สงครามครูเสดส่งผลต่อยุโรปหลายประการ ยกเว้น ข้อใด

การที่นักรบครูเสดบุกยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลในสงครามครูเสดครั้งที่ 4 ได้ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์อ่อนแออย่างมาก กระทั่งไม่อาจต้านทานการรุกรานของพวกออตโตมันเติร์กและล่มสลายไปในที่สุด

ประการที่สาม สงครามครูเสดมีผลให้ระบบฟิวดัลของยุโรปเสื่อมลง เนื่องจากขุนนางและอัศวินซึ่งปกครองดูแลแมเนอร์ของตนในเขตต่างๆ ต้องไปร่วมรบในสงครามครูเสด ทำให้กษัตริย์มีอำนาจปกครองดินแดนต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงการจัดเก็บภาษีจากราษฎรและการเกณฑ์ทัพ กระทั่งสามารถพัฒนารัฐชาติได้ในเวลาต่อมา

ด้านเศรษฐกิจ สงครามครูเสดส่งผลกระทบที่สำคัญทางเศรษฐกิจ คือ

ประการแรก หลังสงครามครูเสดยุติลงแล้ว พ่อค้ายุโรปโดยเฉพาะในแหลมอิตาลีประสบปัญหาการเดินเรือในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพราะเมืองท่าบางแห่งอยู่ใต้อำนาจของพวกมุสลิมซึ่งมีคติต่อชาวยุโรป นอกจากนี้พ่อค้ายุโรปยังประสบปัญหาการขยายการค้ากับดินแดนตะวันออกตามเส้นทางบกซึ่งต้องผ่านดินแดนของพวกมุสลิม ดังนั้นชาวยุโรปจึงต้องพัฒนาเส้นทางทะเล โดยเฉพาะการเดินเรืออ้อมแอฟริกาไปยังเอเชียที่ประสบความสำเร็จในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติในเวลาต่อมา

ประการที่สอง การติดต่อกับตะวันออกกลางในช่วงสงครามครูเสดทำให้ชาวยุโรปรู้จักบริโภคสินค้าและผลิตภัณฑ์จากตะวันออกกลาง เช่น ข้าว น้ำตาล มะนาว ผลแอปริคอต และผ้าป่านมัสลิน ซึ่งกลายเป็นสินค้าที่ยุโรปนำเข้าเป็นประจำ

ด้านสังคม สงครามครูเสดทำให้เกิดผลกระทบทางสังคม คือ

ประการแรก สงครามครูเสดได้เปิดโลกทัศน์ของชาวยุโรปเกี่ยวกับ “โลกตะวันออก” โดยเฉพาะคาวมก้าวหน้าและเทคโนโลยีของชาวตะวันออก เช่น การใช้ดินปืนในการทำสงคราม ต่อมาชาวยุโรปได้นำความรู้นี้ไปพัฒนาเป็นอาวุธปืนและสามารถทำสงครามชนะชาวเอเชีย ทำให้ยุโรปกลายเป็นมหาอำนาจของโลก

ประการที่สอง นักรบครูเสดมาจากดินแดนต่างๆ ในสังคมของระบบฟิวดัลที่ไม่มีโอกาสรู้จักโลกภายนอกมากนัก เมื่อได้พบปะเพื่อนนักรบอื่นๆ จึงได้แลกเปลี่ยนทัศนคติและองค์ความรู้ต่อกัน ทำให้เกิดการหล่อหลอมทางด้านวัฒนธรรมและความคิดของชาวยุโรป โดยเฉพาะในการแสดงออกทางความคิดการวิพากษ์วิจารณ์ และการเปิดรับแนวคิดใหม่ ซึ่งรากฐานของขบวนการมนุษย์นิยมที่เติบโตในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุดมการณ์เสรีนิยมของยุโรปสมัยใหม่

ประการที่สาม สงครามครูเสดเปิดโอกาสให้สตรีได้พัฒนาสถานะของผู้นำในสังคมและชุมชน เนื่องจากสามีต้องไปรบในสงคราม ภรรยาจึงต้องบริหารจัดการและดูแลทรัพย์สินรวมทั้งข้าทาสบริวารและผลประโยชน์ต่างๆ ส่งผลให้สังคมยอมรับศักยภาพและความสามารถของสตรีซึ่งเป็นพลังสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคม

สงครามครูเสดทำให้เกิดผลลัพธ์ทางอ้อมหลายประการด้วยกันคือ

1.บ้านเมืองของชาวตะวันตกได้รับการท านุบำรุงจากเงินของพวกเจ้าขุน มูลนาย อัศวินนักรบทั้งหลายที่ไปทำสงครามแล้วไม่ได้กลับมา ส่วนพวกที่ไม่ได้เสียชีวิตในการรบ ก็ต้องจ่ายเงินเพื่อช่วยทำสงคราม ทำให้เสียดุลย์ในการมีทรัพย์ อำนาจของกษัตริย์มีมากขึ้น
2.ชาวตะวันตกได้รับความรู้ใหม่ๆ หลายอย่างจากชาวมุสลิม เช่นเรื่องโรงสีลม การใช้เข็มทิศเดินเรือ  ทำให้อุตสาหกรรมเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ส่วนชาวอิสลามเองก็ได้รับความรู้จากพวกคริสต์มากมายเช่นกัน
3.ในการสำรวจพื้นที่เพื่อทำการสงครามที่ต่อเนื่องนั้น ทำให้ชาวเวนิสผู้หนึ่งมีชื่อเสียงขึ้นมา คือ มาร์โคโปโล

ที่มา http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/13/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%94-the-crusades-%E0%B8%84-%E0%B8%A8-1096-1291/

file:///C:/Users/Administrator/Documents/e0b8aae0b887e0b884e0b8a3e0b8b2e0b8a1e0b884e0b8a3e0b8b9e0b980e0b8aae0b894.pdf

1.  ระบบฟิวดัลเสื่อมลง สงครามครูเสดทำให้ขุนนางลดจำนวนเนื่องจากเสียชีวิตในสงครามขุนนางที่เหลือก็ยากจนลง สถาบันกษัตริย์จึงแข็งแกร่งขึ้น และพวกข้าติดที่ดินได้รับอิสระ

2. สงครามครูเสดทำให้การค้าขยายตัวไปทั่วทั้งดินแดนภาคตะวันตกและดินแดนภาคตะวันออก สินค้าจากภาคตะวันออกได้เข้าไปแพร่หลายในยุโรป เช่น ผ้าไหม เครื่องเทศ

3. เมืองต่างๆ กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรือง เช่น นครรัฐในอิตาลี

4. เมื่อการค้าขยายตัวส่งผลให้เมืองต่างๆขยายตัว และมีการนำแร่เงินและแร่ทองเข้ามาเผยแพร่ในยุโรป ทำให้การซื้อขายใช้ระบบเงินตราแทนที่การแลกเปลี่ยนสินค้า

5. ชนชั้นผู้นำของกองทัพครูเสดได้นำเอาอารยธรรมกรีก-โรมัน ทั้งจากดินแดนจักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิมุสลิมกลับเข้ามาเผยแพร่ในยุโรปอีกครั้ง

               การปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจเปลี่ยนไปขึ้นอยู่การอุตสาหกรรม ประเทศที่มีวัตถุดิบในการผลิตสินค้าและมีกำลังคน จึงได้รับประโยชน์จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ ประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรจึงกลายเป็นประเทศที่ล้าหลังทางเศรษฐกิจ เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างมาก นอกจากนี้ประเทศอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องพึ่งพากันทางเศรษฐกิจเพราะเมื่อเป็นประเทศอุตสาหกรรม การผลิตทางการเกษตรลดน้อยลง จึงต้องแลกเปลี่ยนสินค้ากับประเทศอื่น ขณะเดียวกันการแสวงหาตลาดเพื่อการค้าขาย หรือขยายตลาดระบายสินค้าก็เป็นเหตุให้เกิดการแข่งขันกันเพื่อขยายอิทธิพลออกไปในภูมิภาคที่กำลังพัฒนา