จุดตะวันตกสุดของทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีขนาดพื้นที่ประมาณ 44.5 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาถึงครึ่งหนึ่ง ส่วนที่เป็นแผ่นดินของทวีปเอเชียกินพื้นที่ตั้งแต่ละติจูด 11 องศาใต้ จนถึง 81 องศาเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ในเกือบทุกละติจูดของซีกโลกเหนือ ส่วนลองจิจูดนั้น ครอบคลุมตั้งแต่ 26 องศาตะวันออก จนถึง 169 องศาตะวันตก ซึ่งกินพื้นที่เป็นบริเวณกว้างของซีกโลกตะวันออกเช่นกัน ดังนั้น หลาย ๆ คนจึงเรียกทวีปเอเชียว่า “โลกตะวันออก” 

 

จุดที่อยู่ไกลที่สุดของของทวีปเอเชีย

 

  • จุดที่อยู่เหนือสุดบนแผ่นดินใหญ่ คือ แหลมเชลยูสกิน (Cape Chelyuskin) ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
  • จุดที่อยู่เหนือสุดที่แท้จริง คือ แหลมฟลิเจลี (Cape Fligeli) บนเกาะรูดอล์ฟ (Rudolf Island) ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
  • จุดที่อยู่ใต้สุดบนแผ่นดินใหญ่ คือ แหลมปิไอ (Cape Piai) ประเทศมาเลเซีย
  • จุดที่อยู่ใต้สุดที่แท้จริง คือ เกาะปามานา (Pamana Island) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
  • จุดที่อยู่ตะวันออกสุดของบนแผ่นดินใหญ่ คือ แหลมเดจนอวา (Cape Dezhnev)  ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
  • จุดที่อยู่ตะวันออกสุดที่แท้จริง คือ เกาะไดอะมีดใหญ่ (Big Diomede) ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
  • จุดที่อยู่ตะวันตกสุด คือ แหลมบาบา (Cape Baba) สาธารณรัฐตุรกี

 

พื้นที่รอบ ๆ ทวีปเอเชีย และพรมแดนธรรมชาติ

 

  • ทิศเหนือ ติดกับมหาสมุทรอาร์กติก โดยส่วนที่ติดกับทวีปเอเชียประกอบไปด้วยทะเล 4 แห่ง ได้แก่ ทะเลคารา (Kara Sea) ทะเลลัปเตฟ (Laptev Sea) ทะเลไซบีเรียตะวันออก (East Siberian Sea) และทะเลชุกชี (Chukchi Sea)
  • ทิศใต้ ติดกับทะเลย่อย 3 แห่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่ ทะเลเซเลเบส (Celebes Sea) ทะเลชวา (Java Sea) และทะเลบันดา (Banda Sea) แต่ส่วนใหญ่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ประกอบไปด้วยทะเลติมอร์ (Timor Sea) ที่กั้นทวีปเอเชียออกจากทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย ทะเลอันดามัน (Andaman Sea) อ่าวเมาะตะมะ (Gulf of Martaban) อ่าวเบงกอล (Bay of Bengal) ทะเลอาหรับ (Arabian Sea) อ่าวโอมาน (Gulf of Oman) อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf) และอ่าวเอเดน (Gulf of Aden) ที่เป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา นอกจากนั้นในส่วนของหมู่เกาะ ยังมีแผ่นดินที่ติดกับทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียอีกด้วย
  • ทิศตะวันออก ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นมหาสมุทรที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยส่วนที่ติดกับทวีปเอเชียประกอบไปด้วยทะเลเบริง (Bering Sea) โดยกั้นระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปอเมริกาเหนือ นอกจากนั้นยังมี ทะเลโอค็อตสค์ (Sea of Okhotsk) ทะเลญี่ปุ่น (Sea of Japan) ทะเลเหลือง (Yellow Sea) ทะเลจีนตะวันออก (East China Sea) ทะเลฟิลิปปิน (Philippine Sea) และทะเลจีนใต้ (South China Sea)
  • ทิศตะวันตก แบ่งออกเป็นส่วนที่เป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปแอฟริกาที่ต่อมาจากอ่าวเอเดน ได้แก่ ทะเลแดง (Red Sea) คลองสุเอซ (Suez Canal) และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) และส่วนพรมแดนที่ขวางกั้นทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป ได้แก่ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ (Black Sea) เทือกเขาคอเคซัส (Caucasus Mountains) ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) แม่น้ำอูราล (Ural River) และเทือกเขาอูราล (Ural Mountains)

 

ภูมิภาคของทวีปเอเชีย

 

ทวีปเอเชียมีจำนวนประเทศประมาณ 50 ประเทศด้วยกัน โดยบางประเทศมีดินแดนคาบเกี่ยวระหว่างสองทวีป เพื่อน ๆ สามารถแบ่งประเทศออกเป็น 5 ภูมิภาคย่อยได้ ดังนี้

  • ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบไปด้วย 11 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย บางคนเรียกดินแดนนี้ว่า เอเชียอาคเนย์ หรืออุษาคเนย์ ซึ่งมีความหมายเดียวกัน ส่วนคำว่า “อาเซียน” นั้น ไม่ใช่ชื่อภูมิภาค แต่เป็นชื่อสมาคมที่ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเข้าร่วมเป็นสมาชิก
  • ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ประกอบไปด้วย 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ไต้หวัน 
  • ภูมิภาคเอเชียใต้ ประกอบไปด้วย 8 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา
  • ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ตะวันออกกลาง (ประกอบไปด้วยบางส่วนของทวีปเอเชียและแอฟริกาเหนือ)  ประกอบไปด้วย 15 ประเทศ ได้แก่ บาห์เรน ไซปรัส อิหร่าน อิรัก อิสราเอล จอร์แดน เลบานอน โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย  ซีเรีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน
  • ภูมิภาคเอเชียกลาง ประกอบด้วย 8 ประเทศ ได้แก่ คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน อาร์มีเนีย อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย

 

นอกจากนั้น ยังมีอีก 1 ประเทศ ที่ถือเป็นประเทศพิเศษ เพราะเป็นดินแดนที่คาบเกี่ยวกับทั้งทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย คือ สหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งมีดินแดนส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย แต่เมื่อพิจารณาทางการเมืองการปกครองแล้ว ถือว่าประเทศนี้อยู่ในทวีปยุโรป ดังนั้น ในบทเรียนของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นี้ จึงบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศรัสเซียไว้ด้วย

 

ลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชีย

 

จริงๆ แล้วภูมิอากาศของทวีปเอเชียนั้นมีหลากหลายไม่ต่างจากทวีปอื่น ๆ โดยมีทั้งบริเวณที่อากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปี และบริเวณที่หนาวเย็นเต็มไปด้วยหิมะ แต่วันนี้ StartDee จะขอนำเสนอภูมิอากาศแบบร้อนและแบบแห้งแล้งก่อน ส่วนที่เหลือ เตรียมตัวเรียนกันได้ที่แอปพลิเคชัน StartDee คลิกแบนเนอร์ด้านล่างเลย

จุดตะวันตกสุดของทวีปเอเชีย

  • กลุ่มภูมิอากาศแบบร้อน

แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย ได้แก่ แบบศูนย์สูตร มักมีฝนตกเกือบทั้งปี แบบมรสุมเขตร้อน และแบบร้อนชื้นสลับแล้ง โดยแบบมรสุมเขตร้อนนั้น จำนวนเดือนที่มีฝนตกนั้นจะมากกว่าแบบร้อนชื้นสลับแล้ง (อ่านเรื่องฝนและพายุได้ในบทความ ฝนตกแบบนี้ พายุเป็นคนทำรึป่าว? รู้จักพายุและชื่อเรียกจากแต่ละภูมิภาคของโลก)    

แม้ว่าเพื่อน ๆ จะสามารถพบป่าดิบชื้นได้ในภูมิอากาศแบบร้อนทุกแบบย่อย แต่จะพบป่าชนิดนี้ได้มากในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศแบบศูนย์สูตร เช่นเดียวกับป่าดิบแล้งที่จะพบได้มากในภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ส่วนแบบร้อนชื้นสลับแล้งนั้น สามารถพบต้นสัก มะค่า ประดู่ แดง และชิงชันในป่าโปร่งหรือป่าเบญจพรรณ รวมไปถึงทุ่งหญ้าสะวันนาด้วย (ทุ่งหญ้ายาว) ได้มากกว่าภูมิอากาศแบบอื่น ๆ ด้วย

ประเทศที่มีภูมิอากาศแบบศูนย์สูตร ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน และ มาเลเซีย ส่วนประเทศที่มีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ได้แก่ ชายฝั่งทะเลของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงภาคใต้และภาคตะวันออกบางส่วนของประเทศไทย ทางใต้ของประเทศลาว บางส่วนของอินเดีย ศรีลังกา และบังคลาเทศ และประเทศที่มีภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง ได้แก่ พื้นที่ตอนในของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยส่วนใหญ่ เมียนมา และกัมพูชา

 

  • กลุ่มภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง 

แบ่งออกเป็น 3 แบบย่อย แบบทะเลทราย และแบบกึ่งทะเลทราย โดยทั้งสองแบบนั้นมีปริมาณฝนตกน้อย แต่แบบแรกนั้นมีฝนตกน้อยกว่าแบบที่สอง โดยเพื่อน ๆ สามารถพบทุ่งหญ้าสเต็ปป์ (ทุ่งหญ้าสั้น) รวมถึงอาจะมีการปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างฝ้าย ข้าวสาลี และข้าวฟ่าง ได้ในบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย ส่วนบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบทะเลทราย จะพบพืชมีหนามอย่างกระบองเพชร อีกทั้งยังสามารถปลูกอินทผลัมเป็นพืชเศรษฐกิจได้อีกด้วย 

สำหรับภูมิอากาศแบบทะเลทรายนั้นสามารถพบได้บริเวณเอเชียกลาง รวมไปถึงทะเลทรายสำคัญ 3 แห่งของทวีปเอเชีย คือ ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายธาร์ และทะเลทรายอาหรับ ส่วนภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย สามารถพบได้บริเวณตอนเหนือของเอเชียกลางและเอเชียตะวันออก ประเทศตุรกี ตอนเหนือของคาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงอิหร่าน และบางส่วนของประเทศอินเดีย

 

ปัจจัยที่มีผลต่อภูมิอากาศของทวีปเอเชีย

 

ปัจจัยที่ส่งผลให้ภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่ในทวีปเอเชียแตกต่างกัน มีดังนี้

  • ที่ตั้งหรือละติจูด

จากแผนที่ด้านล่างนี้ จะเห็นว่าเราแบ่งเขตลักษณะภูมิอากาศของทวีปเอเชียออกเป็น

3 เขต ได้แก่ เขตร้อน เขตอบอุ่น และเขตหนาว โดยประเทศที่อยู่ในเขตร้อน จะอยู่บริเวณละติจูด 23.5 องศาใต้ ถึง 23.5 องศาเหนือ โดยเส้นที่ลากตรงแนวละติจูด 23.5 องศาใต้ ถูกเรียกว่า เส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น ส่วนเส้นที่ลากตรงแนวละติจูด 23.5 องศาเหนือ จะถูกเรียกว่า เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์

จุดตะวันตกสุดของทวีปเอเชีย
ขอบคุณรูปภาพจาก www.angelo.edu

สำหรับเขตอบอุ่น อยู่ระหว่างละติจูด 23.5 เหนือ บริเวณแนวเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ ไปจนถึงละติจูด 66.5 องศาเหนือ บริเวณแนวเส้นที่ชื่อว่าอาร์กติกเซอร์เคิลนั่นเอง และเขตสุดท้าย คือเขตที่อยู่เหนือละติจูด 66.5 องศาเหนือหรือเหนือแนวเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลขึ้นไป ถึงละติจูด 90 องศาเหนือ 

 

  • ความใกล้-ไกลจากทะเล

ความใกล้-ไกลจากทะเล เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อลักษณะภูมิอากาศ โดยพื้นที่ใกล้ทะเลก็มีโอกาสที่จะมีความชื้นสูงกว่าพื้นที่ที่ห่างไกลจากทะเล

 

  • ทิศทางลมประจำ

หากพื้นที่ของประเทศใดอยู่ในบริเวณที่ทิศทางของลมพัดจากแผ่นดินออกสู่ทะเล พื้นที่นั้นแห้งแล้งและไม่ค่อยมีฝนตก ในทางกลับกัน หากพื้นที่ใดอยู่ในบริเวณที่ทิศทางของลมพัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง พื้นที่บริเวณนั้นย่อมมีแนวโน้มที่จะมีฝนตกหนักนั่นเอง

 

  • การวางตัวของภูเขา

โดยภูเขาที่วางตัวเป็นแนวทิวเขาหรือเทือกเขาอาจขวางกั้นลมและความชื้นที่พัดเข้ามาในบริเวณต่าง ๆ เช่น หากบ้านของเพื่อน ๆ ไม่ได้ไกลจากทะเลมากนัก และมีลมประจำที่พัดจากทะเลเข้ามาที่บ้าน แต่ดันมีภูเขามาใหญ่ขวางกั้นไว้ ก็อาจส่งผลให้ความชื้นและลมพัดมาไม่ถึงบ้านของเพื่อน ๆ ก็เป็นได้ การวางตัวของภูเขาที่ขวางแนวลมเช่นนี้ ทำให้มีด้านหนึ่งของภูเขาเป็นด้านรับลม ที่เกิดฝนตกและมีความชุ่มชื้นมากกว่า ส่วนด้านหลัง เราจะเรียกว่าเขตเงาฝน ซึ่งจะมีความแห้งแล้งมากกว่านั่นเอง

 

  • ความสูง

ยิ่งสูงยิ่งหนาวไม่ใช่แค่สำนวน แต่คือความจริงทางวิทยาศาสตร์ อย่างในประเทศไทยเองก็มีภูเขาและทิว

เขากระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมักจะมีอากาศหนาวกว่าบริเวณที่ราบลุ่ม

 

  • กระแสน้ำ

กระแสน้ำบนโลกนี้มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กระแสน้ำอุ่น และกระแสน้ำเย็น ซึ่งบริเวณไหนที่มีกระแสน้ำอุ่นไหลผ่าน จะมีความชื้นสูงกว่าส่วนบริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นไหลผ่านจะมีความแห้งแล้งมากกว่า

 

  • ปัจจัยอื่น ๆ 

เช่นพายุหมุนเขตร้อน ที่อาจทำให้เกิดฝนตกมากขึ้น

บทความนี้ยาวหน่อย แต่อ่านสนุกใช่มั้ยล่ะเพื่อน ๆ ถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้ออกไปเรียนรู้โลกกว้างในประเทศต่าง ๆ ไม่แน่นะ...เพื่อน ๆ อาจได้ทุนการศึกษาไปเรียนในประเทศที่มีลักษณะทางกายภาพ และภูมิอากาศต่างจากประเทศไทยมาก ๆ ก็ได้ 

แต่ก่อนจะออกไปเที่ยวไหน มาอ่านบทเรียนออนไลน์สำหรับชั้น ม.1 ให้จบก่อน เรามีทั้งวิชาภาษาไทย เรื่อง ศิลาจารึกหลักที่ 1 และนิราศภูเขาทอง วิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง Modal Verb วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกลบจำนวนเต็ม และวิชาวิทยาศาสตร์เรื่อง การแพร่และออสโมซิส 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อใดคือจุดเหนือสุดของทวีปเอเชีย

จุดเหนือสุดของทวีปเอเชีย แหลมซินยูสกิน ในประเทศรัสเซีย 2. ลักษณะภูมิประเทศที่พบทางตะวันออกของทวีปเอเชีย

จุดที่สูงที่สุดของทวีปเอเชียคือที่ใด

1. Everest เขาที่สูงที่สุดใน “ทวีปเอเชีย” (สูง 8848 เมตร) 2. Aconcagua เขาที่สูงที่สุดใน “ทวีปอเมริกาใต้” (สูง 6962 เมตร) 3. Mckinley เขาที่สูงที่สุดใน “ทวีปอเมริกาเหนือ” (สูง 6194 เมตร) 4. Kilimanjaro เขาที่สูงที่สุดใน “ทวีปแอฟริกา” (สูง 5963 เมตร)

จุดใต้สุดของทวีปเอเชียอยู่ประเทศอะไร

ทิศใต้ ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย น่านน ้าทางตอนใต้ ได้แก่ อ่าวเบงกอล ทะเล อาหรับ อ่าวเปอร์เซียและอ่าวเอเดน จุดใต้สุด ของภาคพื้นทวีปอยู่ที่ แหลมปิไอ ประเทศมาเลเซียที่ละติจูด 1 องศา 15 ลิปดาเหนือ ซึ่งอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตร ประมาณ 150 กิโลเมตร เกาะใหญ่ทางทิศใต้ของทวีปเอเชีย ได้แก่ เกาะลังกา

ทวีปเอเชียมีที่สูงที่สุดและต่ำที่สุดอยู่ในบริเวณใด

่่เอเซียมียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก คือ ยอดเขาเอเวอเรสต์ มีพื้นแผ่นดินส่วนที่ต่ำที่สุด ซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยเกือบ 400 เมตร อยู่ในบริเวณชายฝั่งของทะเลเดดซี และมหาสมุทรที่ลึกที่สุด คือ ร่องลึกมินดาเนา ในด้านภูมิอากาศ เอเซียมีทั้งบริเวณที่มีอากาศร้อนที่สุด ( จาโคบาบัดในปากีสถาน ) ไปจนถึงหนาวที่สุด ( เวอร์โคยันสก์ ...