ระดับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

องค์ประกอบของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551

1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้
ผู้สอนต้องทำการวัดและประเมินผลผู้เรียนเป็นรายวิชาตามตัวชี้วัดในรายวิชาพื้นฐาน และตามผลการเรียนรู้ในรายวิชาเพิ่มเติม ตามที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้ ด้วยวิธีการทีหลากหลาย จากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่สะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน โดยทำการวัดและประเมินผลอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การสังเกตพัฒนาการและความประพฤติของผู้เรียน การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบ ซึ่งผู้สอนต้องนำนวัตกรรมการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย เช่น การประเมินสภาพจริง การประเมินการปฏิบัติงาน การประเมินจากโครงงาน และการประเมินจากแฟ้มสะสมงาน ไปใช้ในการประเมินผลการเรียน ควบคู่ไปกับการใช้แบบทดสอบแบบต่าง ๆ และต้องให้ความสำคัญกับการประเมินระหว่างเรียนมากกว่าการประเมินปลายปี / ปลายภาค และใช้เป็นข้อมูลเพื่อประเมินการเลื่อนชั้นเรียนและจบการศึกษาระดับต่าง ๆ สาระการเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มี 8 กลุ่มสาระ คือ 1. ภาษาไทย 2. คณิตศาสตร์ 3. วิทยาศาสตร์ 4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 5. สุขศึกษาและพลศึกษา 6. ศิลปะ 7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี 8. ภาษาต่างประเทศ


2. การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน เป็นการประเมินศักยภาพของผู้เรียน การฟัง การดู และการรับรู้ จากหนังสือ เอกสาร และสื่อต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง แล้วนำมาคิดวิเคราะห์ เนื้อหาสาระที่นำไปสู่การแสดงความคิดเห็น การสังเคราะห์สร้างสรรค์ในเรื่องต่าง ๆ และถ่ายทอดความคิดนั้น ด้วยการเขียนที่มีสำนวนภาถูกต้อง มีเหตุผลและลำดับขั้นตอนในการนำเสนอ สร้างความเข้าใจแก่ผู้อ่านได้อย่างชัดเจนตามระดับความสามารถในแต่ละระดับชั้น ซึ่งสะท้อนถึงสติปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างสรรค์จินตนาการ อย่างเหมาะสม


การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน สถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและสรุปผลเป็นรายปี /รายภาค เพื่อวินิจฉัยและใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียนและประเมินการเลื่อนชั้นเรียน ตลอดจนการจบการศึกษาระดับต่าง ๆ


3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์


การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นการประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม จิตสำนึก สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และตามที่สถานศึกษากำหนดเพิ่มเติม การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้ประเมินเป็นรายคุณลักษณะ แล้วรวบรวมผลการประเมินจากผู้ประเมินทุกฝ่าย และแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลนำมาพิจารณาประเด็นสรุปผลเป็นรายปี / รายภาค เพื่อวินิจฉัย และใช้เป็นข้อมูลประเมินการเลื่อนชั้นเรียน และการจบการศึกษาระดับต่าง ๆ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื่นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนด ได้แก่ 1. รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ 2. ซื่อสัตย์สุจริต 3. มีวินัย 4. ใฝ่เรียนรู้ 5. อยู่อย่างพอเพียง 6. มุ่งมั่นในการทำงาน 7. รักความเป็นไทย 8. มีจิตสาธารณะ


4. การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การประเมินกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน เป็นการประเมินการปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน และเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกิจกรรม และใช้เป็นข้อมูลประเมินการเลื่อน ชั้นเรียน และการจบการศึกษาระดับต่าง ๆ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนด ได้แก่ 1. กิจกรรมแนะแนว 2. กิจกรรมนักเรียน 3. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

ดร.อนุศร หงษ์ขุนทด

ประสบการณ์
1. อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์/นักวิจัย
2. กรรมการสอบ/ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยานิพนธ์
3. อาจารย์พิเศษ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
4. ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาหลักสูตรการฝึกอบรม
5. ผู้ทรงคุณวุฒิใน สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จากสมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย 
6. คณะทำงานกลุ่มพัฒนาศักยภาพบุคคลด้านดิจิทัลเพื่อความเป็นเลิศ (Digital Literacy) ศูนย์  HCEMC สพฐ.
7. ผู้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ DEEP ส่วนภูมิภาค ร่วมกับ Co-Leader DEEP ของ สพฐ.
8. ผู้เชี่ยวชาญการประยุกต์ใช้กูเกิ้ลสำหรับการจัดการศึกษา (Google Certified Educator Level 2)
9. ผู้เชี่ยวชาญการประยุกต์ใช้ Microsoft Office applications (ICT3 Digital Literacy Certification: Global Standard 5)
10. วิทยากรบรรยาย ด้านการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning)

โทรศัพท์ 063-1655329
Email:

505, ถนนโคกกรวด-หนองปลิง, ตำบลโคกกรวด อำเภอมือง จังหวัดนครราชสีมา, 30280

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีกี่ระดับ

1.2 ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัดและผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษา กาหนด 1.3 ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา 2. การให้ระดับผลการเรียน การตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ใช้ตัวเลข แสดงระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ

การจัดเวลาเรียนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 51 ในระดับ ประถมศึกษากําหนดจัดอย่างไร

ทั้งนี้ โครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในปัจจุบัน ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนรวม สำหรับระดับประถมศึกษาไม่น้อยกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี ดังนี้ รายวิชาพื้นฐาน 840 ชั่วโมงต่อปี แบ่งเป็น ภาษาไทย ป.1 - 3 จำนวน 200 ชั่วโมงต่อปี

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักพื้นฐานอะไร

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต้องอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการ คือ การประเมินเพื่อ พัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ประสบผลสำเร็จนั้น ผู้เรียนจะต้องได้รับการพัฒนาและประเมินตามตัวชี้วัดเพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้ สะท้อนสมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะอันพึง ...

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เป็นหลักสูตรแบบใด

๑. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และ คุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล ๒. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษา อย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ