เข็มขัดนิรภัย มี 2 ชนิด คือ

สวัสดีชาว Realtime ทุกท่านนะครับ วันนี้เรามีเกร็ดความรู้ดี ๆมาฝาก เกี่ยวกับเข็มขัดนิรภัย ทั้งวิธีใช้ วิธีดูแล รักษาความสะอาด และ ปัญหาที่เราพบบ่อยในการใช้งานมันบ่อย ๆ อยากรู้แล้วละก็ไปรับชมกันได้เลยครับ กับเรื่อง เข็มขัดนิรภัย

เข็มขัดนิรภัย มี 2 ชนิด คือ

เรามาเริ่มด้วย การทำความรู้จัก เข็มขัดนิภัยกันก่อน เข็มขัดนิรภัยนั้น คือ ชุดอุปกรณ์ที่ใช้ลดความรุนแรง จากอันตราย อุบัติเหตุ ต่าง ๆ ที่มีผลต่อผู้ขับขี่ และ ผู้โดยสาร ซึ่งเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ที่มีติดมากับรถยนต์ทุกคัน จากโรงงานอยู่แล้ว ดังนั้นจึงสมควรเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องหมั่นตรวจเช็คการใช้งาน และ ตรวจสภาพให้สมบูรณ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันการทำงานที่ผิดพลาด แล้วอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ และ เข็มขัดนิรภัยนั้นแบ่งได้อยู่ 2 แบบนั้นก็คือ

1.แบ่งตามชนิดการใช้งาน

– แบบที่มีชุดดึงกลับ

– แบบที่ไม่มีชุดดึงกลับ

2.แบ่งตามประเภทจุดยึด

– แบบ 2 จุด คาดผ่านบริเวณโคนขารอบสะโพก

– แบบ 3 จุด คาดผ่านบริเวณสะโพกและไหล่

เข็มขัดนิรภัย มี 2 ชนิด คือ

เข็มขัดนิรภัย มี 2 ชนิด คือ

วิธีการทำงานของเข็มขัดนิรภัย

เมื่อเราเดินทางในรถยนต์  ตัวเราและรถกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากัน  ถ้ารถหยุดกะทันหันตัวของเราจะยังคงเคลื่อนไปข้างหน้าต่อไป  ทั้งนี้ก็เพราะแรงเฉื่อย  (inertia)  ซึ่งมีหลักอยู่วาวัตถุซึ่งกำลังเคลื่อนที่ไปนั้นย่อมมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่ต่อไป  และวัตถุซึ่งอยู่นิ่งๆ กับที่ย่อมมีแนวโน้มที่จะคงอยู่กับที่เช่นนั้นต่อไป

เข็มขัดนิรภัยที่ม้วนเข้าด้วยแรงเฉื่อยนั้นก็ทำงานด้วยหลักเดียวกันนี้  กลไกของเข็มขัดนิรภัยประกอบด้วยลูกตุ้มซึ้งห้อยในแนวดิ่งขณะที่รถแล่นในสภาพปกติ  แต่ถ้ารถหยุดกะทันหันลูกตุ้มจะแกว่งไปข้างหน้า  และคานล็อกซึ่งวางอยู่บนลูกตุ้มจะหลุดออก  คานจุเข้าไปติดกับก้ามปูซึ่งล็อกตัวเก็บเข็มขัด  เข็มขัดนิรภัยที่ล็อกจึงป้องกันไม่ให้ตัวเราโดนเหวี่ยงไปข้างหน้า

เมื่อเราดึงสายเข็มขัดนิรภัยออกมาคาด  แรงดึงเบาๆ  จะทำให้สายรูดออกมาจากที่เก็บด้วยแรงสปริง  แต่กลไกนี้จะทำให้สายตึงเมื่อรถแล่นตามปกติ  โดยจะผ่อนสายพอให้เราโน้มตัวไปข้างหน้าได้ตามความจำเป็น  แต่ถ้ารากระตุกสายเข็มขัดโดยกะทันหันขณะที่ดึงสายออกมา  กลไกของชุดล็อกจะทำงานและหยุดยั้งการทำงานของสปริงการหย่อนสายเข็มขัดปลดสปริงและคานล็อกให้คลายออก

เข็มขัดนิรภัย มี 2 ชนิด คือ

ต่อมาก็คือ วิธีการใช้ มีดังนี้

1.คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ขับรถ และโดยสาร

2.ควรปรับเบาะนั่ง เพื่อให้สามารถนั่งขับรถ หรือ นั่งโดยสารได้อย่างสะดวก ต้องนั่งตัวตรง โดยแผ่นหลังแนบสนิทกับเบาะพนักพิง

3.ไม่ปรับเบาะพนักพิง เพื่อไม่ให้ตัว ชิดกับพวงมาลัยมากเกินไป หรือเอนนอนมากเกินไป เพราะเมื่อเกิดการปะทะ หรือ ชน  อาจทำให้ผู้โดยสารเกิดการกระแทกกับด้านหน้า หรือเลื่อนหลุดจากเบาะนั่งได้

4.สอดแผ่นล็อกเข็มขัด เข้ากับหัวเข็มขัดจนกระทั่งได้ยินเสียงดังคลิก

5.ปรับเข็มขัดนิรภัยส่วนไหล่ให้อยู่บริเวณที่หัวไหล่พอดี สำหรับเข็มขัดแบบ 3 จุด ( อย่าให้สายพาดบริเวณลำคอและ ใบหน้า เพราะอาจเกิดอันตรายได้หากเกิดการชน หรือ ปะทะ ขึ้น )

6.สายเข็มขัดนิรภัยด้านล่างควรคาดบริเวณสะโพกให้ต่ำที่สุด (อย่าให้สายคาดบริเวณเอว และ บริเวณหน้าท้อง เพราะอาจเกิดอันตรายได้หากเกิด การชน การปะทะ สายจะเกิดการกดทับบริเวณหน้าท้อง)

แล้วเรามาดูถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัน

เข็มขัดนิรภัย มี 2 ชนิด คือ

     ปัญหาจากการใช้ของเข็มขัดนิรภัยมี 3 จุด  การทำงานที่ผิดพลาดของเข็มขัดนิรภัยอาจจะเกิดขึ้นได้ทุกขณะ การใช้งานและ หลายสาเหตุ  ยกตัวอย่าง เช่น

-ปัญหาการไม่คืนกลับของของเข็มขัดนิรภัย เมื่อมีการดึงรั้งสาย ออกมาใช้งาน

-การติดหรือขัดตัวของสาย ทำให้ไม่สามรถดึงสายเข็มขัดนิรภัยออกมาใช้งานได้อย่างปกติ

-การไม่ล็อกตัวของเข็มขัดนิรภัยเมื่อเกิดการชนกัน หรือไม่ล็อกตัวผู้โดยสารขณะเกิดอุบัติเหตุ

-การสูญเสียความแข็งแรง  หรือสายเข็มขัดนิรภัย ฉีกขาด

และนี่คือ วิธีการดูแลทำความสะอาดเข็มขัดนิรภัย

ตรวจสอบความเรียบร้อย การฉีกขาด การเสียดสีของสายกับอุปกรณ์ต่าง ๆ และการทำความสะอาด

การทำความสะอาด

เข็มขัดนิรภัย มี 2 ชนิด คือ

            1.ใช้ผ้าฝ้าย หรือ ผ้าก็อซชุปน้ำอุ่น หรือ สารชะล้างที่มีฤทธิ์เป็นกลางผสมกับน้ำ 20 ส่วน เช็ดสายเข็มขัดนิรภัย โดยดึงสายออกจนสุด  แล้วเช็ดทำความสะอาด ตรวจดูความเรียบร้อย ความต่างของสีที่เข็มขัดนิรภัย การฉีกขาด การเป็นขุยเปื่อยทั้งในและนอกของสาย

2.ใช้ผ้าแห้งเช็ดให้แห้ง จากนั้นผึ่งลมให้แห้ง ห้ามตากไว้กลางแดด หรือ ใช้ลมร้อนเป่าได้

3.ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเข็มขัดนิรภัย สามารถดึงออก และ คืนตัวกลับได้อย่างนุ่มนวล เมื่อออกแรงดึง ( การดึงกระชากตัว ) สายจะต้องล็อค

อย่าลืมเด็ดขาดนะครับ ต้องคาดเข็มขัดนิรภัยตลอด ทุกครั้งที่ขับรถ หรือ นั่งรถ ต้องคาดทั้ง ผู้ขับ และ ผู้โดยสารเลยนะครับ สำหรับวันนี้ผมขอตัวลาไปก่อนนะครับ ถ้าใครชอบ ข้อมูล อย่าลืมเข้ามารับชมเว็บไซต์ ของเราอย่างสม่ำเสมอนะครับ สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ

เข็มขัดนิรภัยมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

เข็มขัดนิรภัย ประกอบด้วยตัวเข็มจัด และเชือกนิรภัย ตัวเข็มขัด ทำด้วยหนังเส้นใยจากฝ้าย และใยสังเคราะห์ ได้แก่ ไนล่อน สายรัดตัวนิรภัย หรือสายพยุงตัว เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับงานที่เสี่ยงภัย ทำงานในที่สูง ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนตัว ขณะทำงานได้ หรือช่วยพยุงตัวให้สามารถทำงานได้ ในที่ไม่มีจุดยึดเกาะตัวในขณะทำงาน

เข็มขัดนิรภัยมีไว้เพื่ออะไร

ช่วยไม่ให้คนกระเด็นออกไปนอกตัวรถจากแรงกระแทกหรือแรงเหวี่ยง ช่วยกระจายแรงกระแทกที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ช่วยป้องกันศีรษะหรือร่างกายส่วนบนเหวี่ยงไปกระแทกกับพวงมาลัยหรือบริเวณแผงหน้ารถ เป็นต้น ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวช้าลง เพื่อลดอาการบาดเจ็บ เพราะการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหันจากแรงกระแทกอาจทำให้บาดเจ็บรุนแรงได้

เข็มขัดในรถเรียกว่าอะไร

(n) seat belt, See also: safety belt, Example: เพราะเขาคาดเข็มขัดนิรภัยจึงไม่เป็นอะไรมาก, Count Unit: เส้น, Thai Definition: สายรัดตัวคนขับรถหรือคนที่นั่งข้างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระแทกเมื่อเวลาเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น

เข็มขัดนิรภัยมีความกว้างไม่ต่ำกว่าเท่าใด

คุณต้องคาดเข็มขัดนิรภัยโดยให้เข็มขัดส่วนล่างทาบไปกับกระดูกเชิงกราน เพราะกระดูกเชิงกรานนี้สามารถรังแรงกระแทกได้ถึง ๑ ต้น (๑,๐๐๐ กิโลกรัม) และควรจะต้องคาดให้ต่ำกว่าเข็มขัดธรรมดาประมาณ ๕ – ๑๐ เซนติเมตร เข็มขัดส่วนบนพาดทแยงผ่านกระดูกไหปลาร้ายังด้านตรงข้าม แต่ระวังอย่าให้สายเข็มขัดพาสชิดลำคอ หรือบนท่อนแขน