กฎกระทรวง เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ล่าสุด

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย (3 สิงหาคม 2560)

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย (27 ธันวาคม 2559)

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย (20 ธันวาคม 2556)

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย (20 ธันวาคม 2556)

คำชี้แจงประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจำกัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย (3 สิงหาคม 2560)

คำสั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ 754/2556 เรื่องมอบอำนาจหน้าที่ตามกฏกระทรวงฯ เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 (ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2556)

           สารเคมีอันตราย เป็นธาตุ สารประประกอบ หรือสารผสมซึ่งมีสถานะเป็นทั้งของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ซึ่งมีพิษ กัดกร่อน ระคายเคืองได้ หากได้รับการสัมผัส นอกจากนี้ยังเป็นสารไวไฟที่อาจทำให้เกิดระเบิดหรือเกิดเพลิงไหม้ได้ โดยปัจจุบันสถานประกอบกิจการหลายแห่งได้มีการนำสารเคมีอันตรายมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งต้องมีการควบคุมอันตรายที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีในสถานที่ทำงาน โดยมีหลักการพื้นฐานในการควบคุม 3 ข้อ ดังนี้

หลักการที่ 1 แหล่งกำเนิดของสารเคมี (เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด)

  • กำจัดสารที่เป็นอันตราย หรือทดแทนโดยการใช้สารอื่นที่มีอันตรายน้อยกว่า
  • เปลี่ยนกระบวนการผลิตใหม่ เช่น ใช้ระบบเปียกแทนระบบแห้ง เพื่อมิให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย
  • แยกกระบวนการผลิตที่มีอันตรายออกต่างหาก
  • สร้างที่ปกปิดกระบวนการผลิตให้มิดชิด มิให้สารเคมีฟุ้งกระจายออกไป
  • ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่
  • การบำรุงรักษา เครื่องมือ เครื่องจักร

 

กฎกระทรวง เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ล่าสุด

Show

หลักการที่ 2 ทางผ่านของสารเคมี

  • การบำรุงรักษาสถานที่ทำงานให้สะอาดเรียบร้อย
  • การติดตั้งระบบระบายอากาศทั่วไป
  • เพิ่มระยะทางให้ผู้ปฏิบัติห่างจากแหล่งสารเคมี
  • การตรวจหาปริมาณสารเคมีเทียบกับค่ามาตรฐานความปลอดภัยจะต้องปรับปรุง แก้ไขหากสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานความปลอดภัย

หลักการที่ ๓ การป้องกันที่ผู้ปฏิบัติงาน

  • การให้การศึกษาและการฝึกอบรมให้ทราบถึงอันตรายและการป้องกัน
  • การลดชั่วโมงการทำงานที่เกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นอันตรายให้น้อยลง
  • การหมุนเวียนหรือการสับเปลี่ยนหน้าที่การปฏิบัติงาน
  • การให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานอยู่ในห้องที่ควบคุมเป็นพิเศษ
  • การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน
  • จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับสภาพอันตราย
  • จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำความสะอาดร่างกาย สถานที่เปลี่ยนและเก็บเสื้อผ้า รวมถึงการจัดการซักผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมี
  • ติดป้ายสัญลักษณ์ ห้ามปฏิบัติ/สิ่งที่ต้องปฏิบัติ เพื่อเตือนอันตราย เช่น ระวังสารเคมีอันตราย ห้ามสูบบุหรี่ เป็นต้น

ที่มา

: กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖

: คู่มือการฝึกอบรม “ความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการใช้สารเคมีในการทำงาน” สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน

: คู่มือการจัดการด้านความปลอดภัยสารเคมีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรมโรงงานอุตสาหกรรม

: การป้องกันและควบคุมสารเคมี (Safety with chemical) สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์

Level B จำเป็นต้องใช้ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องการระดับการป้องกันทางเดินหายใจสูงสุดและมีระดับการป้องกันผิวที่น้อยกว่า บริเวณที่เป็นของเสียอันตรายจากภายนอกที่ทิ้งรั่วซึมไอระเหยในบรรยากาศหรือระดับก๊าซไม่ได้เข้าใกล้ความเข้มข้นสูงมากพอที่จะรับประกันการป้องกันระดับ A ตัวอย่างของการป้องกันระดับ B ได้แก่ :