ความ สํา คั ญ การบริหาร จัดการ

วิรัชนิภาวรรณ, การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2548), หน้า 5.)

             สรุป
         การบริหารและการบริหารจัดการมีแนวคิดมาจากธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมซึ่งจะต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม โดยจะต้องมีผู้นำกลุ่มและมีแนวทางหรือวิธีการควบคุมดูแลกันภายในกลุ่มเพื่อให้เกิดความสุขและความสงบเรียบร้อย  ซึ่งอาจเรียกว่าผู้บริหารและการบริหาร ตามลำดับ ดังนั้น ที่ใดมีกลุ่มที่นั่นย่อมมีการบริหาร
         คำว่า การบริหารและการบริหารจัดการ รวมทั้งคำอื่น ๆ อีก  เป็นต้นว่า การปกครอง (government) การบริหารการพัฒนา การจัดการ และการพัฒนา (development) หรือแม้กระทั่งคำว่า การบริหารการบริการ (service administration) การบริหารจิตสำนึกหรือการบริหารความรู้ผิดรู้ชอบ (consciousness administration) การบริหารคุณธรรม (moralityadministration) และการบริหารการเมือง (politics administration) ที่เป็นคำในอนาคตที่อาจถูกนำมาใช้ได้ คำเหล่านี้ล้วนมีความหมายใกล้เคียงกัน ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัยจะนำคำใดมาใช้โดยอาจมีจุดเน้นแตกต่างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตาม ทุกคำที่กล่าวมานี้เฉพาะในภาครัฐ ล้วนหมายถึง (1) การดำเนินงาน การปฏิบัติงาน แนวทาง(guideline) วิธีการ (method) หรือมรรควิธี (means) ใด ๆ (2) ที่หน่วยงานของรัฐ และ/หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐนำมาใช้ในการบริหารราชการหรือปฏิบัติงาน (3) ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (4) เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทาง (end หรือ goal) หรือการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางเบื้องต้น (primary goal) คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารราชการ หรือช่วยเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติราชการให้เป็นไปในทิศทางที่ดีกว่าเดิม หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปสู่จุดหมายปลายทางสูงสุด (ultimate goal) คือ การพัฒนาประเทศที่ประเทศชาติและประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน เป็นต้น และทุกคำดังกล่าวนี้ อาจมองในลักษณะที่เป็นกระบวนการ (process) ที่มีระบบและมีหลายขั้นตอนในการดำเนินงานก็ได้

ความ สํา คั ญ การบริหาร จัดการ

เมื่อไรที่กล่าวถึง บริหารการเงินธุรกิจ ส่วนมากจะนึกถึงเรื่องการจัดทำรายงานทางการเงิน ซึ่งดูเหมือนจะทำตามหน้าที่ของนิติบุคคลควรทำ คือส่งรายงานทางการเงินให้กับหน่วยงานรัฐบาล จนมองข้ามความสำคัญของการบริหารการเงินที่แท้จริง

ความ สํา คั ญ การบริหาร จัดการ

ระบบของการจัดการเงินธุรกิจที่ดีจะช่วยให้ดำเนินธุรกิจไปสู่เป้าหมายกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เป้าหมายของกิจการคือการสร้างความมั่งคั่ง (Wealth) หรือผลตอบแทนสูงสุด (Maximum Return) และธุรกิจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น (Value) โดยการใช้ทรัพยากรของกิจการอย่างเหมาะสม

อันดับแรกต้องแยกให้ชัดเจนระหว่างการทำบัญชี และการบริหารการเงิน การทำบัญชีคือการเก็บบันทึกข้อมูลธุรกรรมทางการเงินและการจัดการต่างๆ ของกิจการ โดยบันทึกตามหลักสากลซึ่งเป็นที่ยอมรับและเข้าใจตรงกัน เปรียบเสมือนภาษาที่ใช้อ่านเหมือนกัน ทั้งนี้การบริหารการเงินจะนำการบันทึกนี้มาเป็นเครื่องมือในการจัดการ วิเคราะห์ บริหารงาน และตัดสินใจ และมากกว่าการอธิบายภาพรวมของธุรกิจได้แล้ว จะสามารถเข้าใจในรายละเอียดที่มาและที่ไปของการดำเนินงานในทุกรอบเวลา ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ตามรอบระยะเวลาบัญชี

ประโยชน์จากการมีระบบการจัดการเงินที่ดี ได้แก่

  • กิจการสามารถหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนได้ง่ายขึ้น เช่นการขอสินเชื่อจากธนาคาร หรือได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนักลงทุน หลังจากแสดงแผนการเงินและผลตอบแทน และความสามารถในการชำระหนี้
  • กิจการดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีกำไรมากขึ้น โดยการบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสม เช่นการพิจารณาไม่ลงทุนในสินทรัพย์ใดเกินไป การกำหนดราคาที่ให้ผลกำไร การกำหนดระดับจุดคุ้มทุน การบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้เพียงพอกับภาระผูกพันที่ต้องชำระ เป็นต้น
  • เตรียมแผนรับความเสี่ยงต่างๆ ได้ เพราะจะเห็นสัญญาณผ่านตัวเลขว่าจะเกิดอะไรขึ้นล่วงหน้า ดังนั้นจะสามารถกำหนดแผนกลยุทธ์แก้ไขได้
  • ช่วยตัดสินใจที่จะดำเนินงานอย่างมีหลักการและเหตุผลรองรับ ได้แก่การวิเคราะห์โดยการสร้างสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่นเมื่อรายได้ลด หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จะกระทบกับผลกำไรอย่างไร สถานการณ์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นจะช่วยวางแผนเตรียมการและทำงานปรึกษาร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

จากข้อมูลเบื้องต้นการจัดทำรายงานทางการเงินเป็นเพียงจุดหนึ่งของการบริหารการเงินของธุรกิจ แต่เป็นเครื่องมือสำคัญ ดังนั้นกิจการจะเริ่มบริหารจัดการเงินได้ดี จำเป็นต้องเริ่มมีระบบการบันทึกบัญชีที่เชื่อถือได้ก่อน ข้อมูลต่างๆ จึงจะสามารถนำมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนกลยุทธ์ แผนการเงินไปสู่เป้าหมายของกิจการคือการสร้างผลตอบแทนสูงสุด และกิจการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และธุรกิจมีความมั่งคัง (Wealth)