การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ คือ

มั่นใจว่าจนถึงตอนนี้หลายๆบริษัทและหลายๆธุรกิจเริ่มจะใช้งานข้อมูลเพื่อนำมาช่วยในการตัดสินใจด้านธุรกิจมาบ้างแล้ว แต่อย่างไรก็ดีก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่าทำอย่างไรจึงจะเรียกได้ว่าเป็นการวางกลยุทธ์โดยใช้ข้อมูลอย่างแท้จริง วันนี้ทาง Data Cafe ขอนำเสนอ 10 ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นการเตรียมตัวและใช้ข้อมูลในการช่วยตัดสินใจด้านธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

1) ลบอคติที่อยู่ในใจ (Guard against your biases) ปัญหาอย่างแรกที่มักจะต้องเผชิญก็คือ กำแพงทางความคิดของทีมงาน ที่ไม่ค่อยจะยอมรับการใช้งานข้อมูลในการช่วยตัดสินใจ ดังนั้นการทำงานร่วมกับทีมที่เห็นความสำคัญของข้อมูลตั้งแต่ต้นจะทำให้งานเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น แต่ถึงกระนั้นก็ตาม หากต้องทำงานร่วมกับคนที่ไม่เคยใช้งานข้อมูลมาก่อน เริ่มต้นด้วยการใช้ Dashboard นำเสนอเป็นตัวอย่างให้เค้ารู้ว่าข้อมูลสามารถช่วยเหลือเค้าได้อย่างไรบ้าง

2) ระบุเป้าหมายให้ชัดเจน (Define objectives) บริษัทควรระบุให้ได้ว่าเป้าหมายของการใช้ข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละครั้งคืออะไร ตั้งกลยุทธ์ในการใช้งานข้อมูลให้ชัดเจนและตั้ง KPI ที่สามารถตรวจสอบและวัดผลได้

3) เริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันนี้ (Gather data now) นอกจากจะเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ตอนนี้แล้ว จะต้องเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้งานได้ ไม่เก็บข้อมูลที่ทำให้เปลืองหน่วยความจำและไม่มีผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคต

4) เริ่มค้นหาปัญหาที่ยังค้างคาอยู่ (Find the unresolved questions) เมื่อกลยุทธ์และเป้าหมายถูกตั้งขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว จะต้องหาว่าปัญหาที่แท้จริงในปัจจุบันคืออะไร และปัญหาเหล่านั้นหากแก้ไขได้แล้วจะสามารถตอบโจทย์และทำให้เป้าหมายถูกเติมเต็มได้จริงหรือไม่

5) ตามหาข้อมูลที่ช่วยแก้ปัญหาได้ (Find the data needed to solve these questions) ท่ามกลางข้อมูลที่คุณเก็บมา พยายามให้ความสนใจกับข้อมูลที่ดูแล้วจะมีความหมายและสัมพันธ์กับปัญหาที่เรากำลังจะหาทางแก้ ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าปัจจุบันเรามีการเก็บไว้เรียบร้อยแล้วหรือยัง หากยังจะต้องหาหนทางในการเก็บข้อมูลเพิ่มหรือหาข้อมูลจากภายนอก

6) วิเคราะห์และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น (Analyze and understand) หลังจากที่เราระบุปัญหาที่ชัดเจนและข้อมูลที่เราจะนำมาใช้งาน ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็คือการวิเคราะห์ สิ่งที่จะต้องทำก็คืออ่านให้ขาดว่าอะไรคือ Insight ที่สามารถนำไปใช้งานได้และเริ่มทำบทวิเคราะห์รายงานที่นำให้เราไปสู่การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล

7) อย่ากลัวที่จะหันกลับไปทบทวนและลองประเมินงานที่ผ่านมาแล้วใหม่อีกครั้ง (Don’t be afraid to revisit and reevaluate) เมื่อสมองของเรามีบทสรุปและได้จบการทำโครงการใดโครงการหนึ่งไปแล้วไม่ว่าจะล้มเหลวหรือสำเร็จ เรามักจะมีความหวาดกลัวที่จะเริ่มต้นกลับไปทำซ้ำอีกครั้งเพราะในใจลึกๆของเราพอรู้ว่าสิ่งที่เราตั้งใจทำและได้ตกลงใจจะทำไปแล้วนั้นล้มเหลว เราก็มักจะไม่พร้อมจะเปิดใจให้กับการทำมันอีกครั้งแต่ทำด้วยหนทางแบบใหม่ เราจะต้องไม่กลัวที่จะถอยหลังไปหนึ่งก้าว มองโลกได้กว้างขึ้น แล้วเริ่มลงมือทำใหม่อีกครั้งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป และผลลัพธ์ของการกระทำครั้งใหม่นั้นอาจจะสำเร็จผลก็เป็นได้

8) นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่มีประโยชน์ (Present the data in a meaningful way) การได้มาซึ่งข้อมูลหลังการวิเคราะห์ที่มีประโยชน์ว่าสำคัญแล้ว การนำเสนอให้ถูกจุดและเข้าใจง่ายกับผู้ดูข้อมูลโดยเฉพาะคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านข้อมูลนั้นก็สำคัญยิ่งกว่า เราไม่จำเป็นต้องเก่ง IT อะไรมากมายเพราะปัจจุบันมีโปรแกรมที่ทำ Data Visualization และใช้งานง่ายจำนวนมากในตลาด

9) ตั้งเป้าที่วัดได้เพื่อใช้ในการตัดสินใจ (Set measurable goals for decision making) เมื่อเรามีคำถามที่ต้องการคำตอบแล้ว ข้อมูแล้ว Insight แล้ว เราจะมาถึงจุดที่ยากที่สุด นั่นก็คือการตัดสินใจ เราจะต้องประยุกต์สิ่งที่ค้นพบมาใช้กับการตัดสินใจ แต่เราต้องให้แน่ใจว่ามันสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กร

10) ไม่หยุดพัฒนาการตัดสินใจด้วยข้อมูล (Continue to evolve your data driven business decisions) หลายๆทีมและหลายๆองค์กร เมื่อตัดสินใจลงมือจากการใช้ข้อมูลไปแล้วก็หยุดไปซะดื้อๆ สิ่งที่ควรทำก็คือ ทำต่อไปไม่ว่าจะเป็นการลงมือทำ, เก็บข้อมูล, วิเคราะห์, ติดตามผล และตั้งคำถามใหม่ๆอยู่เสมอที่สามารถนำมาพัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้

ในปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลากหลายช่องทางมาก ในการดึงคุณค่าเหล่านั้นมาจากข้อมูลจำนวนมาก เราจะต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและมองการณ์ไกลไปให้ได้มากกว่าปัจจุบันเราเคยทำ



การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ คือ


Article Reference : https://www.datapine.com/…/data-driven-decision-making-in-…/ Data Cafe: Data Analytics Community ที่ทำให้เรื่อง Data ง่ายขึ้นพร้อม Consult & Training จากผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพระดับประเทศมากมาย

‘การตัดสินใจที่ถูกต้อง’ เป็นหนึ่งในเคล็ดลับความสำเร็จ ที่ฟังดูเหมือนจะทำได้ง่ายขึ้นในโลกปัจจุบัน ในเมื่อเรามีเทคโนโลยีที่ช่วยให้คน องค์กร หรือธุรกิจ สามารถใช้ข้อมูลจำนวนมากและหลากหลาย มาช่วยในการตัดสินใจได้

แต่บางครั้ง แม้เราจะมีข้อมูลมากมายและเครื่องมือที่ล้ำสมัยขนาดไหน ความเคยชินก็มักจะทำให้เราใช้สัญชาตญาณและประสบการณ์นำหน้าข้อมูลในการตัดสินใจแบบไม่รู้ตัวอยู่บ่อยครั้ง

วิธีหนึ่งในการตรวจสอบว่าเรากำลังใช้ข้อมูลในการตัดสินใจอยู่จริงไหม คือ ‘การทำงานร่วมกัน’ กับทีมที่มีความรู้ความเข้าใจด้านข้อมูล พร้อมกับพัฒนาทักษะของตัวเราไปด้วย เพราะการทำงานร่วมกันบนข้อมูลชุดเดียวกัน จะทำให้เราเห็นอคติ (Bias) ในการมองหรือใช้ข้อมูลของตัวเอง และอาจได้เจอกับ Insight ที่เราไม่ทันสังเกตมาก่อน

การใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ คือ

และนี่คือ 3 เทคนิคการเปิดใจให้ไร้อคติ เมื่อต้องการตัดสินใจอะไรก็ตามด้วยข้อมูล

  • Simple Awareness :ให้คิดไว้เสมอเลยว่าทุกคนมีอคติในการตัดสินใจ รวมถึงตัวเรา สิ่งนี้จะช่วยให้เราทบทวนภาพรวมและเปรียบเทียบการตัดสินใจของแต่ละคนอยู่สม่ำเสมอ
  • Collaboration : การทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ย้อนตรวจสอบซึ่งกันและกันได้
  • Conflicting Information : การย้อนดูการตัดสินใจที่แตกต่างกัน จากข้อมูลชุดเดียวกัน จะทำให้รู้ว่าอคติที่แต่ละคนมีอยู่ตรงไหน

โดยกระบวนการแล้ว การตัดสินใจด้วยข้อมูลจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ ซึ่งหากเราไม่ได้ผ่านขั้นตอนเหล่านี้ ก็อาจแปลความได้ว่า เราอาจยังใช้ข้อมูลในการตัดสินใจอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

  1. ชี้เป้าหมาย : ข้อมูลบนโลกนี้มีมากมาย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรจะเลือกใช้ข้อมูลไหนมาตัดสินใจ เพราะฉะนั้น แทนที่จะเริ่มด้วยการเลือกชุดข้อมูล ให้ถามตัวเองก่อนว่าเราต้องการอะไร ปัญหาที่เราต้องการแก้ไขหรือปลายทางที่เราอยากเห็นคืออะไร ซึ่งถ้ามีหลายอย่าง ก็ต้องจัดลำดับความสำคัญ แล้วค่อยๆ ทำไปทีละอย่าง
  2. เลือกข้อมูล : เมื่อรู้แล้วว่าตัวเราต้องการอะไร ก็ให้ลิสต์ออกมาว่า เราต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้างเพื่อให้แก้ปัญหาหรือตอบคำถามนั้นได้ 
  3. ประเมินความคุ้มค่า : จากนั้นเราต้องถามตัวเองต่อว่า คุ้มที่จะทำไหม? เพราะการเก็บข้อมูลมีต้นทุนทั้งเงินและเวลา โดยเราอาจจะเริ่มจากข้อมูลที่มีอยู่ก่อน จากนั้นก็เลือกว่าการลงทุนเก็บข้อมูลแบบไหนที่คุ้มค่ากับผลลัพธ์ที่จะได้มา
  4. ลงมือทำ : เมื่อเลือกแล้ว ก็ไปสู่ขั้นตอนการเก็บ วิเคราะห์ แสดงผล และหาข้อค้นพบจากข้อมูล จากนั้นก็เปลี่ยนให้เป็นผลลัพธ์บางอย่างที่จับต้องได้
  5. วัดผลและทำซ้ำ : สิ่งที่ต้องไม่ลืม คือการทบทวนทั้งข้อมูลที่ใช้และการตัดสินใจที่ทำไปแล้ว เพื่อดูว่าอะไรที่สามารถนำมาใช้ได้อีกในอนาคต หรืออะไรที่ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลง

มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่า แล้วสัญชาตญาณหรือประสบการณ์ ยังมีที่ทางในการตัดสินใจทางธุรกิจไหม? คำตอบคือมี เพราะอย่างไรเราก็คือมนุษย์ ไม่ใช่เครื่องจักร เพียงแต่เราต้องระลึกไว้เสมอว่า สัญชาตญาณหรือประสบการณ์มีโอกาสที่จะมีอคติอยู่ในนั้น และในทางจิตวิทยา ก็มีสิ่งที่เรียกว่า ‘Flashbulb Memory’ หรือการที่เรามีความทรงจำชัดแจ้งกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งในอดีต แต่ก็มีโอกาสที่จะหลงลืมบริบทแวดล้อม คือเราอาจจะจดจำได้แต่ผลลัพธ์ที่ดี โดยลืมตัวแปรส่วนอื่นๆ ไป เช่น ลืมไปว่าเราออกมาตรการอะไรควบคู่ หรือลืมสิ่งที่เราตัดสินใจแบบเดียวกัน แล้วผลลัพธ์ออกมาไม่เป็นไปตามตั้งใจ

การใช้สัญชาตญาณหรือประสบการณ์นั้นทำได้ แต่เราต้องแยกแยะว่านั่นเป็นการตัดสินใจที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของข้อมูล โดยเราอาจมองว่ามันเป็นการทดลอง หรือการเก็บข้อมูลใหม่เพื่อใช้ในการตัดสินใจในอนาคตก็เป็นได้