การรักษา เส้นประสาท ใบหน้า อักเสบ

        นอกจากนี้ หากเข้ารับการรักษาและบริหารกล้ามเนื้อใบหน้าอย่างต่อเนื่องแล้ว แต่ยังมีการฟื้นตัวของเส้นประสาทใบหน้าค่อนข้างน้อย ทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเส้นประสาทใบหน้า ท่านสามารถเข้ารับ การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย เพิ่มเติมหลังจากมีอาการ 2 สัปดาห์ การตรวจนี้จะช่วยบอกความรุนแรงของโรคและโอกาสในการฟื้นตัวของเส้นประสาทใบหน้าได้ 

อาการปวดประสาทสมองเส้นที่ 5 (Trigeminal nerve) มีลักษณะการปวดที่รุนแรงคล้ายเข็มแทงเป็นพักๆ (paroxysmal attack of severe, short, sharp, stabbing pain) อาการปวด เกิดไปตามส่วนของใบหน้าบริเวณที่แขนงของเส้นประสาท Trigeminal มาเลี้ยงอาจจะเป็นแขนงที่ 1, 2 หรือ 3 (V1 V2 V3) หรือเป็นมากกว่าหนึ่งแขนงก็ได้ โดยสถิติแขนงที่ 2 และ 3 มีโอกาสเกิดอาการปวดมากกว่าแขนงที่ 1 อาการปวดอาจกำเริบรุนแรงเป็นพัก ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละหลายวันถึงหลายเดือนหรือเป็นตลอดไปก็ได้

การเคี้ยวอาหาร การพูด การล้างหน้า การแปรงฟัน การกระทบลมเย็นหรือการแตะสัมผัสบริเวณเฉพาะ (trigger spot) โดยเฉพาะบริเวณริมฝีปากบนและเหงือก อาจจะกระตุ้นให้อาการปวดรุนแรงขึ้นมาทันที

สาเหตุและพยาธิสภาพของโรค

1. การกดทับรากประสาท (root or root entry zone compression) เกิดจากการมีวงของหลอดเลือดที่ผิดปกติวางพาดหรืออยู่ชิดกระทบรากประสาท Trigeminal ตรงบริเวณที่รากประสาทเพิ่งออกจากก้านสมองส่วน pons

2. การติดเชื้อไวรัสบางชนิดที่เส้นประสาท Trigeminal โดยตรง เช่น เชื้อไวรัสเริม
เชื้อไวรัสงูสวัด

3. การอักเสบของอวัยวะข้างเคียงที่เส้นประสาท Trigeminal พาดผ่าน เช่น หูหรือ
โพรงจมูกเป็นหนองอักเสบ

4. การเสื่อมของเยื่อหุ้มประสาท (demyelination) บริเวณ pons มักเกิดในคนอายุน้อย กลุ่มนี้จะไม่มี trigger spot และไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษา

5. กลุ่มไม่ทราบสาเหตุมีอีกเป็นจำนวนมาก และมักจะเป็นยาวนานต่อเนื่อง

การรักษา
รักษาด้วยยาต้องใช้กลุ่มยากันชัก เช่น Carbamazepine, Gabapentin, Pregabalin, Phenytoin, Lamotrigine  นอกจากนี้บางรายอาจตอบสนองต่อยา Baclofen

การรักษาด้วยยาดังกล่าว มักได้ผลไม่ดี เนื่องจากเป็นการรักษาอาการปวดเท่านั้น ยาเหล่านี้มีราคาแพง และมักมีอาการแทรกซ้อนจากยาในระหว่างการรักษา เช่น อาการง่วงซึม วิงเวียนศีรษะ เดินเซ หรือการกดไขกระดูกทำให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดไม่ได้ (aplastic anemia) หรือแพ้ยา จนเกิดอาการทางผิวหนังอย่างรุนแรง (Steven Johnson’s syndrome)

การรักษาโรคนี้ด้วยการฝังเข็ม เป็นที่ยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าได้ผลดี และจากประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยพบว่า เมื่อรักษาด้วยการฝังเข็ม ผู้ป่วยส่วนใหญ่ความรุนแรงของอาการปวดจะลดลง จำนวนครั้งที่ปวดต่อวันจะลดลง และระยะเวลาในการปวดแต่ละครั้งจะสั้นลง อาการจะดีขึ้นเรื่อย ๆ ในระหว่างที่ทำการรักษา ทำให้สามารถลดขนาดยาที่ใช้ให้น้อยลง เป็นการลดอาการแทรกซ้อนจากยาได้อย่างมาก ในที่สุดผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสามารถหยุดยาต่าง ๆ ได้หมด  ผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่ออาการทุเลามากแล้ว จำเป็นต้องให้การฝังเข็มต่อเนื่องเป็นระยะ ประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ต่อครั้ง เพื่อรักษาสภาพอาการที่ดีไว้ โดยให้ยาในขนาดต่ำ ๆ ซึ่งช่วยลดอาการอันไม่พึงประสงค์จากยาลงได้

แนวทางการรักษาด้วยวิธีฝังเข็ม
ฝังเข็มข้างเดียวกับอาการปวด  โดยแพทย์จีนที่ทำการรักษาเลือกใช้จุดที่อยู่ในบริเวณที่ปวดตามแขนงของเส้นประสาทที่มีปัญหา

การรักษา เส้นประสาท ใบหน้า อักเสบ

ข้อสังเกตจากประสบการณ์ มีประเด็นสำคัญ 2 ประการ ได้แก่

1) แพทย์จีนใช้เทคนิคการหาและปักจุด Ashi ซึ่งมักซ่อนอยู่ใต้โหนกแก้ม ในกรณีที่เป็นจากแขนง V2 และซ่อนอยู่บริเวณปลายคางหรือใต้คาง ในกรณีที่เป็นจากแขนง V3 ซึ่งหากจุด Ashi ถูกฝังเข็มด้วย ประสิทธิผลของการรักษาจะดีขึ้นมาก

2) การรักษาร่วมด้วยกระตุ้นเข็มด้วยไฟฟ้า โดยใช้ความถี่ที่เหมาะสม กระตุ้นนาน 30 นาที เปิดไฟกระตุ้นเบา ๆ ไม่ต้องรู้สึกหรือแค่เกือบรู้สึก พบว่าสามารถลดความเจ็บปวดได้ดีที่สุด

การฝังเข็ม 10 ครั้งนับเป็น 1 รอบการรักษา (course) รอบการรักษาที่ 1 ฝังเข็มสัปดาห์ละ 3 ครั้ง, รอบการรักษาที่ 2 ฝังเข็มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง, รอบการรักษาที่ 3 ฝังเข็มสัปดาห์ละ 1ครั้ง, บางรายอาจเสริมรอบการรักษาที่ 4 ฝังเข็มเดือนละ 2 ครั้ง จากนั้นฝังเข็มต่อเนื่อง ทุก 3 - 4 สัปดาห์ เพื่อรักษาสภาพที่ดีที่สุดไว้ โดยทำไปเรื่อย ๆ หรืออย่างน้อยประมาณ 10 เดือน

แค่ชื่อโรคก็ฟังดูน่ากลัวแล้วใช่ไหมครับ ฮ่าๆ ที่ต้องเอามาพูดวันนี้เพราะเป็นโรคที่ค่อนข้างพบได้บ่อยในคนไทยอยู่เหมือนกันครับ จึงจะมาเล่าให้ฟัง หากใครประสบอาการเหล่านี้อยู่ ก็จะได้ไม่ต้องกังวลและไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องนะครับ

 

วันนี้ ผมจะพามารู้จักโรคปวดเส้นประสาทใบหน้า หรือ ไตรเจมินอล นูรอลเจีย จากประสบการณ์ โรคนี้เป็นโรคที่ค่อนข้างพบได้บ่อยครับ โดยส่วนมากพบในเพศหญิงวัยกลางคน (ช่วงอายุ 45 – 60 ปี) มักจะมาหาหมอด้วยอาการ

 

– ปวด เจ็บแปร๊บๆ เหมือนโดนเข็มจิ้ม หรือเสียว บริเวณฟัน เหงือก และใบด้านซีกใดซีกหนึ่งโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน

– ตรวจฟันแล้วไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการปวด

– มักจะเป็นเมื่อแปรงฟัน สัมผัส ดื่มน้ำ โดนลมพัด

– จะรู้สึกปวดปานกลางถึงมาก

การรักษา เส้นประสาท ใบหน้า อักเสบ

โดยพบได้ 2 แบบครับ 1) แบบเป็นๆ หายๆ 2) แบบปวดตลอดเวลา

 

จากงานวิจัยของ Sathasivam et al (2017) ศึกษาในชาวเอเชียก็รายงานไว้เช่นกันว่าโรคนี้มักจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ประมาณ 1.5 เท่า และอายุที่พบเฉลี่ยอยู่ที่ 58.2 ปี

 

ดังนั้น โรคนี้ค่อนข้างซีเรียสมากเลยทีเดียว ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในแต่ละวัน เพราะจากปากหลายๆ คน ก็บอกว่ามันทรมานอยู่เหมือนกัน

 

“โรคนี้เกิดจากอะไร?”

ปัจจุบันสาเหตุของโรคนี้ยังคงไม่ฟันธง แต่ทฤษฎีที่ได้รับการยอมรับมาก (เนื่องจากผ่าตัด หรือรักษาแล้วอาการดีขึ้น) ได้แก่ การทำงานผิดปกติของก้านสมอง ตัวรับความรู้สึกภายในสมอง และปัญหาหลอดเลือดสมองโปร่งพองและกดทับขั้วประสาท โดยทฤษฎีหลอดเลือกสมองกดทับได้ยอมรับมากที่สุดอันดับ 1

 

“มันคืออย่างงี้ครับ”

 

เส้นประสาทของเราจะมีเยื่อหุ้มอยู่ เรียกว่า “ไมอีลินชีธ” (myelin sheath) ต้นทางของเส้นประสาทของเราก็มาจากสมองและระบบประสาทส่วนกลางไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของใบหน้า ปกติแล้วเยื่อหุ้มไมอีลินชีธของระบบประสาทส่วนกลางจะทนแรงกดได้น้อยกว่าระบบประสาทส่วนปลาย ซึ่งตอนมันจะออกจากระบบส่วนกลาง มันจะผ่านประตูเชื่อมระหว่างส่วนกลางกับส่วนปลายของระบบประสาท และเป็นจุดเปลี่ยนของไมอีลินชีธที่ต่างกันด้วย แต่ตรงประตูเชื่อมตรงนี้แหละที่ดันมีเส้นเลือดมาวกไปเวียนมาแถวๆ นี้ด้วย วันดีคืนดีเส้นเลือดตรงนี้มันโปร่งพองขึ้นมา มันก็จะไปกดตรงประตูเชื่อมส่วนกลางและส่วนปลาย ทำให้กระแสประสาททำงานผิดปกติไป

 

“แล้วรักษาอย่างไร?”

 

1. วิธีไม่ผ่าตัด – รักษาด้วยการกินยา ติดตามอาการและตรวจร่างกายเป็นประจำ เพราะพอเป็นแล้วมักไม่หายขาด จึงต้องมีการติดตามอาการประจำ หากอาการดีขึ้นก็จะลดปริมาณยาลงเรื่อยๆ จนอาการหยุดกำเริบ

2. วิธีผ่าตัด – มักจะใช้เมื่อดื้อต่อการใช้ยา กินยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นเลยถึงจะพิจารณาผ่าตัด แต่ส่วนใหญ่ทานยาแล้วก็ดีขึ้นนะครับ

ดังนั้น ใครประสบพบเจออาการเหล่านี้ ไม่ต้องตกใจและกลัวไปครับ ไปพบหมอหรือหมอฟันก็ได้ พอได้รับการรักษาแล้วอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นครับ

 

ใครอยากพัฒนานวัตกรรมรักษาผู้ป่วยแบบไม่ธรรมดา หรือจะพัฒนาเทคโนโลยี AI กับการรักษาผู้ป่วย ก็อย่าลืมมาสมัครกับพวกเรานะค้าบบบ มันส์แน่น๊อนนนน

อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามด้วยนะค้าบบบ

 

อ้างอิง:

1. Sathasivam HP, Ismail S, Ahmad AR, et al. Trigeminal neuralgia: a retrospective multicentre study of 320 Asian patients. Oral Surg Oral Med Oral Pathol Oral Radiol. 2017;123(1):51‐57. doi:10.1016/j.oooo.2016.08.005

2. Yadav, Y. R., Nishtha, Y., Sonjjay, P., Vijay, P., Shailendra, R., & Yatin, K. (2017). Trigeminal Neuralgia. Asian journal of neurosurgery, 12(4), 585–597. https://doi.org/10.4103/ajns.AJNS_67_14

เส้นประสาทใบหน้าอักเสบเกิดจากอะไร

สาเหตุของโรคปวดเส้นประสาทใบหน้าที่พบได้ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ ได้แก่ การที่เส้นเลือดที่อยู่ใกล้เคียงกับเส้นประสาทใบหน้าเคลื่อนเข้ามาใกล้เส้นประสาทมากเกินไปจนเกิดการกระแทกหรือกดทับเส้นประสาท ทำให้การทำงานของเส้นประสาทใบหน้าผิดปกติและไวต่อการกระตุ้นได้ง่ายกว่าปกติ หรือมีการอักเสบของเส้นประสาทจากโรค multiple sclerosis.

เส้นประสาทคู่ที่5อักเสบเกิดจากอะไร

อาการปวดหน้า จากเส้นประสาทคู่ที่ 5 มักพบในผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป แต่ก็พบได้บ้างในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย โดยสาเหตุเกิดจากการกดหรือระคายต่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ซึ่งซ่อนตัวอยู่ในช่องกะโหลกศีรษะ ทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสบริเวณใบหน้า อาการปวดที่เกิดขึ้นอาจมาจากเส้นเลือดแดงในช่องกะโหลกศีรษะที่อยู่ใกล้รากของเส้น ...

ปวดหน้าเป็นอะไร

โรคปวดเส้นประสาทใบหน้า (trigeminal neuralgia) เป็นโรคที่พบได้ทั้งชายและหญิง โดยเฉพาะในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การที่เส้นเลือดที่อยู่ใกล้กับเส้นประสาทใบหน้ามีการเคลื่อนที่เข้ามาใกล้เส้นประสาทมากเกินไป ทำให้เกิดการกระแทกโดนเส้นประสาท ส่งผลให้ ผู้ป่วยมีอาการปวดแปลบคล้ายไฟช็อต ...

ปลายประสาทอักเสบ หายเองได้ไหม

หากคุณเสี่ยงต่อการเกิดโรคปลายประสาทอักเสบ ควรรับการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการผิดปกติควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาทันที สามารถลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับเส้นประสาททำให้มีโอกาสหายเป็นปกติได้มากขึ้นอีกด้วย