โครงการพระราชดำริ โครงการแรก

     ในการดำเนินการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทั้งการศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการศึกษาข้อมูลจากการลงพื้นที่จริงก่อนจะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งนี้พระองค์มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการดำเนินการอยู่เสมอว่า แนวพระราชดำริของพระองค์ เป็นเพียงข้อเสนอแนะ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรจะต้องนำพิจารณา วิเคราะห์ และกลั่นกรองตามหลักวิชาการ หากมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และเกิดประโยชน์คุ้มค่า จึงจะลงมือปฏิบัติต่อไป แต่หากไม่เกิดประโยชน์ ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการ ก็สามารถล้มเลิกได้

โครงการพระราชดำริในการพัฒนาชนบทโครงการแรก ก็คือ การสร้างถนนเข้าไปยังบ้านห้วยมงคล อำเภอหัวหินในปี พ.ศ. ๒๔๙๕

จากนั้น ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พระราชทานพระราชดำริให้สร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า อำเภอหัวหิน เพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง นับเป็นโครงการพระราชดำริด้านการชลประทานแห่งแรกของพระองค์
ขณะเดียวกัน ประเทศไทยมีปัญหาความมั่นคงของประเทศ เศรษฐกิจไม่ดี ราษฎรยังยากจนอยู่ ดังนั้น แนวพระราชดำริในการพัฒนาประเทศ เป็นลักษณะภาพรวมของประเทศก่อน แล้วทรงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละด้านอย่างมีความเชื่อมโยงกัน มีลักษณะคล้ายการต่อภาพ Jigsaw กล่าวคือ ทรงช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในชนบทห่างไกลและทุรกันดาร โดยการเข้าไปช่วยเหลือด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่จำเป็นเบื้องต้น เช่น แหล่งน้ำ ถนน ที่ดินทำกิน

พระราชดำริในระยะนี้ จึงเป็นการให้ความช่วยเหลือในลักษณะโครงการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อให้ราษฎรสามารถพึ่งตนเองได้เป็นสำคัญ ซึ่งโครงการพัฒนาในระยะนี้ มีชื่อที่เรียกแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานพัฒนา คือ โครงการตามพระราชประสงค์ โครงการหลวง โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ และโครงการส่วนพระองค์

เริ่มโดยการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อความมั่นคง โดยเฉพาะบริเวณชายแดนของประเทศที่มีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน ส่งผลให้ราษฎรลดการอพยพโยกย้าย มีหลักแหล่งที่อยู่อาศัยที่มั่นคง สามารถประกอบอาชีพ ลืมตาอ้าปากได้ ทรงเน้นการพัฒนาการเกษตรด้านต่างๆ เช่น ดิน พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ เป็นต้น ทรงเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยพื้นฐาน กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้าจะต้องพัฒนาด้านการเกษตรให้มีความมั่นคงเข้มแข็งก่อน
จากนั้นเป็นเรื่องของการคมนาคม เพื่อให้ราษฎรเดินทางสะดวกและปลอดภัยขึ้น รวมทั้งการจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
ซึ่งทั้งหมดนี้ ต่างสัมพันธ์และเชื่อมโยงถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งสิ้น ที่ส่งผลให้ประเทศชาติมีความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจ

 ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ พระราชทานแนวคิด "พออยู่พอกิน" เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต
ด้วยทรงเห็นว่า แนวทางการพัฒนาที่เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลักแต่เพียงอย่างเดียวอาจจะเกิดปัญหาได้ จึงทรงเน้นการมีพอกินพอใช้ของประชา ชนส่วนใหญ่ในเบื้องต้นก่อน เมื่อมีพื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอ สมควรแล้ว จึงสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น

                        ถ้าใช้ภาษาเศรษฐศาสตร์อธิบายความหมายนี้ คือ แทนที่จะเน้นการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมนำการพัฒนาประเทศ ควรที่จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจพื้นฐานก่อน นั่นคือ ทำให้ประชาชนในชนบทส่วนใหญ่พอมีพอกินก่อน เป็นแนวทางการพัฒนาที่เน้นการกระจายรายได้ เพื่อสร้างพื้นฐานและความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ก่อนเน้นการพัฒนาในระดับสูงขึ้นไป

พระราชดำริระยะที่สาม : เศรษฐกิจพอเพียง (พ.ศ. ๒๕๒๑ - ปัจจุบัน)
เมื่อทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐ มีแนวโน้มตามกระแสโลกและระบบการค้าเสรีมากขึ้น ผลจากการใช้แนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความทันสมัย ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่สังคมไทยอย่างมากในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคมและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งกระบวนการของความเปลี่ยนแปลง มีความสลับซับซ้อนจนยากที่จะอธิบายได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดต่างเป็นปัจจัยเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน

                        สำหรับผลของการพัฒนาในด้านบวกนั้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความเจริญทางวัตถุและสาธารณูปโภคต่างๆ ระบบสื่อสารที่ทันสมัย หรือการขยายปริมาณและกระจายการศึกษาอย่างทั่วถึงมากขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้กระจายไปถึงคนในชนบท หรือผู้ด้อยโอกาสในสังคมน้อย

                        ยิ่งไปกว่านั้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสังคมได้เกิดผลลบติดตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ได้ส่งผลให้ชนบทเกิดความอ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาดและพ่อค้าคนกลาง ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ระบบความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการรวมกลุ่มกันตามประเพณีเพื่อการจัดการทรัพยากรที่เคยมีอยู่แต่เดิมแตกสลายลง ภูมิความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมปรับเปลี่ยนกันมาถูกลืมเลือนและเริ่มสูญหายไป

สิ่งสำคัญ ก็คือ ความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเอง และดำเนินชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี ภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเอง ทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือน ซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฎการณ์นี้ได้เป็นอย่างดี

                        ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเป็นระยะๆ  และเป็นผลกระทบต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทอ่อนตัว น้ำมันขาดแคลนและมีราคาแพง สินค้าการเกษตรไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี ๒๕๔๐ ที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ฟองสบู่แตก ที่ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางไปทั่วโลก

โครงการพระราชดำริ โครงการแรก
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน "เศรษฐกิจพอเพียง" เพื่อเป็นการเตือนสติประชาชนและรัฐบาล ทรงเห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงในทางเศรษฐกิจได้  เช่น โดยพื้นฐานแล้ว ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม เศรษฐกิจของประเทศจึงควรเน้นที่เศรษฐกิจการเกษตร เน้นความมั่นคงทางอาหาร หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติ เช่น สงคราม หรือภาวะขาดแคลนทั่วโลก ถึงแม้จะมีเงินทองก็หาซื้ออาหารไม่ได้  ดังนั้น การสร้างความมั่นคงทางอาหาร เป็นการสร้างความมั่นคงให้ระบบเศรษฐกิจได้ เป็นระบบเศรษฐกิจที่ช่วยลดความเสี่ยง หรือความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวได้

ทรงเตือนสติให้ทุกคนตระหนักอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานานแล้วว่า การพัฒนาตามแนวทางสายกลางอย่างมีความสมดุลและพัฒนาอย่างมีขั้นตอน มีความพอดี พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกันยามวิกฤต โดยผสมผสานความรู้ด้านต่างๆ รวมทั้งการมีสติ มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และมีความเพียรไม่ย่อท้อต่อปัญหาและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประเทศไทย สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ เพราะมีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวไปตามเวลา และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้

โครงการในพระ ราชา นุ เคราะห์ มี อะไร บ้าง

โครงการต่างๆ ตามแนวพระราชดำริ.
การเกษตร ... .
สิ่งแวดล้อม ... .
การสาธารณสุข ... .
การส่งเสริมอาชีพ ... .
การพัฒนาแหล่งน้ำ ... .
การคมนาคมสื่อสาร ... .
สวัสดิการสังคม ... .
อื่นๆ.

ขั้นตอนการปฏิบัติโครงการพระราชดำริขั้นตอนแรกคือขั้นตอนใด

ขั้นตอนการดำเนินงาน.
ขั้นตอนการปฏิบัติงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
1. แนวพระราชดำริและฎีกา.
2. การประสานการจัดทำโครงการการวิเคราะห์/อนุมัติโครงการ.
3.การติดตามประเมินผลโครงการ.
4.การขยายผลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์.

4000 โครงการพระราชดําริ มีอะไรบ้าง

โครงการในพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ ๙ ที่หลายคนอาจยังไม่เคยรู้จัก.
โครงการแกล้งดิน “… ... .
โครงการพัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆ ... .
โครงการชั่งหัวมัน ... .
โครงการแก้มลิง ... .
โครงการหญ้าแฝก ... .
โครงการฝายชะลอน้ำ ... .
โครงการฝนหลวง.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโครงการอะไรบ้าง

โครงการพระราชดำริในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.
โครงการพัฒนาที่ดินมูลนิธิชัยพัฒนาบ้านเหมือดแอ่ ต.หนองตูม อ.เมือง จ.ขอนแก่น.
โครงการศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย.
โครงการสาธิตการพัฒนาพื้นที่บ้านยามกาน้อย จ.อุดรธานี.
โครงการพัฒนาพื้นที่การเกษตรแบบผสมผสานบ้านติ้ว จ.อุดรธานี.