ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ การป้องกัน

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์กำลังประสบอยู่ในปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ ปัญหาการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสารพิษ และปัญหาของระบบนิเวศ ซึ่งปัญหาที่สำคัญเหล่านี้มาจากปัญหาย่อยๆหลายปัญหา เช่น มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง ขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ถ้าไม่รีบป้องกันแก้ไข อาจส่งผลกระทบต่อวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้ ซึ่งการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องช่วยกัน

    มลพิษทางอากาศ

ส่วนใหญ่เกิดจากควันของยานพาหนะและจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันดังกล่าวมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์โดยตรง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งที่มี ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือไนโตรเจนออกไซด์ เป็นองค์ประกอบ เมื่อรวมกับละอองน้ำในอากาศ จะกลายเป็นสารละลายกรดซัลฟิวริกหรือกรดไนตริก กลายเป็นฝนกรด ตกลงมาอันเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและยังทำให้สิ่งก่อสร้างเกิดการสึกกร่อนได้

สถานที่กำลังประสบปัญหากับมลพิษทางอากาศเหล่านี้ จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคทรวงอก เยื่อบุตาอักเสบ และเป็นอันตรายต่อเด็กในครรภ์ตลอดจนเสียชีวิตได้

ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect)

เป็นปรากฏการณ์ที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภูมิอากาศทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ประมาณการณ์ไว้ว่าที่บริเวณเหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นไป ฤดูหนาวจะสั้นขึ้นและมีความชื้นมาก ส่วนฤดูร้อนจะยาวนานขึ้นอาจทำให้พื้นดินบางแห่งบนโลกกลายเป็นทะเลทราย และในเขตร้อนอาจจะมีพายุบ่อยครั้งและรุนแรง บริเวณขั้วโลกความร้อนส่งผลโดยตรงต่อการละลายของหิมะเป็นเหตุ ให้ปริมาณน้ำในทะเลเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเกิดอุทกภัย นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อพืชและสัตว์ เกิดการเปลี่ยนแปลงทำให้ปากใบปิดไม่สามารถรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำได้การสังเคราะห์ด้วยแสงลดลง สัตว์บางชนิดอาจได้รับความกระทบกระเทือนต่อเนื้อเยื่อตา ผิวหนัง และเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ได้ในที่สุด

2. การป้องกันและการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    ปัญหาการใช้พลังงานที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาที่มนุษย์ เป็นผู้กระทําต่อแหล่งธรรมชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม แนวทางการป้องกันและการแก้ปัญหา มีดังนี้
2.1 การป้องกันและการแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นสร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของ มนุษย์และสิ่งมีชีวิต แนวทางการป้องกันและการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่
2.1.1 การป้องกัน เป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้มีอัตราการนําทรัพยากรมาใช้ อยู่ในระดับที่สามารถเกิดขึ้นมาทดแทนได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้มีทรัพยากรหมุนเวียนสําหรับใช้งานได้ อย่างยั่งยืนต่อไป
2.1.2ฟื้นฟูสภาวะทรัพยากรการแก้ไขและฟื้นฟ เป็นการดําเนินการแก้ไข ปรับปรุง และฟื้นฟูสภาวะทรัน สิ่งแวดล้อมให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีขึ้น เพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีเวลาในการฟื้นตัวกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น การฟื้นฟพื้นที่ป่าชายเลน การฟื้นฟูป่าไม้ เป็นต้นธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดิน สภาพเดิมและสามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น การพินพพน" มาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อ
2.1.3 การอนุรักษ์ เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาต่อ มนุษย์มากที่สุดและหลีกเลี่ยงการทําให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล 2.2 หลักพื้นฐานในการป้องกันและการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม มีดังนี้ 

2.2.1 การป้องกันและการแก้ปัญหามลพิษทางดิน ได้แก


1) การบํารุงรักษาดินให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ 

2) ไม่ตัดไม้ทําลายป่าหรือทําไร่เลื่อนลอย 

3) ลดการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืช
4) แยกขยะเพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บและนําไปกําจัดให้ถูกวิธี 

2.2.2 การป้องกันและการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ได้แก่
1) การฟื้นฟูป่าชายเลน ป่าชายหาดปะการัง และหญ้าทะเลให้เกิดความสมบูรณ์ 

2) การปลูกพืช การเสริมทรายชายหาด ไส้กรอกทราย และการปักแนวไม้ไผ่กันคลื่น
3) การสร้างการสร้างกําแพงป้องกันคลื่น คันดักทราย เขื่อนกันคลื่น เขื่อนกันทราย และคลื่น เป็นต้น
4) การใช้มาตรการควบคุมทางกฎหมายและการมีส่วนร่วมของทุกๆ ภาคส่วน ได้แก่ รัฐบาล เอกชน ประชาชน

2.2.3 การป้องกันและการแก้ปัญหามลพิษทางน้ํา ได้แก่
1) การรณรงค์ให้ประชาชนใช้น้ําอย่างประหยัด 

2) การบําบัดน้ําเสียก่อนทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือน 

3) การใช้กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับที่เข้มงวดในการควบคุม 

4) การกําจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างถูกวิธี 

5) ลดการทิ้งน้ําใช้แล้วลงสู่แม่น้ําและลําคลองสาธารณะ โดยไม่ผ่านการบําบัด 

6) การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางน้ําแก่ประชาชน
7) การตรวจสอบคุณภาพน้ําจากแหล่งที่ระบายน้ําเสียลงสู่แม่น้ํา 

2.2.4 การป้องกันและการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศและเสียง ได้แก่

1) มลพิษทางอากาศและเสียงจากยานพาหนะ
(1) การกําหนดมาตรฐานของยานพาหนะ

(2) การตรวจสภาพยานพาหนะประจําปี 

(3) การตรวจสอบ ตรวจจับรถหรือแหล่งที่มีมลพิจะกินลลับรถหรือแหล่งที่มีมลพิษเกินมาตรฐาน

(4) การสงแริมการใช้เชื้อเพลิงแสนนานพาหนะที่มีปรดักช้า 

(5) การจัดการมลพิษทางเสียงอย่างเป็นรหศ.
(6) การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน 

2) มลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม
(1) การกําหนดมาตรฐานเลพิษทางอากาศจากอุตสาหกรรม 

(2) กํากับดูแลและตรวจสอบมลพิษจากแหล่งท้าเนิด

(3) การจัดการและป้องกันมลพิษสําหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง
(4) การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน

 3) การจัดการมลพิษจากแหล่งกําเนิดประเภทอื่น
(1) การควบคุมฝุ่นละอองจากกิจกรรมการก่อสร้าง
(2) การควบคุมมลพิษทางอากาศจากเตาเผามูลฝอยและเตาเผาศพ 

4) มาตรการอื่นๆ
(1) การติดตามตรวจสอบสถานการณ์คุณภาพอากาศและเสียง 

(2) การกําหนดค่ามาตรฐานและค่เฝ้าระวัง 

(3) การจัดการด้านผังเมือง 

(4) การดําเนินกิจกรรมลดภาวะโลกร้อน
(5) การเพิ่มพื้นที่สีเขียว ด้วยการปลูกต้นไม้และดูแลรักษาต้นไม้ในเขตเมือง ต่างๆ เพื่อการดูดซับมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น

2.2.5 การป้องกันและการแก้ปัญหาทรัพยากรแร่ ได้แก่
1) การให้ความรู้เพื่อวางแผน ป้องกัน และแก้ไขปัญหาเรื่องทรัพยากรแร่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
2) การพัฒนาเครื่องมือและกลไกเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ
3) การเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวัง

 2.2.6 การป้องกันและการแก้ปัญหาขยะมูลฝอย ได้แก่
1) การสร้างจิตสํานึกและตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมของบุคคล

2) การให้ความร่วมมือช่วยเหลือของชุมชน และการสนับสนุนภาครัฐอย่างเหมาะสม 

3) ภาคเอกชนต้องให้ความร่วมมือกับภาครัฐด้านการป้องกันและแก้ปัญหา
4) การปฏิบัติตามนโยบาย ข้อกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับมลภาวะ อย่างถูกต้อง
5) การลดปริมาณขยะ โดยนําขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น นํามาหมุนเวียน ใช้ใหม่ ผลิตอาหารสัตว์ วัตถุสําหรับก่อสร้าง ปรับปรุงพื้นที่ ถมทะเล และทําปุ๋ยหมัก เป็นต้น