วิธี เก็บ เงิน ที่ ดี ที่สุด

เงินออม หมายถึง เงินที่เก็บสะสม เพื่อให้พอกพูนขึ้นไปเรื่อยๆ ตามเวลา และควรเป็นเงินก้อนแรกที่หักออกจากรายได้ที่มีเข้ามาทันที ก่อนที่จะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ (หรือเก็บก่อนใช้) ซึ่งสามารถแสดงสมการเงินออมได้ดังนี้

 

รายได้ - เงินออม = รายจ่าย

 

แม้ทุกคนจะรู้ว่าการออมเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่จากสถิติการออมของคนไทยจะพบว่า ในปัจจุบันมีคนไทยร้อยละ 77.4 เท่านั้นที่มีการออมเงิน ในขณะที่อีกร้อยละ 22.6 ไม่มีเงินออม และเมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงลึก จะพบว่า รูปแบบการออมเงินของคนไทยส่วนใหญ่จะเป็นรูปแบบของบัญชีฉุกเฉิน หรือบัญชีเงินเก็บระยะสั้น มากกว่าการออมเงินเพื่อใช้หลังเกษียณ ซึ่งจากผลสำรวจของนิด้าโพลพบว่าจุดมุ่งหมายของการออมเงินของคนไทย คือ

วิธี เก็บ เงิน ที่ ดี ที่สุด

ใช้ในยามฉุกเฉิน  41.35%

เพื่อการศึกษาบุตร  26.08%

เพื่อการเกษียณอายุ  23.81%

ซื้อบ้านและรถ  6.50%

การศึกษาของตนเอง  2.26%

 

นอกจากนี้เมื่อถามถึงระยะเวลาที่สามารถออมเงินได้ พบว่าสามารถออมเงินได้

มากกว่า 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี  44.74%

ระหว่าง 1 – 5 ปี  32.23%

น้อยกว่า 1 ปี  11.85%

มากกว่า 10 ปี  11.18%

เท่ากับว่าเรานิยมออมเงินเพื่อเป้าหมายระยะสั้นและระยะปานกลางเท่านั้น ยังไม่ตระหนักและให้ความสำคัญในการออมเงินเพื่อเป้าหมายระยะยาว นั่นก็คือ เป้าหมายเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งน่าเป็นห่วงมากจริงๆ ที่คนยังไม่ตระหนักว่า หากไม่รีบวางแผนเกษียณอายุให้เร็วที่สุด โอกาสที่เราจะไม่สามารถเกษียณอายุได้ยิ่งมีมากเท่านั้น

 

แล้วยิ่งเมื่อเทียบเงินออมเพื่อการเกษียณอายุต่อ GDP ของเรากับประเทศอื่นๆ ก็จะยิ่งเห็นว่าเรามีการออมเพื่อเกษียณอายุที่น้อยมากจริงๆ

 

นอกจากนี้คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักวิธีการบริหารเงินออม โดยพบว่าคนส่วนใหญ่จะนำเงินออมไปฝากไว้ในบัญชี หรือผลิตภัณฑ์การเงินที่ไม่ได้ทำให้เงินออมนั้นงอกเงย

 

แน่นอนว่า ‘การออม เป็นจุดตั้งต้นของความสำเร็จทางการเงิน’ แต่ยุคนี้ สมัยนี้ แค่ออมเงินอย่างเดียว ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว เราต้องรู้จักบริหารให้เงินออมงอกเงยด้วย

 

เคล็ดลับบริหารเงินให้งอกเงย คือ ออมให้มาก อย่างน้อยให้ได้ 20 - 30% ของรายได้ กันเงินออกมาเพื่อเป็นเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินอย่างน้อย 3 – 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน มีการบริหารความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันอย่างเหมาะสม เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะเป็นตัวการทำลายเงินออม และนำเงินไปลงทุนให้งอกเงยผ่านการลงทุนหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ การลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวมต่างๆ สิ่งที่สำคัญที่สุด อย่าลืมลงทุนในการเพิ่มพูนความรู้ของตัวเองด้วย เพราะการลงทุนมีความเสี่ยง สิ่งที่เสี่ยงกว่าคือการที่เราไม่เริ่มลงทุน แต่สิ่งที่เสี่ยงที่สุด คือการลงทุนในสิ่งที่เราไม่มีความรู้

 

ขอยกตัวอย่างวิธีการออม ให้มีกินมีใช้ตลอดชีวิต สมมติคุณมีเงินเดือน 25,000 บาท คุณควรจัดสรรเงินของคุณดังนี้

ออมเงินไม่อยู่ เก็บเงินไม่ได้ เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาเรื่องการเงินอีกมากมาย เพราะเมื่อไม่เราไม่มีเงินออม พอถึงเวลาต้องใช้เงิน ก็จะทำให้เราเริ่มต้นการกู้ยืม
  • การออมเงินสำคัญที่จุดเริ่มต้น เมื่อเราเริ่มเห็นเงินหมื่น เงินแสนจะยิ่งเห็นกำลังใจทำให้เรามีพลังในออมอย่างไม่รู้จบ

  • รูปบน ของ desktop
    รูปล่าง ของ mobile

    วิธี เก็บ เงิน ที่ ดี ที่สุด

    วิธี เก็บ เงิน ที่ ดี ที่สุด

    ปัญหาเรื่องการเงินที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาการเงินอีกหลาย ๆ อย่างเลย คือ เก็บเงินไม่อยู่ ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากการที่เราไม่รู้ วิธีออมเงิน ที่ถูกต้องหรือไม่ แต่เมื่อเราไม่มีเงินออม เวลาเกิดเหตุไม่คาดฝันไม่ว่าจะเป็น ตกงาน เจ็บป่วย อุบัติเหตุ  ฯลฯ ก็จะทำให้เราไม่มีเงินไปจัดการปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งนั่นก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราต้องเริ่มกู้ยืม เป็นหนี้กันไป

    ซึ่งบอกเลยว่าพี่ทุยเองก็เคยเป็นคนที่เก็บออมเงินไม่ได้เหมือนกัน วันนี้พี่ทุยเลยมีเทคนิคสำหรับคนที่ออมเงินไม่เก่งก็สามารถทำได้มาฝากกัน เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่ได้ผลดีมาก เพราะพี่ทุยลองเองมาแล้ว

    5 วิธีออมเงิน แบบง่าย ๆ

    1. เก็บออมก่อนใช้เสมอ

    “วิธีออมเงิน” นี้เป็นวิธีที่เราน่าจะได้ยินกันมานาน แต่รู้กันหรือไม่ว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ทรงพลังมากที่สุด พี่ทุยเชื่อว่าทุกคนน่าจะเคยเจอปัญหาประมาณว่าเหลือเงินอยู่ 500 บาท แต่ต้องใช้ชีวิตให้รอดตลอดอาทิตย์กันมาบ้างแน่ ๆ แล้วก็เป็นอะไรที่น่าแปลก เพราะเราก็มักจะรอดมาได้ทุกครั้ง เหตุผลก็เพราะว่าคนเรามีความสามารถในการปรับตัว

    การเก็บออมก่อนใช้ก็เป็นการสร้างสถานการณ์ที่คล้าย ๆ กับที่พี่ทุยพูดถึงไป สมมติว่า เราตั้งใจจะเก็บให้ได้เดือนละ 1,000 บาท แต่ถ้าเราไม่มีการออมก่อนใช้ แปลว่าอาทิตย์สิ้นเดือนนั้นเราจะเงินเหลือ 1,500 บาท แทนที่จะเป็น 500 บาท ทีนี้เราก็จะเริ่มหาข้ออ้าง ข้อแก้ตัวอย่างเช่น “ไว้ก่อนละกัน” “ไว้ค่อยเก็บเดือนหน้าละกัน” เหตุผลสารพัดที่สุดท้ายถูกหยิบยกขึ้นมาทำให้เราเก็บเงินไม่ได้

    พี่ทุยแนะนำต่อว่า สำหรับเงินที่หักออมล่วงหน้าออกมาทุกเดือนให้เปิดบัญชีแยกเก็บกับบัญชีที่เราใช้ประจำ เพื่อเป็นการวางเงินให้ไกลไม้ไกลมือมากที่สุด ตอนที่พี่ทุยเริ่มเก็บออมเงิน พี่ทุยจะไม่ผูกอะไรไว้กับบัญชีที่เก็บเงินแยกเลย ไม่ว่าจะเป็นบัตรเดบิต Mobile Banking ต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่เราไปหยิบถอนออกมา โดยบัญชีที่เก็บแยกเราอาจจะใช้บัญชีเงินฝากประจำ ที่ต้องมีการฝากเงินทุกเดือนเพื่อเป็นการเพิ่มวินัยการออมให้กับตัวเราไปในตัวด้วย

    2. เก็บแบงก์ 50 และหยอดเหรียญใส่กระปุก

    อีกวิธีการหนึ่งที่พี่ทุยทำแล้ว รู้ตัวอีกทีก็มีเงินเก็บเพิ่มขึ้นเดือนละหลายพัน การเก็บ ’แบงก็ 50’ และ ‘หยอดเหรียญใส่กระปุก’ หลักการก็คือ ทุกครั้งที่เราได้เงินทอนกลับมาเป็น ‘แบงก์ 50’ หรือ ‘เหรียญ’ อะไรก็ตาม ห้ามใช้เด็ดขาด! ให้เก็บกลับมาบ้าน แล้วหยอดเข้ากระปุกทันที

    จากนั้นทุกเดือนก็นำเงินในกระปุกนำไปใส่บัญชีธนาคารที่เราเปิดแยกไว้นั่นเอง

    3. ทำบัญชีรายจ่าย

    จดให้หมด จดให้ครบทุกบาททุกสตางค์ที่เราใช้จ่ายออกไป เพื่อให้เราเห็นภาพการใช้จ่ายของเราในแต่วัน แต่ละสัปดาห์ว่าเราใช้จ่ายอะไรออกไปบ้าง สิ่งที่น่าแปลกใจ คือ เมื่อเรามีการเริ่มบันทึกว่าเราจ่ายอะไรออกไปบ้าง เราจะเริ่มใช้จ่ายน้อยลงไปแบบไม่รู้ตัว แนะนำ 5 Application ที่ช่วย “จัดการรายรับรายจ่าย”

    4. ใช้บัตรเครดิตอย่างพอดี

    ส่วนตัวพี่ทุยก็ยังมองว่า ‘บัตรเครดิต’ มีประโยชน์มากกว่าข้อเสีย สำหรับคนที่ใช้เป็น เพราะว่าการใช้จ่ายเงินสดแทบจะไม่ได้ส่วนลดหรือสิทธิพิเศษอะไรกลับมาเลย แต่ถ้าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะได้ทั้งเงินคืน การสะสมแต้ม ต่าง ๆ ซึ่งกฎเหล็กของการใช้ ‘บัตรเครดิต’ มีเพียงข้อเดียวเลยก็คือ..

    จะรูดบัตรเครดิตก็ต่อเมื่อเรามีเงินสดจ่าย ณ เวลานั้นเท่านั้น

    ถ้าไม่มีก็ห้ามรูดเด็ดขาด เพราะถ้ารูดไปแล้ว ก็แปลว่า เรากำลังดึงเงินในอนาคตออกมาใช้ นอกจากนี้การใช้ จ่ายผ่านบัตรเครดิต ยังช่วยให้เราทำ ‘บัญชีรายจ่าย’ ง่ายขึ้นด้วย เพราะทุกการใช้งานจะถูกบันทึกไว้เสมอ ไม่ต้องกลัวลืมอีกต่อไป!

    5. ก่อนซื้อของทุกครั้งคิดอย่างน้อย 3 วัน

    คนเรามักจะซื้อของด้วยอารมณ์ วิธีแก้ที่พี่ทุยใช้กับตัวเองและได้ผลมากเลยก็คือ ถ้าจะซื้ออะไรที่ไม่ใช่ของที่ต้องซื้ออยู่ในชีวิตประจำอยู่แล้ว พี่ทุยจะกลับไปนอนคิดอย่างน้อย 3 วัน ว่าเราต้องการของชิ้นนี้จริงหรือเปล่า ซื้อแล้วจะได้ใช้มั้ย ถ้าได้ใช้แล้วจะได้ใช้บ่อยมากแค่ไหน คุ้มค่ากับการจ่ายออกไปหรือไม่ ซึ่งสิ่งที่น่าแปลกใจ คือ ตอนช่วงพี่ทุยเริ่มต้นเก็บเงิน หลังจากที่กลับมานอนคิดแล้ว ก็พบว่าไม่จำเป็นต้องซื้อของพวกนั้นเลย ก็จะช่วยทำให้เรามีเงินเก็บมากขึ้น

    ลองเอาไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวเองกันดูนะ ของแบบนี้สำคัญที่ตอนเริ่มต้น จะเก็บออมมากหรือน้อยไม่ใช่เรื่องสำคัญ เมื่อได้เริ่ม และเห็นเงินหลักพัน หลักหมื่นในบัญชี มันจะเริ่มมีกำลังใจ แล้วหลังจากนั้นพลังในการออมก็จะมีต่อไปอย่างไม่รู้จบเลยล่ะ!

    เก็บเงินยังไงให้ได้10000

    วิธีเก็บเงิน 10,000 ภายใน 1 เดือน.
    เก็บเงินให้ได้วันละ 333 บาท จนครบ 30 วัน ใน 1 เดือนก็จะได้เงินเก็บทั้งหมด 9,990 บาท (วันสุดท้ายก็ออมเพิ่มไปอีก 10 ครบ 10,000 พอดี).
    เก็บเงินให้ได้อาทิตย์ละ 2,000 บาท เดือนหนึ่งก็จะได้ 5*2000 = 10,000 พอดีเป๊ะ.
    ใช้ตารางเก็บเงินช่วย.

    เก็บเงินยังไงให้ได้3000

    วิธีเก็บเงินให้อยู่แบบไม่ต้องมานั่งนับเงินเอง นั่นก็คือการหักดิบโดยให้เราเปิดบัญชีออมทรัพย์หรือบัญชีฝากประจำดอกเบี้ยสูงขึ้นใหม่อีกหนึ่งบัญชี จากนั้นทุกๆ วันที่เงินเดือนเข้าก็ให้ทางธนาคารหักเงินจากบัญชีเงินเดือนไปเก็บไว้ที่บัญชีเงินออมทันที 3000 บาท เท่านี้เราก็จะสามารถเก็บเงินได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้วค่ะ

    เก็บ เงินสด ยัง ไง ให้ ปลอดภัย

    5 วิธีเก็บ “ของมีค่า” เพิ่มความปลอดภัย หายห่วง.
    1. เก็บไว้ในตู้เซฟที่บ้าน ... .
    2. ตู้หรือลิ้นชักเก็บของ พร้อมกุญแจล็อก ... .
    3. เปลี่ยนของสะสมเป็นเงินสด และนำฝากธนาคาร ... .
    4. ฝากโรงรับจำนำ ... .
    5. เช่าตู้นิรภัย เพิ่มความอุ่นใจ ที่ สโตร์ อิท!.

    ทำยังไงให้ได้เงินเยอะๆ

    10 วิธีมีเงินเพิ่มในกระเป๋าตังค์ ภายใน 30 วัน ฉบับมนุษย์เงินเดือน.
    1. เพิ่มเงินด้วยสูตร 30-45-25. ... .
    2. ออมเงินตามวันที่ ... .
    3. แบ่งเงินใช้ตามวัน ... .
    4. ซื้อของฟุ่มเฟือยแค่ไหน ก็หยอดกระปุกแค่นั้น ... .
    5. เปิดบัญชีเงินฝากประจำปลอดภาษีแบบ 24 เดือนหรือ 36 เดือน ... .
    6. ซื้อกองทุนรวมที่ไม่เสี่ยง ... .
    8. ออมเงินเท่าค่ากาแฟ ... .
    9. เก็บแต่เงินเหรียญเท่านั้น.