กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ tisco ลาออก

เงินคงค้างของสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

14 มกราคม 2565

ฝ่ายกำกับธุรกิจออกแบบการลงทุนและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

เพื่อนสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (provident fund: PVD) คงทราบกันดีว่าการออมผ่านกองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพเป็นการออมระยะยาวสำหรับลูกจ้างเพื่อสำรองไว้ใช้ในยามเกษียณอายุ แต่ท่านรู้หรือไม่ว่า ในแต่ละปีมีสมาชิกที่สิ้นสมาชิกภาพไม่ว่าจะด้วยการลาออกจากกองทุน ออกจากงาน หรือเกษียณอายุ แต่กลับไม่มารับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ตัวเองเก็บออมไว้ จนกลายเป็น “เงินคงค้าง” (unclaimed money) อยู่ที่บริษัทจัดการ (บลจ.)

เงินคงค้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในภาวะวิกฤติโควิด ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่น สมาชิกไม่ทราบว่าตนมีเงินเก็บออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ติดตามตัวสมาชิกไม่ได้ สมาชิกเสียชีวิตโดยผู้ที่ได้รับผลประโยชน์หรือทายาทไม่ทราบว่ามีเงินก้อนนี้อยู่ หรือ มีหนี้สินกับนายจ้างจึงไม่กล้ากลับไปรับเช็คคืน
ซึ่งหลายๆ ท่านอาจไม่ทราบว่าเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าหนี้ไม่สามารถนำไปหักกลบลบหนี้ได้ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่เจ้าของเงินหรือทายาทไม่ได้นำเงินส่วนนี้ไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์เศรษฐกิจดังเช่นในปัจจุบัน หากสมาชิกดังกล่าวได้รับเงิน
ที่คงค้างอยู่ในส่วนของตน ก็น่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนไม่มากก็น้อย

ตรวจสอบเงินคงค้างได้อย่างไร

ท่านสามารถเช็คว่านายจ้างที่ตนเองหรือบิดามารดาเคยทำงานอยู่มีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือไม่
ได้ที่เว็บไซต์ www.ThaiPVD.com (หรือ คลิก) โดยระบุชื่อนายจ้าง หรือเลือกประเภทหน่วยงาน หรือจังหวัดที่นายจ้างดำเนินธุรกิจอยู่ หากนายจ้างที่ค้นหามีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็จะปรากฏรายชื่อขึ้นมา

กรณีที่ท่านพบว่านายจ้างรายนั้นมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แต่ไม่แน่ใจว่าตนเองหรือบิดามารดาเคยเป็นสมาชิกหรือไม่ ขอให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้าง
รายนั้นเพื่อสอบถามว่า มีเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของท่านคงค้างอยู่หรือไม่ หรือหากท่านทราบชื่อ บลจ.
ที่บริหารเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็สามารถติดต่อ บลจ. ได้โดยตรง โดยสามารถดูรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ www.ThaiPVD.com เช่นกัน (หรือ คลิก โดยสามารถคลิกที่โลโก้ของ บลจ. เพื่อไปที่หน้าเว็บไซต์
ของ บลจ. ได้)

ติดต่อขอรับเงินคงค้างอย่างไร

หากท่านเพิ่งสิ้นสมาชิกภาพไม่นาน โดยมีเช็คคงค้างอายุไม่เกิน 6 เดือน (หรือ บลจ. ต่ออายุเช็คให้เป็นประจำ) ท่านสามารถติดต่อฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างท่าน เพื่อรับเช็ค
และนำไปขึ้นเงินได้เลย อย่างไรก็ดี หากเช็คคงค้างอายุเกิน 6 เดือนแล้ว ท่านจะไม่ได้รับเงินในทันที เนื่องจาก
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลหรือคณะกรรมการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของนายจ้างท่านจะต้องติดต่อ บลจ. ให้ออกเช็คใบใหม่ให้ และหากท่านไม่สะดวกที่จะไปรับเช็คด้วยตนเอง ท่านสามารถแจ้งเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร เพื่อขอให้โอนเงินเข้าบัญชีแทนได้  โดยท่านสามารถสอบถามรายละเอียดการรับเงินได้จากนายจ้าง หรือ บลจ. ที่บริหารเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้

สำนักงาน ก.ล.ต. เห็นว่าเงินคงค้างที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่สำคัญ และได้พยายามหาวิธีอื่นเพิ่มเติม เพื่อให้เพื่อนสมาชิกได้รับเงินดังกล่าว ซึ่งเป็นเงินที่ท่านมีสิทธิที่จะได้รับเพื่อไว้ใช้จ่ายในยามจำเป็น หรือเก็บออมต่อเนื่องสำหรับใช้ในยามเกษียณอายุ

ลาออกหรือย้ายงานจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรให้เคลียร์?

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ tisco ลาออก
By Krungsri The COACH

ในช่วงปีใหม่แบบนี้หลายคนกำลังอยากเริ่มต้นสิ่งใหม่ในชีวิต เช่น เปลี่ยนงานเพื่อความก้าวหน้าในชีวิต ลาออกไปทำธุรกิจส่วนตัว หรืออยากเกษียณจากงานประจำ หรือสารพัดเหตุผลในชีวิต แต่ก่อนที่เราจะเปลี่ยนงานหรือเกษียณอายุงาน ยังมีสิ่งหนึ่งที่ยังไม่รู้ว่าต้องจัดการอย่างไร สิ่งนั้นก็คือ “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” หรือ PVD ซึ่งเป็นกองทุนที่คนทำงานมักเลือกลงทุน เพราะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการออมเงินที่ดี สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และสามารถลงทุนได้เกิน 15% ของเงินเดือน เพียงแต่มีเงื่อนไขการลงทุน เช่น ห้ามขายก่อนอายุครบ 55 ปีและถือครองไม่น้อยกว่า 5 ปี แล้วถ้าวันนี้เราย้ายบริษัทหรือย้ายงานจะจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรดี มาดูกันดีกว่าจะมีวิธีจัดการแบบไหนบ้าง

1. ฝากไว้กับ บลจ. เดิมก่อน

ช่วงเวลาที่เราต้องย้ายงาน หรือกำลังตัดสินใจเปลี่ยนงาน เรายังสามารถเลือกคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับบริษัทเดิมก่อนได้ แต่อาจต้องเสียค่าธรรมเนียมที่แต่ละ บลจ. ที่เป็นผู้บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเราเป็นผู้กำหนด และฝากไว้ไม่ต่ำกว่า 90 วันนับตั้งแต่วันที่เราลาออกจากงานเดิม ทั้งนี้ระยะเวลาการฝากขี้นอยู่กับข้อบังคับของแต่ละกองทุนว่าฝากไว้ได้มากน้อยเท่าไหร่ ซึ่งการทำแบบนี้เป็นวิธีที่หลายคนเลือกใช้ เพราะตอนที่เราย้ายไปทำงานที่ใหม่ เราจะอยู่ในช่วงทดลองงาน อาจยังไม่ได้เลือกหรือเข้าเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ ซึ่งอาจต้องรอการผ่านช่วงทดลองงานถึงจะเลือกกองทุนใหม่ได้ การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อย้ายงานโดยการฝากไว้ที่เดิมเผื่อเป็นหลักประกันว่าที่ใหม่ไม่เวิร์ค หรือไม่ผ่านการทดลองงาน เราก็ยังสามารถเก็บกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ได้

2. ย้ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่

หากตอนนี้เราได้ผ่านช่วงของการทดลองงานและได้เซ็นสัญญาเป็นพนักงานเต็มตัวแล้ว หลังย้ายงานสามารถจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยการโอนจากบริษัทเก่ามาที่ทำงานใหม่ได้ โดยจะมีวิธีโอนย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพด้วยกัน 2 แบบคือ (1) ให้กองทุนเดิมออกเช็คแล้วนำไปยื่นให้กับ HR ของที่ทำงานใหม่เพื่อดำเนินการนำกองทุนของเราไปบริหารจัดการต่อ (2) ให้ทางกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเราออกเช็คแล้วส่งไปที่กองทุนที่บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ได้เลย ซึ่งเพื่อความชัวร์ควรรอให้เราผ่านช่วงการทดลองงานไปก่อนจึงจะสามารถใช้สองวิธีนี้ได้ หากทำในช่วงทดลองงานแล้วเราไม่ผ่านขึ้นมา จะทำให้การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังย้ายงานยุ่งยากขึ้นไปอีก

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ tisco ลาออก

3. โอนเงินเข้าไปซื้อกองทุน RMF สำหรับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

 

สำหรับวิธีย้ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไป RMF นี้เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่กำลังจะเปลี่ยนงานใหม่และกำลังหาทางจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลาออกจากบริษัทเก่า โดยที่เราอาจไม่ต้องคงสภาพกองทุนไว้ที่ บลจ. เดิม แต่เราสามารถโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปซื้อกองทุนแบบ RMF ที่รองรับ PVD ได้เลย เพียงแค่ทำตามเงื่อนไขของ บลจ. ปลายทางที่กำหนดเอาไว้ซึ่งการทำแบบนี้เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้เงินของเราไปอยู่กับกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนที่เข้ากับความชอบของเรา เช่น กองทุนหุ้นต่างประเทศ กองหุ้นไทย กองหุ้นจีน กองทุนทองคำ หรือแม้แต่กองตราสารหนี้ สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงไว้เอง พอเราเลือกกองทุนปลายทางที่เราต้องการ เพียงแค่นี้เราก็บริหารกองทุนของเราได้เอง จะสลับกองทุนไปมาก็แล้วแต่เราได้เลย ในตอนนี้มี บลจ. ที่กองทุน RMF มีความเพียบพร้อมในการรับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเข้ามาจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บลจ.กรุงศรี และอื่น ๆ อีกมากมาย ใครที่ต้องการสร้างโอกาสผลตอบแทนที่มากกว่า และกำลังหาวิธีจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรเมื่อลาออก วิธีนี้ก็เป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยเลย

4. เปลี่ยนสภาพกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นเงินสด  

หากใครที่ต้องการเกษียณตัวเองจากงานประจำ หรือมีเหตุด่วนที่ต้องใช้เงินสดเราก็สามารถเปลี่ยนสภาพเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังออกจากงานกลับมาเป็นเงินสดได้ เพียงแต่ว่าอาจต้องมีภาระภาษีที่ตามมาด้วย นั่นก็เพราะปกติเงินสดที่ได้จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะต้องเสียภาษีด้วยกัน 3 ส่วน คือ (1) เงินสมทบส่วนของนายจ้าง (2) ผลตอบแทนจากเงินสมทบส่วนของนายจ้าง และ (3) ผลตอบแทนจากเงินสะสมส่วนของตนเอง โดยที่เราอาจต้องคำนวณเงินที่จะต้องเสียภาษีหากเราจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลังลาออกให้เป็นเงินสดเพื่อนำมาใช้ในกรณีเร่งด่วน แบ่งเป็น 3 กรณีหลัก ๆ ดังนี้

  1.  หากอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเรามีอายุ 5 ปี ขึ้นไป เงิน 3 ส่วนที่เราเคยได้รับต้องเลือกแยกคำนวณภาษีจากรายได้อื่น ๆ ด้วยใบแนบ ภ.ง.ด.90/91
  2. หากอายุสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเรามีอายุ 5 ปี ขึ้นไป เงิน 3 ส่วนที่เราได้รับต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับรายได้อื่น ๆ เช่น หากเดิมฐานภาษี 40% เงินที่เราได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ต้องเสียภาษีที่อัตรา 40% เป็นต้น 
  3. หากว่าเรามีอายุที่ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอายุ 5 ปี ขึ้นไป เงินสดที่เราได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับการยกเว้นภาษีโดยอัตโนมัติ ซึ่งในกรณีนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการลาออกจากงานประจำเพื่อตั้งใจเกษียณอายุ สำหรับวิธีจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลาออกแบบนี้ หากเราไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินด่วน อยากให้เก็บไว้เป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะนอกจากจะไม่ต้องรับภาระในการชำระภาษี เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังเป็นตัวช่วยที่ดี หากวันหน้าเราเกษียณอายุจากงานจะได้มีเงินไว้ใช้จ่ายแบบสบาย ๆ

กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ tisco ลาออก

หวังว่า 4 วิธีที่เราแนะนำจะช่วยตอบคำถามให้คุณว่าจะจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างไรเมื่อลาออก ย้ายงาน หรือเมื่อต้องเกษียณอายุ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาและตัดสินใจ เพื่อประโยชน์ของตัวเราเอง ควรเช็กหรือตรวจสอบรายละเอียดเงื่อนไขของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้ดี เพื่อชีวิตในวันหน้าจะได้มีเงินใช้อย่างสบาย ๆ ใครชอบบทความนี้ก็อย่าลืมส่งต่อให้กับเพื่อน ๆ ได้รู้ทั่วกันด้วยนะ

ผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้อง