ความ หมาย ของ คน ดี

ถ้าค้นหาคำว่า ‘ดี’ ในเว็ปไซต์พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 จะพบว่า คำนี้มีสองความหมาย ความหมายแรกที่เป็นรูปธรรมคือ “อวัยวะภายในของคนและสัตว์ที่บรรจุนํ้าข้นสีเขียว มีรสขม ซึ่งออกจากตับ สำหรับช่วยย่อยอาหาร, เรียกนํ้าข้นสีเขียว มีรสขม ออกจากตับ สำหรับช่วยย่อยอาหารว่า นํ้าดี”

และความหมายที่สองในเชิงนามธรรมคือ “มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ในความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี”

น่าสนใจไม่น้อยที่ความหมายในเชิงนามธรรมของคำว่า ‘ดี’ ในส่วนที่บอกว่า “มีลักษณะที่เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ”

อดไม่ได้ที่จะตั้งคำถามต่อความดีในความหมายที่สองนี้ว่า ใครต้องการ? ใครปรารถนา? ใครพอใจ?

ถ้าย้อนหลังไปหาต้นกำเนิดของคำว่า ดี (good) ในวัฒนธรรมตะวันตก โป๊ปจอห์นที่ 23 นิยามคำนี้ในหนังสือ Mater Et Magistra ไว้ว่า “ผลรวมของสภาพสังคมที่ทำให้ผู้คนหรือกลุ่มคนสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายของตัวเองได้อย่างเต็มที่และง่ายดายยิ่งขึ้น”

นิยามดังกล่าวทำให้อดตั้งคำถามต่อไม่ได้เช่นกันว่า ความดีที่ถูกผูกเข้ากับความรับผิดชอบหรือประโยชน์ส่วนรวมของสังคมนั้นๆ ต้องได้รับจากการกระทำของผู้ที่อาศัยอยู่ในสังคมนั้นเพียงเท่านั้นจริงหรือ?

ครั้งหนึ่ง อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกเคยกล่าวว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม จากวิธีการอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมวดหมู่ ไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างลำพัง มีกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องทำร่วมกันเพื่อความอยู่รอด มนุษย์เสริมสร้างความมั่นใจ ความสุข และความรู้สึกปลอดภัยจากการสังคมที่ตัวเองกำลังอาศัยอยู่” เพราะฉะนั้น สิ่งที่โป๊ปจอห์นที่ 23 เคยนิยามไว้นั้น คงจะมีหลักการที่น่าเชื่อถือได้บางอย่างยึดถือเป็นรากฐานอยู่

แคส อาร์ ซันสไทน์ (Cass R. Sunstein) อดีตศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เคยพูดถึงเรื่องนี้หนังสือ Conformity ของตัวเองว่า จิตวิทยาของการเป็นคนดีตามครรลองของสังคมนั้นสามารถช่วยเหลือสังคมได้จริงๆ ในหลายกรณี เขายกตัวอย่างกรณีศึกษาของรัฐแคลิฟอร์เนียเรื่องการแบนการสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมาก โดยพบว่าสาเหตุที่คนไม่กล้าฝ่าฝืนกฎห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะนี้ ไม่ใช่เพราะว่ากลัวบทลงโทษ หากเพราะกลัวถูกต่อว่าและรังเกียจจากสังคมรอบข้างต่างหาก

หรือตัวอย่างจากภาพยนตร์เรื่อง The Purge ว่าด้วยการยกเลิกกฎหมายทั้งหมดทุกอย่างเป็นเวลา 12 ชั่วโมง โดยที่ประชาชนทุกคนสามารถทำอะไรก็ได้อย่างไม่มีกฎหมาย ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ มาห้าม หากเป็นเช่นนั้นแล้ว สถานะของการ ‘เป็นคนดี’ ในกรณีนี้จะเปลี่ยนไปหรือไม่ ถ้าหากเราเลือกที่จะต่อต้านไม่ยอมคล้อยตามสังคมที่กำลังเปลี่ยนไป แล้วตราหน้าพฤติกรรมใหม่ๆ ที่ตัวเองไม่คุ้นเคยว่าเป็นการกระทำที่ไม่ดี

ในสังคมที่มีพลวัต เคลื่อนไปข้างหน้าอยู่เสมอ ไม่หยุดนิ่ง เหตุใด ‘ความดี’ จึงมีทัศนะความหมายไม่ไหวติงหยุดอยู่ที่เดิม?

ดูเหมือนว่า ค่านิยมของ ความดี ดูจะเป็นเรี่องที่ไม่มีใครสามารถนิยามได้อย่างครอบคลุมโดยแท้จริง ด้วยกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ค่านิยมสังคมก็เปลี่ยนตาม พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถเป็นสมาชิกสังคมย่อยมากมายบนโลกอินเทอร์เน็ตที่ ‘ไกลกะลา’ จากที่ตนอาศัยอยู่ โลกไกลกะลานั้น ดูเหมือนว่านิยามความดีมีความหมายที่แตกต่างหลากหลาย ความดีที่คนๆ หนึ่งยึดถืออาจไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ในถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่อีกต่อไป แต่อาจเป็นทัศนะว่าด้วยความดีในสังคมที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง หรือแม้แต่ในโลกเสมือนจริงก็ย่อมได้

แต่ใครจะถูกนิยามว่าเป็น "คนดี" หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ "ผู้นิยาม" จะตีความหมาย "คุณความดี" และ "คุณธรรม" อย่างไร???

หลายคน...สร้างภาพ-วางบทบาทให้ดูเหมือนเป็น “คนดี” แต่ความจริงคือ “ดีแต่เปลือก” เพราะจ้องแต่จะเอาเปรียบ “ผู้อื่น” ในทุกช่องทางที่จะทำได้ ทั้งในแวดวงราชการและเอกชน โดยเฉพาะพวกชอบ “ข้ามหัว” คนอื่น!!!

หลายคน...สร้างภาพ-วางบทบาทให้ดูเหมือนเป็น “คนดี” แต่ความจริงเป็นจำพวก “อร่อยจังตังค์อยู่ครบ” ไม่ลงทุน ไม่ยอมเหนื่อย ไม่กล้าออกหน้า แต่ถึงเวลาชอบ “เสนอหน้า” เอาผลประโยชน์และตำแหน่ง!!!

หลายคน...สร้างภาพ-วางบทบาทให้ดูเหมือนเป็น “คนดี” แต่ความจริง “ไม่ดีจริง” และชอบแอบอ้างว่ามี "หลังพิง" เพื่อให้ผู้คนยำเกรง-เกรงใจ และมักเอา “ความเกรงใจ-ความยำเกรง” นี้...หาประโยชน์ใส่ตัว!!!

หลายคน...สร้างภาพ-วางบทบาทให้ดูเหมือนเป็น “คนดี” แต่ความจริง “ชอบตำหนิติเตียนผู้อื่น” ว่าไม่ดีอย่างโน้น-ไม่ดีอย่างนี้...เพื่อหวังสร้างราคาให้ตัวเองโดดเด่นกว่าคนอื่น แต่พอถึงคราตัวเองโดนตำหนิบ้าง กลับรับคำวิจารณ์ไม่ได้!!!

สังคมไทยที่วิปริตมานานหลายสิบปี...ก็เพราะ “คนดี” ที่คิดเข้าข้างตัวเอง...เหล่านี้...ที่หากไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการหรือคาดหวัง...ก็จะ “มอง” คนอื่นว่า...ไม่ใช่คนดี...นั่นเอง

ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้น...จะเห็นว่า ความขัดแย้งในห้วงหลายปีที่ผ่านมา...ฝ่ายหนึ่งกำหนด “มอตโต้” ว่า ต้องให้คนดีบริหารบ้านเมือง แต่อีกฝ่ายเลือกใช้ระบบสวามิภักดิ์

ความต่างของสองฝ่ายคือ “ผลประโยชน์-ผลตอบแทน” ที่คนทุ่มเททำงานให้...จะได้รับ !!!

เมื่อฝ่ายหลังให้ “ผลตอบแทนคุ้มค่า”...ทั้ง “เงิน-ตำแหน่ง-อำนาจ-บารมี” โดยไม่สนใจว่าจะเป็นอย่างไร จึงทำให้มีคนพร้อมที่จะทุ่มเททำงานให้เต็มที่ และผู้คนกลุ่มนี้มักไม่ค่อยล้ำเส้นกัน...เพราะส่วนใหญ่จะได้ มาก-น้อย...ขึ้นกับ “ผลงาน”

แต่ฝ่ายแรกให้ “ความคาดหวัง”...และให้ “คนทำงาน” คิดแต่เรื่อง “เสียสละ” เป็นหัวใจสำคัญ...แถมเมื่อเกิดเรื่องราวใดๆ ก็ไม่คิดปกป้อง...หรือดูแล ทั้งที่เป็นสิ่งจำเป็น

ตัวอย่าง 'สงครามคนดี' ที่เกิดขึ้นใน “กระทรวงสาธารณสุข” เวลานี้...จึงเป็นเรื่องเม้าท์กระจายในหมู่คนคิดต่าง ที่เห็น “คนดี” ฟาดฟันกันเอง และเป็นเครื่องตอกย้ำว่า แต่ละคน “นิยาม” คำว่า “คนดี” ไม่เหมือนกันจริงๆ

เพราะ “ฝ่ายหนึ่ง” ในช่วงเวลาที่เกิดกระแสมวลมหาประชาชน...กระโดดออกมาเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน “ปะ-ฉะ-ดะ” กับรัฐบาลในเวลานั้น...จนได้รับความชื่นชม พร้อมได้รับ “นกหวีดทองคำ”

แต่ “อีกฝ่าย” ไม่ใช่...ทั้งไม่คิดกระโดดมาออกตัวแรง แต่ถึงเวลากลับได้รับตำแหน่ง “เสนาบดี” และพยายามยัดเยียด “ความคิดพวกพ้องตัวเอง” ให้ครอบงำในการกำหนดนโยบาย

หรืออย่าง “หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ” ก็เช่นกัน...ทุกครั้งที่เกิดการรัฐประหาร จะต้องกระโดดเข้ามามีตำแหน่งแต่มักสร้างความเจ็บปวดให้กับ “ระบบเศรษฐกิจ” จนมีผู้คนเดือดร้อนมากมายกับนโยบาย“เจียะป้าบ่อสื่อ”

“คนดีจริงๆ” จึงเป็นสิ่งที่ต้องตามหา...แต่จะมีหรือไม่...อยู่ที่ “คุณ” จะเป็นผู้นิยาม แต่อย่าเผลอคิดเข้าข้างตัวเองล่ะ !!!

ความหมายของคนดีคืออะไร

คนดี หมายถึง คนที่ดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น มีวินัย มีความเอื้อเฟื้อเกื้อกูล มีเหตุผล รู้หน้าที่ ซื่อสัตย์ พากเพียร ขยัน ประหยัด มีจิตใจเป็นประชาธิปไตย เคารพความคิดเห็นและสิทธิของผู้อื่น มีความเสียสละ รักษาส่งแวดล้อม สามารถ ...

คนดีต้องเป็นคนแบบไหน

คุณสมบัติของคนดี : - มีวินัย มีความวิริยะ และอุตสาหะ - มีคุณธรรม และ จริยธรรม - มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ต่อสังคม และต่อสิ่งแวดล้อม - มีความซื่อสัตย์สุจริต และรักความยุติธรรม - มีจิตสาธารณะ เสียสละ และอุทิศตนเพื่อส่วนรวม - รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ - รักความเป็นไทย และวัฒนธรรมไทย - อยู่อย่างพอเพียง

การเป็นคนดีมีประโยชน์อย่างไร

ทำให้เป็นคนเข้าใจผู้อื่นได้เป็นอย่างดี – ทำให้เป็นคนมีเหตุมีผล เข้าใจและเห็นใจในความทุกข์เดือดร้อนของผู้อื่นโดยไม่เหยียดหยามหรือทับถมผู้อื่น – ทำให้เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี – ทำให้เป็นคนใจกว้าง มีความรักให้แก่ผู้คนและสิ่งรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นคน, สัตว์, พืช หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ เป็นต้น

การเป็นคนดี ต้อง ปฏิบัติ อย่างไร

คุณธรรม คือ หลักในการประพฤติปฏิบัติที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น 1. ความเอื้อเฟื้อ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม 2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่ 3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก 4. ความซื่อสัตย์สุจริต 5. ความสามัคคี 6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทําชั่ว 7. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง ...