ประโยชน์ของการเขียนสื่อสาร

ประโยชน์ของการเขียนสื่อสาร

Advertisement

ใครว่าการเขียนด้วยลายมือนั้นล้าสมัย?

ยุคนี้คงเถียงไม่ได้ว่าการเขียนหรือเล่าเรื่องต่างๆ ส่วนใหญ่มักสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน เพราะว่ารวดเร็วและสะดวกสบายกว่า หลายๆ คนจึงลืมการเขียนสื่อสารด้วยมือ โดยเฉพาะกับเด็กๆ สมัยใหม่ที่ห่างเหินจาการเขียนด้วยลายมือ เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบัน แต่หากเด็กสามารถฝึกเขียนสื่อสารด้วยลายมือของตัวเอง ไม่เพียงจะช่วยให้การเขียนดูมีเอกลักษณ์และดูมีชีวิตชีวามากกว่าการพิมพ์แล้ว การเขียนด้วยมือยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการหลายๆ อย่าง ติดตามทางด้านล่างนี้ว่าการเขียนด้วยลายมือนั้นสามารถให้ประโยชน์อะไรกับเด็กๆ บ้าง

ประโยชน์ของการเขียนสื่อสาร

6 ประโยชน์ของการเขียนด้วยลายมือ

·      การเขียนด้วยมือช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

การเขียนช่วยพัฒนาทักษะในการใช้มือทั้งสองของเด็กปฐมวัย ช่วยให้กล้ามเนื้อมัดเล็กแข็งแรงซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน การฝึกเขียนจะช่วยเพิ่มทักษะให้เด็กมีความพร้อมมากขึ้นเมื่อเริ่มไปโรงเรียน คุณสามารถให้เด็กฝึกเขียนด้วยดินสอ สีเมจิก หรือปากการหมึกแห้ง แล้วแต่ว่าอุปกรณ์ชนิดไหนจะดึงดูดให้เด็กอยากเขียนมากที่สุด อย่างไรก็ตามคุณควรปล่อยให้เด็กได้สนุกกับการฝึกเขียนอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องห่วงเรื่องเสื้อผ้าเปื้อนหมึก แต่หากคุณอดกังวลไม่ได้ คลิกที่นี่สำหรับวิธีซักเสื้อผ้าเปื้อนหมึก

·      การเขียนด้วยลายมือช่วยให้การเขียนผิดพลาดน้อยลง

การเขียนด้วยมือนั้นมีความปราณีตกว่าการพิมพ์ เพราะคนเขียนจะมีเวลาไตร่ตรอง รวมถึงยังได้นึกถึงสำนวนและการวางประโยคที่สละสลวยกว่าการพิมพ์ที่เน้นในเรื่องของความเร็วเป็นหลัก ซึ่งอาจทำให้เกิดการผิดพลาดบ่อยกว่าการเขียนด้วยลายมือ ทำให้ภาษาเขียนจากการพิมพ์ในบางครั้งอ่านไม่ราบรื่นเท่าที่ควร

·      การเขียนด้วยลายมือช่วยฝึกสมาธิ การเขียนสามารถช่วยฝึกสมาธิเด็กเพราะช่วยให้เด็กได้คิดทบทวนสิ่งที่ต้องการเขียนก่อน แล้วจึงเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งช่วยให้เกิดความสงบและเกิดสมาธิ การเขียนช่วยให้เด็กได้คิดทบทวนเรื่องราวที่เกิดขึ้นแล้วและเขียนความทรงจำที่ดีออกมา

·      การเขียนเป็นตัวอักษรช่วยผ่อนคลายความเครียด

การเขียนนอกจากจะช่วยฝึกสมาธิแล้ว ยังช่วยผ่อนคลายความเครียดเพราะสมองต้องใช้ความคิด เพื่อถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือ จึงทำให้ได้หยุดคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งนี้การเขียนเป็นตัวอักษรยังช่วยบรรเทาความอัดอั้นตันใจ เป็นวิธีการระบายความในใจได้อีกหนึ่งรูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถช่วยปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นได้ การเขียนด้วยลายมือจึงไม่เคยล้าสมัยและเทคโนโลยีก็ไม่สามารถเข้ามามีบทบาทแทนที่ได้ร้อยเปอร์เซนต์

·      การเขียนด้วยปากกาและกระดาษช่วยเสริมสร้างการประสานของมือและตา

การเขียนยังช่วยเสริมสร้างพัฒนาการการประสานสัมพันธ์ของมือและตา เพราะต้องใช้สายตาในการบังคับการเขียนให้เป็นแนวทางเดียวกัน การเขียนด้วยมือ ยังช่วยให้เด็กเรียนรู้การสัมผัสและรับรู้อีกด้วย

·      การเขียนด้วยลายมือช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ทางภาษา
การเขียนด้วยมือช่วยให้เด็กได้พัฒนาการอ่านและฝึกการสะกดคำเพราะไม่มีตัวช่วยต่างๆ อย่างการเขียนด้วยคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนที่มีตัวช่วยแก้คำสะกดให้ จึงช่วยให้เด็กสามารถจำคำศัพท์ที่เขียนออกมาได้ดีกว่า การเขียนด้วยมือยังสามารถฝึกการอ่านได้ง่ายขึ้นเพราะเด็กจะสามารถอ่านลายมือของตัวเองได้ง่ายกว่าการอ่านจากการพิมพ์

ความหมายของการสื่อสาร
 การเขียนสื่อสารหมายถึง การเขียนถ้อยคำหรือข้อความเพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกและประสบณ์การของผู้เขียนไปยังผู้อ่าน การเขียนสื่อสารจะช่วยให้ผู้อ่านได้รับความรู้และเข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้เขียนในหลาย ๆ ด้าน การเขียนสื่อสารมีองค์ประกอบ สำคัญดังนี้

1.ผู้เขียน คือ ผู้ส่งสารไปยังผู้อ่านด้วยวิธีการเขียน ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ ความคิด ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ แล้วนำมาเรียบเรียง
2.ผู้อ่าน คือ ผู้รับสาร ด้วยการอ่านข้อความหรือเรื่องราวของผู้เขียน ผู้อ่านถือว่าเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่มีความแตกต่างทั้งทางเพศ สถานภาพ อาชีพ และระดับการศึกษา ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านเรื่องราวที่ผู้เขียนสื่อและเป็นเรื่องที่ตนเองสนใจอ่าน
3.เนื้อหา คือ เรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการเขียนสื่อสารไปยังผู้อ่าน เนื้อหาประกอบด้วยความรู้ ความคิด การแสดงทรรสนะ ประสบณ์การเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารกับผู้อ่านอาจจะมีหลายรูปแบบ เช่น ข่าว บทความ สารคดี การเขียนอธิบาย ซึ่งการเขียนในรูปแบบต่างๆ อาจจะพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร สารานุกรม หรือเอกสารตพราต่างๆ
4.สื่อ คือ ช่องทางการสื่อสาร หรื่อสิ่งที่ใช้ตีพิมพ์ ข้อเขียนสื่อสาร เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร จดหมาย ตำรา สารานุกรม

ประโยชน์ของการเขียนสื่อสาร

คุณคิดว่าทักษะอะไรที่สำคัญในอนาคต?

เมื่อโลกกว้างขึ้น เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ทักษะที่เรามีอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป ถ้าพูดถึงทักษะจำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 คนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงทักษะด้านเทคโนโลยี Soft Skills อย่างการเข้าสังคม หรือทักษะด้านอาชีพเป็นอันดับแรกๆ (ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันสำคัญมาก) แต่สำหรับบทความนี้เราจะพูดถึงหนึ่งในทักษะที่ทุกคนควรมี แต่อาจจะถูกมองข้ามไปนั่นก็คือ “ทักษะการเขียน” นั่นเอง

ใช่…ถูกแล้ว “การเขียน” แต่เราไม่ได้พูดถึงการฝึกเขียนคัดลายมือ หรือการเขียนเรียงความเพื่อส่งอาจารย์ อันที่จริงการเขียนเป็นทักษะหนึ่งที่จะช่วยดึงศักยภาพในตัวคุณออกมา และผลักดันให้ชีวิตก้าวไปข้างหน้ามากกว่าที่คุณคิด

เราในฐานะผู้เขียนบทความชอบการขีดๆ เขียนๆ มาตั้งแต่เด็ก แล้วก็นึกแปลกใจที่ทักษะนี้ช่วยชีวิตตัวเองไว้หลายครั้งทีเดียว สำหรับบทความนี้เราจึงได้สรุป 5 เหตุผลหลักๆ ทำไมคุณควรฝึกเขียนอย่างจริงจัง เรามาดูกันเลย!

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจ

  • เหตุผลที่คุณควรมีทักษะการเขียน
    • 1. การเขียนช่วยจัดระบบความคิด
    • 2. ทำให้มีสมาธิ
    • 3. เข้าใจตัวเองมากขึ้น
    • 4. เป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารที่สำคัญ  
    • 5. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  • ฝึกเขียนอย่างไรดี?
    • 1. เริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านที่ดี
    • 2. ฝึกเขียนไดอารี่
    • 3. เขียนสม่ำเสมอ
  • สรุป

เหตุผลที่คุณควรมีทักษะการเขียน

1. การเขียนช่วยจัดระบบความคิด

เคยรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในภาวะ ‘Overload’ ไหม? อาจจะเป็นตอนที่คุณกำลังวางแผนการทำงานอันซับซ้อน หรือวันที่เจอปัญหาถาโถมจนความคิดสับสน ช่วงเวลาที่ความคิดยุ่งเหยิงทำให้ปัญหาขยายใหญ่โดยไม่รู้ตัว กลายเป็นความรู้สึกวิตกกังวล หรือ ‘ตัน’ ไม่รู้จะเริ่มต้นทำอะไรก่อนดี

การเขียนลิสต์ของเรื่องที่คุณรู้สึกกังวล ปัญหาที่กำลังเผชิญ สิ่งที่ต้องทำ และอื่นๆ จะช่วยจัดระบบความคิดของคุณ ทำให้เห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น หรือเห็นภาพรวมการทำงานทั้งหมด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการทำงานและแก้ไขปัญหา เพราะอย่าลืมว่า ‘ความสามารถ’ อย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมาย คนที่มองเห็น ‘หัวใจ’ ของปัญหาต่างหากที่จะกลายเป็นนักแก้ปัญหาที่ดี

ดังนั้นครั้งต่อไปที่คุณรู้สึกความคิดในหัวยุ่งเหยิง ลองฝึกเรียบเรียงความคิดด้วยการหยิบกระดาษมาหนึ่งแผ่น แล้วจับปากกาเขียนปัญหาหรือสิ่งที่ต้องทำลงไป คุณอาจจะแปลกใจที่ความคิดในหัวถูกเรียบเรียงให้เป็นระบบมากขึ้น สุดท้ายก็ค้นพบว่าต้นตอของปัญหาจริงๆ มีเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้นเอง

2. ทำให้มีสมาธิ

สิ่งที่ดึงให้เราวอกแวก เสียสมาธินั้นมีรอบตัวเต็มไปหมด หลายๆ คนจึงเกิดอาการสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออะไรได้นาน การเขียนช่วยฝึกสมาธิ เนื่องจากจะทำให้คุณได้จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ที่สำคัญการเขียนเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิสูง ในหัวของนักเขียนต้องทำหลายอย่าง ทั้งประมวลผลข้อมูลจากคลัง คิดว่าจะเรียบเรียงหรือลำดับเรื่องอย่างไร หาคำพูดและข้อความที่สามารถสื่อสารได้ดี รวมถึงขัดเกลาข้อความให้น่าอ่าน

จะเห็นได้เลยว่าคนที่เขียนได้ดีนั้นต้องมีสมาธิเพื่อดึงความคิดสร้างสรรค์ออกมา เหมือนกับแว่นขยายอันเล็กๆ ที่สามารถรวมแสงอาทิตย์เป็นจุดเดียวแล้วเผาไหม้กระดาษได้ นี่ล่ะคือพลังของการจดจ่อ

3. เข้าใจตัวเองมากขึ้น

ทุกวันนี้เราอยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร เรื่องของคนรอบข้างไหลเข้ามาในชีวิตเราทุกวินาที จนกลายเป็นว่าเรารู้จักคนอื่นๆ แทบจะทุกแง่มุม แต่จริงหรือไม่ที่เรากลับรู้จักตัวเองน้อยลงไปทุกที…

การเขียนจึงเข้ามามีบทบาททำให้เราได้เข้าใจตัวเองมากขึ้น เพราะเมื่อคุณนั่งลงเขียน (โดยเฉพาะหากเขียนเรื่องราวของตัวเอง) มันจะกลายเป็นช่วงเวลาที่คุณได้อยู่กับตัวเองอย่างมีคุณภาพ ได้กลั่นกรองความคิด อารมณ์และความรู้สึกให้ออกมาเป็นตัวอักษร

ทำไมเราจึงให้ความสำคัญกับการเข้าใจตัวเอง? ในอนาคตคนที่จะอยู่รอดคือคนที่กล้าเปลี่ยนแปลงและรู้จักปรับตัว คนที่เข้าใจตัวเองจะรู้จักข้อดี ข้อเสีย รู้จักจุดมุ่งหมายของชีวิต มันไม่มีประโยชน์เลยหากคุณมีทักษะครบทุกอย่าง แต่ไม่สามารถตอบได้ว่าตัวเองต้องการอะไร หรือรู้สึกอย่างไร

วุฒิการศึกษาสูงแค่ไหนก็ไม่ช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองได้มากขึ้น ถ้าคุณไม่ “ตั้งคำถาม” ให้ถูกต้อง การเขียนก็คือการเปิดโอกาสให้คุณได้คุยกับตัวเองนั่นเอง

แทนที่จะใช้เวลาทั้งวันง่วนกับการใช้ชีวิตในโลกภายนอก คุณอาจจะจัดเวลาเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวันเขียนทบทวนเกี่ยวกับตัวเองเพื่อทำให้ ‘โลกภายใน’ ของคุณนั้นชัดเจน

“จุดเริ่มต้นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงเกิดจากการค้นหาตนเอง”
—CHALMERS BROTHERS

4. เป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารที่สำคัญ  

เรารู้อยู่แล้วว่าทักษะสื่อสารนั้นมีประโยชน์มากมายเพียงไร เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม การเขียนคือการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่ใช้ ‘ตัวอักษร’ เป็นเครื่องมือ

ดังนั้นไม่แปลกที่การสมัครงาน สมัครเรียนหลายๆ ที่จะใช้การเขียนเรียงความเป็นหนึ่งในเกณฑ์พิจารณา เรียงความหนึ่งเรื่องสามารถสะท้อนกระบวนการคิดของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี มันบอกได้ว่าคุณลำดับเรื่องราวอย่างไร มีความเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ คุณค้นคว้าหาข้อมูลดีแค่ไหน

การพัฒนาทักษะการเขียนก็จะส่งผลดีต่อการสื่อสารรูปแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน คุณอาจจะเรียบเรียงเวลาพูดดีขึ้น สื่อสารได้ตรงประเด็น ไม่พูดสะเปะสะปะจนทำให้ผู้ฟังสับสน  

5. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

มาถึงตรงนี้ทุกคนน่าจะเห็นภาพกันแล้วว่าการเขียนเป็น ‘เครื่องมือ’ หนึ่งที่ทำให้คุณได้พัฒนาตัวเองตั้งแต่ภายใน (Personal growth) ซึ่งอาจส่งผลให้คุณสามารถดึงดูดโอกาสต่างๆ เข้ามาในชีวิตได้อย่างมากมาย

แต่อาจจะมีบางคนเถียงในใจ (อ้ะ แอบได้ยิน) ว่าไม่ได้ทำงานให้สายงานที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเป็นหลัก มันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ? เรา (ผู้เขียน) มีพื้นฐานการเรียนวิศวะมาก่อน ยืนยันอีกเสียงได้ว่าการเขียนจะทำให้คุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ว่าคุณจะอยู่ในสายงานใด

เพราะมันไม่ใช่เรื่องของ “งานเขียน” แต่เป็น “กระบวนการคิด” ที่คุณใช้ในการเขียนต่างหากที่ทำให้คุณทำงานได้ดีขึ้น

ฝึกเขียนอย่างไรดี?

เอาล่ะ ถ้าคุณเป็นมือใหม่อยากเขียน หรือกำลังอยู่ในช่วงฝึกเขียน เรามีเทคนิคง่ายๆ 3 ข้อสำหรับนำไปปรับใช้กัน ถ้าผู้อ่านมีเทคนิคการเขียนดีๆ สามารถแชร์ในคอมเมนต์ได้เลยนะคะ

1. เริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านที่ดี

“ก็แค่เขียนเอง ไม่น่าจะยาก…” ทั้งๆ ที่เหมือนจะเป็นทักษะง่ายๆ แต่พอจับปากกา (หรือใครถนัดพิมพ์ก็ว่ากันไป) เท่านั้นล่ะ สมองกลับว่างเปล่า นึกอะไรไม่ออกซะอย่างนั้น…ทำอย่างไรดี?

ถ้าเปรียบเทียบสมองเป็นเหมือนโกดังเก็บข้อมูล การอ่านก็คือการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในโกดัง ในขณะที่การเขียนคือการดึงข้อมูลจากโกดังออกมาใช้

ปัญหาของคนที่ “ไม่รู้จะเขียนอะไร” อาจจะเป็นเพราะมีคลังข้อมูลในโกดังน้อยเกินไป จนไม่สามารถดึงอะไรออกมาเขียนได้ การเขียนที่ดีจึงเริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านที่ดีก่อน นอกจากจะเป็นการเพิ่มข้อมูลในโกดังแล้ว คุณยังได้ศึกษาวิธีการเขียนของคนอื่นอีกด้วย

“ยิ่งเราอ่านมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งรู้เยอะมากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งเราเรียนรู้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีสถานที่ที่เราจะไปมากขึ้นเท่านั้น”
– ดร.ซูสส์ นักสร้างสรรค์หนังสือเด็ก จากหนังสือ I Can Read With My Eyes Shut!

2. ฝึกเขียนไดอารี่

การเขียนเรื่องราวของตัวเองมีประโยชน์ในแง่ที่เราได้ทบทวนตัวเอง และยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนกำลังฝึกเขียน ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนอะไรดี ลองเขียนอะไรง่ายๆ อย่างการเล่าเรื่องราวชีวิตตัวเอง เช่น ประสบการณ์ทั้งดีและแย่ที่คุณได้เผชิญ บทเรียนที่คุณได้รับจากเหตุการณ์ต่างๆ ฝึกอธิบายความรู้สึกและความคิดของคุณออกมา เป็นต้น

3. เขียนสม่ำเสมอ

สุดท้ายไม่มีอะไรสามารถแทนที่การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอได้ ทักษะต่างๆ ก็เหมือนมีด ยิ่งลับยิ่งคม

ดังนั้นตั้งเป้าหมายเขียนทุกวัน เขียนอะไรก็ได้วันละนิดวันละหน่อย อาจจะเริ่มต้นจากการเขียนสเตตัสลงโซเชียลมีเดีย เขียนบล็อก แล้วค่อยๆ ขยับขยายไปเขียนประเด็นอื่นๆ ที่ไกลตัวออกไป นอกจากทักษะการเขียนจะดีขึ้นแล้ว คุณจะมีวิธีการคิดที่เฉียบคมขึ้นด้วย

สรุป

ทักษะที่จำเป็นต้องมีเพื่อการ “อยู่รอด” ในอนาคตจะไม่จำกัดแค่ด้านวิชาการหรือด้านวิชาชีพอย่างเดียว ปัจจุบันหลายๆ ทักษะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี AI ดังนั้นทักษะที่จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ทักษะการเข้าสังคม (เช่น การสื่อสาร, การจัดการอารมณ์, ภาวะผู้นำ, เป็นต้น) ทักษะการแก้ไขปัญหา (เช่น การวิเคราะห์ปัญหา, ความคิดสร้างสรรค์, การสื่อสาร, เป็นต้น)

การเขียนเสมือนเป็นที่ลับคมทักษะเหล่านี้ไปในตัว เพราะเมื่อคุณเขียน สมองจะถูกกระตุ้นให้ตกผลึกความรู้ หรือประสบการณ์ออกมาเป็นตัวอักษร เมื่อคุณเขียน คุณจะต้องอ่านหนังสือ ค้นคว้าข้อมูลเยอะขึ้น และการเขียนจะทำให้คุณดึงความคิดสร้างสรรค์ออกมา

ดังนั้นไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุค การเขียนก็ยังคงเป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนและคนทำงานควรฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ไม่สำคัญว่าจะอยู่ในสายงานอาชีพใด

ว่าแต่ว่า…วันนี้คุณได้เขียนอะไรแล้วหรือยัง?
New call-to-action

การเขียนเพื่อการสื่อสารมีความสำคัญอย่างไร

- แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน อาจเป็นแนวทางที่มีความคิดเห็นที่สอดคล้องหรือขัดแย้ง ความสำคัญการเขียนเพื่อการสื่อสาร - เป็นการสื่อสารที่แสดงออกถึงความคิดเห็นของผู้เขียนที่ได้ถ่ายทอดลงไปในงานเขียนเพื่อให้ผู้อ่านสามารถรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนว่าต้องการจะสื่อให้ทราบถึงเรื่องอะไร

ข้อใดคือประโยชน์ของการเขียน

ประโยชน์ของการเขียน.
1. การเขียนช่วยให้คุณบันทึกสิ่งที่คุณต้องรู้ และ ต้องทำ ... .
2. การเขียนช่วยให้มีจิตใจที่แจ่มใส ... .
3. การเขียนช่วยให้รับรู้อารมณ์ตนเองได้ดีขึ้น ... .
4. การเขียนช่วยพัฒนาการคิด ... .
5. การเขียนช่วยสร้างความรู้สึกขอบคุณ ... .
6. การเขียนช่วยทำให้มีเป้าหมายชัดเจนขึ้น ... .
7. การเขียนช่วยให้มีแรงจูงใจ.

การสื่อสารด้วยการเขียนคืออะไร

1. ความหมายของการเขียนเพื่อการสื่อสาร การเขียนเพื่อการสื่อสาร คือ การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ความ รู้สึก และประสบการณ์ของผู้เขียนไปยังผู้อ่านเพื่อให้เข้าใจตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนโดยใช้ตัว อักษรในภาษาเป็นเครื่องมือ ซึ่งการเขียนเพื่อการสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งดังต่อไปนี้

การเขียนสื่อสารมีลักษณะอย่างไร

1. เขียนตัวหนังสือชัดเจน อ่านง่าย เป็นระเบียบ 2. เขียนได้ถูกต้องตามอักขรวิธี สะกดการันต์ วรรณยุกต์ วางรูปเครื่องหมายต่างๆ เว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง เพื่อให้สื่อความหมายได้ตรงและชัดเจน ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจสารได้ดี 3. เลือกใช้ถ้อยคำได้เหมาะสม สื่อความหมายได้ดี ชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหา เพศ วัย และระดับของผู้อ่าน