เรื่องราวของพระเวสสันดร

มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี (ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ลักษณะคำประพัน ร่ายยาว ยกคาถาบาลีขึ้นเป็นหลักก่อน สลับกับร่าย มีคาถาบาลีแทรกสลับเป็นระยะ (ลักษณะร่าย บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ วรรคหนึ่งๆจะมีคำตั้งแต่ ๖ คำขึ้นไป มีบังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างวรรคเท่านั้น ร่ายยาวเรื่อง มหาเวสสันดรชาดกนี้แต่งเป็นร่ายยาวสำหรับใช้เทศน์ “ชาดก” หมายถึง เรื่องราวของพระโพธิสัตว์(พระโพธิสัตย์ หมายถึง ผู้ซึ่งบำเพ็ญบารมี เพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อไป) ชาดกจึงหมายถึงเรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้านั่นเอง เรื่องราวของพระพุทธเจ้าตอนที่เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นั้นมีมากมาย แต่ชาติที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนั้น มี ๑๐ ชาติ เรียกว่า ทศชาติชาดก โดยในแต่ละชาติทรงบำเพ็ญบารมี ยิ่งใหญ่ ๑๐ ประการ ดังนี้

ทศชาติชาดก

หัวใจ

ทศบารมี

ความหมาย

๑.เตมียชาดก

เต.

เนกขัมมบารมี

การออกบวช

๒.มหาชนกชาดก

ช.

วิริยบารมี

การมีความเพียร

๓.สุวรรณสามชาดก

สุ.

เมตตาบารมี

การมีความเมตตา

๔.เนมิราชชาดก

เน.

อธิษฐานบารมี

การมีความตั้งใจมั่น

๕.มโหสถชาดก

ม.

ปัญญาบารมี

การมีปัญญา

๖.ภูริทัตชาดก

ภู.

ศีลบารมี

การมีศีล

๗.จันทกุมารชาดก

จ.

ขันติบารมี

การมีความอดทน

๘.นารทชาดก

นา.

อุเบกขาบารมี

การรู้จักทำใจวางเฉย

๙.วิทูรชาดก

วิ.

สัจจบารมี

การมีสัจจะ

๑๐.มหาเวสสันดรชาดก

เว.

ทานบารมี

การให้,การเสียสละ

พระชาติสุดท้าย คือ เวสสันดรชาดก ซึ่งเรียกว่าเป็น มหาชาติ เพราะ ๑.เป็นชาติที่สำคัญยิ่งเพราะเป็นชาติสุดท้ายก่อนที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้า ๒.เป็นชาติที่ทรงบำเพ็ญบารมีครบถ้วนทั้ง ๑๐ ประการ โดยเฉพาะ บำเพ็ญทานบารมีคือ บริจาคบุตรและภรรยาอันเป็นอุดมคติสูงสุด ยากที่ปุถุชนทั่วไปจะกระทำได้ ๓.เป็นชาติที่แสดงการเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวมพุทธศาสนิกชนจึงเลื่อมใสศรัทธามากกว่าชาติอื่นๆ การเทศมหาชาติมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย การเทศน์มหาชาตินิยมเทศน์ระหว่างเดือนสิบสองกับเดือนอ้าย พุทธศาสนิกชนนิยมฟังเทศน์มหาชาติเพราะเชื่อว่าจะได้อานิสงส์ให้พบกับพระศรีอาริย์ ทานบารมีนับเป็นบารมีสูงสุดในทศบารมี กัณฑ์มัทรีเป็นกัณฑ์ที่ ๘ ใน ๑๓ กัณฑ์ มีจำนวนคาถา ๙๐คาถา (จาก ๑,๐๐๐ คาถา) ชี้ให้เห็นความรักที่แม่มีต่อลูก การให้บุตรทาน พระเวสสันดรทรงชนะใจตนเองได้เพราะอาศัยปัญญาบารมีและอุเบกขาบารมี

การกลับชาติมาเกิด พระเวสสันดร > เจ้าชายสิทธัตถะ พระนางมัทรี > พระนางยโสธรา พระชาลี >พระราหุลชิโนรส พระกัณหา > นางอุบลวรรณาเถรี พระเจ้ากรุงสญชัย > พระเจ้าสุทโธทนะ พระพุทธบิดา พระนางผุสดี > พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา ชูชก > พระเทวทัตยโสธรราชอนุชา อมิตตดา > นางจิญจมาณวิกา พรานเจตบุตร > พระฉันนะเถระ พระอัจจุตฤษี > พระสารีบุตร พระวิสสุกรรม > พระโมคคัลลานะ พระอินทร์ > พระอนุรุทธ์มหาเถระ อำมาตย์ผู้เป็นนายนักการนำข่าวไปทูลพระเวสสันดร > พระอานนท์เถระ

ปัญจมหาบริจาค คือ การบริจาคที่ยิ่งใหญ่ ๕ ประการ คือ ๑.ธนบริจาค(การสละทรัพย์สมบัติเป็นทาน)๒.อังคบริจาค(การสละร่างกายเป็นทาน) ๓.ชีวิตบริจาค(การสละชีวิตให้เป็นทาน) ๔.บุตรบริจาค(การสละลูกให้เป็นทาน) ๕.ภริยาบริจาค(การสละภรรยาให้เป็นทาน)

ศัพท์ที่ควรรู้ กัมปนาท=เสียงสนั่นหวั่นไหว กระลี=เหตุร้าย กัลยาณี=นางงาม คนธรรพ์=ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง ชำนาญการดนตรีและขับร้อง ครรไล=ไป คลาไคล=เดินไป จรลี=เดินเยื้องกราย ชัฏ=ป่ารก ทิพากร=พระอาทิตย์ บรรจถรณ์=ที่นอน ประภาษ=พูด บอก ประพาส=ไปเที่ยว ปักษิน=นก ปิยบุตร=บุตรอันเป็นที่รัก เรไร=จักจั่นสีน้ำตาลหลายชนิด ลองไน=จักจั่นขนาดใหญ่มีปีกสีฉูดฉาด วิทยาธร=อมนุษย์พวกหนึ่ง เชื่อว่ามีวิชากายสิทธิ์เหาะได้ วิสัญญี=สลบ ศศิธร=พระจันทร์ ศิขริน=ภูเขา ศิโรเพฐน์=ศีรษะ สนธยา=เวลาโพล้เพล้พลบค่ำ สัตพิธรัตน์=แก้วเจ็ดประการ โสมนัส=ความปลาบปลื้มใจ อังสา=บ่า ไหล่ อัสสุชล=น้ำตา อรไท=นางผู้เป็นใหญ่ อุฏฐาการ=ลุกขึ้น อุระ=อก ไอศวรรย์=สมบัติแห่งพระราชาธิบดี ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่

พระเวสสันดรกำหนดค่าตัวสองกุมารไว้ดังนี้

๑.พระชาลี มีค่าตัว ๑,๐๐๐ ตำลึงทอง

๒.พระกัณหา มีค่าตัวสูงกว่า(เนื่องจากเป็นหญิง) คือ

๑,๐๐๐ ตำลึงทอง โคผู้ ๑๐๐ โคนม ๑๐๐ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ ทาสชาย ๑๐๐ ทาสหญิง ๑๐๐ รถ ๑๐๐ 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/khwamruphasathai/wrrnkhdi-laea-wrrnkrrm/mha-wessandr-chadk

                 มาจากร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก  ซึ่งเป็นชาดกเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุด  โดยกล่าวถึงเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ซึ่งเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร  เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี ต่อมามีการแปลเป็นภาษาไทยในสมัยกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าฯให้ปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง ซึ่งเป็นมหาชาติสำนวนแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สวด ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้าให้แต่งกาพย์มหาชาติ เพื่อใช้สำหรับเทศน์ แต่เนื้อความในกาพย์มหาชาติค่อนข้างยาว ไม่สามารถเทศน์ให้จบภายใน ๑ วัน จึงเกิดมหาชาติขึ้นใหม่อีกหลายสำนวน เพื่อให้เทศน์จบภายใน ๑ วัน  มหาชาติสำนวนใหม่นี้เรียกว่า  มหาชาติกลอนเทศน์ หรือ  ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก

                    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯโปรดเกล้าฯให้มีการชำระและรวบรวมมหาชาติกลอนเทศสำนวนต่าง ๆ แล้วคัดเลือกสำนวนที่ดีที่สุดของแต่ละกัณฑ์ นำมาจัดพิมพ์เป็นฉบับของหลวง ๒ ฉบับ คือ  ฉบับหอพระสมุดวชิรญาณ และ ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ

พระเวสสันดร มาจากเรื่องอะไร

ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในรัชกาลของพระเจ้าทรงธรรม โปรดให้แต่งเรื่องเวสสันดรชาดกเป็นคำประพันธ์ สำหรับราชบัณฑิตใช้สวดในเทศกาลเข้าพรรษา ประกอบด้วยร่าย และกาพย์ ปะปนกันเป็นวรรณคดีเรื่องสำคัญ เรียกว่า กาพย์มหาชาติ ซึ่งไม่ได้ใช้สำหรับการเทศน์มหาชาติอย่างในปัจจุบัน

มหาชาติ เป็นเรื่องราวของใคร

“การเทศน์มหาชาติ” เป็นการถ่ายทอดบทบาทชีวิตพระเวสสันดร ผู้มีความโอบอ้อมอารีบาเพ็ญทานบารมียิ่งใหญ่ ในฐานะพระโพธิสัตว์จัดเป็นเรื่องราวที่มีค่าแก่การศึกษาเพื่อเพิ่มพูนสติปัญญาแก่สังคมในยุคปัจจุบัน

ทานอันยิ่งใหญ่ที่พระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญคืออะไร

กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์ พระเวสสันดรทรงมหาสัตตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า รถ โคนม นารี ทาสี ทาสา รวมทั้งสุราบาน อย่างละ 700.

พระเวสสันดรบำเพ็ญอะไร

พระเวสสันดรบำเพ็ญทานบารมีโดยบริจาคพระโอรสพระธิดา และพระชายา ให้แก่พราหมณ์ชูชกเพื่อนำไปเป็นทาสรับใช้ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการให้ทานระดับกลางคือขั้นอุปทานบารมี ซึ่งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายนิยมกระทำและบัณฑิตก็สรรเสริญการกระทำเช่นนี้ เพราะผลของการกระทำอย่างนี้จะเป็นปัจจัยให้ได้สัมโพธิญาณซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกอย่าง ...