

ต่อเติมบ้านทาวน์โฮม หลังมุม

ครัวขนาดกลาง –สำหรับบ้านที่มีระยะห่างจากรั้ว 3 เมตรขึ้นไป

ครัวตัวแอล(L) – เพิ่มพื้นที่ในการทำครัวให้มากขึ้นโดยการวางเคาน์เตอร์เป็นรูปตัว L เข้ามุม ช่วยให้ใช้งานได้สะดวก และ เพิ่มโต๊ะวางเข้ามุม เพิ่มพื้นที่ สำหรับการเตรียมอาหารได้อีกด้วย ต่อเติมส่วนหลังคา ออกมา 2.50 เมตร เหลือพื้นที่โดยรอบ ให้แสงแดดส่องถึง ใช้อิฐช่องลม ก่อแทนผนัง บังสายตาจากเพื่อนบ้าน ช่วยกรองแสงแดดยามบ่าย และ ลมพัดผ่านได้สะดวก วางโต๊ะเข้ามุม ใช้สำหรับเตรียมอาหาร หรือใช้กินข้าวเช้าแบบกันเองก็ยังไหว หรือไปดูไอเดียดีๆจาก บ้านคุณพ่อชอบประดิษฐ์

ต่อเติมบ้านทาวน์โฮม หลังมุม

ต่อเติมบ้านทาวน์โฮม หลังมุม

ต่อเติมบ้านทาวน์โฮม หลังมุม

วัสดุ – ควรเลือกใช้วัสดุปิดพื้นผิวที่ สามารถเช็ดล้าง ทำความสะอาดง่าย เช่น กระเบื้องเซรามิค ปูนเปลือย ขัดมัน และ วัสดุที่ใช้ปูพื้นควรเป็นวัสดุที่ทนแดด ทนฝน ได้ดี เช่นไม้เทียม หรือ กระเบื้องปูพื้น ที่มีผิวหน้าหยาบ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ที่อาจลื่นเมื่อเปียกน้ำได้

รู้ไว้สักนิดก่อนคิดต่อเติมครัว

  • ไม่ควรต่อเติม หรือ ขยาย อาคารจนเต็มพื้นที่ เพราะจะทำให้ การระบายอากาศ เป็นไปได้ยาก และทำให้บ้านอบอวล ไปด้วยกลิ่นควัน และ กลิ่นอาหาร (ที่ถ่ายเทเข้าในบ้านแทน)
  • ควรแยกโครงสร้าง ของส่วนครัวต่อเติม ออกจากตัวบ้านเดิม เพราะการทรุดตัว ที่แตกต่างกัน จะทำให้รอยต่อระหว่างอาคาร แตกร้าว และ เสียหายได้
  • การต่อเติมครัวแบบเปิด ด้วยโครงสร้างเหล็ก เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่น่าสนใจ เพราะเหล็กมีน้ำหนักเบา แข็งแรง ราคาไม่แพงมาก  และ ใช้เวลาในการก่อสร้างไม่นาน
  • ส่วนหลังคา ที่ต่อเติมขึ้นมาใหม่ ควรมีรางรับน้ำฝน อยู่ภายในแนวเขตที่ดินของบ้านเราด้วยนะคะ

เรื่อง – ภาพประกอบ jOhe


ต่อเติมครัวไทยใช้หลังคาไวนิล ดีหรือไม่

ครัวปูน คือครัวไม่กลัวฝน

my home คน/จัด/สิ่งของ EP.26 รวมไอเดียการจัดระเบียบห้องครัว

บทความที่เกี่ยวข้อง

No related photos.

before after การจัดวางผังครัว ครัวขนาดเล็ก ครัวต่อเติม ครัวทาวน์โฮม ครัวสวย ครัวหลังบ้าน ครัวเข้ามุม ครัวไทย แบบครัว

..กองทัพต้องเดินด้วยท้อง!! วลีติดหูที่เราเองได้ยินบ่อยๆ เป็นเสียงที่ลอยออกมาจากห้องครัวก่อนออกไปทำงานทุกเช้า เพราะคุณแม่ที่น่ารักมักจะเตรียมอาหารไว้ให้ “ห้องครัว” จึงมีบทบาทสำคัญในการเตรียมอาหารให้กับทุกคนในบ้าน แต่สำหรับทาวน์โฮมนั้นพื้นที่ครัวมักจะอยู่ในตัวบ้าน มีพื้นที่กะทัดรัดหน่อย ถ้าแม่ครัว พ่อครัวบ้านไหนชอบทำอาหารจริงจังนัก ก็อาจจะไม่ปลื้มเท่าไหร่ ทำให้ชาวทาวน์โฮมส่วนใหญ่เลือกที่จะต่อเติม “ห้องครัวหลังบ้าน” เป็นลำดับแรกๆ เพื่อให้ได้ครัวไทยที่ใหญ่ขึ้น

แต่ก็มีคำถามมากมายตามมาเช่นกัน ว่าควรเลือกวัสดุแบบไหน? มีขั้นตอนในการต่อเติมอย่างไร? หลายคนจึงเริ่มสอบถามจากเพื่อนๆ ว่าเค้าใช้งบกันเท่าไหร่ ได้อะไรบ้าง? เอาล่ะ..วันนี้เราไปสำรวจมาให้เพื่อนๆ แล้วว่าค่าต่อเติมครัวทาวน์โฮมส่วนใหญ่จะใช้งบประมาณเบื้องต้นกันที่ 1 – 2 แสนบาท จะได้วัสดุอะไรบ้างและมีขั้นตอนอย่างไร ไปดูกันเลย

PART 1 : ก่อนต่อเติมครัวต้องรู้เรื่องกฎหมาย

กฎหมายเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรจะมองข้ามในการต่อเติมบ้าน หากเราทำการต่อเติมไปแล้วผิดกฎหมายก็จะเดือดร้อนต้องมาทุบทิ้งกัน หรืออาจจะเกิดการร้องเรียนขึ้นทำให้เป็นปัญหาใหญ่ตามมา ทำให้เราเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่พอพูดถึงกฎหมายหลายๆ คนจะคิดว่าต้องอ่านเยอะแน่เลย เราขอออกตัวก่อนว่าบทความนี้เราจะไม่ได้เอากฎหมายมาแปะให้อ่านกันยาวๆ (จะใส่ Link ไว้ให้แทน) แต่จะขอสรุปกฎหมายที่ต้องระวังหลักๆ 2 ข้อ ดังนี้

1. การต่อเติมครัวหลังบ้านนั้นเข้าข่าย “การดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคาร” หรือไม่ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522

หัวข้อนี้เกี่ยวกับการขออนุญาตดัดแปลงครัวหลังบ้าน ซึ่งเข้าข่ายง่ายมากเพราะถ้าคิดกันจริงๆ ทาวน์โฮมส่วนใหญ่มีหน้ากว้างไม่ต่ำกว่า 5 เมตร นั่นหมายความว่าต่อเติมครัวออกไปได้แค่ 1 เมตร จึงจะไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรานิยมต่อเติมครัวให้เต็มพื้นที่หลังบ้านประมาณ 10 ตร.ม. ขึ้นไป ดังนั้นการต่อเติมครัวหลังบ้านมักจะต้องขออนุญาตดัดแปลงอาคารค่ะ

2. การต่อเติมครัวหลังบ้าน “เป็นไปตามข้อกำหนดระยะถอยร่น”  หรือไม่ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 ออกตามความในพรบ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ตามที่เคยเห็นว่าการต่อเติมทาวน์โฮมส่วนใหญ่จะต่อเติมจนเต็มพื้นที่หลังบ้าน จึงไม่เป็นไปตามระยะถอยร่นที่กฎหมายกำหนด จะก่อสร้างได้ก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านข้างเคียง (เป็นลายลักษณ์อักษร) เท่านั้น เราจึงควรจัดกระเช้าให้สวยงาม และไปเจรจากับเพื่อนบ้านให้เซ็นต์ยินยอมค่ะ

ลองมาดูรูปแบบการต่อเติมครัวกันดีกว่า ว่าทำแบบไหนต้องขออนุญาตบ้าง…

แบบแรกเลยเป็นรูปแบบยอดฮิตที่ชาวทาวน์โฮมส่วนใหญ่นิยมทำกัน เพราะทำให้ได้พื้นที่ใช้สอยในตัวบ้านเยอะที่สุด ซึ่งการต่อเติมครัวลักษณะนี้เข้าข่าย “การดัดแปลงอาคาร” ด้วยเหตุผลที่ว่า มีการขยายเนื้อที่ใช้สอยและพื้นที่หลังคาเกิน 5 ตารางเมตร ถึงไม่มีการเพิ่มลดเสาคานก็ต้องขออนุญาตก่อนค่ะ

และการต่อเติมครัวเต็มพื้นที่หลังบ้านแบบนี้ยังเข้าข่ายผิดข้อกำหนดเรื่อง “ระยะถอยร่นระหว่างอาคาร” ด้วย จึงต้องได้รับความยินยอมจากเพื่อนบ้านข้างเคียงก่อนนะ

ถัดมาเป็นแบบต่อเติมที่ดูง่ายขึ้นแต่ก็ยังเข้าข่าย “การดัดแปลงอาคาร” เช่นกัน เพราะ มีการทำหลังคาคลุมหลังบ้านที่ยื่นจากเดิมออกไปเกิน 5 ตารางเมตร  แต่ไม่ผิดเรื่องกฎหมายระยะถอยร่นเลย เพราะเค้าเว้นระยะจากชายคา จนถึงแนวเขตที่ดินไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร จึงไม่ต้องขออนุญาตเพื่อนบ้านก็ได้ค่ะ

ดังนั้น หากต่อเติมครัวของเราเข้าเกณฑ์ตามกฎหมายข้างต้น เวลาจะทำการต่อเติมจำเป็นที่จะต้อง ” ยื่นแบบขออนุญาตกับสำนักงานเขต” ..ส่วนตัวเราเองเคยไปขออนุญาตต่อเติมกับทางเขต ก็มีเอกสารที่เราต้องใช้ ได้แก่

  1. แบบฟอร์ม ข.1 (คําขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร)
  2. แบบก่อสร้างที่มีลายเซ็นต์ของสถาปนิกและวิศวกรควบคุม
  3. หนังสือยินยอมให้ทําการปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน ที่ต้องนำมาให้บ้านข้างเคียงเซ็นต์ และอาจรวมถึงต้องขออนุญาตนิติบุคคล สำหรับบางโครงการที่มีการจัดตั้งนิติบุคคลและกฎระเบียบที่เคร่งครัดด้วย

PART 2 : รู้ว่าโครงการให้โครงสร้างมาแบบไหน?

รู้หรือไม่ว่าโครงสร้างพื้นหลังบ้านของทาวน์โฮมแต่ละโครงการนั้นให้มาแตกต่างกันนะ ก่อนซื้อทาวน์โฮมจึงต้องสอบถามโครงการก่อนว่าให้โครงสร้างมาแบบไหน ดังนี้

โครงสร้างพื้นมี 3 แบบที่เห็นในตลาดทั่วไปคือ โครงสร้างพื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab On Ground), โครงสร้างพื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slab On Beam) แบบเข็มสั้น และแบบเข็มยาว เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าเพราะจะอยู่ใต้พื้นดิน จึงต้องสอบถามกับทางโครงการเอานะ

  • โครงสร้างพื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab On Ground) เป็นรูปแบบดั้งเดิมของโครงการทาวน์โฮม ส่วนใหญ่เราจะเจอในโครงการราคาย่อมเยา ล้านกว่า 2 ล้านต้นๆ แน่นอนว่าโครงการต้องประหยัดงบในการก่อสร้าง ซึ่งส่งผลต่อการต่อเติมครัวว่าพื้นครัวจะมีการทรุดลงเร็วกว่าตัวบ้านที่มีเสาคานรองรับ หากโครงสร้างนี้อยู่บนทำเลที่ดินทรุดง่าย แนะนำให้ลงเสาเข็มเพิ่ม ซึ่งทำให้ต้องเสียงบในการต่อเติมมากกว่าแบบอื่นๆ
  • โครงสร้างพื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slab On Beam) แบบเข็มสั้น ถึงจะเป็นโครงสร้างที่มีการลงเสาเข็มมาให้ แต่ว่าเสาเข็มส่วนใหญ่จะมีความลึกไม่มาก ประมาณ 2 – 6 เมตร ทำให้พื้นครัวทรุดลงได้เร็วกว่าตัวบ้านอยู่ดี แต่ก็จะช้ากว่าโครงสร้างแบบ On Ground แนะนำให้ต่อเติมแบบไม่ฝากโครงสร้างไว้กับตัวบ้าน ต้องมีการตัด Joints (แยกจุดเชื่อมต่อโครงสร้าง) แยกพื้นที่หลังบ้านออกจากตัวบ้านเลย จึงจะไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
  • โครงสร้างพื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slab On Beam) แบบเสาเข็มยาว ประมาณ 22 – 26 เมตร เป็นรูปแบบที่ดีที่สุด ซึ่งปัจจุบัน Developer ส่วนใหญ่เริ่มหันมาใช้โครงสร้างนี้กันแล้ว ไม่ต้องห่วงเรื่องการทรุดตัวของหลังบ้านและง่ายในการต่อเติมที่สุด

ดังนั้น เมื่อทราบโครงสร้างทั้งพื้นและรั้วของตัวบ้านแล้ว ต้องมาตัดสินใจก่อนว่าจะลงเสาเข็มเพิ่มหรือไม่ แนะนำว่าหากเป็นโครงสร้าง Slab On Ground ให้ลงเสาเข็มเพิ่ม ซึ่งพื้นที่เล็กๆ แบบหลังบ้าน ช่างส่วนใหญ่จะแนะนำเสาเข็มแบบไมโครไพล์ จะตอกลงไปได้ลึกเหมือนเสาเข็มยาว แต่ก็ไม่ควรฝากโครงสร้างไว้กับตัวบ้านและต้องต่อเติมแบบตัด Joints เพื่อไม่ให้ดึงตัวบ้านทรุดไปด้วยค่ะ

หากเป็นโครงสร้างแบบเสาเข็มสั้นจะไม่ลงเสาเข็มเพิ่มก็ได้ แต่ต้องต่อเติมแบบไม่ฝากโครงสร้างไว้เช่นกัน


PART 3 : รู้ค่าต่อเติมและเลือกวัสดุได้ตามงบประมาณ

มาถึงส่วนที่ต้องคำนวณค่าใช้จ่ายในการต่อเติมครัวกันแล้ว ซึ่งปกติจะเป็นหน้าที่ของผู้รับเหมาที่จะทำการเสนอราคามาให้ แต่เราอยากให้ผู้อ่านได้รู้ราคาคร่าวๆ ไว้เช่นกันว่าการต่อเติมครัวนั้นจะต้องเตรียมงบประมาณไว้สักเท่าไหร่ ถ้ามีงบ 1 – 2 แสนจะได้อะไรบ้าง

โดยเราได้หาราค่าวัสดุรวมค่าติดตั้งในส่วนงานหลักๆ มาให้ แยกเป็นโครงสร้างครัวแต่ละส่วน ดังนี้

นอกจากนี้ยังมีงานยิบย่อยอื่นๆ เช่นงานระบบไฟ หรือการทำเฟอร์นิเจอร์ Built-in เพิ่มเติม ซึ่งต้องไปคิดราคาเพิ่มเป็นกรณีไปนะคะ


1. ฐานราก ก่อนที่เราจะไปเลือกผนังและโครงหลังคาจะต้องเริ่มจากฐานรากก่อน ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆด้วยกันคือ

พื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slab on Beam) พื้นชนิดนี้จะถ่ายน้ำหนักลงสู่คานและเสาเข็มโดยตรง ซึ่งจะมีความแข็งแรงและน้ำหนักได้ดี ช่วยลดปัญหาเรื่องการทรุดตัวในระยะยาวได้ด้วย เหมาะกับทำเลที่พื้นดินยังไม่แน่น หรือยังมีการทรุดตัวอยู่ ซึ่งเสาเข็มที่นิยมใช้กับงานหลังบ้านคือ “เสาเข็มแบบไมโครไพล์”

ข้อดีของเสาเข็มชนิดนี้คือสามารถตอกได้ลึกเหมือนเสาเข็มยาว และมีผลกระทบต่อโครงสร้างเดิมของบ้านน้อย แต่ก็ใช้เวลาในการตอกเสานานกว่าปกติหน่อย เพราะต้องค่อยๆ ตอกลงไปทีต้นสั้นๆ ต้นละ 1.5 เมตร ซึ่งเหมาะกับการต่อเติมห้องครัวมากกว่าพวกเสาเข็มสั้น 2-6 เมตร ซึ่งเสาเข็มพวกนี้จะมีการทรุดตัวที่เร็วกว่ามากค่ะ

พื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab on Ground) เป็นการวางโครงเหล็กและเทคอนกรีตลงที่พื้นโดยตรง ซึ่งวิธีนี้ในเรื่องความแข็งแรงอาจสู้แบบมีเสาเข็มไม่ได้ แต่สามารถทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก และมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่ามาก โดยโครงสร้างประเภทนี้จะเหมาะกับบ้านที่อยู่ในทำเลพื้นดินแน่นและแข็งแรง หรือมีอัตราการทรุดตัวของดินน้อยนั่นเอง

จากตารางจะเห็นได้ว่า ค่าก่อสร้างพื้นคอนกรีตวางบนคาน (Slab on Beam) จะมีราคาที่สูงกว่าแบบพื้นคอนกรีตวางบนดิน (Slab on Ground) ค่อนข้างมาก เพราะนอกจากจะมีค่าเทพื้นและคานคอนกรีตเหมือนกันแล้ว ยังต้องมีค่าเสาเข็มและค่าแรงตอกเสาเข็มเพิ่มขึ้นอีกด้วย แนะนำว่าการต่อเติมห้องครัวที่ต้องรับน้ำหนักของโครงหลังคา ผนัง เคาน์เตอร์ครัวต่างๆ ก็ควรมีการลงเสาเข็มไมโครไพล์เพิ่ม

แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีงบเพียงพอนะ สุดท้ายแล้วคุณต้องกลับมามองเงินในกระเป๋าและเลือกสิ่งที่คุณพอจะสามารถทำได้ ทำให้หลายคนที่งบไม่พอเกิดคำถามต่อมาคือ “ถ้าใช้โครงสร้างแบบ On Ground พื้นจะทรุดหรือป่าว?” แน่นอนว่าทรุดค่ะ ก็แนะนำให้ใช้วิธีแยกโครงสร้างห้องครัวออกจากโครงสร้างบ้านหลัก เพื่อที่เวลาเกิดการทรุดตัวจะได้ไม่กระทบกับตัวบ้านนะคะ


2. หลังคา มาดูในส่วนที่กันแดดกันฝนให้กับพื้นที่หลังบ้านกันบ้าง ส่วนนี้จะประกอบด้วย “โครงสร้างและวัสดุมุงหลังคา”

“โครงสร้าง” การต่อเติมห้องครัวหลังบ้านจะมีโครงสร้าง 2 รูปแบบหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้

แบบที่ 1 : ฝากโครงสร้างพื้นที่จอดรถไว้กับโครงสร้างบ้าน วิธีนี้เหมาะกับบ้านที่ถูกออกแบบโครงสร้างมาเผื่อการรับนำหนักส่วนต่อเติมในอนาคต คือรูปแบบโครงสร้างพื้น On Beam ที่ลงเสาเข็มยาวเท่าตัวบ้าน และใช้คานชุดเดียวกัน (สอบถามวิศวกรหรือช่างของโครงการได้) โดยการตั้งเสาด้านหน้าเพิ่มเติม และนำโครงหลังคาส่วนหนึ่งไปฝากไว้กับโครงสร้างเดิม เหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่จำกัด และต้องการประหยัดงบประมาณ

แต่ข้อควรระวังคือ หากนำวิธีนี้ไปใช้กับโครงสร้างพื้นที่ไม่ได้ลงเสาเข็มมาเท่ากับตัวบ้าน จะทำให้มีการทรุดตัวของโครงสร้างที่อยู่บนเข็มและคานที่ต่างชนิดกัน ก็อาจส่งผลกระทบกับโครงสร้างบ้านหลัก ด้วยการฉุดรั้งถ่วงน้ำหนัก ทำให้โครงสร้างบ้านหลักเอียงไปด้วยได้

แบบที่ 2 : แยกโครงสร้างจากตัวบ้าน เป็นวิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากพื้นที่ครัวหลังบ้านจะไม่กระทบกับโครงสร้างเดิมของตัวบ้านเลย เหมาะกับรูปแบบของโครงสร้างพื้นแบบ Slab On Ground และโครงสร้างพื้น Slab On Beam แบบเสาเข็มสั้น ที่จะมีการทรุดตัวของสร้างไม่พร้อมกับตัวบ้าน แต่ก็ทำยากและมีราคาสูงกว่ารูปแบบแรกเพราะต้องทำโครงสร้างเพิ่มขึ้นมานะ

ดังนั้น ในส่วนของโครงสร้างไม่ว่าจะมีการลงเข็มสั้นหรือลงเข็มยาว หรือไม่ลงเสาเข็มก็ตาม จะมีการทรุดตัวของพื้นมากหรือน้อย ช้าหรือเร็ว ตามแต่ชนิดของเข็ม และสภาพดินบริเวณนั้นๆ เราจึงแนะนำให้แยกโครงสร้างของส่วนต่อเติมออกมาก่อน ไม่ให้ยึดเข้ากับตัวบ้านหลัก เพราะการทรุดตัวที่ไม่เท่ากันของบ้านหลักและส่วนต่อเติม จะทำให้เกิดการแยกตัวที่ทำความเสียหายให้ทั้งส่วนที่ต่อเติม และจะพลอยดึงโครงสร้างบ้านเดิมให้เสียหายไปด้วยได้

ถัดมาคือเรื่อง “วัสดุมุงหลังคา” ที่เห็นมีขายในท้องตลาดนั้นก็มีค่อนข้างหลากหลายเช่นกัน และบางชนิดก็มีลักษณะและคุณสมบัติที่คล้ายๆ กันอีกด้วย เราจะยกตัวอย่างมาเฉพาะวัสดุเด่นๆ ที่เป็นที่นิยมในท้องตลาดดังนี้ค่ะ

  • หลังคากระเบื้องลอนคู่

ค่อนข้างเป็นที่นิยม เพราะมีราคาถูก ดูแลรักษาง่าย สามารถเลือกเปลี่ยนเฉพาะแผ่นที่เสียหายได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนกระเบื้องใหม่ทั้งแผง ส่วนใหญ่ทำมาจากไฟเบอร์ซีเมนต์ แข็งแรง และมีอายุการใช้งานที่ยืนยาว แถมเวลาเกิดฝนตกก็จะไม่ส่งเสียงดังรบกวนอีกด้วย

ข้อเสียคือ มีน้ำหนักเยอะ ดังนั้นโครงสร้างหลังคาจึงต้องแข็งแรงมากส่วนหนึ่ง รวมถึงมักจะเกิดปัญหารั่วซึมผ่านรอยต่อได้ง่าย จึงต้องคอยปิดจุดรั่วต่างๆดีๆหน่อยนะ

  • หลังคาโพลีคาร์บอเนต

ทำมาจากเม็ดพลาสติก ลักษณะเป็นลอนฟูก มีคุณสมบัติโปร่งแสงและน้ำหนักเบา สามารถดัดรูปร่างให้โค้งได้ตามต้องการ จึงมักนิยมใช้กับหลังคาหรือกันสาดที่มีรูปทรงโค้ง มีราคาถูก และมีสีสันให้เลือกเยอะ

ข้อเสียคือ เมื่อได้รับความร้อนจะมีการขยายตัวค่อนข้างสูง และหดตัวลงเมื่ออุณหภูมิลดลง ซึ่งส่งผลต่อความแข็งแรงของวัสดุที่อาจเกิดเปราะแตกได้ง่าย และเมื่อเกิดรอยร้าว ช่องว่างภายในก็จะมีฝุ่นและคราบตะไคร่น้ำเข้าไปสะสม ทำให้สกปรกและไม่สามารถทำความสะอาดจากภายนอกได้ และหากแผ่นหลังคาเกิดความเสียหาย ก็จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนใหม่หมดทั้งผืนค่ะ

  • หลังคาเมทัลชีท

ทำมาจากเหล็กที่ผ่านกระบวนการรีดจนบาง ก่อนจะขึ้นรูปเป็นลอนยาว ด้วยเหตุนี้เองจึงช่วยลดเรื่องการรั่วซึมของน้ำฝนได้ค่อนข้างดี อีกทั้งยังมีหลากหลายสีสันให้เลือก และมีราคาที่ไม่แพงมากอีกด้วย

ข้อเสียคือ ด้วยความที่เป็นเหล็กจึงกักเก็บและแผ่รังสีความร้อน ซึ่งค่อนข้างเยอะกว่าวัสดุชนิดอื่น (ปัจจุบันจึงมักติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติมด้วย) อีกทั้งยังมักจะเกิดเสียงดังเวลามีฝนตก และความบางของเหล็กเมื่อผ่านระยะเวลานานๆ จะเกิดการชำรุดและผิดรูปได้ง่าย

  • หลังคาไฟเบอร์กลาส

ผลิตมาจากเส้นใยแก้ว ซึ่งมีคุณสมบัติกึ่งโปร่งแสง เวลามีแสงตกกระทบเราจะเห็นเส้นใยจำนวนมากอยู่ภายใน ซึ่งแสงส่องจะผ่านได้ในปริมาณที่ไม่ได้รู้สึกร้อนจนเกินไป เพราะด้านบนมักเคลือบสารกัน UV เพื่อยืดอายุการใช้งาน น้ำหนักค่อนข้างเบาและมีความยืดหยุ่น จึงสามารถดัดเป็นหลังคาทรงโค้งได้อีกด้วย

ข้อเสียคือ มีราคาค่อนข้างสูง และเวลาฝนตกหนักๆ อาจเกิดเสียงดังรบกวนอยู่บ้าง อีกทั้งเวลาใช้งานผ่านไปนานๆ สีก็อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้างตามกาลเวลา

ขอบคุณรูปจาก www.wazzadu.com

  • หลังคากระจกลามิเนต

ประกอบด้วยกระจก 2 แผ่นประกบกันโดยมีฟิล์มกัน UV อยู่ตรงกลาง หากกระจกแตกจะเกาะกับฟิล์มไม่ร่วงหล่นลงมาทำอันตราย ส่วนใหญ่เลือกใช้กระจกเทมเปอร์ซึ่งเมื่อแตกจะมีลักษณะเหมือนเม็ดข้าวโพดไม่แหลมคม ข้อดีของการใช้กระจกเป็นหลังคากันสาดคือ เวลาฝนตกจะไม่ค่อยมีเสียงรบกวนมากนัก มีหลายสีให้เลือก ทั้งสีฟิล์มและสีกระจก เนื้อกระจกใสมองเห็นบรรยากาศภายนอกชัดเจน

ข้อเสียคือ ควรหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำ เพราะจะสกปรกได้ง่าย สิ่งที่สำคัญคือต้องติดตั้งให้ถูกวิธีโดยช่างผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ มีโครงสร้างรองรับที่แข็งแรง ราคาจะสูงกว่าหลังคาแบบอื่นๆ หน่อย แต่จะราคาเท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับประเภทกระจกและความหนาที่เลือกใช้

  • หลังคาอะคริลิก

แผ่นโปร่งแสงอะคริลิกมีพื้นผิวเรียบ มีความใสเทียบเท่ากระจกแต่น้ำหนักเบากว่ามาก เนื้อเหนียว ดัดโค้งได้ ไม่กรอบหรือแตกลายงา ไม่เป็นฝ้า มีทั้งรุ่นธรรมดาที่กรองแสงแดดได้ระดับหนึ่งและรุ่นที่กรองแสงและป้องกันความร้อนได้มากขึ้น

ข้อควรระวัง คือ ต้องติดตั้งตามมาตรฐานตามระยะโครงสร้างที่บริษัทกำหนด หรือต้องติดตั้งด้วยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ต้องระวังรอยขีดข่วนจากของมีคมช่วงการติดตั้ง ดูแลรักษาง่ายเพียงทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า หรือน้ำสบู่อ่อนๆ ก็เพียงพอแล้ว

ในส่วนของวัสดุหลังคาให้เลือกตามงบประมาณและความชอบได้เลยว่าจะเป็นแบบทึบแสงหรือโปร่งแสงดี แต่แนะนำว่าอย่าใช้วัสดุแบบโปร่งแสงในพื้นที่หลังบ้านทั้งหมด เพราะจะทำให้ห้องครัวร้อนเกินไป เหมาะจะใช้วัสดุโปร่งแสงแค่บางส่วนเท่านั้น เช่น บริเวณที่จะใช้ตากผ้า ปลูกต้นไม้ เป็นต้น


3. โครงสร้างผนังครัว ในกรณีการต่อเติมหลังบ้านน้ำหนักเป็นเรื่องสำคัญ Keyword มันอยู่ที่ว่ายิ่งทำให้เบาได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะจะทำให้ส่วนต่อเติมมีการทรุดตัวช้าลง ซึ่งวัสดุน้ำหนักเบาที่เราเห็นว่านิยมใช้ในการต่อเติมหลังบ้านมี 3 ชนิดได้แก่

ขอบคุณรูปภาพจาก https://howtosteel.wordpress.com/

  • ผนังก่ออิฐมวลเบา

เป็นวัสดุก่อสร้างที่ได้รับความนิยมในการต่อเติมมากในปัจจุบัน เพราะ เป็นอิฐที่มีฟองอากาศเล็กๆ เป็นรูพรุนไม่ต่อเนื่องอยู่ในเนื้อวัสดุประมาณ 75% จึงมีน้ำหนักเบา ช่วยประหยัดโครงสร้าง และฟองอากาศเหล่านี้ยังเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดี ทนทานต่อไฟ แข็งแรง รับแรงกดได้มาก สะดวกในการก่อสร้างและใช้เวลาไม่นาน

ข้อเสีย อยู่ตรงที่มีราคาสูงกว่าอิฐชนิดอื่นๆ และต้องการช่างที่มีประสบการณ์และฝีมือดี จึงจะได้ผนังที่มีคุณภาพ

  • ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์ หรือสมาร์ทบอร์ด

ผลิตจากปูนซีเมนต์ผสมเส้นใยเซลลูโลส (ปลอดใยหิน) ผสมทรายซิลิกา แล้วนำไปอบไอน้ำแรงดันสูง มีข้อดีที่น้ำหนักเบากว่าพวกอิฐ ดัดโค้งได้ ทนแดด ทนฝน ผิวด้านหนึ่งเรียบสามารถทำผนังโชว์ผิวได้เลย

ข้อเสีย คือ การฉาบรอยต่อระหว่างแผ่นทำให้เนียนยาก จึงเจาะ ตัด ซ่อมแซมได้ยากกว่า และถ้าใช้ในพื้นที่มีความสูงชื้นสูงมากๆ ต้องทาเคลือบกันความชื้นไว้ก่อน เพื่อกันสีลอกร่อน

  • ไม้ระแนงเทียม

ถ้าต้องการความโปร่งหน่อยก็แนะนำเป็นไม้ระแนงเทียม จะมีน้ำหนักที่เบากว่าไม้จริง มีการติดตั้งที่ง่ายกว่า มีสีที่คล้ายธรรมชาติ แต่ผิวสัมผัสให้ความเงามากกว่า นอกจากนี้มีคุณสมบัติที่ทนแดด ทนฝน และไม่ต้องกังวลปัญหาเรื่องปลวกค่ะ

ข้อเสีย คือมีราคาสูงนั่นเอง

การเลือกประเภทผนังต้องดูให้สัมพันธ์กับฐานรากด้วยว่าแข็งแรงขนาดไหน หากไม่ได้ลงเสาเข็มยาวไว้ ก็แนะนำให้เลือกใช้ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์จะช่วยลดน้ำหนักของห้องครัวไปได้


4. วัสดุปิดผิวพื้นและผนัง ซึ่งในท้องตลาดปัจจุบันมีอยู่ค่อนข้างหลากหลายเลยนะคะ โดยในที่นี้เราขอหยิบยกวัสดุ 3 แบบมาให้ดู ซึ่งเป็นที่นิยมและพบเห็นได้บ่อยที่สุด ประกอบด้วย

  • กระเบื้องพื้น/ผนังแกรนิตโต้

เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะมีลวดลายและสีสันให้เลือกหลากหลาย ราคาขึ้นอยู่กับเกรดของกระเบื้องที่เลือก ซึ่งมีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน สามารถติดตั้งและทำความสะอาดได้ง่าย โดยเราควรเลือกแบบที่เหมาะสมกับการใช้งานของพื้นที่คือ กระเบื้องสำหรับใช้งานภายนอก แบบผิวด้านกันลื่น เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน และมีคุณสมบัติที่สามารถรับน้ำหนักเยอะๆได้ดี

  • กระเบื้องพื้น/ผนังเซรามิค

เป็นกระเบื้องที่ผ่านการเผา 1 หรือ 2 ครั้งตามลักษณะการใช้งาน มีทั้งแบบเคลือบและ ไม่เคลือบ ถ้าเคลือบผิวจะมันหน่อยถ้าไม่เคลือบผิวจะด้าน มีขนาดหลากหลายและมีโทนสีสไตล์ต่างๆ ให้เลือกใช้มากที่สุด แต่ต้องระวังในการเลือกใช้ว่าอย่าเอากระเบื้องปูผนังไปปูพื้น เพราะความแข็งแรงของกระเบื้องจะแตกต่างกัน คุณสมบัติของกระเบื้องชนิดนี้จะแข็งแรงทนทาน ดูแลรักษาง่าย แต่ไม่ทนต่อรอยขีดข่วน และลื่นเมื่อเปียกน้ำ นิยมใช้ปูผนังในห้องครัวค่ะ

  • ผนังฉาบเรียบทาสี

หากไม่ได้มีงบประมาณในการปูกระเบื้องห้องครัวก็สามารถทาสีเอาได้นะ แต่อาจไม่ได้สวยงามเหมือนการปูกระเบื้อง และเวลาเกิดรอยแตกร้าวก็จะสังเกตเห็นได้ง่าย เหมาะกับคนที่ไม่ซีเรียสเรื่องความสวยงามนัก หรืออยากประหยัดงบประมาณในการตกแต่งบ้าน

ส่วนใหญ่แล้วการเลือกวัสดุปิดผิวพื้นและผนังห้องครัวจะขึ้นอยู่กับสไตล์ในการตกแต่งมากกว่า เพราะกระเบื้องเหล่านี้ก็มีลวดลายให้เลือกอีกมาก แนะนำว่า ในส่วนของผนังที่อยู่ใกล้เคาน์เตอร์ครัว ควรมีการปูกระเบื้องเพื่อให้เช็ดทำความสะอาดง่ายค่ะ


5. เคาน์เตอร์ครัว มาถึงส่วนที่บ่งบอกประโยชน์การใช้สอยของห้องได้มากที่สุด ก็คือเคาน์เตอร์ครัวนั่นเอง ถึงตอนที่ต้องเลือกเคาน์เตอร์แล้ว หลายๆ คนคงมีคำถามว่าจะเลือกแบบ “ก่อปูน-บิวท์อิน-สำเร็จรูป” แบบไหนดี? ซึ่งเรื่องนี้ทางทีมงานเคยอธิบายไว้อย่างละเอียดในบทความ เคาน์เตอร์ครัว “ก่อปูน-บิวท์อิน-สำเร็จรูป” เลือกแบบไหนให้เหมาะกับบ้าน ซึ่งคลิกเข้าไปรายละเอียดกันต่อได้เลย ในบทความนี้เราจะสรุปราคาของเคาน์เตอร์แต่ละแบบมาให้ละกันนะ

“ครัวปูน” เป็นแบบที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ ในโครงการบ้าน เพราะเหมาะจะใช้ทำครัวหนัก ครัวไทย ที่มีอุปกรณ์ทำครัวเยอะ ต้องการความแข็งแรงในการใช้งาน และยังมีราคาถูกที่สุดด้วย สำหรับ “ครัวสำเร็จรูป” จะเหมาะกับคนที่ชอบความสวยงามของเคาน์เตอร์ มีหลายขนาดให้เลือก แต่เราก็ต้องเลือกรูปแบบที่เข้ากับขนาดของห้องครัว แต่ด้วยความที่โครงส่วนใหญ่เป็นไม้จึงไม่เหมาะกับการใช้งานที่หนักมาก สุดท้ายคือ “ครัว Built-in” ที่เหมาะจะใช้ในพื้นที่จำกัด มีความเฉพาะตัว ได้เคาน์เตอร์ที่สวยงาม พอดีกับขนาดของห้อง แต่ก็มีราคาแพงที่สุดเช่นกัน


พอจะทราบลักษณะของวัสดุและราคากันแล้ว ต่อไปเราจะลองเอาค่าของและค่าติดตั้งวัสดุต่างๆ มาประกอบร่างกันดูนะคะ ย้ำอีกครั้งว่าค่าก่อสร้างที่ออกมา เป็นเพียงการเอาราคาของโครงสร้างหลักๆ มาบวกกันเท่านั้น ยังไม่ได้รวมค่าติดตั้งระบบไฟ และเฟอร์นิเจอร์ Built-in อื่นๆ ที่ไม่ใช่โครงสร้างหลัก และเวลาที่ผู้รับเหมาคิดราคามา ก็มักบวกกำไรเพิ่มเข้าไปอีกประมาณ 15 – 20% ลองไปดูตัวอย่างกันเลย

Case Study ของคุณโกมุนยอง ที่ต้องการต่อเติมครัวให้เป็นแบบบ้านตัวอย่าง สมมุติว่าพื้นที่หลังบ้านไม่ได้ลงเสาเข็มมาให้ ทำให้โกมุนยองเลือกต่อเติมโครงหลังคาแบบตั้งเสาเพิ่มทั้งหมดเพื่อไม่ให้น้ำหนักของครัวไปฝากไว้กับตัวบ้านหรือรั้ว ค่าใช้จ่ายหลักๆ จะประกอบด้วย

  • เสาเข็มไมโครไพล์ 4 ต้น = 13,000 x 4 = 52,000 บาท
  • พื้นคอนกรีต 11 ตร.ม. = 250 x 11 = 2,750 บาท
  • หลังคาเมทัลชีท 11 ตร.ม. = 1,500 x 11 = 16,500 บาท
  • พื้นกระเบื้องแกรนิตโต้ 11 ตร.ม. = 500 x 11 = 5,500 บาท
  • ก่อผนังอิฐมวลเบาเพิ่ม (ฝั่งเดียวกับรั้ว) 12 ตร.ม. = 500 x 12 = 6,000 บาท
  • เคาน์เตอร์ครัว Built-in พร้อมตู้ลอย 3 เมตร = 17,000 x 3 = 51,000 บาท
  • ทาสีผนัง 15 ตร.ม. = 80 x 15 = 1,200 บาท
  • ฝ้าเพดาน 11 ตร.ม. = 300 x 11 = 3,300 บาท
  • ดังนั้น รวมค่าใช้จ่ายหลักๆ ของครัวอยู่ที่ 138,250 บาท
  • ลองคิดเล่นๆ ว่าผู้รับเหมาจะต้องคิดกำไรบวกเพิ่มเข้าไปอีก 15% ~ 159,000 บาท

ราคานี้ยังไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว เช่น เตาแก๊ส เครื่องดูดควัน ซิงค์ล้างจาน ซึ่งมีช่วงราคาที่หลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับเจ้าของบ้านจะเลือกใช้เลยค่ะ


หรือหากพื้นที่ครัว 11 ตร.ม. เท่ากันแต่ต้องการหลังคาห้องครัวที่มีแสงธรรมชาติส่องผ่านตามแบบบ้านตัวอย่างด้านล่างนี้ ลองมาคิดราคาคร่าวๆ กันดูค่ะ

  • เสาเข็มไมโครไพล์ 4 ต้น = 13,000 x 4 = 52,000 บาท
  • พื้นคอนกรีต 11 ตร.ม. = 250 x 11 = 2,750 บาท
  • หลังคาเมทัลชีท 9 ตร.ม. = 1,500 x 11 = 13,500 บาท
  • หลังคาอะคริลิก 2 ตร.ม. = 6,000 x 2 = 12,000 บาท
  • พื้นกระเบื้องแกรนิตโต้ 11 ตร.ม. = 500 x 11 = 5,500 บาท
  • ก่อผนังอิฐมวลเบาเพิ่ม (ฝั่งเดียวกับรั้ว) 12 ตร.ม. = 500 x 12 = 6,000 บาท
  • เคาน์เตอร์ครัว Built-in พร้อมตู้ลอย 3 เมตร = 17,000 x 3 = 51,000 บาท
  • ทาสีผนัง 15 ตร.ม. = 80 x 15 = 1,200 บาท
  • ฝ้าเพดาน 11 ตร.ม. = 300 x 11 = 3,300 บาท
  • ดังนั้น ราคารวมจะอยู่ที่ 147,250 บาท
  • บวกกำไรของผู้รับเหมาเพิ่มเข้าไปอีกประมาณ 15% ~ 169,300 บาท

ราคานี้ยังไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว ทั้งเตาแก๊ส เครื่องดูดควัน ซิงค์ล้างจาน มีช่วงราคาที่หลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับเจ้าของบ้านจะเลือกใช้เลยค่ะ


…จบไปแล้วนะคะสำหรับบทความ “งบ 1-2 แสนต่อเติมครัวทาวน์โฮมให้ถูกกฎหมายแบบไหนได้บ้าง” หวังว่าจะเป็นประโยชน์และช่วยในการตัดสินใจเลือกวัสดุในการต่อเติมครัวหลังบ้านของใครหลายๆคนได้นะคะ

และหากใครที่มีประสบการณ์ในการใช้งานวัสดุประเภทไหนอยู่ ก็สามารถมาแชร์กันได้ที่ comment ด้านล่างนี้ได้เลย และคราวหน้า ThinkofLiving จะมีบทความดีๆอะไรมาฝากกันอีก อย่าลืมติดตามกันด้วยนะ