พัฒนาการด้าน การเมือง การปกครองสมัยสุโขทัย ป. 4

๑.ลักษณะการปกครอง

            ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ

พัฒนาการด้าน การเมือง การปกครองสมัยสุโขทัย ป. 4

๑) การปกครองสมัยสุโขทัยตอนต้น (พ.ศ. 1792-1841)

ในช่วงต้นของการสถาปนากรุงสุโขทัย เริ่มจากสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จนสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นการปกครองแบบพ่อปกครองลูก

) การปกครองสมัยสุโขทัยตอนปลาย (พ.ศ. 1841-1981)

หลังจากสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว กษัตริย์องต่อมา คือ พญาเลอไทย และพญางั่วนำถม ในช่วงนี้อาณาจักสุโขทัยเริ่มระส่ำระส่าย เมืองต่างๆ พากันแยกตัวเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัย ภายในบ้านเมืองเกิดความไม่สงบเรียบร้อย มีการแย่งชิงราชสมบัติกันอยู่เนืองๆ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลักษณะการปกครองแบบพ่อปกครองลูกเริ่มเสื่อมลง

เมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) ทรงขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890พระองค์ทรงตระหนักถึงความไม่สงบเรียบร้อยดังกล่าว และทรงเห็นว่า การแก้ปัญหาการเมืองด้วยอำนาจทางทหารเพียงอย่างเดียว คงทำได้ยากเพราะกำลังทหารของกรุงสุโขทัยในขณะนั้นไม่เข้มแข็งพอ พระองค์จึงทรงดำเนินนโยบายใหม่ ด้วยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้เป็นหลักปกครองอาณาจักรพร้อมกับได้ขยายอำนาจทางการเมืองออกไป

การปกครองที่ใช้หลักทางพระพุทธศาสนาปกครองนี้เรียกว่า การปกครองแบบธรรมราชา กษัตริย์ผู้ปกครองอยู่ในฐานะธรรมราชาหรือราชาผู้ทรงธรรม ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยหลักทศพิธราชธรรม

            ๒. การปกครองราชธานีและหัวเมือง

การปกครองในสมัยสุโขทัยจะมีลักษณะเป็นแบบการกระจายอำนาจการบริหารจากราชธานีไปสู่หัวเมืองต่างๆ ซึ่งหัวเมืองในอาณาจักสุโขทัย แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ในแต่ละชั้นกษัตริย์ทรงใช้อำนาจการปกครองดังนี้

                                                                                           เมืองหลวง (ราชธานี) เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์

  เมืองลูกหลวง (หัวเมืองชั้นใน) เป็นเมืองหน้าด่านตั้งอยู่รายรอบราชธานีทั้ง 4 ทิศ  

พัฒนาการด้าน การเมือง การปกครองสมัยสุโขทัย ป. 4

  ประเทศราช (เมืองขึ้น) เป็นเมืองชายแดนที่อยู่นอกราชอาณาจักร                                  

             ๓. ความสำคัญกับอาณาจักรสำคัญๆ

                        ขณะที่อาราจักสุโขทัยก่อตั้งขึ้นโดยมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ได้มีเมืองของชนชาติไทย และชนชาติอื่นๆ ตังตนเป็นอิสระอยู่บริเวณใกล้เคียงกันอีกหลายเมือง ซึ่งอาณาจักสุโขทัยมีความสัมพันธ์กับเมืองต่างๆ ดังนี้

                ๑) อาณาจักรล้านนา เป็นอาณาจักรที่อยู่ทางตอนเหนือของสุโขทัย และความเจริญรุ่งเรืองพอๆ กับอาณาจักสุโขทัย ด้วยเหตุที่อาณาจักทั้งสองต่างเป็นกลุ่มคนไทยด้วยกันจึงมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมาตลออด

พัฒนาการด้าน การเมือง การปกครองสมัยสุโขทัย ป. 4

๒) อาณาจักรนครศรีธรรมราช ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ได้เสด็จไปเยือนกษัตริย์แห่งแคว้นนครศรีธรรมราชและทรงติดต่อขอพระพุทธสิหิงค์จากลังกามาประดิษฐานยังกรุงสุโขทัย ส่วนในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงนำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท อย่างลังกาวงศ์จากเมืองนครศรีธรรมราชมาเผยแพร่ในกรุงสุโขทัย 

พัฒนาการด้าน การเมือง การปกครองสมัยสุโขทัย ป. 4

๓) จีน สุโขทัยได้มีการติดต่อค้าขายกับจีนมานาน ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงได้ส่งคณะทูตเดินทางไปสร้างสัมพันธไมตรีกับจีน มีไมตรีต่อกัน ซึ่งมีผลดีทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านการเมือง คือ มีการติดต่อค้าขายกับจีน และได้รับอิทธิพลการทำเครื่องเคลือบจากจีน ซึ่งต่อมาเรียกว่า เครื่องสังคโลก

พัฒนาการด้าน การเมือง การปกครองสมัยสุโขทัย ป. 4

๔) ลังกา สุโขทัยมีความสัมพันธ์กับลังกา ด้วยเรื่องพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ดังปรากฏในตำนานว่า กษัตริย์ของนครศรีธรรมราชร่วมกับกษัตริย์แห่งสุโขทัย ทรงส่งพระภิกษุเป็นทูตไปทูลขอพระพุทธสิหิงค์จากลังกา

พัฒนาการด้าน การเมือง การปกครองสมัยสุโขทัย ป. 4