จังหวัดที่จนที่สุดในประเทศไทย 2564

เปิดรายงานสภาพัฒน์ พบปี 2563 คนจนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 5 แสนคน เส้นความยากจนขยับลงมาอยู่ที่ 2,762 บาทต่อคนต่อเดือน ภาคใต้ อีสาน เหนือประสบปัญหายากจนรุนแรง แนะรัฐพัฒนาระบบฐานข้อมูลแก้ปัญหาตรงกลุ่มเป้าหมาย 

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากรายงานเรื่องสถานการณ์ความยากจนความเหลื่อมล้ำปี 2563 ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ จัดทำขึ้นล่าสุด พบว่า ในปี 2563 สัดส่วนคนจนที่ดูจากเส้นความยากจน เพิ่มขึ้นเป็น 6.84% จากปี 2562 ที่อยู่ที่ 6.24% คิดเป็นจำนวนคนจน 4.8 ล้านคน จากปี 2562 มีจำนวน 4.3 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 5 แสนคนจากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานอย่างรุนแรง

  • ฟุตบอลโลก 2022 กลุ่ม F นัดสุดท้าย โมร็อกโก – โครเอเชีย เข้ารอบ
  • ศิริราช-รามา ผนึกบิ๊กค้าปลีก เปิดศูนย์แพทย์เซ็นทรัล-โลตัส
  • ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 1 ธันวาคม 2565 (อัพเดต)

ทั้งนี้ เส้นความยากจนปี 2563 อยู่ที่ 2,762 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนปี 2562 อยู่ที่ 2,763 บาทต่อคนต่อเดือน

ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัว 6.1% เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ขยายตัว 2.3% ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในวงกว้าง และมีผู้ว่างงานจำนวน 3.73 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.98%

อย่างไรก็ตาม ในรายงานจาก สศช.ระบุว่า แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้าง แต่จำนวนคนจนที่คำนวณจากคนที่มีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพต่ำกว่าเส้นความยากจน กลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการช่วยเหลือเยียวยาที่รัฐบาลได้ดำเนินการตลอดช่วงระยะเวลาของผลกระทบ เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง โครงการสำหรับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการช่วยเหลือผู้ประกันตน

โดยโครงการดังกล่าวได้ช่วยเหลือให้ประชาชนมีความสามารถในการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 13,473 บาทต่อคนต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ 1,123 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งคิดเป็น 40% ของเส้นความยากจน

จังหวัดที่จนที่สุดในประเทศไทย 2564
ที่มา : สศช.

ครัวเรือนยากจนเพิ่มเป็น 1.4 ล้านครัวเรือน

อีกทั้งยังพบว่า ภาพรวมครัวเรือนทั้งประเทศมีความเปราะบางเพิ่มขึ้น จากความสามารถหารายได้ลดลง สะท้อนจากชั่วโมงการทำงานที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี รวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19

ประกอบกับสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนที่สูงขึ้นมาก และเงินออมในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีแนวโน้มลดลง ทำให้พบว่า ในปี 2563 มีครัวเรือนยากจนเพิ่มขึ้น 7% มาอยู่ที่จำนวน 1.4 ล้านครัวเรือน คิดเป็นสัดส่วน 5.51% ของครัวเรือนทั้งหมด จากปีก่อนหน้ามีครัวเรือนยากจนประมาณ 1.31 ล้านครัวเรือน

  • หนี้ครัวเรือนไทยทะลุ 14.24 ล้านล้าน สภาพัฒน์ห่วงหนี้เสียบัตรเครดิตพุ่ง
  • ว่างงานพุ่ง 8.7 แสนคน สูงสุดในรอบวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

เมื่อแบ่งตามระดับความรุนแรงของความยากจน พบว่ามีคนยากจนมาก จำนวน 1.61 ล้านคน หรือคิดเป็น 2.31% ของประชากรทั้งประเทศ เพิ่มจากปีก่อนหน้า 26% คนยากจนน้อย มีจำนวน 3.14 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 3% และคนเกือบจน มีจำนวน 5.14 ล้านคน ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้า 5%

Advertisement

สะท้อนว่า ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้คนยากจนที่มีปัญหาความยากจนอยู่แล้วมีปัญหารุนแรงมากขึ้น และต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ และจำเป็นต้องค้นหากลุ่มเป้าหมาย และมีมาตรการช่วยเหลืออย่างเจาะจง ผ่านการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เช่น ระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เพื่อบริหารจัดการข้อมูลพัฒนาคนทุกช่วงวัย และแก้ปัญหาความยากจนแบบชี้เป้า

ทั้งนี้ การแบ่งระดับความรุนแรงของความยากจน ได้แก่ คนจนมากคือ มีระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่ำกว่าเส้นความยากจนเกินกว่า 20% คนจนน้อย มีระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่ำกว่าเส้นความยากจนมีไม่เกิน 20% และคนเกือบจน มีระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคสูงกว่าเส้นความยากจนไม่เกิน 20%

จังหวัดที่จนที่สุดในประเทศไทย 2564
ที่มา : สศช.

ใต้ อีสาน เหนือ ยากจนรุนแรง

ขณะที่ เมื่อแบ่งความยากจนระดับภาคหรือเขตพื้นที่ พบว่า ภูมิภาคที่มีปัญหาความยากจนรุนแรง ได้แก่ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ โดยพบสัดส่วนคนจน 11.60%, 11.50% และ 6.83% ตามลำดับ

ขณะที่ เมื่อพิจารณาจากจำนวนคนจน พบว่า คนจนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคกลาง และ กทม.ตามลำดับ

โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเป็นปัญหาด้านโครงสร้าง กล่าวคือ (1) จากปัญหาโครงสร้างการผลิต ซึ่งประชากรภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรและเป็นแรงงานนอกระบบ ผู้มีงานทำในภูมิภาคดังกล่าวเกินกว่า 40% ทำงานในภาคเกษตร มีรายได้ไม่แน่นอน

อีกทั้ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแรงงานนอกระบบสูงถึง 74.79% ภาคเหนือ 69.31% และภาคใต้ 56.19% ของประชากรในภาค ที่มีรายได้ไม่แน่นอนเช่นกัน

(2) ปัญหาโครงสร้างประชากรที่เป็นสังคมสูงวัย ส่งผลให้วัยแรงงานเข้าสู่วัยสูงอายุ บุคคลที่เคยสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนปรับเปลี่ยนสถานะเป็นผู้พึ่งพิง โดยปัจจุบันพบว่าประชากรอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีเพียง 35% ที่ประกอบอาชีพ และผู้สูงอายุในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสัดส่วนคนจนสูง

ส่วนปัญหาความยากจนในภาคใต้ พบว่า มีปัญหารุนแรงขึ้นจากพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดยปี 2563 คนจนใน 3 จังหวัดมีสัดส่วนประมาณ 48.8% ของคนยากจนในภาคใต้ และเพิ่มขึ้นถึง 23.5% ขณะที่จังหวัดที่เหลือในภาคใต้มีจำนวนคนจนลดลง 10.12%

จังหวัดที่จนที่สุดในประเทศไทย 2564
ที่มา : สศช.

สำหรับจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 อันดับแรก ในปี 2563 ได้แก่ ปัตตานี แม่ฮ่องสอน นราธิวาส กาฬสินธุ์ ระนอง นครราชสีมา นครพนม ตาก ยะลา ศรีสะเกษ ตามลำดับ โดยเฉพาะปัตตานี มีสัดส่วนคนจนติดอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกมาตั้งแต่ปี 2547 ต่อเนื่องถึงปี 2563 หรือตลอดเวลา 17 ปี

จังหวัดไหนจนที่สุดในประเทศไทย

บทคัดย่อ บทความนี้กล่าวถึง (1) แม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศไทย Abstract 7407. (2) ลักษณะของความยากจนของแม่ฮ่องสอนได้แก่ (2.1) มีสัดส่วนที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่ต่ำ มากเมื่อเทียบกับจำนวนเกษตรกรที่มีจำนวนมาก

ภาคไหนจนที่สุดในประเทศไทย

รวมความแล้วก็คือ แม่ฮ่องสอน ของภาคเหนือครับที่ถือว่ายากจนที่สุดตามข้อมูลนี้ ส่วนที่ยากจนรองๆลงมาก็จะอยู่ในภาคอีสานเกือบทั้งหมด มี นราธิวาส จากภาคใต้แทรกอยู่ที่จนอันดับ 4 เพียงจังหวัดเดียวเท่านั้น

จังหวัดอะไรคนรวยเยอะที่สุด

จังหวัดที่มีความก้าวหน้าด้านรายได้มากที่สุด หรือจังหวัดที่คนรวยสุดคือภูเก็ต และเป็นจังหวัดเดียวที่ไม่มีความยากจน ประกอบกับสัดส่วนครัวเรือนที่มีหนี้สินเพื่อการอุปโภคบริโภคต่ำมากเพียง 6.1% อีกทั้งความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ก็อยู่ในระดับต่ำด้วย ส่วนจังหวัดที่มีรายได้รองลงมาคือสมุทรสาคร, กรุงเทพฯ, นนทบุรี และชลบุรี

จังหวัดไหนลำบากที่สุด

จากข้อมูลเมื่อปี 2561 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าปัจจุบันจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุดของประเทศไทย โดยมีสัดส่วนร้อยละ 39.21 โดย แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดชายแดนที่อยู่ห่างไกล ทุกอำเภอมีอาณาเขตติดกับรัฐฉานประเทศเมียนมา มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 275,884 คน เป็นลำดับที่ 73 ...