สิ่งคุกคามในการประกอบอาชีพครู

แม้วัยเรียนซ่าส์แค่ไหน แต่ก็ไม่เคยลืมพระคุณครู วันครูปีนี้ ตรงกับวันที่ 16 มกราคม 2566 ถือเป็นวันสำคัญที่นักเรียนและศิษย์เก่าทุกคน จะนึกถึงพระคุณของครูที่เคยอบรมสั่งสอนให้กับเราในสมัยเรียน ภายนอกพวกเราอาจจะมองว่าครูเป็นคนที่มีสุขภาพดี เพราะอยู่กับเด็กทั้งวันไม่ต้องเครียด แต่รู้หรือไม่ว่าอาชีพครูยังพ่วงมาด้วยปัญหาสุขภาพไม่ต่างกับอาชีพอื่น ๆ หากละเลยดูแลร่างกายก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ มาดูกันดีกว่าว่าโรคฮิตอะไรบ้างที่เป็นภัยคุกคามต่ออาชีพครู เมืองไทยประกันชีวิตนำข้อมูลมาฝาก พร้อมไปหาคำตอบกันรึยัง ตามมาเลยยย

สิ่งคุกคามในการประกอบอาชีพครู

ปวดหลัง นั่งผิดท่า เสี่ยงหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

หากนั่งทำงาน หรือนั่งสอนนาน ๆ คุณครูก็อาจเกิดอาการปวดหลังเพราะนั่งผิดท่าได้ รวมไปถึงการยืนสอนนาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมได้ ซึ่งอาการปวดหลังนี่แหละที่ทำให้เกิดความทรมานกับร่างกาย แม้จะรักษาหายจากการกินยาแล้วแต่หากยังมีพฤติกรรมเดิม ๆ อาการก็อาจกลับมาได้อีก และถ้าปล่อยให้อาการเรื้อรังนานอาจนำไปสู่อาการเจ็บป่วยรุนแรงเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งจะมีอาการปวดหลัง หรือปวดบริเวณเอว เป็น ๆ หาย ๆ ปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า มีอาการชาร่วมด้วย ในคนที่อาการรุนแรง อาจมีอาการอ่อนแรงของขา กระดูกข้อเท้าไม่ได้ แต่หากอยากห่างไกลโรคนี้ก็มีวิธีดูแลตัวเองง่าย ๆ เช่น ควรลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 1 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการก้มเงย ยกของหนักเป็นประจำ ปรับท่านั่งให้ถูกต้อง เช่น นั่งตัวตรง นั่งเต็มก้น นั่งพิงพนักให้พอดี ไม่ออกกำลังกายหรือกิจกรรมที่หนักเกินไป

🔖โรงพยาบาลสมิติเวช (ข้อมูล ณ วันที่ 10/02/64)

🔖โรงพยาบาลศิครินทร์

สิ่งคุกคามในการประกอบอาชีพครู

เครียด พักผ่อนน้อย เสี่ยงโรคหัวใจ

อาชีพครูเป็นอาชีพที่ต้องรับผิดชอบกับความรู้ที่ต้องนำมาสอนนักเรียน ต้องวางแผนการเรียนการสอน บางครั้งก็อาจเกิดปัญหาระหว่างการสอน รวมไปถึงภาระอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน ก่อให้เกิดความเครียดสะสม แถมยังพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจทำให้ครูประสบภาวะทางอารมณ์ได้ง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้หากสะสมมากขึ้นก็จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะโรคหัวใจ เพราะสารโปรตีนในตัวเราจะสะสมมากขึ้นในหัวใจเวลาร่างกายตื่นโดยธรรมชาติ แต่หากนอนไม่พอหรือนอนดึกติด ๆ กัน สารโปรตีนเหล่านี้จะยิ่งเข้าไปเกาะที่หลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดการอุดตันได้ หรือเมื่อเกิดความเครียดจะส่งผลต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตามมา รวมถึงภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และมีโอกาสหัวใจวายได้สูง ดังนั้นควรพักผ่อนให้เพียงพอ และอย่าลืมสังเกตอารมณ์ของตัวเองว่าอยู่ในภาวะเครียดแล้วหรือไม่ หากเริ่มมีอาการก็ควรหมั่นดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หาเวลาว่างเพื่อทำกิจกรรมที่ชอบผ่อนคลายความเครียด เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ แค่เริ่มต้นดูแลตัวเองสุขภาพของคุณครูก็ห่างไกลโรค

🔖โรงพยาบาลสุขุมวิท  

🔖กรมสุขภาพจิต 

🔖โรงพยาบาลศิครินทร์

สิ่งคุกคามในการประกอบอาชีพครู

กินอาหารไม่เป็นเวลา เสี่ยงอ้วน ป่วยเบาหวาน

ด้วยอาชีพที่ต้องสอนหนังสือ ต้องใช้พลังงานหนักมาก จึงต้องกินอาหารที่ให้พลังงานโดยเฉพาะของหวาน ชา กาแฟ อาหารที่มีแคลอรีสูง เช่น ของทอด ไขมัน หรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น แป้ง น้ำตาล เพื่อช่วยเพิ่มพลังกายให้สดชื่น แถมครูยังมีเวลาน้อย จนไม่ค่อยมีเวลาใส่ใจสุขภาพและออกกำลังกาย ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน และเมื่อกินอาหารเหล่านี้เข้าไปในปริมาณมาก ๆ จะทำให้เกิดการสะสมปริมาณสารอาหารโดยที่ไม่จำเป็นก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้ การรักษาเพื่อลดความเสี่ยง ควบคุมน้ำหนักร่วมกับการออกกำลังกาย ลดการบริโภคอาหารพลังงานสูง เช่น อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพิ่มการกินอาหารที่มีกากใย ผักใบเขียวและผลไม้ ดื่มน้ำเปล่าแทนเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

🔖โรงพยาบาลวิชัยยุทธ 

🔖MTL

สิ่งคุกคามในการประกอบอาชีพครู

ใช้ปากกาไวท์บอร์ด ชอล์ก เสี่ยงโรคมะเร็ง กระตุ้นภูมิแพ้

อาชีพครู อาจารย์ เป็นอาชีพที่ต้องใช้ชอล์กและปากกาไวท์บอร์ดในการสอนหนังสือ โดยเฉพาะในห้องเรียนที่ระบบระบายอากาศไม่ดี ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะในปากกาไวท์บอร์ดมีสารอินทรีย์ระเหย หากสูดดมเป็นเวลานานจะส่งผลให้ป่วยเป็นโรคโลหิตจาง ไขกระดูกไม่ทำงานจนอาจถึงขั้นเป็นมะเร็งไขกระดูกได้ ส่วนผงชอล์กมีส่วนประกอบจากแคลเซียมและหินปูน การสูดดมในระยะยาวจะทำให้มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง หลอดลมอักเสบ ดังนั้น จึงควรสวมใส่หน้ากากป้องกันและพยายามอย่าให้ผงชอล์กฟุ้งกระจาย เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรค สำหรับคุณครูที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคภูมิแพ้ ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะฝุ่นชอล์กอาจทำให้โรครุนแรงขึ้นได้

🔖โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 

🔖MTL 

ครู อาจารย์ ก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ เพราะการทำงานและพฤติกรรมการใช้ชีวิต การดูแลสุขภาพตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ ควรหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงโรคร้าย

ไม่ว่าจะอาชีพครู หรืออาชีพไหน สุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ

พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย คุ้มครอง โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เลือกแผนความคุ้มครองได้ตามต้องการตั้งแต่ 200,000 บาท ถึง 100,000,000 บาท สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี* คุ้มครองสุขภาพยาว ๆ ต่อเนื่องถึงอายุ 99 ปี* พร้อมลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 25,000 บาทต่อปี

ตัวอย่างค่าเบี้ย เพศหญิงอายุ 35 ปี วันละไม่ถึง 59 บาท

เลือกความคุ้มครองสุขภาพ ดี เฮลท์ พลัส แผนความคุ้มครอง 5 ล้านบาท

โดยเป็นวงเงินต่อการรักษาแบบครั้งใดครั้งหนึ่ง และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก 

☑️ โทร 1766

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขาธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต

Whatever’s Next, MTL’s NEXT to You

พร้อมพัฒนาในทุกด้าน เพื่อก้าวเดินไปพร้อมคุณ

*เฉพาะสัญญาเพิ่มเติมการประกันภัยสุขภาพแบบ อีลิท เฮลท์ พลัส หรือแบบ ดี เฮลท์ พลัส

  • สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ต้องซื้อแนบท้ายกรมธรรม์ที่มีผลบังคับอยู่
  • ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
  • เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
  • การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
  • เงื่อนไขเป็นไปตามมาตรฐานและความจำเป็นทางการแพทย์
  • เงื่อนไขเป็นไปตามที่ บมจ.เมืองไทยประกันชีวิตและธนาคารกำหนด
  • โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

สนใจแบบประกัน

ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต เก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลข้างต้นของข้าพเจ้าเพื่อติดต่อข้าพเจ้าในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ ข้าพเจ้าสนใจหรือที่บริษัทฯ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ ข้าพเจ้าได้โดยข้าพเจ้าให้ถือเอาการทำเครื่องหมาย ในช่องสี่เหลี่ยมเป็นการแสดงเจตนา ยินยอมของข้าพเจ้าแทน การลงลายมือชื่อเป็นหลักฐาน ทั้งนี้ ก่อนการแสดงเจตนาดังกล่าวข้างต้น ข้าพเจ้าได้อ่านและรับทราบเกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัวแล้ว

สิ่งที่คุกคามในการประกอบอาชีพมีอะไรบ้าง

สิ่งคุกคามจากสถานที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อมที่คนทำงานเข้าไปทำงาน (Hazard) ซึ่งมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ สิ่งคุกคามทางกายภาพ (Physical Hazard) สิ่งคุกคามทางชีวภาพ (Biological Hazard) สิ่งคุกคามทางเคมี (Chemical Hazard) สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ (Ergonomic Hazard) สิ่งคุกคามทางจิตสังคม (Psychosocial Hazard)

สิ่งคุกคามทางเคมี มีอะไรบ้าง

สิ่งคุกคามทางเคมี คือสารเคมี ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของธาตุหรือสารประกอบ ในรูปของแข็ง ของเหลว แก็ส ฝุ่น ละออง หรือฟูม ซึ่งหากคนทำงานได้รับเข้าไปแล้ว สามารถทำให้เกิดโรคได้ ตัวอย่าง สิ่งคุกคามทางเคมีธาตุโลหะต่างๆ เช่น ตะกั่วปรอท แคดเมียม ธาตุอโลหะ เช่นสารหนู ฟอสฟอรัส

สิ่งคุกคามต่อสุขภาพ มีอะไรบ้าง

ประเภทสิ่งคุกคาม 1.สิ่งคุกคามทางกายภาพ : แสง เสียง ความร้อน รังสี ฝุ่น 2.สิ่งคุกคามทางเคมี : น้ำยาห้องชันสูตร น้ำยาทำความสะอาด หน่วยจ่ายกลาง งานทันตกรรม ฯลฯ 3.สิ่งคุกคามทางชีวภาพ : แบคทีเรีย ไวรัส ; ER IPD OPD. 4.สิ่งคุกคามทางการยศา สตร์ : ท่าทางการทำงาน

สิ่งคุกคามสุขภาพ (Health Hazards) แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเภทของสิ่งคุกคามสุขภาพ สิ่งคุกคามทางการแพทย์สามารถแบ่งออก ได้เป็น 5 ประเภท คือ 1. สิ่งคุกคามทางชีวภาพ (Biological hazard) 2. สิ่งคุกคามทางเคมี (Chemical hazard) 3. สิ่งคุกคามทางกายภาพ (Physical hazard) 4. สิ่งคุกคามทางชีวกลศาสตร์ (Biomechanical hazard) 5. สิ่งคุกคามทางจิตวิทยา สังคม (Psychological hazard)