หัวใจ บีบ ตัว ไม่ ดี

 ภาวะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว คือ ภาวะที่หัวใจอ่อนแอไม่สามารถบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายได้เพียงพอกับความต้องการในขณะนั้น ถึงแม้จะมีจำนวนเลือดมากพอ ส่วนใหญ่ภาวะหัวใจวายจะเกิดในระยะสุดท้ายของโรคหัวใจ ทั้งเป็นโรคแทรกซ้อนจากโรคอื่น

ภาวะหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจล้มเหลว
      มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ หัวใจห้องซ้ายวาย และหัวใจห้องขวาวาย ซึ่งภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดได้จากสภาวะทางโรคหัวใจ ได้แก่ จากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจเอง โรคลิ้นหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง การอักเสบ และการติดเชื้อของกล้ามเนื้อหัวใจ หรือลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หัวใจเต้นผิดจังหวะ การได้รับสารพิษต่างๆ เช่น ยาบ้า การดื่มสุรา และแอลกอฮอล์ อาการที่พบ คือเหนื่อยง่าย ไอเมื่อออกแรง ออกกำลัง ขณะพักหายใจลำบาก แน่น หายใจเหนื่อยหอบขณะนอนราบ อาการดีขึ้นเมื่อลุกขึ้นนั่ง ไม่มีแรง ข้อเท้าบวม แน่นในท้อง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการคั่งของน้ำโดยไม่ได้รับประทานอาหารมากขึ้น ความดันโลหิตสูง เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้นทำให้กล้ามเนื้อหนาตัว ต้องทำงานมากขึ้น และเกิดการล้มเหลวได้ พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจซึ่งจะนำไปสู่การเกิดภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว ได้แก่ การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (อ้วน)

หัวใจ บีบ ตัว ไม่ ดี

  • แน่นหน้าอก : โรคหัวใจวาย ส่วนใหญ่เกี่ยวกับอาการแน่นหน้าอก มักเกิดนานกว่า 2 – 3 นาที หรือเป็นๆ หายๆ อาจรู้สึกเหมือนถูกกด บีบ และแน่นๆ ทำให้รู้สึกไม่สบาย

  • แสดงอาการส่วนบนของร่างกาย : รวมถึงการเจ็บบริเวณหลัง แขนข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง คอ ขากรรไกร และท้อง

  • หายใจสั้นลง : มักเกิดตามอาการแน่นหน้าอก หรือเกิดก่อนอาการแน่นหน้าอกได้

  • สัญญาณอื่นๆ : ตื่นกลัว คลื่นไส้ และปวด

      อาการต่างๆ เหล่านี้ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหัวใจล้มเหลว และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น พบได้ในทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่วัยทารกจนถึงผู้สูงอายุ แต่สาเหตุของการเกิดจะแตกต่างกันไป โดยรวมแล้วพบในผู้ที่อายุมาก ในประเทศที่กำลังพัฒนา พบความชุกของภาวะหัวใจวายประมาณ 2–3% ของประชากรทั้งหมด และหากอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป จะพบความชุกของภาวะนี้ได้ 20–30%

สาเหตุ ของการเกิดภาวะหัวใจวาย

  • โรคหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ คือ เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น

  • โรคของกล้ามเนื้อหัวใจที่เรียกว่า Dilated Cardiomyopathy

  • โรคลิ้นหัวใจต่างๆ เช่น โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคลิ้นหัวใจตีบ

  • สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ค่อนข้างน้อย เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้รับยา หรือสารบางประเภทเกินขนาด เช่น โคเคน แอลกอฮอล์ ได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคที่มีโปรตีนชื่อ Amyloid เข้าไปสะสมที่กล้ามเนื้อหัวใจ (Amyloidosis) เป็นต้น

    หัวใจ บีบ ตัว ไม่ ดี

      ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเล็กน้อยจึงละเลยการมาพบแพทย์ และมีจำนวนไม่น้อยที่มาพบแพทย์เมื่ออาการหนัก ดังนั้น เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจวายควรทราบถึงอาการ พร้อมสังเกตติดตาม หากมีอาการแย่ลงต้องรีบปรึกษาแพทย์

  • เหนื่อยง่าย หากโรคหัวใจเป็นไม่มากจะเหนื่อยเฉพาะเวลาทำงานหนัก (Dyspnea on Exertion) หากเป็นมากขึ้นความรุนแรงของอาการเหนื่อยจะมากขึ้น งานปกติที่เคยทำได้ก็จะเหนื่อย แม้แต่เวลาพักก็ยังรู้สึกเหนื่อย หากอาการเหนื่อยเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง ต้องรีบปรึกษาแพทย์

  • นอนแล้วจะมีอาการเหนื่อย หลังจากนอนไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ทำให้ต้องลุกขึ้นมานั่งอาการถึงจะดีขึ้น บางรายนอนราบไม่ได้เลย Orthopnea

  • เท้าบวม หรือท้องมาน เนื่องจากมีการคั่งของน้ำ

  • ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหากเสมหะมีสีแดงหรือชมพูปนออกมาต้องรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการของน้ำท่วมปอด

  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากระบบย่อยอาหารได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยลง

  • ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว

    หัวใจ บีบ ตัว ไม่ ดี

ผู้ป่วยโรคหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจจะถูกทำลายอย่างต่อเนื่องจนเกิดอาการหัวใจวาย จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือในการรักษา ดังนี้

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

  • การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น การทำ Balloon ขยายหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจ

  • การใส่เครื่องมือเพื่อควบคุมการเต้นของหัวใจ

  • หากเกิดอาการฉุกเฉินควรรวบรวมสมาธิ วางแผนการช่วยเหลือ โดยต้องให้การดูแลเบื้องต้น ดังนี้

    • ผู้ที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจลำบาก ให้นอนยกหัวสูง หรือนั่ง หากมีออกซิเจนที่บ้าน เปิดระดับ 4-6 ลิตร ให้ผู้ป่วย หากเจ็บหน้าอกให้ยาอมใต้ลิ้นแก่ผู้ป่วย ใส่เสื้อผ้าหลวมๆ

    • ผู้ป่วยที่หมดสติ หรือไม่รู้สึกตัว ให้นอนหงาย หันหน้าออกไปทางด้านข้าง หรือให้นอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก ไม่ควรป้อนยาหอม หรืออาหาร เพราะจะเกิดการสำลัก ให้ออกซิเจน โทรปรึกษาแพทย์ หรือนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน

      โรคหัวใจ คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ สามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค ซึ่งปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

      โดยในแต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 54,530 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 150 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน

      ดังนั้นควรทำความรู้จักกับโรคหัวใจแต่ละประเภท รู้ให้เท่าทันเพื่อรับมือได้อย่างถูกวิธี และโรคหัวใจอาจรักษาได้ทันหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจตามมา 

      1. ภาวะหัวใจล้มเหลว / หัวใจอ่อนกำลัง 

      ภาวะหัวใจล้มเหลว ไม่ได้หมายความว่า หัวใจจะหยุดทำงาน แต่เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้ดีอย่างที่ควรจะเป็น ภาวะที่หัวใจอ่อนแอหรืออ่อนกำลังลง ทำให้การทำสิ่งต่างๆ ซึ่งปกติเป็นเรื่องง่ายกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น แต่ก็ยังมีวิธีต่างๆที่ผู้ป่วยและแพทย์จะร่วมมือกันเพื่อให้หัวใจกลับมาทำงานได้ดีขึ้น

      อาการ

      - อาการหายใจเหนื่อย เป็นอาการสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลวโดยอาจมีอาการเหนื่อยในขณะที่ออกแรง อาการเหนื่อยหายใจไม่สะดวกขณะนอนราบ บางครั้งมีอาการไอในขณะนอนราบด้วย หรือในขณะนอนหลับต้องตื่นขึ้นเนื่องจากมีอาการหัวใจไม่สะดวก ซึ่งเป็นอาการจำเพาะสำหรับภาวะหัวใจล้มเหลว

      - อ่อนเพลีย เกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายลดลง ทำให้ความสามารถในการทนต่อการทำกิจกรรมหรือความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆ ของร่างกายลดลง

      - มีอาการบวมจากภาวะคั่งน้ำและเกลือ เช่น ที่เท้าและขามีลักษณะบวม กดบุ๋ม มีน้ำคั่งในปอดและอวัยวะภายใน เช่น มีตับ ม้ามโต มีน้ำในช่องท้อง ทำให้มีอาการท้องบวม ท้องโตขึ้น แน่นอึดอัด

      การรักษา

      การรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและโรคสภาพความพร้อมของร่างกายผู้ป่วย โดยอาจรักษาด้วยยา เช่น ยาขยายหลอดเลือด ยาลดความดันโลหิต  หรือยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ที่เป็นการฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อแก้ไขจังหวะการเต้นของหัวใจ และการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ

      โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตีนเป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยในผู้ใหญ่ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น การสูบบุหรี่จัด ภาวะไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้มีการตีบตันในหลอดเลือด เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้

      อาการ

      - เจ็บแน่นหน้าอกหรือเหนื่อง่าย จุกแน่น เสียดหรือแสบร้อนในบริเวณทรวงอก เหงือออก ใจสั่น เป็นลม อาจเป็นแบบฉับพลันและรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายหรือที่เรียกว่า หัวใจพิบัติ (Heart Attack) ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเหมาะสม ถือเป็นภาวะวิกฤตที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน

      การรักษา

      วิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมมักจะใช้วิธีการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือที่รู้จักกันว่า การทำบายพาสหัวใจ โดยแพทย์จะใช้เส้นเลือดภายในทรวงอกด้านซ้ายและเส้นเลือดแดงบริเวณแขนซ้าย หรือเส้นเลือดดำบริเวณขา ตั้งแต่ข้อเท้าด้านในจนถึงโคนขาด้านในมาเย็บต่อเส้นเลือดเพื่อนำเลือดจากเส้นเลือดแดงใหญ่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจที่ขาดเลือด โดยข้ามเส้นเลือดส่วนที่ตีบ กรณีแพทย์ตัดสินใจทำการผ่าตัดส่วนใหญ่จะทำเมื่อเส้นเลือดตีบและอุดตันแล้วประมาณ 70% ขึ้นไป แต่หากมีไขมันมาเกาะโดยไม่มีหินปูน และมีอายุ 30-40 ปี จะรักษาด้วยการทานยาอาจช่วยให้ไขมันลดลง หรือกรณีที่อุดตันเส้นเดียวก็ทานยาหรือใส่ขดลวดบอลลูนได้  

      ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หมายถึง ภาวะหัวใจเต้นเร็ว หรือ ช้าผิดปกติเนื่องจากความผิดปกติของการกำเนิดกระแสไฟฟ้าหัวใจ การนำไฟฟ้าหัวใจ หรือทั้ง 2 อย่างร่วมกัน ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดจากโรคหัวใจหลายชนิด เช่น ลิ้นหัวใจผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หรือหลอดเลือดหัวใจตีบตัน หรือความผิดปกติอื่นๆ เช่น การส่งกระแสลัดวงจร มีแผลเป็นหรือก้อนไขมัน ทำให้หัวใจมีจุดที่สร้างกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ

      อาการ

      ใจสั่น หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย หมดสติ หรือหัวใจวาย ขึ้นกับอัตราเร็วของหัวใจเต้น ระยะเวลาที่เกิด รวมทั้งสาเหตุ อย่างไรก็ตามถ้าหัวใจบีบตัวได้ปกติโอกาสเกิดหัวใจวายก็น้อย

      การรักษา

      ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ทำได้โดยการรักษาด้วยยา เริ่มด้วยยาคลายเครียดในกรณีที่จับความผิดปกติไม่ได้ แต่ถ้าพบความผิดปกติจากคลื่นไฟฟ้าความถี่สูงเท่าคลื่นวิทยุการฝัง เครื่องมือพิเศษ นอกจากนี้ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น ความเครียด วิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ ออกกำลังกายหักโหม สูบบุหรี่ ดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน แอลกอฮอล์ การรับประทานยาหรือฉีดยาที่กระตุ้นหัวใจ

      หัวใจบีบตัวเกิดจากอะไร

      ในขณะที่ร่างกายพักผ่อน หัวใจจะมีอัตราการเต้นประมาณ 60-100 ครั้งต่อนาที การเต้นหรือการบีบตัวแต่ละครั้งเกิดจากตัวกระตุ้นทางกระแสไฟฟ้าซึ่งถูกกระตุ้นโดยเซลล์พิเศษที่ชื่อ SA node กระแสไฟฟ้าที่ถูกกระตุ้นจาก SA node จะเดินทางผ่านชุดเส้นใยนำไฟฟ้าที่อยู่ทั่วทั้งห้องหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุของการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

      เราจะรู้ได้ไงว่าเป็นโรคหัวใจ

      อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Heart Arrhythmias).
      หัวใจเต้นสะดุด หรือเต้นเร็ว ๆ รัวๆ (Heart Palpitations).
      เจ็บหน้าอกหรือรู้สึกไม่สบาย (Chest pain or discomfort).
      หายใจถี่ (Shortness of breath) หอบง่าย (Dyspnea on exertion).
      มึนศีรษะ (Lightheadedness).
      วิงเวียนศีรษะ (Dizziness).
      เป็นลมหมดสติ (Syncope).

      ทำยังไงให้หัวใจล้มเหลว

      ภาวะหัวใจล้มเหลวมักจะเกิดในระยะสุดท้ายของโรคหัวใจ ทั้งเป็นโรคแทรกซ้อนจากโรคอื่น โดยภาวะหัวใจล้มเหลวอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่.
      รับประทานยาที่ทำให้เกิดการกดการทำงานของหัวใจ.
      รับประทานอาหารเค็มในปริมาณมากเกินไป.
      สูบบุหรี่เป็นประจำ.
      ขาดการออกกำลังกาย และพักผ่อนไม่เพียงพอ.

      โรคหัวใจล้มเหลว อยู่ได้กี่ปี

      เคยมีคนถามว่าหัวใจล้มเหลวกับมะเร็งอะไรอันตรายกว่ากัน มีข้อมูลระบุว่า ในระยะเวลาหลังจากพบโรคเท่ากัน ผู้ป่วยที่เคยผ่านภาวะหัวใจล้มเหลวมาก่อนมีโอกาสรอดชีวิต 50 คน ใน 100 คน แต่ผู้ป่วยมะเร็งบางชนิดที่ไม่รุนแรงมีโอกาสรอดชีวิตอยู่ได้ 90 คน ใน 100 คน ในระยะเวลา 5 ปี