ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้นคือ

ในขั้นของการตรวจสอบสมมุติฐานจะต้องมีการตั้งตัวแปรเกิดขึ้นเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานที่เราได้ตั้งไว้ในขั้นก่อนหน้า ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของ “ตัวแปร” กัน

ตัวแปรต้น (ตัวแปรอิสระ) คือ ตัวแปรที่กำหนดให้ต่างกันเพื่อทดสอบสมมุติฐาน

ตัวแปรตาม คือ ผลของตัวแปรต้น

ตัวแปรควบคุม คือ ตัวแปรที่อาจส่งผลทำให้การทดลองของเราคลาดเคลื่อน ดังนั้นเราจึงต้องจัดให้ตัวแปรนี้เหมือนกันในทุกกรณีเพื่อไม่ให้กระทบต่อผลการทดลอง

หลายคนคงสงสัยใช่ไหมคะว่าตัวแปรต้น  ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมนั้นแตกต่างกันอย่างไรก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนค่ะว่า ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม หมายถึงอะไร งั้นเราไปดูกันเลย

ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม หมายถึง การบ่งชี้หรือการบอกลักษณะตัวแปรที่มีในการทดลองนั้น ๆ

พอเข้าใจแล้วใช่ไหมคะ ว่าแต่ละตัวแปรหมายถึงอะไร ดีเลยค่ะ แต่ถ้าให้ทายคงจะมีคนสงสัยอีกใช่ไหมคะ ว่า “ตัวแปร” คืออะไร นั้นไงจริง ๆ ด้วยไม่ต้องสงสัยนะค่ะ เพราะสิ่งที่จะได้รู้ต่อไปนี้จะไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับแต่ละตัวแปรเลยค่ะ

1. ตัวแปรต้น คือ สิ่งที่แตกต่างหรือไม่เหมือนกันในการทำการทดลอง ซึ่งตัวแปรนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นตอนการปฏิบัติ

2. ตัวแปรตาม คือ ผลที่ได้จากการทดลอง จะอยู่ในขั้นสรุปผลการทดลอง

3. ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งที่เหมือนกันในการทำการทดลอง ตัวแปรนี้จะอยู่ในขั้นที่บอกว่ามีอุปกรณ์ใดบ้างที่ใช้ในการทำการทดลอง แต่บางทีอาจจะอยู่ในขั้นตอนการปฏิบัติก็ได้นะค่ะ ต้องลองสังเกตดูค่ะ

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่แตกต่างกันในแต่ละตัวแปรนะค่ะ แต่ถ้าเพื่อความเข้าใจและความแม่นยำในการที่จะนำไปใช้ เราต้องมาลองดูตัวอย่างการแยกแต่ละตัวแปรกันก่อนค่ะไปกันเลย

เป็นอย่างไรบ้างพอจะเข้าใจมากขึ้นแล้วหรือยัง ถ้าเข้าใจแล้วก็ไปคิดโครงงานกันได้เลย ขอให้โชคดีในการทำผลงานครับ

ส่วนใครที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมก็แนะนำ โพสต์ของเพจนี้เลย HappyScienceByKruBee สรุปเอาไว้ด้วยรูปภาพแบบง่ายมาก ๆ

https://www.facebook.com/HappyScienceByKruBee/posts/2282473008508811

เครดิตภาพปก และภาพที่ 1 , 2 , 3 จาก เท็มเพลต (canva.com)

ภาพที่ 4 จาก Happy science by kru Bee | Facebook

*STAR COVER"อย่ามัวแต่ดูมาดังกัน"*

ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ขอชวนทุกคนมาสนุกโคฟเวอร์ พร้อมลุ้นรับเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท (5 รางวัล) โคฟคนที่ใช่ ไลค์คนที่ชอบ`ร่วมสนุกได้ที่ ทรูไอดีคอมมูนิตี้ ห้อง cover บนแอปทรูไอดี`

ตัวแปร (Variable) หมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งต่าง ๆ ที่สามารถแปรค่าได้ เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง อายุ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับสติปัญญา เชื้อชาติ เป็นต้น

ในการวิจัยโดยทั่ว ๆ ไป มักจะแบ่งตัวแปรออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. ตัวแปรต้น หรือตัวแปรอิสระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผล หรือก่อให้เกิดการแปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดหรือจัดกระทำได้ เพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้นจากตัวแปรนี้

2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรที่เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรอิสระ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยมุ่งวัดเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบคำถามของการวิจัยว่าเป็นผลมากจากสิ่งใด

     นอกจากนี้ยังมีตัวแปรอื่นที่ผู้วิจัยมิได้มุ่งศึกษาโดยตรง แต่เป็นตัวแปรที่อาจมีผลกระทบต่อตัวแปรตามได้ ตัวแปรนี้เรียกว่า ตัวแปรเกิน หรือตัวแปรแทรกซ้อน (extraneous Variable) หรือ ตัวแปรควบคุม (control Variable) ผู้วิจัยจะต้องทราบว่ามีตัวแปรใดบ้างที่อาจส่งผลกระทบต่อตัวแปรตามและหาวิธีการควบคุมอิทธิพลจากตัวแปรแทรกซ้อน เหล่านี้ จากการตรวจสอบเอกสาร

ตัวแปรเกินอาจเกิดขึ้นจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้

1. จากกลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มประชากร เป็นตัวแปรที่กลุ่มตัวอย่างมีมาก่อนจะมีการวิจัย เช่น อายุ เพศ ระดับสติปัญญา ความถนัด เชื้อชาติ บุคลิกภาพ สภาพครอบครัว เป็นต้น

2. จากวิธีดำเนินการทดลอง และการทดสอบในการวิจัยเชิงทดลอง เช่น ความผิดพลาดในวิธีดำเนินการ คุณภาพเครื่องมือที่ใช้ทดสอบ เวลาที่ใช้ทดสอบ เป็นต้น

3. จากแหล่งภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม เช่นเสียงรบกวน สถานที่ไม่เหมาะสมและมีตัวแปรอีกประเภทหนึ่ง ที่อาจมีผลกระทบต่อตัวแปรตาม แต่เราไม่อาจรู้ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ จึงไม่สามารถควบคุมได้ ตัวแปรเหล่านี้เรียกว่า ตัวแปรสอดแทรก (Intervening Variable) เช่น ภาวะสุขภาพ ความวิตกกังวล ความตื่นเต้น ความโกรธ แรงจูงใจ เป็นต้น

ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ตัวแปรเกิน และตัวแปรสอดแทรก แสดงได้ดังนี้

ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้นคือ

        

ตัวอย่าง

งานวิจัยเรื่อง เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอน โดยวิธีสอน แบบค้นพบแบบนิรนัย

ตัวแปรต้น วิธีการสอน 2 วิธี คือ แบบค้นพบ และแบบนิรนัย

ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ตัวแปรเกิน ระดับสติปัญญา , เพศ , คุณภาพของแบบทดสอบ ฯลฯ

ตัวแปรสอดแทรก ความวิตกกังวล, แรงจูงใจ , แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ฯลฯ

งานวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบผลการประมาณค่าความสามารถด้วยวิธีการทดสอบแบบเทเลอร์รูปพีระมิด ขนาดขั้นคงที่ และรูปพีระมิดข้างตัด : การทดสอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ตัวแปรต้น วิธีการทดสอบแบบเทเลอร์ 2 รูปแบบ คือ รูปพีระมิดขนาดขั้นคงที่และรูปพีระมิด

ตัวแปรตาม ความสามารถทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ตัวแปรเกิน ระดับสติปัญญา, เพศ, จำนวนครั้งในการสอบ,คุณภาพของแบบทดสอบ

ตัวแปรสอดแทรก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, การปรับตัว, ความตื่นเต้น ฯลฯ

งานวิจัยเรื่อง การศึกษาองค์ประกอบคัดสรรทางด้านจิตพิสัยที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ตัวแปรต้น องค์ประกอบคัดสรรทางด้านจิตพิสัย

ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ตัวแปรเกิน เพศ, ระดับชั้น, ระดับสติปัญญา, อายุ

ตัวแปรสอดแทรก ภาวะจิตใจ, ความวิตกกังวล, สภาพแวดล้อม

วิธีการควบคุมตัวแปรเกิน

1. ใช้สมาชิกที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด (Homogeneous Group) ในลักษณะของตัวแปรเกิน แต่การควบคุมตัวแปรวิธีนี้จำกัดขอบเขตการอ้างอิงผลการวิจัยไปใช้ให้แคบลง

2. จัดสมาชิกเข้ากลุ่มโดยการสุ่ม (Random Assignment) การจัดสมาชิกเข้ากลุ่มโดยการสุ่มจะทำให้ โอกาสหรือ ความน่าจะเป็นที่ค่าตัวแปรตามของ กลุ่มทดลอง หรือกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน มีมากกว่าโอกาสที่จะแตกต่างกันก่อนทำการทดลอง

3. จับคู่สมาชิกบนพื้นฐานของตัวแปรเกิน แล้วจัดสมาชิกของแต่ละคู่เข้ากลุ่มโดยการสุ่มตัวแปรที่จะมาใช้เป็นเกณฑ์ในการจับคู่นั้น ควรจะเป็นตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.50 หรือมากว่า เช่น I.Q. มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

4. ควบคุมสภาพการณ์ในการทดลองให้มีความคงที่

5. นำตัวแปรเกินมาใช้ในการวิจัยโดยพิจารณาให้เป็นตัวแปรอิสระอีกตัวหนึ่ง

6. ควบคุมด้วยสถิติโดยการใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)

สรุป การควบคุมความแปรผันของตัวแปรหรือความแปรปรวน ซึ่งก็คือ การจัดกระทำให้ ความแปรผันของตัวแปรนั้น ๆ มีค่ามากน้อยตามความต้องการอันจะทำให้เราทราบอิทธิพลของตัวแปรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่เราต้องการศึกษาได้แน่ชัด หรือขจัดอิทธิพลนี้ออกไป จะช่วยให้การตีความผล การทดลอง หรือการวิจัยเป็นไปอย่างชัดเจนไม่คลุมเครือ และจะนำไปสู่การสรุปผลการวิจัยได้อย่างถูกต้อง ใกล้เคียงความเป็นจริง มากที่สุดซึ่ง ความแปรปรวน ในที่นี้หมายถึง ความแปรปรวนที่จะเกิดกับตัวแปรตามอันเป็นผลมาจากตัวแปรต้น

ตัวแปรอิสระมีอะไรบ้าง

1. ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรต้น (Independent Variable) หมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่เป็นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์หรือลักษณะที่แปรผันของปรากฏการณ์ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น หรือจัดสภาพการณ์หรือเป็นตัวจัดกระทำเพื่อมุ่งศึกษาผลที่จะเกิดตามมา ตัวแปรประเภทนี้มีลักษณะเป็นตัวแปรไม่ต่อเนื่อง เช่น เพศ วุฒิการศึกษา เป็นต้น

ตัวแปรตาม คือข้อใด

ตัวแปรตาม หรือ ตัวแปรผล (Dependent Variable) หมายถึง สิ่งที่เกิดตามมาเพราะผลของตัวแปรอื่น เป็นผลจากตัวแปรต้น ในทางวิจัยจึงเป็นตัวแปรที่เป็นเป้าหมายในการศึกษา สรุปโดยง่ายคือผลลัพธ์ของสมมุติฐาน

การวิจัยนี้ Dependent variable คือตัวแปรใดบ้าง

2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือตัวแปรที่เกิดขึ้นเนื่องจากตัวแปรต้น หรือเป็นตัวแปรผล อันเกิดจากเหตุ ตัวอย่างของตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม เช่น การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่น ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย 1) เพศ มี 1 เพศ คือ เพศชาย เพศหญิง