โครงสร้างของระบบ เครือ ข่าย

โครงสร้างของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง ?

Published by Earth on พฤษภาคม 18, 2017พฤษภาคม 18, 2017

เมื่อเราได้ทำความรู้จักกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาบ้างแล้วว่าคืออะไร มีกี่ชนิด อะไรบ้าง ? วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องโครงสร้างแต่ละรูปแบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ว่าสามารถสร้างรูปแบบไหนได้บ้าง และในแต่ละโครงสร้างเหมาะสำหรับนำไปใช้ในทางด้านใด ? รวมทั้งข้อดี – ข้อเสียของแต่ละรูปแบบ

รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 5 รูปแบบดังนี้

  • เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
  • เครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network)
  • เครือข่ายแบบริง (Ring Network)
  • เครือข่ายแบบผสม (Mesh Network)
  • เครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network)

เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)

การเชื่อมต่อเครือข่ายใช้สายสัญญาณต่อเชื่อมกันแบบบัส (Bus) โดยสัญญาณจะถูกกระจายไปตลอดทั้งเส้นทางเป็นทางเดินร่วมกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง

โครงสร้างของระบบ เครือ ข่าย
โครงสร้างของระบบ เครือ ข่าย

Bus network ที่มารูป : bbc

ข้อดีแบบบัส (Bus Network)

  • การใช้สายส่งข้อมูลจะใช้สายส่งข้อมูลร่วมกัน ช่วยลดค่าใช้จ่าย
  • มีโครงสร้างที่ง่าย และมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากใช้สายส่งข้อมูลเพียงเส้นเดียว
  • การเพิ่มจุดใช้บริการใหม่ทำได้ง่าย

ข้อเสียแบบบัส (Bus Network)

  • การหาข้อผิดพลาดทำได้ยาก เนื่องจากในเครือข่ายจะไม่มีศูนย์กลางในการควบคุมอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง
  • กรณีเกิดความเสียหายในการส่งข้อมูลจะทำให้ทั้งเครือข่ายไม่สามารถทำงานได้
  • เมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดการชนกันของข้อมูล

เครือข่ายแบบสตาร์ (Star Network)

การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางโดยใช้ “ฮับ (Hub)” หรือ “สวิตช์ (Switch)” เป็นจุดเชื่อม โดยเราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนั้นว่า “โฮสต์คอมพิวเตอร์ (Host Computer)”

โครงสร้างของระบบ เครือ ข่าย
โครงสร้างของระบบ เครือ ข่าย

Star network ที่มารูป : bbc

ข้อดีแบบสตาร์ (Star Network)

  • การเชื่อมต่อแบบสตาร์จะมีโฮสต์คอมพิวเตอร์อยู่ที่จุดเดียว ทำให้ง่ายในการติดตั้ง
  • จุดใช้งาน 1 จุด ต่อกับสายส่งข้อมูล 1 เส้น เมื่อเกิดการเสียหายที่จุดใดในเครือข่ายจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานจุดอื่น

ข้อเสียแบบสตาร์ (Star Network)

  • ใช้สายส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก
  • การเพิ่มจุดใหม่เข้าไปในระบบทำได้ยาก
  • ถ้าโฮสต์คอมพิวเตอร์เกิดเสียหายจะไม่สามารถใช้งานเครือข่ายได้

เครือข่ายแบบริง (Ring Network)

การเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงแหวน (Ring Network) การติดต่อสื่อสารจะใช้ “โทเค็น (Token)” เป็นสื่อกลางการติดต่อภายในเครือข่าย

โครงสร้างของระบบ เครือ ข่าย
โครงสร้างของระบบ เครือ ข่าย

Ring network ที่มารูป : bbc

ข้อดีแบบริง (Ring Network)

  • ใช้สายส่งข้อมูลน้อย ทำให้เพิ่มความน่าเชื่อถือในการส่งข้อมูลได้มากขึ้น
  • เหมาะสำหรับใช้กับเคเบิลเส้นใยแก้วนำแสง จะช่วยให้ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง

ข้อเสียแบบริง (Ring Network)

  • การส่งข้อมูลบนวงแหวนจะต้องผ่านทุก ๆ จุดที่อยู่ในวงแหวน หากมีจุดใดจุดหนึ่งเสียหาย ทั้งเครือข่ายก็จะไม่สามารถติดต่อกันได้
  • การตรวจสอบข้อผิดพลาดอาจต้องทดสอบระหว่างจุดกับจุด
  • ยากต่อการเพิ่มจุดใช้งานใหม่

เครือข่ายแบบผสม (Mesh Network)

การเชื่อมต่อเครือข่ายที่ไม่มีรูปแบบแน่นอนเช่น ใช้เครือข่ายแบบบัสผสมกับเครือข่ายแบบสตาร์

เครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless Network)

เริ่มแรกนั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้ 2 Mbps (Megabits Per Second) จนพัฒนาให้สามารถส่งข้อมูลได้ 11 Mbps สามารถส่งข้อมูลไปบนความถี่ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ ซึ่งเรียกว่า “Spread Spectrum”

ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) สามารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่าย ให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้โครงสร้างแบบดาว (Star Topology)เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันทีโครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน

โครงสร้างของระบบเครือข่ายมีอะไรบ้าง

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology).
1. โทโพโลยีแบบบัส (Bus Topology) ... .
2. โทโพโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology) ... .
3. โทโพโลยีแบบดาว (Star Topology) ... .
4. โทโพโลยีแบบผสม (Hybrid Topology) ... .
5. โทโพโลยีแบบต้นไม้ (Tree Topology) ... .
6. โทโพโลยีแบบเมชหรือแบบตาข่าย (Mesh Topology).

โครงสร้างเครือข่าย มีกี่รูปแบบ

Data Communication and Networks. 1. โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology) 2. โทโปโลยีแบบสตาร์ (Star Topology) 3. โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology) 4. โทโปโลยีแบบผสมผสาน (Hybrid Topology) 5. โทโปโลยีแบบตาข่าย (Mesh Topology) 6. โทโปโลยีแบบต้นไม้ (Tree Topology)

โครงสร้างเครือข่ายมีลักษณะการเชื่อมต่ออยู่ 2 แบบคืออะไรบ้าง

Network Topology แบบ Tree Topology คือ โทโปโลยีที่มีการเชื่อมต่อที่พัฒนามาจาก Star Topology โดยจะมีฮับ อยู่ 2 แบบ คือ Active Hub และ Passive Hub โดยการเชื่อมต่อแบบ Tree Topology นั้น มีเพื่อรวมโทโปโลยีอย่าง Star Topology และ Bus Topology เข้าด้วยกัน ซึ่งการเชื่อมต่อแบบ Tree Topology จะมีสายส่งสัญญาณหลัก และจะแยกออกไป ...

โครงสร้างเครือข่ายแบบใดที่นิยมในปัจจุบัน

1. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเมช (Mesh Topology) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากและมีประสิทธิภาพสูงตามลำดับ เพราะเมื่อเส้นทางของการเชื่อมต่อข้อมูลคู่ใดคู่หนึ่งเกิดปัญหาหรือขาดจากกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ยังสามารถติดต่อกันได้ด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (Router) ซึ่งจะเชื่อมต่อเส้นทางใหม่ ไปยัง ...