พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

ความเร่ง คือ ความชันของเส้นตรงที่ลากผ่านจุด 2 จุด ที่โจทย์กำหนด ( คิดในแบบเดียวกับการหาความเร็วจากกราฟการกระจัดกับเวลา )

ความเร่งขณะใดขณะหนึ่ง คือ ความชันของเส้นตรงที่สัมผัสจุดที่โจทย์กำหนด (คิดในแบบเดียวกับการหาความเร็วขณะใดขณะหนึ่งจากกราฟการกระจัดกับเวลา)

เตรียมความพร้อมก่อนเปิดเทอมที่จะถึง กับเฉลยโจทย์ ฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 สำหรับน้องๆ ที่กำลังจะขึ้นชั้น ม.4 ได้เตรียมตัวล่วงหน้า ได้เห็นเนื้อหาก่อนเรียนจริง เมื่ออยู่ในห้องเรียนจะได้รับมือได้ทัน คว้าเกรด 4 ได้ก่อนใคร

เนื้อหาตามหลักสูตร สสวท. 2560 ฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1

ในหลักสูตรฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 น้องๆ จะได้เรียนทั้งหมด 3 บทเรียนใหญ่ๆ นั่นคือ ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์, การเคลื่อนที่แนวตรง, แรงและกฎการเคลื่อนที่

ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์

ในบทนี้น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ การวัดและการบันทึกผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ การเปลี่ยนหน่วย หน่วยในระบบ SI เลขนัยสำคัญ ความไม่แน่นอนในการวัด, การทดลองทางฟิสิกส์ เนื้อหาบทนี้จะไม่ยาก เหมือนแนะนำพื้นฐาน สิ่งที่จำเป็นสำหรับการเรียนฟิสิกส์มากกว่า น้องๆ จะได้เจอเนื้อหาจากบทนี้ในอีกทุกๆ บทในฟิสิกส์แน่นอน โดยเฉพาะการเปลี่ยนหน่วย

การเคลื่อนที่แนวตรง

บทนี้น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับ ตำแหน่ง การกระจัดและระยะทาง อัตราเร็วและความเร็ว ความเร่ง การหาปริมาณต่างๆ จากกราฟ สมการการเคลื่อนที่แนวตรง และการตกอย่างเสรี

แรงและกฎการเคลื่อนที่

บทสุดท้ายนี้น้องๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับเรื่อง แรง แผนภาพวัตถุอิสระ การหาแรงลัพธ์ มวลและกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน แรงเสียดทาน แรงดึงดูดระหว่างมวล

ตัวอย่างโจทย์จาก คอร์สเก่งฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1

ข้อนี้เป็นเรื่องการเปลี่ยนหน่วยในทางฟิสิกส์ ซึ่งน้องๆ จะต้องเจอการเปลี่ยนหน่วยแบบนี้เยอะมากในโจทย์ฟิสิกส์ แล้วเป็นส่วนที่น้องๆ ต้องระวังด้วยว่าโจทย์จะให้ตอบหน่วยอะไร

โดยที่ข้อแรก 1 nm = 10-9 m  ข้อที่สอง 1 MW = 106 W และข้อสุดท้าย ตารางมิลลิเมตร (mm2) มันคือการที่ mm คูณกัน 2 ทีอยู่ ต้องเปลี่ยนหน่วยทั้ง 2 ตัวเลยนะ และ 1 mm = 10-3 m

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

ข้อนี้เป็นเรื่องเลขนัยสำคัญ การคูณของเลขนัยสำคัญให้ยึดตัวที่น้อยที่สุดเป็นหลัก ในข้อนี้ 4.0 มี 2 ตัวซึ่งน้อยกว่า 36.0 ที่มี 3 ตัว ดังนั้นต้องตอบเป็นเลขนัยสำคัญ 2 ตัว

ตัวเลขสัญกรวิทยาศาสตร์ เลขนัยสำคัญจะนับแค่ตัวหน้า ดังนั้น 1.4 x102  จะมีเลขนัยสำคัญ 2 ตัวตามเงื่อนไขพอดี

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

ข้อนี้เป็นเรื่องการวิเคราะห์ปริมาณต่างๆ จากกราฟ โดยข้อย่อยแรกโจทย์ให้หาความเร่ง ซึ่งหาได้จากความชันของกราฟ ซึ่งกราฟนี้ความชันเท่ากันทุกจุด หาจากจุดไหนก็ได้ ข้อนี้หาจากจุด (4,4) และ (8,6) ซึ่งเป็นจุดที่น่าจะดูได้ง่ายที่สุด

และข้อย่อยต่อมาการกระจัดหาได้จากพื้นที่ใต้กราฟ ซึ่งโจทย์ต้องการช่วงเวลา 0-4 วินาที

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

โจทย์ถามขนาดของความเร็วเฉลี่ย ซึ่งคำตอบจะเป็นค่าบวก ต่อให้เราคิดได้เป็นลบ ก็ต้องตอบเป็นบวก ซึ่งถ้าดูจากแผนภาพจะเห็นว่าทิศทางบวกมีค่ามากกว่าทิศทางลบ ซึ่งยังไงคำตอบก็เป็นบวกอยู่แล้ว

การกระจัดคือ 20-2 เพราะการกระจัดนับแค่จุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้ายนั่นเอง และเวลาที่ใช้ทั้งหมด คือ 4+1

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

โจทย์ถามว่าต้องใช้เวลานานเท่าไรรถจึงมีความเร็วเฉลี่ยเป็นสองเท่าของความเร็วต้น นั่นคือ vเฉลี่ย = 2u และ vเฉลี่ย = (v+u)/2 จาก 4 สูตรการเคลื่อนที่ สูตรที่มีตัวแปรที่โจทย์ให้มา และที่โจทย์ต้องการในสูตรเดียวคือ v = u+at

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

การเขียนแผนภาพแรงที่กระทำต่อมวลแต่ละก้อน น้องๆ จะได้เจออีกทีตอนที่เรียนกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ∑F = ma และจะได้เขียนแผนภาพแรงแบบนี้ในบทอื่นๆ ของวิชาฟิสิกส์ด้วย สำคัญมาก เมื่อน้องๆ เรียนชั้น ม.4 แล้วต้องเข้าใจเรื่องนี้ให้ได้เลยนะ ไม่งั้นลำบากแน่ตอนเรียนระดับชั้นต่อไปในอนาคต

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

โจทย์ข้างต้นนี้เป็นโจทย์ส่วนนึง จากในคอร์สเก่งฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 ของ Dek-D School เมื่อเปิดเทอมแล้วน้องๆ จะได้เจอโจทย์ลึกและซับซ้อนกว่านี้มาก แต่ถ้าน้องๆ ทำโจทย์ข้างต้นนี้ได้ น้องๆ ก็มีพื้นฐานแล้วแน่นอน เมื่อถึงเวลาเรียนก็จะเข้าใจตามที่ครูสอนได้ทันที

ภายในคอร์สเก่งฟิสิกส์ ม.4 เทอม 1 ยังมีโจทย์แบบนี้ให้น้องๆ ได้เรียนอีกเพียบ พร้อมเฉลยแบบละเอียด โจทย์มีตั้งแต่โจทย์พื้นฐานไปจนถึงระดับยากๆ พร้อมทั้งมีสรุปเนื้อหาแบบเข้าใจง่าย รู้คอนเช็ปต์ของเนื้อหา อธิบายที่มาที่ไปของสูตรต่างๆ ไม่สอนให้ท่องจำสูตรไปดื้อๆ แนะนำจุดที่น้องๆ ชอบพลาดและเข้าใจผิด เนื้อหาตรงตามหลักสูตรแกนกลาง 2560 ดังนั้นเนื้อหาเหมือนกับที่โรงเรียนสอนแน่นอน คอร์สนี้สอนโดย อ.หลิน (ดร. สลิลพร กิตติวัฒนากูล) อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาฯ และตัวแทนแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับนานาชาติ

ถ้าน้องๆ สนใจคอร์สเรียน สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่กล่องด้านล่างเลย คอร์สนี้จะมีอายุคอร์ส 6 เดือน น้องๆ สามารถเรียนและเรียนซ้ำแค่ไหนก็ได้ใน 6 เดือน และยังสามารถเรียนได้ทุกที่ รวมทั้งถ้ามีข้อสงสัยสามารถถามอ.หลิน ที่ใต้วิดีเรียนได้เลย เมื่ออาจารย์หลินมาตอบก็จะมีแจ้งเตือนส่งกลับไปหาน้องๆ ทันทีเลย

ไฟฟ้าดวงแรกสว่างไสวในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2427

พ.ศ. 2441 ก่อตั้งบริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัด

โรงไฟฟ้าเอกชนแห่งแรกของไทย บริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัด โอนกิจการมาจากบริษัทบางกอก อิเลกตริกไลท์ ชิกดีแคท เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2441 และสร้างโรงไฟฟ้าวัดเลียบตามมา

พ.ศ. 2457 “กองไฟฟ้าหลวงสามเสน” จ่ายกระแสไฟฟ้าในพระนครและธนบุรี

พ.ศ. 2455 สมัยรัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯให้ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาล ดำเนินการสร้างการประปาและโรงไฟฟ้าที่สามเสนไปพร้อมๆ กัน โดยโรงไฟฟ้าสามเสนได้ก่อสร้างแล้วเสร็จและเดินเครื่องจำหน่ายไฟฟ้าได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ใช้ชื่อว่า “การไฟฟ้าหลวงสามเสน” เป็นรัฐพาณิชย์

ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น “กองไฟฟ้าหลวงสามเสน ”ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย กิจการไฟฟ้าเริ่มเป็นปึกแผ่น ประชาชนในพระนคร และธนบุรีมีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างกว้างขวาง โดยบริษัทไฟฟ้าสยาม จำกัด (โรงไฟฟ้าวัดเลียบ) รับผิดชอบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่พื้นที่บริเวณตอนใต้ของคลองบางลำภู และคลองบางกอกน้อย ส่วนบริเวณตอนเหนือของคลองดังกล่าวให้กองไฟฟ้าหลวงสามเสนรับผิดชอบ

พ.ศ. 2472 จัดตั้ง “แผนกไฟฟ้า” กระทรวงมหาดไทย

พ.ศ. 2472 กิจการไฟฟ้าต่างจังหวัดเกิดขึ้นครั้งแรกที่สุขาภิบาลเมืองราชบุรีและเมืองนครปฐม ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 กิจการไฟฟ้าได้ขยายไปยังสุขาภิบาลอีกหลายแห่ง อาทิ เช่น เมืองปราจีนบุรี, ภูเก็ต, นครนายก, ชลบุรี, บ้านโป่ง, จันทบุรี, และเชียงใหม่

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 ได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ และได้จัดตั้ง กรมโยธาเทศบาลขึ้น แผนกไฟฟ้าจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กองไฟฟ้า สังกัดกรมโยธาเทศบาล

พ.ศ. 2488 โรงไฟฟ้าวัดเลียบและโรงไฟฟ้าสามเสนเกิดความเสียหาย

พ.ศ. 2482 สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในยุโรป ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 8 “ประเทศสยาม” ได้มีการ เปลี่ยนชื่อเป็น“ประเทศไทย” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 รวมทั้ง “บริษัท ไฟฟ้าสยาม จำกัด” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท ไฟฟ้าไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด” เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2482 ด้วยเช่นกัน

และเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2488 โรงไฟฟ้าวัดเลียบและโรงไฟฟ้าสามเสน ได้ถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทิ้งระเบิดจนเสียหายใช้การไม่ได้ ทำให้พระนครและธนบุรีตกอยู่ในความมืดมิด ประชาชนไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้  ต่อมาบริษัท ไฟฟ้าไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้จัดการซ่อมโรงไฟฟ้าวัดเลียบ ที่ได้รับความเสียหายไม่มากนักให้ใช้การได้ โดยใช้เวลาเพียง 2 เดือนเศษ สำหรับโรงไฟฟ้าสามเสนถูกระเบิดทำลายเสียหายมาก การดำเนินการซ่อมโรงไฟฟ้าสามเสนต้องใช้เวลาถึง 4 ปี จึงสามารถเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าได้เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2492

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ
พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

โรงไฟฟ้าวัดเลียบ
ภาพประกอบจากหนังสือแสงแห่งสยาม

พ.ศ. 2493 จัดตั้ง “การไฟฟ้ากรุงเทพฯ”

พ.ศ. 2493 ได้จัดตั้ง “การไฟฟ้ากรุงเทพฯ” เพื่อรับกิจการของ บริษัท ไฟฟ้าไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งหมดอายุสัมปทาน

พ.ศ. 2494 จัดตั้ง “ คณะกรรมการพิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าทั่วราชอาณาจักร ” ซึ่งต่อมาใน ปี พ.ศ. 2495 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ คณะกรรมการไฟฟ้าและพลังงานแห่งประเทศไทย ” และในปี พ.ศ. 2496 ได้เปลี่ยนเป็น “ สำนักงานพลังงานแห่งชาติ ” ปัจจุบันมีฐานะเป็น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

พ.ศ. 2496 สร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ ที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก

การไฟฟ้ายันฮี ได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ ที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ชื่อเดิม “เขื่อนยันฮี”  ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 7 ปี มีสายส่งเชื่อมโยงกับจังหวัดต่างๆและได้เดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าให้แก่ภาคเหนือ คือ จังหวัดลำปาง ลำพูนและเชียงใหม่ ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามว่า “ เขื่อนภูมิพล ” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดเขื่อนและโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2507

พ.ศ. 2497 จัดตั้ง “องค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนท์”

พ.ศ. 2497 ได้จัดตั้ง“ องค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนท์ ” ซึ่งต่อมาปลายปี พ.ศ. 2503 ได้ยกฐานะเป็น “การลิกไนท์”รับผิดชอบผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าในภาคใต้

พ.ศ. 2497 จัดตั้ง “องค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค” ซึ่งต่อมาได้รับการยกฐานะ เป็น “การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ”เมื่อปี พ.ศ. 2503 รับผิดชอบการจำหน่ายไฟฟ้าทั่วประเทศไทย ยกเว้นในเขตนครหลวง

พ.ศ. 2500 จัดตั้ง “การไฟฟ้ายันฮี”

“การไฟฟ้ายันฮี” รับผิดชอบการผลิตไฟฟ้าให้ภาคกลางกับภาคเหนือ โดยได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนภูมิพล ที่จังหวัดตาก และก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อน (พลังไอน้ำ) ขนาดใหญ่มีกำลังผลิต 75 เมกะวัตต์ ที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันเรียกว่า “โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ” ซึ่งนับว่าเป็นโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในขณะนั้น เริ่มเดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้าได้เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2504 โดยส่งกระแสไฟฟ้าไปตามสายส่งไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมโยงกับโรงไฟฟ้าสามเสน

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ได้มีการจัดตั้ง” การไฟฟ้านครหลวง ” ขึ้น โดยรวมกิจการของการไฟฟ้ากรุงเทพฯ และกองไฟฟ้าหลวงสามเสน รับผิดชอบการจำหน่ายไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ (พระนคร ธนบุรี) นนทบุรี และสมุทรปราการ

พ.ศ. 2502 สายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาดแรงดันไฟฟ้า 69 กิโลโวลต์ สายแรกของไทย

การลิกไนท์ ได้ก่อสร้างโรงจักรแม่เมาะ ที่จังหวัดลำปาง ขนาด 6.25 เมกะวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง โดยโรงไฟฟ้าแห่งนี้ใช้ถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะเป็นเชื้อเพลิง และเชื่อมโยงกับตัวจังหวัดด้วยสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาดแรงดันไฟฟ้า 69 กิโลโวลต์ ซึ่งนับว่าเป็นสายส่งไฟฟ้าแรงสูงสายแรกของไทย ทำให้จังหวัดลำปางมีไฟฟ้าใช้อย่างมั่นคง ต่อมาได้เชื่อมสายส่งไฟฟ้าไปใช้ในงานก่อสร้างเขื่อนภูมิพล ที่จังหวัดตาก และยังได้ก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าเชื่อมต่อจากจังหวัดลำปางไปยังจังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ
พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

การไฟฟ้ายันฮี โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ
ภาพประกอบจากหนังสือแสงแห่งสยาม

พ.ศ. 2504 เปิดโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ

โรงไฟฟ้าพระนครเหนือก่อสร้างแล้วเสร็จและเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้า ทำให้ภาวะขาดแคลนไฟฟ้าในเขตพระนครและธนบุรียุติลง ต่อมาได้มีพิธีเปิดโรงไฟฟ้าในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ในสมัยนั้นเป็นประธานพิธีร่วมกับรองประธานาธิบดีลินคอน บี. จอห์นสัน ของสหรัฐอเมริกา

จากสถานการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การไฟฟ้ายันฮี (กฟย.) จึงได้ดำเนินการก่อสร้างหน่วยผลิตไฟฟ้าเครื่องที่ 2 ที่โรงไฟฟ้าพระนครเหนือในต้นปี พ.ศ. 2505 ซึ่งสามารถดำเนินการแล้วเสร็จและจ่ายไฟฟ้าได้กลางปี พ.ศ. 2506

พ.ศ. 2505 รัฐบาลจัดตั้ง “การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ”

รัฐบาลได้จัดตั้ง “การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ” ขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยในระยะแรกได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และเขื่อนน้ำพุง จังหวัดสกลนคร

พ.ศ. 2507 การลิกไนท์เปิดเหมืองลิกไนต์ที่จังหวัดกระบี่และก่อสร้างโรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่

การลิกไนท์ได้เปิดเหมืองลิกไนต์ที่จังหวัดกระบี่และก่อสร้างโรงไฟฟ้าลิกไนต์กระบี่เดิม ขนาดกำลังผลิตรวม 60 เมกะวัตต์ แต่ความต้องการไฟฟ้าของภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันตกเพิ่มสูงขึ้น โดยนำถ่านลิกไนต์มาใช้เป็นเชื้อเพลิง สามารถเดินเครื่องจ่ายไฟฟ้าได้ในปี พ.ศ. 2507 และได้เชื่อมโยงสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจากโรงไฟฟ้ากระบี่ไปยังจังหวัดต่างๆ ผลิตไฟฟ้าส่งให้ได้ถึง 7 จังหวัด

ปัจจุบันโรงไฟฟ้ากระบี่ได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถใช้เชื้อเพลิงน้ำมันปาล์มร่วมกับน้ำมันเตาเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล ช่วยพยุงราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำ แต่จะดำเนินการเมื่อได้รับคำสั่งการจากรัฐบาลเท่านั้น ปัจจุบันได้ถูกกำหนดให้เป็นโรงไฟฟ้าชนิด “Reserved Shutdown” มีหน้าที่เสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2538

พ.ศ. 2512-2534

  • พ.ศ. 2512 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ถือกำเนิดขึ้นจากการรวมกิจการระหว่างการไฟฟ้ายันฮี การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือและการลิกไนท์
  • พ.ศ. 2515 เปิดโรงไฟฟ้าพระนครใต้
  • พ.ศ. 2524 จุดเริ่มต้นยุคแห่งความโชติช่วงชัชวาล
  • พ.ศ. 2525 สร้างเขื่อนรัชชประภา  
  • พ.ศ. 2525 สายส่งแรงสูงขนาด 500 กิโลโวลต์เส้นแรกของไทย
  • พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดโรงไฟฟ้าแม่เมาะอย่างเป็นทางการ

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ
พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

ตราสัญลักษณ์ของการไฟฟ้ายันฮี การลิกไนท์ และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาพประกอบจากหนังสือแสงแห่งสยาม

พ.ศ. 2512 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ถือกำเนิดขึ้นจากการรวมกิจการระหว่างการไฟฟ้ายันฮี การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือและการลิกไนท์

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีจุดกำเนิดจากมติคณะรัฐมนตรีให้การดำเนินกิจการไฟฟ้าภายในประเทศ แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย คือกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตและกิจการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ซึ่งกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเดิมประกอบด้วย การไฟฟ้ายันฮี การลิกไนท์ การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติ กฟผ. เป็นผลให้การรวมกิจการด้านการผลิตไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1พฤษภาคม พ.ศ. 2512 ซึ่งถือเป็นวันก่อตั้ง กฟผ. จากจุดเริ่มต้นด้วยกำลังการผลิตติดตั้งในระยะแรก 907,700 กิโลวัตต์

พ.ศ. 2515 เปิดโรงไฟฟ้าพระนครใต้

โรงไฟฟ้าพระนครใต้ ได้เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2510 โดย กฟผ. ทำการปรับปรุงที่ดินซึ่งเดิมเป็นท้องร่องสวนแล้วจึงตัดถนนต่อไปถึงหัวงานเป็นระยะทาง 2.5 กิโลเมตร จากนั้นได้สร้างสะพานเขื่อนริมน้ำท่าเรือและติดตั้งปั้นจั่นสำหรับงานก่อสร้างฐานรากของอาคารโรงไฟฟ้าเครื่องที่ 1 และ 2 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2511 เป็นต้นมา

ต่อมาจึงเริ่มงานก่อสร้างส่วนประกอบอื่นๆ เช่น อาคารชักน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ โรงเก็บพัสดุอาคารสถานีไฟฟ้าแรงสูง และติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า อาทิ หม้อน้ำอุปกรณ์ สถานีไฟฟ้าแรงสูงและแผงไฟฟ้าตัดตอนต่างๆ เป็นต้น จนกระทั่งการก่อสร้างทั้งหมดแล้วเสร็จและพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดโรงไฟฟ้าพระนครใต้อย่างเป็นทางการในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515

พ.ศ. 2524 จุดเริ่มต้นยุคแห่งความโชติช่วงชัชวาล

พ.ศ. 2524 พบก๊าซธรรมชาติบริเวณอ่าวไทย จุดเริ่มต้นยุคแห่งความโชติช่วงชัชวาลด้านพลังงานไทย วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2524 ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยถูกนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้าเป็นครั้งแรกที่โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

พ.ศ. 2525 สร้างเขื่อนรัชชประภา

พ.ศ. 2525 โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ สร้างความมั่นคงให้แก่ระบบไฟฟ้า ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศชาตินอกจากนี้ยังเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ และรัชมังคลาภิเษก

ในปี พ.ศ. 2530 จึงได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างเขื่อนรัชชประภา แล้วเสร็จในเดือนกันยายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดเขื่อนรัชชประภา และโรงไฟฟ้าพลังน้ำ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2530

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ
พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

เขื่อนรัชชประภา

พ.ศ. 2525 สายส่งแรงสูงขนาด 500 กิโลโวลต์เส้นแรกของไทย 

พ.ศ. 2525 สายส่งแรงสูงขนาด 500 กิโลโวลต์เส้นแรกของไทยจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มายังกรุงเทพมหานคร ด้วยระยะทาง 550 กิโลเมตร เป็นการนำเทคโนโลยีระบบส่งไฟฟ้าแรงสูงพิเศษ (Extra High Voltage) มาใช้ในภูมิภาคนี้เป็นครั้งแรก นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีด้านสถานีไฟฟ้าแรงสูง ทั้งระบบปรับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่ (Voltage Stabilization System) และสถานีไฟฟ้าแรงสูงแบบ GIS (Gas Insulated Substation) มาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยอีกด้วย

พ.ศ. 2528 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดโรงไฟฟ้าแม่เมาะอย่างเป็นทางการ

วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2515 ได้เริ่มโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าลิกไนต์แม่เมาะจำนวน 3 หน่วย ขนาดหน่วยละ 75 เมกะวัตต์ พร้อมกับขยายเหมืองแม่เมาะ เพื่อเพิ่มกำลังผลิตถ่านหิน จากที่เคยผลิตได้วันละแสนกว่าตันเป็นล้านตันจนถึงปัจจุบัน กฟผ. ได้ก่อสร้างและติดตั้งหน่วยผลิตไฟฟ้าเสร็จสิ้นไปแล้ว 14 หน่วยโดยเหมืองแม่เมาะเป็นเหมืองแร่ลิกไนต์ขนาดใหญ่ มีกำลังการผลิต 16 ล้านตันต่อปี เพื่อส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า นับเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

พ.ศ. 2535-ปัจจุบัน

  • พ.ศ. 2534 คอมไบน์บล็อก 1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 1
  • พ.ศ. 2535 จัดตั้งบริษัทในกลุ่ม กฟผ.
  • พ.ศ. 2537 โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ (เครื่องที่ 1-4) “โรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย”
  • พ.ศ. 2539 กฟผ. ได้เสนอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนขึ้นใหม่บริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม
  • พ.ศ. 2547 กำเนิดโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในเชิงพาณิชย์
  • พ.ศ. 2551 กังหันลมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย / เปิดศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.
  • พ.ศ. 2552 กำเนิดต้นแบบระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ
  • พ.ศ. 2563 ก่อตั้งทีมพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV)
  • พ.ศ. 2564 เริ่มต้นโครงการโซลาร์เซลล์ลอยนํ้าแบบไฮบริดหรือ Hydro-Floating Solar Hybrid
  • พ.ศ. 2565 เปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร “โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก”

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ
พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

โรงไฟฟ้าพระนครใต้

พ.ศ. 2534 คอมไบน์บล็อก 1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่ 1  

เมื่อก้าวเข้าสู่ทศวรรษใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2531 – 2533 ประเทศไทยมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมมากกว่าร้อยละ 10 เป็นเวลาสามปีติดต่อกัน เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้นอัตราการใช้ไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงมีนโยบายที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle Power Plant – CCPP) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในยุคนั้นมาใช้ เนื่องจากสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้น ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงจึงมีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมไม่มากนัก และยังก่อสร้างเสร็จในเวลาไม่นาน จึงสามารถนำไฟฟ้าเข้าระบบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

กฟผ. ได้เสนอโครงการ ‘โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ชุดที่ 1’ ต่อรัฐบาลเพื่อให้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วงปี พ.ศ.2534 -2539 และได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ให้ดำเนินการก่อสร้างได้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ ชุดที่1 หรือที่ชาวโรงใต้ เรียกกันสั้น ๆ ว่า ‘คอมไบน์บล็อก 1’ จึงถูกสร้างขึ้น มีกำลังการผลิตรวม 335 เมกะวัตต์

หลังจากนั้น คอมไบน์บล็อก 2 เป็นโครงการเร่งด่วนตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าที่ปรับปรุงใหม่เพื่อเสริมกำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. มีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 623 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงหลัก

โรงไฟฟ้าพระนครใต้ ชุดที่ 3 หรือ โรงคอมไบน์บล็อก 3 จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 รวมขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 767.60 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติจากประเทศเมียนมา ขนส่งผ่านท่อก๊าซธรรมชาติไทรน้อย – โรงไฟฟ้าพระนครใต้เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า

พ.ศ. 2535 จัดตั้งบริษัทในกลุ่ม กฟผ.

เพื่อเสริมสร้างรากฐานกิจการไฟฟ้าไทยให้มั่นคง กฟผ. ได้ระดมทุนเพื่อการพัฒนาระบบไฟฟ้าของประเทศ โดยจัดตั้ง

  • บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้าและน้ำเย็น จำกัด เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2546
  • บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550
  • บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2543
  • บริษัท อีแกทไดมอนส์ เซอร์วิส จำกัด เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 

พ.ศ. 2537 โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ (เครื่องที่ 1-4) “โรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย”

พ.ศ. 2537 ครม. เห็นชอบให้กฟผ. ดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ (เครื่องที่ 1-4) เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าเสริมระบบในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเมื่อปี พ.ศ. 2547 “โรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย” เป็นโรงไฟฟ้าที่นำกระแสไฟฟ้าจากระบบการผลิตของประเทศในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อย คือ ช่วงหลังเที่ยงคืนจนถึงเช้า มาใช้สูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองที่มีอยู่เดิม ขึ้นไปเก็บพักไว้ในอ่างพักน้ำตอนบนที่สร้างขึ้นใหม่บนเขายายเที่ยง แล้วปล่อยลงมาผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในแต่ละวัน ช่วยเสริมในระบบไฟฟ้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและบริเวณใกล้เคียงให้เพียงพอและมั่นคงยิ่งขึ้น

กฟผ. ได้เล็งเห็นศักยภาพในการพัฒนาโครงการกังหันลมบริเวณอ่างพักน้ำตอนบนโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาจึงมีโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้ากังหันลมลำตะคอง นำระบบ Wind Hydrogen Hybrid ติดตั้งร่วมกับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) เป็นเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่ที่กฟผ.นำมาใช้เป็นแห่งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อช่วยให้การผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมมีความเสถียรมากขึ้นสามารถจ่ายไฟได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยการนำไปติดตั้งให้กับกังหันลมของ กฟผ.จำนวน 12 ต้นขนาดกำลังผลิตต้นละ 2 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์บริเวณรอบอ่างพักน้ำตอนบนของโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับว่า “โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา” มีความหมายว่า โรงไฟฟ้าลำตะคองเป็นที่พัฒนาแสงไฟด้วยน้ำ ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปเปิดโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556 นับเป็นโรงไฟฟ้าแห่งสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอันเป็นสิริมงคล

พ.ศ. 2539 กฟผ. ได้เสนอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนขึ้นใหม่บริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม

พ.ศ. 2539 กฟผ. ได้เสนอโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนขึ้นใหม่บริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้าเดิม ได้รับความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ. 2540 และได้รับอนุมัติก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่ จากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2540 สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2547

กฟผ. ในฐานะที่รับผิดชอบต่อการจัดหา และผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ จึงวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่เพื่อขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้น

  • โรงไฟฟ้ากระบี่ ได้ปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สามารถใช้เชื้อเพลิงน้ำมันปาล์มร่วมกับน้ำมันเตาเพื่อสนองนโยบายรัฐบาล ช่วยพยุงราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำ แต่จะดำเนินการเมื่อได้รับคำสั่งการจากรัฐบาลเท่านั้น ปัจจุบันโรงไฟฟ้ากระบี่ถูกกำหนดให้เป็นโรงไฟฟ้าชนิด “Reserved Shutdown” มีหน้าที่เสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า
  • โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ เปรียบเสมือน “โรงครู” อันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบไฟฟ้าสมัยใหม่ของประเทศไทย และโรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้รับใช้สังคมไทยมายาวนานถึง 40 ปี ในปี พ.ศ. 2544 กฟผ. ได้ปลดโรงไฟฟ้านี้ออกจากระบบ และรื้อถอนเพื่อทำการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมาใหม่ในพื้นที่เดิมเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติจากแหล่งสหภาพเมียนมาร์ (ฝั่งตะวันตก) และแหล่งอ่าวไทย (ฝั่งตะวันออก) ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 และตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547-2558 จึงได้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 2 ขึ้น ตามสถานการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่สูงขึ้นโดยได้รับอนุมัติโครงการฯ จากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2555 และได้จ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
  • โรงไฟฟ้าจะนะ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน 2 ชุด คือโรงไฟฟ้าจะนะชุดที่ 1 เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมแบบเพลาผสม (Multi Shaft) จ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปัจจุบันได้ปรับปรุงให้สามารถเดินเครื่องด้วยน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรองในกรณีแหล่งจ่ายก๊าซหยุดซ่อมตามวาระได้ โรงไฟฟ้าจะนะชุดที่ 2 เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมแบบเพลาเดียว (Single Shaft) จ่ายไฟเข้าระบบเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เป็นโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. พ.ศ. 2547-2558 เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าในภาคใต้ตอนล่างซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง และมีการลงทุนค่อนข้างสูง ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้เพิ่มขึ้น โดยนำก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเชีย (JDA-A18) ในอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต
  • โรงไฟฟ้าขนอม ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะเดินเครื่องเสริมระบบไฟฟ้าเฉพาะช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดแต่ละวันได้แก่โรงไฟฟ้าเขื่อนรัชชประภา จังหวัด สุราษฎร์ธานี ประมาณ 240 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ประมาณ 70 เมกะวัตต์ เมื่อกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าที่สามารถจ่ายได้ตลอดเวลามีน้อย กฟผ. จึงทำการถ่ายเทไฟฟ้าผ่านสายส่งไฟฟ้าแรงสูงจาก ภาคกลาง มาช่วยประมาณ 350 เมกะวัตต์ หากภาคกลางมีปริมาณไฟฟ้าเหลือเพียงพอ นอกจากนี้ได้ทำสัญญาซื้อไฟฟ้าจากมาเลเซีย อีกประมาณ 300 เมกะวัตต์ 

พ.ศ. 2547 กำเนิดโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในเชิงพาณิชย์

กฟผ. เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ในเชิงพาณิชย์ 2 แห่ง คือโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์กผาบ่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน กำลังผลิต 504 กิโลโวลต์ และโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี กำลังผลิต 1,000 กิโลโวลต์ ซึ่งเป็นระบบแผงหมุนตามดวงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2552 โครงการนี้ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไกพัฒนาที่สะอาด (CDM) จากคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM Executive Board) ของ UNFCCC เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 นับเป็นโครงการ CDM รายแรกของภาครัฐ และรายที่ 3 ของโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วประเทศ

พ.ศ. 2551 กังหันลมลำตะคองขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย / เปิดศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.

  • กังหันลมลำตะคองขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย กฟผ. ได้ดำนินการติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ ขนาด 1.25 เมกะวัตต์ จำนวน 2 ต้น เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ติดตั้งแล้วเสร็จพร้อมจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 145 ล้านบาท ถือได้ว่าเป็นกังหันลมขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และได้ติดตั้งเพิ่มอีก 12 ตัว รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น 18 เมกะวัตต์ เป็นลักษณะทุ่งกังหันลมที่ก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามและพัฒนาเป็นจุดท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมา
  • เปิดศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. เป็นรัฐวิสาหกิจด้านกิจการพลังงาน มีหน้าที่ผลิต จัดหา และส่งไฟฟ้าไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย พร้อมทั้งธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดย กฟผ. มุ่งมั่นถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านพลังงานไฟฟ้าที่คำนึงถึงชุมชนและสิ่งแวดล้อมมากว่าครึ่งศตวรรษ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานของประเทศไทยและของโลก มอบให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อร่วมสร้าง “สังคมแห่งภูมิปัญญาด้านพลังงาน” ผ่านศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทั้งหมด 8 แห่ง ทั่วประเทศ ได้แก่
    1. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี
    2. พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ) เฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดลำปาง
    3. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. เขื่อนศรีนครินทร์ (ราชานุรักษ์) จังหวัดกาญจนบุรี
    4. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จะนะ จังหวัดสงขลา
    5. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก (พลังคิด ดี) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    6. ศูนย์การเรียนรู้กฟผ. ลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
    7. ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. แม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
    8. ศูนย์การเรียนรู้โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ กฟผ.จังหวัดแม่ฮ่องสอน

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง สำนักงานกลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562

พ.ศ. 2552 กำเนิดต้นแบบระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ

กฟผ. ได้พัฒนาต้นแบบระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ ที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจบุรี กำลังผลิต 30.24 กิโลวัตต์ เพื่อศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระบบเซลล์แสงอาทิตย์บนพื้นดิน พร้อมดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กำลังผลิต 5 เมกะวัตต์

พ.ศ. 2563 ก่อตั้งทีมพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV)

EleXA เป็นทีมพัฒนาธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) เชิงพาณิชย์รูปแบบใหม่ของ กฟผ. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทีม EGAT ProVenture EleXA และ EGAT ProVenture Team ก่อตั้งขึ้นพร้อมกันในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยมีวิสัยทัศน์สูงสุดคือ การเร่งการเติบโตของระบบนิเวศของธุรกิจ EV ผ่านการพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง การสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจร่วมกันกับพันธมิตร และการลงทุนที่นอกเหนือจากธุรกิจหลักเดิมในการผลิตไฟฟ้า  ผ่าน 4 บริการหลัก  ได้แก่ EleXA, EleX by EGAT, BackEN และ Wallbox 

ด้วยจิตวิญญาณของผู้ประกอบการจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ การออกแบบบริการมุ่งเน้นที่ลูกค้าเป็นศูนย์กลางและเน้นหลักการพัฒนาอย่างคล่องตัว เพื่อสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทต่าง ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดในการขับเคลื่อนประเทศไทย ให้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งพลังงานที่ยั่งยืนและการเดินทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ
พื้นที่ใต้กราฟความเร่งกับเวลาคือ

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร (Hydro-Floating Solar Hybrid )
“โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก”

พ.ศ. 2564 โครงการโซลาร์เซลล์ลอยนํ้าแบบไฮบริดหรือ Hydro-Floating Solar Hybrid คือระบบผลิตไฟฟ้าผสมผสานระหว่าง ‘พลังนํ้าจากเขื่อน’ และ ‘พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ลอยนํ้าบนเขื่อน’

โครงการโซลาร์เซลล์ลอยนํ้าแบบไฮบริดหรือ Hydro-Floating Solar Hybrid คือระบบผลิตไฟฟ้าผสมผสานระหว่าง ‘พลังนํ้าจากเขื่อน’ และ ‘พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ลอยนํ้าบนเขื่อน’ ช่วยแก้ไขข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียนที่ยังมีความไม่เสถียรให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้เต็มศักยภาพและเสถียรมากที่สุดโดยในกรณีที่ปริมาณน้ามีมากพอเขื่อนจะผลิตไฟฟ้ารองรับความต้องการหากในกรณีที่ปริมาณน้ำมีจำกัดจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าตอนกลางวันและนำพลังน้ามาเสริมในเวลากลางคืน กฟผ.จะดำเนินการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำแบบไฮบริดบนพื้นที่ผิวน้ำในเขื่อนต่างๆ ของ กฟผ.โดยนำร่องโครงการ 2 แห่งคือเขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี กำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ และเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น กำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ เมื่อดำเนินงานโครงการแล้วเสร็จตามแผนฯจะมีปริมาณกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 2,725 เมกะวัตต์

พ.ศ. 2565 เปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร “โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดขนาดใหญ่ที่สุดในโลก”

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร เป็น “โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก” พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ