วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก

นับแต่โบราณกาลมา ผู้คนรู้จักใช้เส้นเชือก ภาพวาดและเครื่องหมายเพื่อใช้ในการจดบันทึกสิ่งต่างๆ เมื่อล่วงเวลานานเข้าจึงเกิดวิวัฒนาการกลายเป็นตัวอักษร

สำหรับศิลปะในการเขียนตัวอักษรจีนนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมๆ กับตัวอักษรจีนเลยทีเดียว ดังนั้น การจะศึกษาถึงศิลปะในการเขียนตัวอักษรจีนจึงต้องทำความเข้าใจถึงต้นกำเนิดของตัวอักษรควบคู่กันไป

การปรากฏของตัวอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดมาจากแหล่งโบราณคดีปั้นปอจากเมืองซีอัน มณฑลส่านซี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน สามารถนับย้อนหลังกลับไปได้กว่า 5,000 ปี โดยอยู่ในรูปของอักษรภาพที่สลักเป็นรูปวงกลม เสี้ยวพระจันทร์และภูเขาห้ายอดบนเครื่องปั้นดินเผา จวบจนกระทั่งเมื่อ 3,000 ปี ก่อนจึงก้าวเข้าสู่รูปแบบของอักษรจารบนกระดูกสัตว์ ซึ่งนับเป็นยุคต้นของศิลปะการเขียนอักษรจีน

เมื่อปี ค.ศ. 1899 ชาวบ้านจากหมู่บ้านเล็ก ๆแห่งหนึ่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภออันหยางมณฑลเหอหนันประเทศจีนได้ค้นพบสิ่งที่เรียกกันว่า ‘กระดูกมังกร’ จึงนำมาใช้ทำเป็นตัวยารักษาโรค ต่อมาเนื่องจากพ่อค้าหวังอี้หรงเกิดความสนใจต่อตัวอักษรบนกระดูก จึงสะสมไว้มีจำนวนกว่า 5,000 ชิ้นและส่งให้ผู้เชี่ยวชาญทำการศึกษาวิจัย จึงพบว่ากระดูกมังกรนั้นแท้ที่จริงคือกระดูกที่จารึกอักขระโบราณของยุคสมัยซาง ที่มีอายุเก่าแก่ถึง 1,300 ปีก่อนคริสตกาล

ทั้งนี้ หากเรียงลำดับวิวัฒนาการตัวอักษรจีนผ่านยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ อาจสามารถแบ่งได้โดยสังเขป ดังนี้ เริ่มจากเจี๋ยกู่เหวินหรืออักษรจารบนกระดูกสัตว์ (甲骨文)จินเหวินหรืออักษรโลหะ (金文)อักษรเสี่ยวจ้วนหรือจ้วนเล็ก(小篆) อักษรลี่ซู(隶书) อักษรข่ายซู (楷书)อักษรเฉ่าซู 草书)และอักษรสิงซู (行书)เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการของตัวอักษรจีนเกิดจากการฟูมฟักอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีการผสมผสานกันของอักษรชนิดที่แตกต่างกันในชั่วระยะเวลาหนึ่งผ่านการขัดเกลาจนเกิดเป็นตัวอักษรชนิดใหม่เข้าแทนที่อักษรชนิดเดิม ไม่ใช่การยกเลิกอักษรชนิดเก่าโดยสิ้นเชิง ดังนั้น ผู้คนในยุคต่อมาจึงยังคงมีการศึกษาและ

    ในสมัยโบราณ คนจีนเขียนหนังสือโดยไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอนเลย ทำให้หนังสือโบราณเป็นหนังสือที่อ่านยาก เพราะไม่รู้ว่าจะแบ้่งคั่นประโยคตรงไหนอย่างไร เพื่อให้เข้าใจจึงจำเป็นต้องชำระเนื้อหาในหนังสือด้วยการตัดแบ่งประโยคด้วยเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ให้เหมาะสม และทำให้อ่านเข้าใจได้ การเรียนภาษาจีนในปัจจุบัน กำหนดให้ผู้เรียนต้องต้องรู้จักใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ อย่างถูกต้อง จะได้เขียนสื่อสารกันให้ตรงความหมาย ส่วนผู้อ่านก็สามารถเข้าใจเนื้อหาของข้อความอย่างถูกต้องตามความหมายของผู้เขียน ดังนั้น การใช้เครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ ให้ถูกต้อง จึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้อักษรหรือคำในการประโยคภาษาจีน

          ตั้งแต่ที่มีการกำเนิดของคอมพิวเตอร์เป็นต้นมา รูปแบบการเขียนอักษรจีนถูกพัฒนาขึ้นจนนับไม่ถ้วน คร่าวๆ ประมาณหลักหมื่นจนถึงหลักแสนรูปแบบ แต่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีอยู่เพียงประมาณ 3000 รูปแบบ ซึ่งการเข้ามาของคอมพิวเตอร์ทำให้การออกแบบรูปแบบของตัวอักษรจีนไร้ขีดจำกัด เราสามารถสร้างตัวอักษรแบบไหนขึ้นมาก็ได้

          นับแต่โบราณกาลมา ผู้คนรู้จักใช้เส้นเชือก ภาพวาดและเครื่องหมายเพื่อใช้ในการจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ เมื่อล่วงเวลานานเข้า จึงเกิดวิวัฒนาการกลายเป็นตัวอักษร สำหรับศิลปะในการเขียนตัวอักษรจีนนั้น ได้ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อม ๆกับตัวอักษรจีนเลยทีเดียว ดังนั้น การจะศึกษาถึงศิลปะในการเขียนตัวอักษรจีนจึงต้องทำความเข้าใจถึงต้นกำเนิด ของตัวอักษรควบคู่กันไป

วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก


          การปรากฏของอักษรจีนที่เก่าแก่ที่สุดมาจากแหล่งโบราณคดีปั้นปอจาก เมืองซีอันมณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน สามารถนับย้อนหลังกลับไปได้กว่า 5,000 ปี โดยอยู่ในรูปของอักษรภาพที่สลักเป็นรูปวงกลม เสี้ยวพระจันทร์และภูเขาห้ายอดบนเครื่องปั้นดินเผา จวบจนถึงเมื่อ 3,000 ปีก่อนจึงก้าวเข้าสู่รูปแบบของอักษรจารบนกระดูกสัตว์ ซึ่งนับเป็นยุคต้นของศิลปะการเขียนอักษรจีน  อักษรภาพที่เก่าแก่ที่สุดในจีน

วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก


           เมื่อปี ค.ศ. 1899 ชาวบ้านจากหมู่บ้านเล็ก ๆแห่งหนึ่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภออันหยางมณฑลเหอหนันประเทศจีนได้ ค้นพบสิ่งที่เรียกกันว่า กระดูกมังกรจึงนำมาใช้ทำเป็นตัวยารักษาโรค ต่อมาเนื่องจากพ่อค้าหวังอี้หรงเกิดความสนใจต่อตัวอักษรบนกระดูก จึงสะสมไว้มีจำนวนกว่า 5,000 ชิ้นและส่งให้ผู้เชี่ยวชาญทำการศึกษาวิจัย จึงพบว่ากระดูกมังกรนั้นแท้ที่จริงคือกระดูกที่จารึกอักขระโบราณของยุคสมัย ซาง ที่มีอายุเก่าแก่ถึง 1,300 ปีก่อนคริสตกาล

          อย่างไรก็ตาม วิวัฒนาการของตัวอักษรจีนเกิดจากการฟูมฟักอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีการผสมผสานกันของอักษรชนิดที่แตกต่างกันในชั่วระยะเวลาหนึ่งผ่านการขัดเกลาจนเกิดเป็นตัวอักษรชนิดใหม่เข้าแทนที่อักษรชนิดเดิม ไม่ใช่การยกเลิกอักษรชนิดเก่าโดยสิ้นเชิง ดังนั้น ผู้คนในยุคต่อมาจึงยังคงมีการศึกษาและใช้อักษรในยุคเก่าก่อน ทั้งในเชิงศิลปะหรือในชีวิตประจำวันที่ยังคงพบเห็นได้อยู่เสมอ


วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก

อักษรจารบนกระดูกสัตว์

อักษรจารบนกระดูกสัตว์(甲骨文)เป็นอักขระโบราณที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของจีน เท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบัน โดยมากอยู่ในรูปของบันทึกการทำนายที่ใช้มีดแกะสลักหรือจารลงบนกระดองเต่า หรือกระดูกสัตว์ ปรากฏแพร่หลายในราชสำนักซางเมื่อ 1,300 1,100 ปีก่อนคริสตกาล ลักษณะของตัวอักขระบางส่วน ยังคงมีลักษณะของความเป็นอักษรภาพอยู่ โครงสร้างตัวอักษรเป็นรูปวงรี มีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกัน ที่ขนาดใหญ่บ้างสูงถึงนิ้วกว่า ขนาดเล็กเท่าเมล็ดข้าว บางครั้งในอักขระตัวเดียวกันยังมีวิธีการเขียนที่แตกต่างกัน ตัวอักษรมีการพัฒนาการในแต่ละช่วงเวลา โดยมีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ ยุคต้น ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ยุคกลาง มีขนาดเล็กและลายเส้นที่เรียบง่ายกว่า เมื่อถึงยุคปลายจะมีลักษณะใกล้เคียงกับอักษรจินเหวินหรืออักษรโลหะที่มีความ เป็นระเบียบสำรวม


วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก

อักษรโลหะ

อักษรโลหะ (金文) เป็นอักษรที่ใช้ในสมัยซางต่อเนื่องถึงราชวงศ์โจว (1,100771ปีก่อนคริสตศักราช) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า จงติ่งเหวิน’ หมายถึงอักษรที่หลอมลงบนภาชนะทองเหลืองหรือสำริด เนื่องจากตัวแทนภาชนะสำริดในยุคนั้นได้แก่ ติ่งซึ่งเป็นภาชนะคล้ายกระถางมีสามขา ใช้แสดงสถานะทางสังคมของคนในสมัยนั้นและตัวแทนจากเครื่องดนตรีที่ทำจากโลหะ คือ จงหรือระฆัง ดังนั้นอักษรที่สลักหรือหลอมลงบนเครื่องใช้โลหะดังกล่าวจึงเรียกว่า จงติ่งเหวินมีลักษณะพิเศษ คือ มีลายเส้นที่หนาหนัก ร่องลายเส้นราบเรียบที่ได้จากการหลอม ไม่ใช่การสลักลงบนเนื้อโลหะ อักษรโลหะในสมัยหลังรัชสมัยเฉิงหวังและคังหวังแห่งราชวงศ์โจว จะมีความสง่างาม สะท้อนภาพลักษณ์ที่สุขุมเยือกเย็น

เนื้อหาที่บันทึกด้วยอักษรโลหะ โดยมากเป็น คำสั่งการของชนชั้นผู้นำ พิธีการบูชาบรรพบุรุษ บันทึกการทำสงคราม เป็นต้น มีการบันทึกการค้นพบอักษรโลหะตั้งแต่รัชสมัยฮั่นอู่ตี้ในราชวงศ์ฮั่น (116 ปีก่อนคริสตศักราช) บนภาชนะ ติ่งที่ส่งเข้าวังหลวง ดังนั้น จึงมีการศึกษาและการทำอรรถาธิบายจากปัญญาชนในยุคต่อมา


วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก

อักษรจ้วนเล็ก

จากสมัยชุนชิวจั้นกว๋อจนถึงยุคการก่อตั้งราชวงศ์ฉิน (770202 ปีก่อนคริสตศักราช) โครงสร้างของตัวอักษรจีนโดยมากยังคงรักษารูปแบบเดิมจากราชวงศ์โจวตะวันตก ซึ่งนอกจากอักษรโลหะแล้ว ยังมีอักษรรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะกับการบันทึกลงในวัสดุแต่ละชนิด เช่น อักษรที่ใช้ในการลงนามสัตยาบันร่วมระหว่างแว่นแคว้นที่สลักลงบนแผ่นหยกก็ เรียกว่า หนังสือพันธมิตร หากสลักลงบนไม้ก็เรียกสาส์นไม้ หากสลักลงบนหินก็เรียก ตัวหนังสือกลองหิน ฯลฯ นอกจากนี้ ก่อนการรวมประเทศจีนบรรดาเจ้านครรัฐหรือแว่นแคว้นต่างก็มีตัวอักษรที่ใช้แตกต่างกันไป ซึ่งส่วนหนึ่งได้แก่อักษรจ้วนใหญ่หรือต้าจ้วน ซึ่งเป็นต้นแบบของเสี่ยวจ้วนในเวลาต่อมา

ภายหลังจากจิ๋นซีฮ่องเต้ได้รวมแผ่นดินจีนเข้าด้วยกันในปีค.ศ. 221แล้ว ก็ทำการปฏิรูประบบตัวอักษรครั้งใหญ่ โดยการสร้างมาตรฐานรูปแบบตัวอักษรที่เป็นหนึ่งเดียวกันทั่วประเทศ กล่าวกันว่า ภายใต้การผลักดันของมหาเสนาบดีหลี่ซือ ได้มีการนำเอาตัวอักษรดั้งเดิมของรัฐฉิน(อักษรจ้วน)มาปรับให้เรียบง่ายขึ้น จากนั้นเผยแพร่ออกไปทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ก็ยกเลิกอักษรที่มีลักษณะเฉพาะจากแว่นแคว้นอื่น ๆในยุคสมัยเดียวกัน อักษรที่ผ่านการปฏิรูปนี้ รวมเรียกว่า อักษรเสี่ยวจ้วนหรือจ้วนเล็ก (小篆) ถือเป็นอักษรที่ใช้ทั่วประเทศจีนเป็นครั้งแรก


วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก

อักษรลี่ซู

ขณะที่ยุคสมัยฉินประกาศใช้อักษรจ้วนเล็กอย่างเป็นทางการ พร้อมกันนั้นก็ปรากฏว่ามีการใช้อักษรลี่ซู(隶书)ควบคู่กันไป โดยมีการประยุกต์มาจากการเขียนอักษรจ้วนอย่างง่าย อักษรลี่ซูทำให้อักษรจีนก้าวเข้าสู่ขอบเขตของอักษรสัญลักษณ์อย่างเต็มรูปแบบ อาจกล่าวได้ว่า เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนรูปจากอักษรโบราณที่ยังมีความเป็นอักษรภาพสู่ อักษรจีนที่ใช้ในปัจจุบัน

สำหรับที่มาของอักษรลี่ซูนั้น กล่าวกันว่าสมัยฉินมีทาสที่เรียกว่าเฉิงเหมี่ยวผู้หนึ่ง เนื่องจากกระทำความผิด จึงถูกสั่งจำคุก เฉิงเหมี่ยวที่อยู่ในคุกคุมขังจึงคิดปรับปรุงตัวอักษรจ้วนให้เขียนง่ายขึ้น จากโครงสร้างกลมเปลี่ยนเป็นสี่เหลี่ยมกลายเป็นอักษรรูปแบบใหม่ จิ๋นซีฮ่องเต้ทอดพระเนตรเห็นแล้วทรงโปรดอย่างมาก จึงทรงแต่งตั้งให้เฉิงเหมี่ยวทำหน้าที่อารักษ์ในวังหลวง ต่อมาตัวหนังสือชนิดนี้แพร่หลายออกไป จึงมีการเรียกชื่อตัวหนังสือชนิดนี้ว่า อักษรลี่ซูหรืออักษรทาส (คำว่า ลี่ในภาษาจีนหมายถึง ทาส)

แต่ในเชิงโบราณคดีนั้น พบว่าอักษรลี่ซูเป็นอักษรที่ใช้เขียนบนวัสดุที่ทำจากไม้หรือไม้ไผ่มาตั้งแต่ ยุคจั้นกว๋อจนถึงสมัยฉิน และมีพัฒนาการมาเรื่อย ๆ จวบถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นได้กลายเป็นอักษรที่ได้รับความนิยมสูงสุด


วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก

อักษรข่ายซู

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอักษรจริง (真书) เป็นอักษรจีนรูปแบบมาตรฐานใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน อักษรข่ายซูเป็นเส้นสัญลักษณ์ที่ประกอบกันขึ้น ภายใต้กรอบสี่เหลี่ยม หลุดพ้นจากรูปแบบอักษรภาพของตัวอักขระยุคโบราณอย่างสิ้นเชิง

อักษรข่ายซูมีต้นกำเนิดในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ภายหลังราชวงศ์วุ่ยจิ้น(สามก๊ก) (คริสตศักราช 220 316) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จากการก้าวเข้าสู่ขอบเขตขั้นใหม่ของอักษรลี่ซู พัฒนาตามมาด้วย อักษรข่ายซู เฉ่าซู และสิงซู ก้าวพ้นจากข้อจำกัดของลายเส้นที่มาจากการแกะสลัก เมื่อถึงยุคถัง(คริสตศักราช 618 907) จึงก้าวสู่ยุคทองของอักษรข่ายซูอย่างแท้จริง จวบจนปัจจุบัน อักษรข่ายซูยังเป็นอักษรมาตรฐานของจีน


วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก

อักษรเฉ่าซู

ตั้งแต่กำเนิดมีตัวอักษรจีนเป็นต้นมา อักษรแต่ละรูปแบบล้วนมีวิธีการเขียนแบบตัวหวัดทั้งสิ้น จวบจนถึงราชวงศ์ฮั่น อักษรหวัดจึงได้รับการเรียกขานว่า อักษรเฉ่าซู’ (草书)อย่างเป็นทางการ (คำว่า เฉ่าในภาษาจีนหมายถึง อย่างลวก ๆหรืออย่างหยาบ) อักษรเฉ่าซู เกิดจากการนำเอาลายเส้นที่มีแต่เดิมมาย่นย่อเหลือเพียงขีดเส้นเดียว โดยฉีกออกจากรูปแบบอันจำเจของกรอบสี่เหลี่ยมในอักษรจีน หลุดพ้นจากข้อจำกัดของขั้นตอนวิธีการขีดเขียนอักษรในแบบมาตรฐานตัวคัดหรือ ข่ายซู ในขณะที่อักษรข่ายซูอาจประกอบขึ้นจากลายเส้นสิบกว่าสาย แต่อักษรเฉ่าซูเพียงใช้ 2 3 ขีดก็สามารถประกอบเป็นสัญลักษณ์เช่นเดียวกันได้


วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก

อักษรสิงซู

อักษรสิงซู(行书)เป็นรูปแบบตัวอักษรที่อยู่กึ่งกลางระหว่างอักษรข่ายซูและ อักษรเฉ่าซู เกิดจากการเขียนอักษรตัวบรรจงที่เขียนอย่างหวัดหรืออักษรตัวหวัดที่เขียน อย่างบรรจง อาจกล่าวได้ว่า เป็นตัวอักษรกึ่งตัวหวัดและกึ่งบรรจง อักษรสิงซูกำเนิดขึ้นในราวปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก รวบรวมเอาปมเด่นของอักษรข่ายซูและเฉ่าซูเข้าด้วยกัน


วิวัฒนาการอักษรจีนเริ่มจาก

อักขระโบราณและอักษรปัจจุบัน

ตัวอักษรจีนสามารถแบ่งออกเป็นอักขระที่ใช้ในสมัยโบราณกับอักษรที่ใช้ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น อักษรลี่ซูซึ่งเป็นรูปแบบของอักขระโบราณ อันเป็นต้นแบบของการปฏิรูปลักษณะตัวอักษรจีนครั้งใหญ่ กลายเป็นเส้นแบ่งระหว่างอักษรรุ่นเก่าและใหม่ ยุคสมัยที่ใช้อักษรลี่ซูและก่อนหน้านั้น ถือเป็นอักขระโบราณ ได้แก่ อักษรจารบนกระดูกสัตว์หรือเจี๋ยกู่เหวินจากสมัยซาง อักษรโลหะจากราชวงศ์โจวตะวันตก อักษรเสี่ยวจ้วนจากยุคสมัยจั้นกว๋อและสมัยฉิน หลังจากกำเนิดอักษรลี่ซูให้ถือเป็นอักษรในยุคปัจจุบัน อันได้แก่ อักษรลี่ซู อักษรข่ายซู สำหรับอักษรเฉ่าซูและสิงซู อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงพัฒนาการของรูปแบบตัวอักษร ไม่ใช่วิวัฒนาการของตัวอักษรจีนโดยรวม

วิวัฒนาการของอักษรจีนเริ่มจากอะไร

ระบบการเขียนภาษาจีนเกิดจากการวาดภาพของคนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาพัฒนาระบบการเขียนที่สมบูรณ์เมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน อักษรภาพอาศัยรูปลักษณ์ของตัวอักษรเองแสดงความหมาย กล่าวคือ ในช่วงแรกอักษณภาพส่วนใหญ่เห็นแล้วก็พอจะรู้หรือพอจะเดาได้ว่าหมายถึงอะไร ต่อมาในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมานี้ เพื่อให้ตัวอักษรจีนใช้งานได้ ...

อักษรใดที่ใช้กันทั่วประเทศจีนเป็นครั้งแรก

อักษรโบราณบนกระดองเต่าเรียกกันว่า "เจี่ยกู่เหวิน" ถือเป็นต้นกำเนิดของอักษรภาษาจีนในปัจจุบัน ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ซางในช่วงศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสต์ศักราช

ใครเป็นผู้ปฏิรูประบบตัวอักษรจีนครั้งใหญ่

หลังจาก 秦始皇 ได้รวมแผ่นดินจีนเข้าด้วยกันในปีค.ศ. 221 แล้ว ได้ทาการปฏิรูป ระบบตัวอักษรครั้งใหญ่โดยสร้างมาตรฐานรูปแบบตัวอักษรให้เป็นหนึ่งเดียวกันทั่วประเทศ

อักษรจ้วนซู คือ รูปแบบอักษรที่ใช้ในราชวงศ์ใด

อักษรข่ายซูมีต้นกำเนิดในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ภายหลังราชวงศ์วุ่ยจิ้น(สามก๊ก) (คริสตศักราช 220 – 316) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จากการก้าวเข้าสู่ขอบเขตขั้นใหม่ของอักษรลี่ซู พัฒนาตามมาด้วย อักษรข่ายซู เฉ่าซู และสิงซู ก้าวพ้นจากข้อจำกัดของลายเส้นที่มาจากการแกะสลัก เมื่อถึงยุคถัง(คริสตศักราช 618 – 907) จึงก้าวสู่ยุค ...