เฉลย ใบงานที่ 1.4 เรื่อง การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติตามกาลเวลา และสามารถเปรียบเทียบเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ได้ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้

2. ทักษะการเปรียบเทียบลักษณะสำคัญการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

3. เห็นความสำคัญของการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

การวัดผลและประเมินผล

ชิ้นงานหรือภาระงาน

1. ใบงาน เรื่อง การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

2. ความถูกต้องของการทำใบงาน

ห้องไหนที่ไม่ได้ใบงานลอกโจทย์แล้วจดใส่สมุดด้วยนะครับ

ใบงานเรื่อง  การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

คำชี้แจง  ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์อาศัยหลักเกณฑ์ใดบ้าง

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาจใช้หลักเกณฑ์การแบ่งตามเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยแบ่งเป็นยุคหินกับยุคโลหะ หรือแบ่งตามลักษณะการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยแบ่งเป็นยุคล่าสัตว์ ที่มนุษย์รู้จักเก็บหาอาหาร ล่าสัตว์ป่า ยังไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่ถาวร ยุคสังคมเกษตรกรรม มนุษย์รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่รวมกัน                เป็นชุมชน และยุคสังคมเมือง ชุมชนพัฒนาไปเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากขึ้น มีการจัดระเบียบการปกครอง               เป็นต้น

สมัยประวัติศาสตร์ จะใช้หลักเกณฑ์การแบ่งเมื่อมนุษย์รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ         ซึ่งอาจบันทึกลงบนกระดูก ไม้ไผ่ แผ่นดินเหนียว ศิลา เป็นต้น

2. การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ตามแบบสากล มีกี่สมัย และแต่ละสมัยเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด

การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ ตามแบบสากลมี 4 สมัย ได้แก่

1)  ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์ตัวอักษรของชาวซูเมเรียเมื่อ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราชจนถึงกรุงโรมของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพวกอนารยชนตีแตกใน ค.ศ. 476              

2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังกรุงโรมแตก ค.ศ. 476 จนถึงพวกเติร์กตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลของจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออกแตกใน ค.ศ. 1453

3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2                 ใน ค.ศ.1945

4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน             

3. การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ตามแบบสากลและแบบไทย เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของไทยจะแตกต่างจากแบบสากลเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย โดยสากลจะแบ่งออกเป็นสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบันร่วมสมัย ส่วนไทยจะแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ออกหลายแบบ เช่น แบ่งตามอาณาจักร เช่น สมัยทวารวดี สมัยละโว้ สมัยศรีวิชัย แบ่งตามราชธานี เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา  แบ่งตามราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วง สมัยราชวงศ์อู่ทอง สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ แบ่งตามรัชกาล เช่น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยรัชกาลที่ 1 แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น สมัยสมบูรณา ญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

กรณีตัวอย่างที่ 1

                ครั้นศักราช ๘๙๑ ปีฉลูศก ญ วันอาทิตย์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดกันกับแม่อยู่หัว     ศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา แต่พระศรีศิลป์น้องชาย  พระชนม์ได้เจ็ดพรรษานั้นเลี้ยงไว้ สมเด็จพระยอดฟ้าอยู่ในราชสมบัติปีกับสองเดือน

1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยกรุงศรีอยุธยา

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      จุลศักราช                              

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       วันอาทิตย์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน  ๘  ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๘๙๑             

กรณีตัวอย่างที่ 2

                        “...ภายหลังมานับถอยหลังขึ้นไปในรัตนโกสินทร์ศก ๘๕ มีจีนคนหนึ่งชื่อเจ๊กฮง จัดตั้งโรงรับจำนำขึ้นโรงหนึ่งที่    ริมประตูผีนี้เอง...

1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยกรุงรัตนโกสินทร์        

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      รัตนโกสินทร์ศก

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       รัตนโกสินทร์ศก ๘๕          

กรณีตัวอย่างที่ 3

                เมื่อก่อนลายสือไทนี้ บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทนี้  ลายสือไทนี้      จึ่งมีเพื่อพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้

1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยสุโขทัย          

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      มหาศักราช                            

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       ๑๒๐๕  ศก ปีมะแม