วัตถุประสงค์หลักของการทำข้อมูลให้เป็นภาพ data visualization

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุคนี้ข้อมูลนั้นสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ แต่เมื่อมีข้อมูลจากช่องทางต่างๆ ในมือแล้วจะทำอย่างไรถึงจะใช้ประโยชน์กับข้อมูลเหล่านี้ได้มากขึ้น ดังนั้น “Data Visualization” จึงเข้ามามีบทบาทในจุดนี้

Data Visualization เป็นการนำ Data ต่างๆ ที่เรามีอยู่มาวิเคราะห์และแสดงผลในรูปแบบของ Chart, Table, Map และรูปแบบต่างๆ อีกมากมาย ซึ่งการทำ Data Visualization จะทำให้เห็นภาพในมุมมองของธุรกิจที่หลากหลายได้มากยิ่งขึ้น เช่น กลุ่มเป้าหมายในปัจจุบัน, สินค้าที่ขายดีที่สุด เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว Data Visualization ยังช่วยให้การวิเคราะห์ข้อมูลนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะจะทำให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดในมุมมองต่างๆ ได้มากขึ้นและมีความแม่นยำสูง ทำให้สามารถนำไปทำ Business Planning วางแนวทางของธุรกิจต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์หลักของการทำข้อมูลให้เป็นภาพ data visualization

ตัวอย่างในการนำ Data Visualization มาใช้กับวิเคราะห์ยอดขายของธุรกิจ

1. Top 5 of Best Seller Product

วัตถุประสงค์หลักของการทำข้อมูลให้เป็นภาพ data visualization

ทำไมเราควรถึงต้องการที่จะรู้ Top 5 of best seller product นั้นเป็นเพราะว่าเราจะสามารถกำหนดแนวทางในการทำธุรกิจของเราในอนาคต เพื่อที่จะตัดสินใจว่าจะแก้ปัญหาสินค้าบางประเภทที่ขายไม่ดี และทำอย่างไรให้สินค้าที่ขายดีอยู่แล้วนั้นขายดีต่อไป

2. Grouping Customer with Sales Order

วัตถุประสงค์หลักของการทำข้อมูลให้เป็นภาพ data visualization

การจัดกลุ่มประเภทของลูกค้าจะทำให้เห็นกลุ่มลูกค้าของเราที่ชัดเจนมากขึ้นโดยหลักๆ จะแบ่งโดยใช้ เพศ ช่วงอายุ หรือ จังหวัด ในเมื่อเราได้ข้อมูลมาว่ากลุ่มลูกค้าของเราหลักๆ แล้วเป็นกลุ่มลูกค้าแบบไหนจะทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการที่จะวางแนวทางของธุรกิจ หรือมองหากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้าของเราเพื่อเพิ่มยอดขายก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

3. Sales Compare

วัตถุประสงค์หลักของการทำข้อมูลให้เป็นภาพ data visualization

การเปรียบเทียบของการขายในแต่ละช่วงเวลา ก็เป็นสิ่งที่ทำให้มองเห็นภาพรวมของธุรกิจว่ากำลังเดินไปในทิศทางไหน ถ้ายอดขายตกลงจากเดือนที่แล้วก็จะได้เตรียมตัวรับมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเรามีข้อมูลในด้านต่างๆ สามารถนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้ยอดขายลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาก่อน หรือถ้ายอดขายดีขึ้นก็จะสามารถเห็นได้ว่าปัจจัยอะไรที่เป็นผลที่ทำให้ยอดขายสามารถเพิ่มขึ้นได้

จากตัวอย่างข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นว่าการใช้ Data Visualization นั้นทำให้เราวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆ ได้ออกมาอย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ สามารถกำหนดแนวทาง และ ป้องกันความเสี่ยงในด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย

ในปัจจุบันนี้มี Tool ที่เป็น Data Visualization มากมายไม่ว่าจะเป็น PowerBI, SAP Analytics Cloud ถ้าหากท่านใดสนใจที่จะต้องการทำ Data Visualization ให้กับธุรกิจของท่านลองปรึกษาเราสิครับ

Author:  Jirayu C.


ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำฟังก์ชันให้เหมาะสมกับธุรกิจของท่าน

ในทศวรรษที่ผ่านมา ข้อมูลมหาศาลถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติ และเพื่อให้ได้มาซึ่ง Insight จากข้อมูลเหล่านั้น รูปแบบและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้เกิดขึ้นจำนวนมากและหลากหลาย อย่างไรก็ตามความสามารถทางสัมผัสและสติปัญญาของมนุษย์ที่จะเข้าใจธรรมชาติของข้อมูลที่ซับซ้อนเหล่านั้นมีอยู่จำกัด จะมีหนทางหรือวิธีการใดที่ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจข้อมูลได้อย่างง่ายและรวดเร็วได้บ้าง

วัตถุประสงค์หลักของการทำข้อมูลให้เป็นภาพ data visualization

“ภาพหนึ่งภาพ สื่อความหมายแทนหลายร้อยคำ”

Visual Analytics หรือ การวิเคราะห์ด้วยภาพ คือการใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ (Analytical Reasoning) ซึ่งว่าด้วยการมองดูข้อมูลในเชิงปริมาณหรือปริมาตรแล้วสามารถสกัดเอาความรู้หรือข้อสรุปออกมาได้ ประกอบด้วยหลายศาสตร์มากมาย เช่น Cognitive Science, Information Systems, Graphic & Interactive Design, Human-Computer Interaction, Mathematics & Statistical Methods, Data Analysis ซึ่งมี Interactive Visual Interfaces เป็นเครื่องมือและสื่อกลาง

การวิเคราะห์ด้วยภาพเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปภาพเพื่อสื่อความ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นคนละเรื่องกับศาสตร์ของการประมวลผลภาพดิจิทัล หรือ Digital Image Processing

Visual Analytics จะช่วยเพิ่มกำลังความสามารถในการรับรู้และเข้าใจของมนุษย์ได้ต่อไปนี้

  1. ลดการทำงานในส่วนความจำ โดยใช้ภาพที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเป็นสื่อรับรู้
  2. ลดการค้นหาที่หนักและซับซ้อน โดยการนำเสนอข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในพื้นที่แสดงขนาดเล็ก
  3. ใช้รูปแบบเฉพาะเพื่อให้เราสามารถเข้าใจความหมายได้อย่างรวดเร็ว เช่น แผนภูมิวงกลม (Pie chart) หมายถึงสัดส่วนของข้อมูล
  4. ช่วยในการอนุมานความสัมพันธ์ให้ง่ายขึ้น
  5. ติดตามเหตุการณ์หรือปรากฎการณ์ในข้อมูลหลายเรื่อง ๆ ให้สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  6. มีเครื่องมือเพื่อให้จัดการเปลี่ยนแปลงค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ทำให้ทำการสำรวจได้มากยิ่งขึ้น ต่างจากรูปภาพนิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าใด ๆ ได้

Visual Analytics VS. Data Visualization

Data Visualization คือ การแสดงข้อมูลในรูปแบบรูปภาพนิ่ง เช่น รูปกราฟแท่ง รูปพายกราฟ เป็นต้น เพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีจุดประสงค์หลัก ๆ ได้แก่ ถ่ายทอดสิ่งที่ข้อมูลต้องการสื่อสารอย่างชัดเจน ช่วยอธิบายแนวโน้มทางสถิติ แสดงรูปแบบเฉพาะในข้อมูลที่ยากจะเห็นด้วยตาเปล่า

วัตถุประสงค์หลักของการทำข้อมูลให้เป็นภาพ data visualization
แผนภูมิรูปภาพการยกทัพไปรัสเซียของจักรพรรดินโปเลียน โดย Charles Joseph Minard ในปี 1869 ซึ่งนับเป็น Data Visualization ที่นำเสนอข้อมูลในหลายมิติเข้าไว้ในรูปๆเดียว [1]

Visual Analytics คือ ศาสตร์และกระบวนการที่วิเคราะห์ข้อมูลแล้วใช้ Data Visualization เป็นเครื่องมือหรือสื่อ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถสำรวจ ค้นหา และเข้าใจข้อมูลได้ตามที่ต้องการ ซึ่งจะบรรลุจุดประสงค์เหล่านี้ได้ก็ต่อเมื่อ Data Visualization นั้นสามารถโต้ตอบกับความต้องการของผู้ใช้ได้หรือที่เรียกว่า Interactive นั้นเอง

วัตถุประสงค์หลักของการทำข้อมูลให้เป็นภาพ data visualization
ตัวอย่าง Visual Analytics สรุปการขาย ซึ่งประกอบด้วยหลายๆ Data Visualization เข้าด้วยกัน และเพิ่มความ Interactive เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเจาะดูรายละเอียดหรือกรองดูข้อมูลเฉพาะที่สนใจได้ [2]

ทำไมต้อง Visual Analytics

ปัจจุบันมีเครื่องมือสำหรับ Visual Analytics หลายหลายยี่ห้อ เช่น Tableau, Microsoft PowerBI, SAS เป็นต้น ซึ่งสามารถสร้างสรรค์ Interactive Dashboards หรือรายงานให้ตอบคำถามของผู้ใช้และสามารถเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการปรับแต่งค่าหรือกรองดูผลลัพธ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันใจ ซึ่งจะเป็นผลดีเมื่อเจอสถานการณ์ที่ผู้ใช้ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำการตัดสินใจอย่างรวดเร็วทันที

ด้วยการที่ Visual Analytics สามารถเข้าถึงหลากหลายกลุ่มผู้ใช้งานไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มนักวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้น ทำให้เครื่องมือและเทคโนโลยีในสาขานี้มีความก้าวหน้าและถูกนำไปใช้ในงานหลายแขนงมากขึ้นด้วย เช่น งานด้านวิจัย งานด้านการศึกษา งานด้านการเกษตร เป็นต้น

บทสรุป

Visual Analytics และ Data Visualization นั้นคือคนละอย่างกัน แต่ในขณะเดียวกันทั้งสองอย่างก็ขาดซึ่งกันและกันไม่ได้ ซึ่งความสำคัญของทั้งสองอย่างนี้คือ เพื่อให้ข้อมูลที่มีจำนวนมากและซับซ้อนได้ถูกอธิบายให้มนุษย์ได้เข้าใจ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างสูดสุด ดีกว่าให้ข้อมูลถูกทิ้งไว้โดยไร้ประโยชน์

แหล่งอ้างอิง

  • https://www.sisense.com/blog/data-visualization-and-visual-analytics-seeing-the-world-of-data/
  • Thomas, J., Cook, K.: Illuminating the Path: Research and Development Agenda for Visual Analytics. IEEE-Press (2005)
  • https://en.wikipedia.org/wiki/Visual_analytics
  • https://infinitylimited.co.uk/visual-analytics-key-attributes-scope-and-advantages/
  • [1] Charles Joseph Minard’s 1869 diagram of Napoleonic France’s invasion of Russia, an early example of an information graphic https://en.wikipedia.org/wiki/Data_visualization#/media/File:Minard.png
  • [2] Visualization created by Tableau Software https://en.wikipedia.org/wiki/Tableau_Software#/media/File:Executive_Salesforce_Sales_Summary.png

จุดประสงค์ของการทำข้อมูลให้เป็นภาพคืออะไร

ข้อดีของ Data Visualization. – ข้อมูลที่มีปริมาณมากมายมหาศาลยากต่อการเข้าใจ เราสามารถทำให้เข้าใจง่ายได้ด้วยรูปภาพ – ช่วยจัดระเบียบความคิดวิเคราะห์ข้อมูลให้มีความน่าเชื่อถือ – ประหยัดเวลาในการนำเสนอ

การทําข้อมูลให้เป็นภาพ (Data Visualization) คืออะไร

Data Visualization คือ การแสดงข้อมูลในรูปแบบรูปภาพนิ่ง เช่น รูปกราฟแท่ง รูปพายกราฟ เป็นต้น เพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น มีจุดประสงค์หลัก ๆ ได้แก่ ถ่ายทอดสิ่งที่ข้อมูลต้องการสื่อสารอย่างชัดเจน ช่วยอธิบายแนวโน้มทางสถิติ แสดงรูปแบบเฉพาะในข้อมูลที่ยากจะเห็นด้วยตาเปล่า

การทำข้อมูลให้เป็นภาพ (Data Visualization) มีประโยชน์อย่างไร

ข้อมูลรูปภาพช่วยให้สมองประมวลผลได้เร็วขึ้น เมื่ออยู๋ในสถานการณ์ที่ต้องใช้ทักษะการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เช่น การบริหารจัดการพนักงาน หรือการจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งข้อมูล Data Visualization จะช่วยให้คุณมองภาพรวมได้ดีกว่าการกวาดตาผ่านข้อมูลแผนภูมิจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น ทีมเบสบอล Texas Rangers ใช้ข้อมูลรูปภาพ 'A Full 360- ...

ผู้ริเริ่มการทำข้อมูลให้เป็นภาพ (Information Visualization) ตามหลักการมองเห็นและการรับรู้ คือใคร

การนาเสนอข้อมูลด้วยภาพ ไม่ได้จากัดเฉพาะการใช้รูปแบบมาตรฐานที่กล่าวมา เท่านั้น ยังสามารถนาเสนอข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ ให้น่าสนใจได้อีก โดยอาศัย การนาเสนอข้อมูลให้เป็นภาพ ตามหลักการมองเห็นและการรับรู้ของจาคส์ เบอร์ ติน (Jacques Bertin) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการทาข้อมูลให้เป็นภาพ (Information Visualization) โดยกาหนดตัวแปรในการมอง ...