บทบาทของคอมพิวเตอร์ในด้านธุรกิจ

ผลกระทบที่มีต่อสังคมในทางที่บวก

1. ช่วยส่งเสริมงานค้นคว้าด้านเทคโนโลยี

2. ช่วยส่งเสริมด้านความสะดวกสบายของมนุษย์

3. ช่วยส่งเสริมสติปัญญาของมนุษย์

4. ช่วยส่งเสริมประชาธิปไตย

5. ช่วยส่งเสริมสุขภาพ

6. ช่วยให้เศรษฐกิจเจริญรุ่งเรือง

บทบาทคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

บทบาทคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในด้านธุรกิจ


การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจต่างๆ

   กิจการทางธุรกิจที่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานหลายด้านด้วยกัน เช่น

  1. ด้านสถาบันการศึกษา ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียน
  2. ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลข่าวสาร การออกแบบรูปเล่ม เป็นต้น
  3. ด้านการธนาคาร ใช้คอมพิวเตอร์ในการให้บริการกับลูกค้า การฝากเงิน การถอนเงิน และการชำระค่าบริการต่างๆ
  4. ด้านโรงแรม ใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลการเข้าพัก เป็นต้น
  5. ด้านธุรกิจสายการบิน ใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจดูตารางการบิน การจองตั๋วเครื่องบิน
  6. ด้านการแพทย์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการค้นหาประวัติของคนไข้
  7. ด้านอุตสาหกรรม ใช้คอมพิวเตอร์ในการเพิ่มผลผลิตสินค้าให้มีปริมาณมากขึ้น และเพียงพอกับความต้องการของตลาด
  8. ด้านบันเทิง ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและตัดต่อภาพ การควบคุมคุณภาพของเสียง
  9. ด้านการสื่อสาร เช่น การนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงาน เป็นต้น
  10. ด้านการตลาดหลักทรัพย์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการซื้อ-ขายหุ้น เป็นต้น

ประโยขน์ในการนำเอาคอมพิวเตอร์ เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจ มีดังนี้

    บทบาทของคอมพิวเตอร์ในด้านธุรกิจ
  1. ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น ใช้ในการเก็บบันทึกเกี่ยวกับประวัติของพนักงาน ซึ่งทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ
  2. ให้บริการลูกค้า คือสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องซึ่งสามารถให้บริการลูกค้าที่มาขอใช้บริการได้อย่างทันทีที่ลูกค้ามาเข้ารับการบริการ
  3. ใช้ในด้านการศึกษา เช่น การลงทะเบียนเรียน การบันทึกผลการเรียน และการประกาศผลการเรียน เป็นต้น
  4. ใช้หาค่าของตัวเลขที่มีความสลับซับซ้อนในงานด้านการวิจัย ซึ่งสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำและมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  5. การเก็บรักษาสินค้า ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิของสินค้าภายในโกงดังได้ ว่าสินค้าประเภทใดต้องการอุณหภูมิประมาณกี่องศา
  6. สามารถป้อนข้อมูลสินค้าลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ซึ่งจะทำให้ทราบได้ทันทีว่าข้อมูลของสินค้ายังมีสภาพดีอยู่หรือไม่
  7. ในเรื่องของการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงงานของพนักงาน สามารถคำนวณเงินเดือนและค่าแรงของพนักงาน
  8. สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีเข้ามาช่วยในเรื่องต่างๆ เช่น การลงบันทึกรายการทางด้านบัญชี การลงสต็อกสินค้า

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในด้านธุรกิจ

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

ความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ

ความหมายของธุรกิจ (Meaning of business)
1 ธุรกิจ หมายถึง องค์การ หรือกิจการที่ก่อให้เกิดสินค้า และบริการ ธุรกิจเป็นกระบวนการทั้งหมดของการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนสภาพตามกรรมวิธีการผลิตด้วยแรงคน และเครื่องจักรให้เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการ กิจกรรมของธุรกิจจึงรวมทั้งการผลิต การซื้อ ขาย การจำแนกแจกจ่ายสินค้า การขนส่ง การธนาคาร การประกันภัย และอื่น ๆ
2 ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้มีการผลิตสินค้า และบริการ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และกระจายสินค้าและมีประโยชน์หรือกำไรจากกิจกรรมนั้น ธุรกิจมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุยษ์ในสังคมปัจจุบันมากเพราะนอกจากจะเป็นองค์การที่ผลิตสินค้า หรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต หรือปัจจัย4 การประกอบธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก หรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญ คือ กำไร เพราะเป็นแรงจูงใจของการดำเนินการทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันและการขยายตัวทางธุรกิจให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
3 ธุรกิจ หมายถึง ความพยายามที่เป็นแบบแผนของนักธุรกิจในการผลิต และขายสินค้า หรือบริการ เพื่อสนองความต้องการของสังคมโดยมุ่งหวังกำไร

จุดมุ่งหมายในการประกอบธุรกิจ (Objective of business)
1. เพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค และผู้อุปโภค
2. นำผลกำไรมาสู่ผู้ลงทุน
3. รักษาสัมพันธภาพระหว่างกิจการกับ พนักงาน ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อมภายนอก
4. เพื่อความอยู่รอด และเจริญเติบโตของธุรกิจนั้น ๆ ให้บริการแก่ท้องถิ่น และเสริมสร้างความเจริญแก่สังคม

ทรัพยากรที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ (Resources)
1. คน รวมถึงผู้บริหาร และพนักงานทั้งหมด (Human resources)
2. วัตถุดิบ (Material resources)
3. ข่าวสารข้อมูล (Information resources)
4. เงินลงทุน (Financial resources)
5. เครื่องมือ (Tool resources)

ระบบย่อยของธุรกิจ (Sub-agent of business)
1.ระบบย่อยทางการจัดการ (Management)
2.ระบบย่อยทางการบันทึกข้อมูล (Data recording)
3.ระบบย่อยทางการตลาด (Marketing)
4.ระบบย่อยทางการผลิต (Production)
5.ระบบย่อยทางการเงิน (Financial)

ประเภทของการก่อตั้งองค์การ (Type of organization)
1. การประกอบการโดยเจ้าของคนเดียว (Owner’s management)
2. ห้างหุ้นส่วน (Partnership) : 2 คนขึ้นไป หนี้สินไม่จำกัด
3. บริษัทจำกัด (Company limited) : ผู้ถือหุ้น 7 คนขึ้นไป รับผิดชอบหนี้เฉพาะมูลค่าหุ้น
4. รัฐวิสาหกิจ (State enterprise)
5. บริษัทข้ามชาติ (Multinational corporations)
6. สหกรณ์ (Co-operative)

ประเภทของธุรกิจ (Type of business)
1. ธุรกิจการผลิต (Manufacturing)
2. ธุรกิจเหมืองแร่ (Mining)
3. ธุรกิจค้าส่ง (Wholesaling)
4. ธุรกิจค้าปลีก (Retailing)
5. ธุรกิจบริการ (Service)

การประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ Business Data Processing

การประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
          การประมวลผลข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อแปรสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการเรียกว่าข้อสนเทศหรือสารสนเทศ (Information)

วิธีการประมวลผลข้อมูล      อาจจำแนกได้ 3 วิธีโดยจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผล ได้แก่


1.การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) เป็นวิธีการที่ใช้มาตั้งแต่อดีตโดยใช้อุปกรณ์ง่าย ๆ สามารถจำแนกตามอุปกรณ์ที่ใช้ได้เป็น 3 ประการ คือ
– อุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการเก็บรักษา และค้นหาข้อมูล ได้แก่ บัตรแข็ง แฟ้ม ตู้เก็บเอกสาร
– อุปกรณ์ที่ช่วยในการนับและคิดคำนวณเป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการใช้ ได้แก่ ลูกคิด เครื่องคิดเลข เป็นต้น
– อุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดลอกข้อมูล ได้แก่ กระดาษ ปากกา ดินสอ เครื่องอัดสำเนา เป็นต้น
การประมวลผลแบบนี้เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กที่มีข้อมูลปริมาณไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน
2. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องจักรกล (Mechanical Data Processing) เป็นวิวัฒนาการมาจากการประมวลผลด้วยมือ แต่ยังต้องอาศัยแรงคนบ้าง เพื่อทำงานร่วมกับเครื่องจักรกล ในการประมวลผลทางธุรกิจ เครื่องที่ใช้กันมากที่สุด คือ เครื่องทำบัญชี (Accounting Machine) และเครื่องที่ใช้ในการประมวลผลทั่วไปเป็นเครื่องกึ่งอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า เครื่อง Unit Record
3. การประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (EDP : Electronic Data Processing) หมายถึงการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นเอง  ลักษณะงานที่เหมาะสมต่อการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์  คือ
– งานที่มีปริมาณมาก ๆ
– ต้องการความถูกต้องรวดเร็ว
– มีขั้นตอนในการทำงานซ้ำ ๆ กัน เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานทะเบียนประวัติและงานสถิติ เป็นต้น
– มีการคำนวณที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน เช่น งานวิจัยและวางแผน งานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

การประมวลผลข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นเตรียมข้อมูล (lnput) เป็นการจัดเตรียมข้อมูลที่รวบรวมมาแล้วให้อยู่ในลักษณะที่สะดวกต่อการประมวลผล แบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ ดังนี้
ก. การลงรหัส(Coding) คือ การใช้รหัสแทนข้อมูลจริง ทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่สะดวกแก่การประมวลผล ทำให้ประหยัดเวลาและเนื้อที่ รหัสอาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับเพศ ให้รหัส 1 แทนเพศชาย รหัส 2 แทนเพศหญิง เป็นต้น
ข. การตรวจสอบแก้ไขข้อมูล (Editing) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นไปได้ของข้อมูล และปรับปรุงแก้ไขเท่าที่จะทำได้หรือคัดข้อมูลที่ไม่ต้องการออกไป เช่น คำตอบบางคำตอบขัดแย้งกันก็อาจดูคำตอบจากคำถามข้ออื่น ๆ ประกอบ แล้วแก้ไขตามความเหมาะสม
ค. การแยกประเภทข้อมูล (Classifying) คือการแยกประเภทข้อมูลออกตามลักษณะงานเพื่อสะดวกในการประมวลผลต่อไป เช่น แยกตามคณะวิชา แยกตามเพศ แยกตามอายุ เป็นต้น
ง. การบันทึกข้อมูลลงสื่อ (Media) ที่เหมาะสม หมายถึง การจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในสื่อ หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจ และนำไปประมวลได้ เช่น บันทึกข้อมูลลงในจานแม่เหล็ก หรือเทปแม่เหล็ก เพื่อนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป

2. ขั้นตอนการประมวลผล (Processing) เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยนำข้อมูลที่เตรียมไว้แล้วเข้าเครื่อง แต่ก่อนที่เครื่องจะทำงานต้องมีโปรแกรมสั่งงาน ซึ่งโปรแกรมเมอร์(Processing) เป็นผู้เขียน เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ออกมาและยังคงเก็บไว้ในเครื่องขั้นตอนต่าง ๆ อาจเป็นดังนี้
ก. การคำนวณ (Calculation) ได้แก่ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร และทางตรรกศาสตร์ เช่น การเปรียบเทียบค่าต่าง ๆ
ข. การเรียงลำดับข้อมูล(Sorting) เช่น เรียงข้อมูลจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อยหรือเรียงตามตัวอักษร A ถึง Z เป็นต้น
ค. การดึงข้อมูลมาใช้(Retrieving) เป็นการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ต้องการทราบยอดหนี้ของลูกค้าคนหนึ่ง หรือต้องการทราบยอดขายของพนักงานคนหนึ่ง เป็นต้น
ง. การรวมข้อมูล (Merging) เป็นการนำข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุด ขึ้นไปมารวมเป็นชุดเดียวกัน เช่น การนำเอาเงินเดือนพนักงาน รวมกับเงินค่าล่วงเวลา จะได้เป็นเงินที่ต้องจ่ายให้แก่พนักงาน
จ. การสรุป (Summarizing) เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ทั้งหมดให้อยู่ในรูปแบบสั้น ๆ กะทัดรัดตามต้องการ เช่น การสรุปรายรับรายจ่าย หรือ กำไรขาดทุน
ฉ. การสร้างข้อมูลชุดใหม่ (Reproducing) เป็นการสร้างข้อมูลชุดใหม่ขึ้นมาจากข้อมูลเดิม
ช. การปรับปรุงข้อมูล (Updating) คือ การเพิ่มข้อมูล (Add) การลบข้อมูล (Delete)  และการเปลี่ยนค่า (change) ข้อมูลที่มีอยู่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ

3. ขั้นตอนการแสดงผลลัพธ์ (Output) เป็นงานที่ได้หลังจากผ่านการประมวลผลแล้วเป็นขั้นตอนในการแปลผลลัพธ์ที่เก็บอยู่ในเครื่อง ให้ออกมาอยู่ในรูปที่สามารถเข้าใจง่ายได้แก่ การนำเสนอในรูปแบบรายงาน เช่น แสดงผลสรุปตารางรายงานการบัญชี รายงานทางสถิติ รายงานการวิเคราะห์ต่าง ๆ หรืออาจแสดงด้วยกราฟ เช่น แผนภูมิ หรือรูปภาพสรุปขั้นตอนการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

ความหมายและสมบัติของคอมพิวเตอร์

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

โดยทั่วไปที่เราพบเห็นกันในปัจจุบัน จะมีคุณสมบัติที่เป็นพื้นฐาน ซึ่งพอจะแบ่งออกได้ดังนี้                                  ความเป็นอัตโนมัติ ( Self Acting) คอมพิวเตอร์ประดิษฐ์ขึ้นด้วยอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ มีการจัดเก็บหรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้ถูกกำหนดไว้ การทำงานดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลและแปลงผลลัพธ์ออกมาให้อยู่ในรูปแบบที่มนุษย์สามารถเข้าใจได้
ความเร็ว ( Speed) คอมพิวเตอร์จะประมวลผลงานด้วยความเร็วสูง ต่างจากการประมวลผลงานในอดีตที่อาศัยแรงงานของมนุษย์ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ล่าช้ากว่ามาก งาน ๆ หนึ่งหากใช้แรงงานคนอาจเสียเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ในการคิดและประมวลผล แต่หากนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้อาจลดเวลาและให้ผลลัพธ์ได้เพียงไม่กี่นาที ความรวดเร็วในการประมวลผลดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำเนินงานธุรกรรมในปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ผู้บริหารนำเอาไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหรือดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว
ความถูกต้อง แม่นยำ ( Accuracy) คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยที่สุด การใช้แรงงานคนเพื่อประมวลผลเป็นเวลานาน อาจเกิดการผิดพลาดได้ เนื่องมาจากความอ่อนล้า เช่น ลงรายการผิด หรือบันทึกข้อมูลผิดประเภท ตรงกันข้ามกับคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและซ้ำ ๆ แบบเดิมได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการป้อนข้อมูลเข้าที่ถูกต้องด้วย เนื่องจากคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทราบได้ว่าข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามานั้นเป็นอย่างไร ผิดหรือถูก หากมีการป้อนข้อมูลผิด โปรแกรมหรือชุดคำสั่งอาจประมวลผลตามที่ได้รับข้อมูลมาเช่นนั้น ซึ่งความไม่ถูกต้องดังกล่าวไม่ใช่เป็นความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์ หากเป็นความผิดพลาดของฝั่งผู้ใช้เอง เป็นต้น
ความน่าเชื่อถือ ( Reliability) ข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ จะมีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ต่อไปได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันมีฮาร์ดแวร์ที่ผลิตขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ มีการคิดค้นและพัฒนาให้ดีกว่ายุคสมัยก่อนที่มีการใช้เพียงแค่หลอดสุญญากาศ การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีความผิดพลาดต่ำมากหรือแทบไม่เกิดขึ้นเลย นั่นคือการมีความน่าเชื่อถือสูงนั่นเอง
การจัดเก็บข้อมูล ( Storage Capability) คอมพิวเตอร์สามารถจัดเก็บข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความธรรมดาหลาย ๆ ล้านตัวอักษร เพลง ภาพถ่าย วิดีโอ หรือไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมาก โดยมีหน่วยเก็บข้อมูลเฉพาะเป็นของตนเอง ช่วยให้การจัดเก็บและถ่ายเทข้อมูลเป็นไปได้โดยสะดวกมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมักพบเห็นหน่วยเก็บข้อมูลที่จุข้อมูลได้มากขึ้นและมีราคาที่ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก
ทำงานซ้ำ ๆ ได้ ( Repeatability) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานซ้ำ ๆ กันได้หลายรอบ ช่วยลดปัญหาเรื่องความอ่อนล้าจากการทำงานของแรงงานคน นอกจากนั้นยังลดความผิดพลาดต่าง ๆ ได้ดีกว่าด้วย ข้อมูลที่ประมวลผลแม้จะยุ่งยากหรือซับซ้อนเพียงใดก็ตาม จะสามารถคำนวณและหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว การคิดหาผลลัพธ์ของงานที่มีลักษณะซ้ำ ๆ แบบเดิม เช่น การบันทึกรายการบัญชีประจำวัน การลงรายการสินค้าเข้า – ออกในระบบสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงเหมาะอย่างยิ่งต่อการนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้งาน
การติดต่อสื่อสาร ( Communication) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันเป็นเครือข่ายมากยิ่งขึ้น แต่เดิมอาจเป็นแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลธรรมดา แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปมาก เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าหากันเป็นเครือข่ายได้ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเล็ก ๆ หรือระดับเครือข่ายใหญ่ ๆ เช่น อินเทอร์เน็ต ทำให้การประมวลผลงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และไม่จำกัดอยู่แค่พื้นที่หนึ่งอีกต่อไป คุณสมบัติเหล่านี้อาจพบเห็นได้ในคอมพิวเตอร์แบบใหม่ ๆ ทั่วไป

การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

การประยุกต์์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
คำนำ
คอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้เข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมไปกับทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็น งานทางด้านการศึกษา ทางด้านการสื่อสาร ทางด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ทางด้านโทรคมนาคม ทางด้านบันเทิง ทางด้านอุตสาหกรรม ทางด้านการธนาคาร ทางด้านธุรกิจโรงแรม ทางด้านตลาดหลักทรัพย์ ทางด้านธุรกิจสายการบิน และยังรวมไปถึงทางด้านการแพทย์ด้วย ธุรกิจทุกด้านที่ได้กล่าวมาในข้างต้นนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของการนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจ แทบทั้นสิ้น เพราะงานทุกประเภทก็มุ่งแสวงหาผลประโยชน์ และผลกำไรด้วยกันทั้งนั้น จึงถือว่างานทุกประเภทก็เป็นงานทางด้านธุรกิจเช่นเดีวยกัน เพราะฉนั้นการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานทางด้านธุรกิจจึงมีความ สำคัญเป็นอย่างมา และยังช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจนั้นทำให้ธุรกิจมีความเจริญก้าวหน้า มากขึ้น และยังช่วยเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้กับบุคลากรภายใน องค์กรได้อีด้วย ทั้งนี้ก็ทำให้ธุรกิจมีการเจริญเติบโตและมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น สามารถทัดเทียมกับคู่แข่งขันทางการค้าและการพาณิชย์ต่าง ๆ ได้ และยังเป็นโอกาศที่ดีที่ธุรกิจจะได้นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์มาช่วยใน การพัฒนางานทางด้านต่าง ๆ ให้กับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นการนำเอาโปรแกรมต่าง ๆ เข้ามาช่วยในเรื่องของการจ่ายเงินเดือน การพิมพ์ใบสั่งสินค้า การพิมพ์ใบเสร็จรับเงิน ด้านสินค้าคงคลัง การคำนวณค่าแรงของพนักงาน การเพิ่มผลผลิตของสินค้า การควบคุมอุณหภูมิภายในโกดังเก็บสินค้า การตรวจสอบคุณภาพของสินค้า การลงรายการประจำวันต่างๆ ทางด้านบัญชี การจัดทำงบการเงิน เป็นต้น
ความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ
ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการความคิด แล้วมีการแลกเปลี่ยน ซื้อขายกันและมีวัตถุประสงค์ ได้ประโยชน์จากกิจกรรมนั้น ๆ (www.mis.nu.ac.th) ธุรกิจ หมายถึง องค์การหรือกิจการที่ทำให้เกิดสินค้า และบริการ ธุรกิจเป็นกระบวนการทั้งหมดของการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนไปตาม กรรมวิธีการผลิตด้วยแรงคน และเครื่องจักรให้เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการ กิจกรรมทางธุรกิจจึงรวมทั้งการผลิต การซื้อ การขาย การจำแนกแจกจ่ายสินค้า การขนส่ง การประกันภัย และอื่น ๆ (www.thaiall.com/business./syllabus.htm) ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้การผลิตสินค้า และบริการมีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และมีการกระจายสินค้าและมีประโยชน์ได้กำไรจากกิจการนั้น ธุรกิจมีความจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ในสังคมปัจจุบันมาก เพราะนอกจากจะเป็นองค์การที่ผลิตสินค้า หรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงค์ชีวิต หรือปัจจัยสี่ การประกอบธุรกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก หรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม สิ่งสำคัญก็คือกำไร เพราะกำไรเป็นสิ่งจูงใจที่สำคัญในทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันและขยายตัวกันมากในทางธุรกิจทำให้เกิดความเจริญก้าว หน้ากันมากขึ้น (www.thaiall.com/business./syllabus.htm) ธุรกิจ หมายถึง ความพยายามที่เป็นแบบแผนของนักธุรกิจในการผลิต และขายสินค้า หรือบริการ เพื่อสนองความต้องการของสังคมโดยมุ่งกำไร(www.thaiall.com/business. /syllabus.htm) เพราะฉนั้นคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในงานธุรกิจ เพื่อทำให้เกิดผลกำไร และมีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้นการนำอินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงานธุรกิจมีประโยชน์เป็นอย่างมาก คือ ช่วยในการสนับสนุนการทำงานของพนักงานในฝ่ายต่าง ๆ ช่วยทำให้การสื่อสารมีความสะดวกและรวดเร็ว และยังมาความสามารถในการลดต้นทุนของการสื่อสารให้ต่ำลงได้ จึงทำให้เกิดจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ขึ้นในปัจจุบันทำให้สามารถติดต่อกับลูกค้า ได้ตลอดเวลา และช่วยให้สามารถพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา

ตัวอย่างในการนำอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในงานธุรกิจ
การนำอินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงานธุรกิจมีประโยชน์เป็นอย่างมาก คือ ช่วยในการสนับสนุนการทำงานของพนักงานในฝ่ายต่าง ๆ ช่วยทำให้การสื่อสารมีความสะดวกและรวดเร็ว และยังมาความสามารถในการลดต้นทุนของการสื่อสารให้ต่ำลงได้ จึงทำให้เกิดจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ขึ้นในปัจจุบันทำให้สามารถติดต่อกับลูกค้า ได้ตลอดเวลา และช่วยให้สามารถพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตในการสนับสนุนการทำงานของพนักงานในฝ่ายต่าง ๆ สามารถนำอินเตอร์เข้ามาติดต่อและช่วยประสานงานในฝ่ายต่าง ๆ ได้ ทั้งในองค์กรและนอกองค์กร และยังมีความสามารถในด้านการส่งเสริมการขายได้ และยังช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว การลดต้นทุนในการสื่อสาร ทำให้สามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับลูกค้าในการสื่อสารและมีต้นทุนต่ำได้ อย่างไร้พรมแดน จดหมายอิเล็คทรอนิกส์สามารถรองรับวัตถุประสงค์ในการติดต่อธุรกิจทั้งกับ ลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ เนื่องจากสามารถยืนยันคำสั่งซื้อขายได้ทันทีและลูกค้าสามารถลงทะเบียนกับทาง องค์กร เพื่อขอรับจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ สำหรับการแนะนำสินค้าที่มีอยู่และสินค้าใหม่ ๆ การพัฒนารูปแบบใหม่ อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อกลางทางการค้าที่ทันสมัย ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นได้โดยการสร้างชื่อเสียงให้เป็น ที่ยอมรับของลูกค้า หนทางหนึ่งที่อินเตอร์เน็ตสามารถช่วยธุรกิจ ก็คือ ธุรกิจสามารถเข้าถึงระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ และระบบเครือข่ายที่มีต้นทุนสูงได้โดยตรงอย่างที่ไม่สามารถ กระทำได้ในอดีต ในยุคของอินเตอร์เน็ต ความเร็วกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด เป้าหมายสำคัญข้อแรกในกระบวนการวางแผนธุรกิจคือ แผนงานในการสร้างความเร็วให้ระบบ โดยแผนงานดัง
กล่าวจะประสบความสำเร็จได้จะต้องวางกรอบการทำงานเพื่อตอบสนองคำถามพื้นฐานต่อไปนี้

องค์กรมีวิธีการที่จะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดให้รวดเร็วได้อย่างไร? คู่แข่งขององค์กรมีวิธีการที่จะนำสินค้าของเขาเข้าสู่ตลาดให้รวดเร็วได้อย่างไร? องค์กรสามารถพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสินค้าที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็วมากน้อยแค่ไหน? อินเตอร์เน็ตสามารถเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมขององค์กรได้รวดเร็วแค่ไหน?
การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ควรใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เนตเพื่อเป็นช่องทางทางการตลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับธุรกิจการส่งออก โดยที่จะต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค สินค้าและการบริการ การทำธุรกิจบนเครือข่ายอินเตอร์เนตนั้นสามารถทำการค้าได้ทุกวันและทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะหน้าร้านทางอินเตอร์เน็ต จะเปิดอยู่ตลอดเวลาแม้ในขณะที่เรานอนหลับในตอนกลางคืน การพัฒนาเว็บไซด์ เพื่อขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ตจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจ สินค้าเข้ามาดูรายละเอียดของสินค้าและราคาผ่านทางหน้าเว็บไซด์ได้ รวมถึงสามารถสั่งซื้อสินค้าได้โดยผ่านระบบชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต หรือโอนเงินผ่านทางธนาคาร ก็ได้
ความสำคัญและความสามารถในงานด้านต่าง ๆ ที่นำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานธุกิจ มีดังนี้ I. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียน
– การชำระค่าลงทะเบียนเรียนผ่านทางธนาคาร เป็นต้น
II. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานทางด้านการธนาคารที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การให้บริการกับลูกค้า
– การฝากเงิน และการถอนเงิน
– การชำระค่าบริการต่าง ๆ เป็นต้น

III. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านโรงแรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น

– การบันทึกข้อมูลการเข้าพัก และการแจ้งคืนห้องพักของลูกค้า
– การชำระค่าห้องพัก เป็นต้น
IV. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจสายการบินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การตรวจดูตารางการบิน
– การจองตั๋วเครื่องบิน
– การยกเลิกเที่ยวบิน
– การสำรองที่นั่งล่วงหน้า เป็นต้น
V. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การค้นหาประวัติของคนไข้
– การวินิจฉัยโรค
– การเอ็กซเรย์
– การชำระเงินค่ารักษา เป็นต้น
VI. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การเพิ่มผลผลิตสินค้าให้มีปริมาณมากขึ้น และเพียงพอกับความต้องการของตลาด
– ตรวจสอบคุณภาพของสินค้า
– การออกแบบการบรรจุหีบห่อให้สวยงาม เป็นต้น
VII. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านบันเทิงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การนำภาพยนตร์ออกมาฉาย
– การออกแบบและตัดต่อภาพ
– การควบคุมคุณภาพของเสียง
– การออกแบบท่าทางเต้น
– การโฆษณา เป็นต้น

VIII. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านการสื่อสาร เช่น

– การนำอินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงาน เป็นต้น
IX. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น
– การซื้อ-ขายหุ้น เป็นต้น
X. การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น- การหาข้อมูลข่าวสาร
– การออกแบบรูปเล่ม
– การตัดต่อข้อมูล
– การส่งไปตีพิมพ์ เป็นต้น
ประโยชน์ในการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจ มีดังนี้

I. ประโยชน์ในเรื่องของการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น
– ใช้ในการเก็บบันทึกเกี่ยวกับประวัติของพนักงานว่า ชื่อสกุลอะไร อายุเท่าไหร่ จบการศึกษามาจากที่ไหน เคยทำงานมาแล้วหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และสะดวกในการใช้ระยะเวลาในการค้นหามากกว่าที่จะใช้กระดาษในการเขียนบันทึก ข้อมูล
– ใช้ในบันทึกเกี่วยกับข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าว่าเป็นประเภทอะไร ชื่อสินค้าอะไร สีอะไร มีลักษณะรูปแบบเป็นอย่างไร ผลิตเมื่อไหร่ และมีวันหมดอายุวันไหน เป็นต้น

II. ประโยชน์ในเรื่องของการให้บริการลูกค้า คือสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และต่อเนื่องซึ่งสามารถให้บริการลูกค้าที่มาขอใช้บริการได้อย่างทันทีที่ ลูกค้ามาเข้ารับการบริการ เช่น
– ใช้ในด้านงานธนาคาร เช่น การฝากถอนเงินในธนาคาร เป็นต้น
– ใช้ในด้านการศึกษา เช่น การลงทะเบียนเรียน การบันทึกผลการเรียน และการประการผลการเรียน เป็นต้น
III. ประโยชน์ในเรื่องของงานวิจัย เช่น

– ใช้ในการคำนวณ คือ ใช้หาค่าของตัวเลขที่มีความสลับซับซ้อน เช่น การหาค่าของสมการ การถอดราก และยกกำลังของตัวเลข เป็นต้น ซึ่งสามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ และมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
– ใช้ในการประมวลผลข้อมูลในการทดลอง และทำการสรุปผลของการวิจัย เป็นต้น
IV. ประโยชน์ในเรื่องของการเก็บรักษาสินค้า เช่น
– ทำให้สามารถควบคุมอุหภูมิของสินค้าภายในโกดังได้ ว่าสินค้าประเภทไหนต้องการอุหภูมิประมาณกี่องศา ชอบอากาศแบบไหน เป็นต้น จึงมีส่วนช่วยในการเก็บรักษาสินค้าได้เป็นเวลานาน และทำให้เกิดการเสียหายของสินค้าลดน้อยลงอีกด้วย

V. ประโยชน์ในเรื่องของการตรวจสอบคุณภาพของสินค้า เช่น

– เมื่อป้อนข้อมูลสินค้าลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทราบได้ทันทีเลยว่า ข้อมูลของสินค้ายังมีสภาพดีอยู่หรือไม่ และทำให้สามารถทราบวันผลิต และวันหมดอายุได้อีกด้วย
VI. ประโยชน์ในเรื่องของการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงงานของพนักงาน เช่น

– ในการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงของพนักงาน ได้มีการนำโปรแกรมสำเร็จรูปขึ้นมาใช้เฉพาะในการคำนวณเงินเดือนและค่าแรงของ พนักงาน ทำให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น VII. ประโยชน์ในเรื่องของการทำบัญชี คือ สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีเข้ามาช่วยในเรื่องต่าง ๆ เช่น – ในเรื่องของการลงบันทึกรายการทางด้านบัญชี – ในเรื่องของการลงสต็อกสินค้า – ในเรื่องของการจัดทำงบการเงินไม่ว่าจะเป็นงบทดลอง งบกระแสเงินสด งบ

คอมพิวเตอร์ธุรกิจมีบทบาทในด้านใดบ้าง

คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้กับงานด้านธุรกิจ ทั้งการจัดทำเอกสาร นำเสนองาน โดยนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่น Microsoft office มาใช้กันอย่างแพร่หลาย และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น ห้างสรรพสินค้าใช้คอมพิวเตอร์ในการทำระบบบัญชีสำเร็จรูป เพื่อทำรายการซื้อและขายสินค้า การตรวจสอบยอดคงเหลือของสินค้า ธุรกิจ ...

บทบาทของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

(2.1) ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร (2.2) เป็นสื่อกลางในการรับและส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (2.3) ช่วยกระจายข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคน 3. ด้านการบริหารประเทศ รัฐบาลได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในประโยชน์ต่างๆเพื่อส่งเสริมการบริหารประเทศ ดังนี้

บทบาทของคอมพิวเตอร์ในด้านความต้องการเฉพาะบุคคลมีอะไรบ้าง

1. คอมพิวเตอร์ช่วยตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคล เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ชมภาพยนต์ ฟังเพลง เล่นเกม ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (E-mail) สนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เนตหรือแชต (chat) สืบค้นข้อมูล แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ผ่านกระทานสนทนา หรือเว็บบอร์ด (webboard)ตรวจผลสอบในเว็บไซต์เครืองข่ายอินเทอร์เนตเป็นต้น

ข้อใดเป็นธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ *

ธุรกิจบริการด้านคอมพิวเตอร์ คือ การให้บริการหลากหลายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เช่น รับซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ รับประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ รับทำเว็ปไซด์ E-Commerce รับออกแบบงาน IT ติดตั้งและปรับปรุงโปรแกรม ให้บริการเช่าเล่น Internet เป็นต้น วิธีการจัดตั้งและเริ่มต้นธุรกิจ การจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ ประเภทบุคคลธรรมดา