ชนิดแห่งพาณิชยกิจ ร้านเหล้า

ผู้ประกอบการร้านอาหารหลายคนที่กำลังจะเปิดร้านอาหาร นอกเหนือจากงานทำร้าน ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้าง การตกแต่ง งานระบบ งานครัว งานบริการ ฯลฯ และอีกสารพัดงานแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ ห้าม! มองข้าม คือการ จดทะเบียนร้านอาหาร ให้เปิดขายได้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า ต้องเตรียมตัว เตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง วันนี้เราหาคำตอบมาให้แล้วครับ

การเปิดร้านอาหารต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 โดยวันนี้ขอยกรูปแบบการจดทะเบียนที่ใกล้ตัวผู้ประกอบการทุกท่านมา 2 ลักษณะ ดังนี้

1.ประเภทบุคคลธรรมดา (เจ้าของคนเดียว)

เอกสารที่ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่มีดังนี้

  • คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ หรือทพ. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกอบกิจการ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบกิจการ กรณีที่ผู้ประกอบการไม่ได้เป็นเจ้าบ้านของสถานที่ตั้งร้าน ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่
    • สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่า โดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
    • แผนที่แสดงสถานที่ตั้งร้าน และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียง
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่ได้ยื่นเรื่องเอง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • ค่าทำเนียมการจดทะเบียน 50 บาท

2.ประเภทห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล กิจการร่วมค้า (มีเจ้าของร่วม)

เอกสารที่ต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่มีดังนี้

  • คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ หรือทพ. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน
  • หนังสือหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล
  • หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้านหรือผู้ขอเลขที่บ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่า โดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม
  • แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่แลสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่ได้ยื่นเรื่องเอง)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)
  • ค่าทำเนียมการจดทะเบียน 50 บาท

 

เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว สามารถไปจดทะเบียนได้หลากหลายสถานที่ ดังนี้

กรณีร้านอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ :

(1) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

(2) ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น

กรณีต่างจังหวัด ยื่นจดทะเบียนได้ที่ : เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี

ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องไปจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ประกอบกิจการ หลังจากจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ต้องปฏิบัติดังนี้

1.ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย

2.ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ ไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียน ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ด้วย

3.หากเกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ เช่น เลิกกิจการ ใบทะเบียนพาณิชน์สูญหาย ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เปลี่ยนแปลง สูญหาย หรือชำรุด

4.ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน

5.ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการเข้าทำการตรวจสอบสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ

เข้าสู่ช่วงปลายปีอย่างเป็นทางการอีกไม่นานบรรยากาศแห่งการเฉลิมฉลองก็จะมาถึงในเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่
เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญที่คนทำร้านอาหารส่วนใหญ่หมายมั่นทำยอดขายสร้างกำไรกัน และสิ่งหนึ่งที่เกือบจะแยกกันไม่ออก
เมื่อนึกถึงช่วงเทศกาลฉลองปลายปีคือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มควบคุมตามกฎหมาย
ดังนั้นหากร้านอาหารร้านใดจะมีจำหน่ายจะต้องขออนุญาตให้ถูกต้อง เพราะหากไม่ขออนุญาตแล้วมีการตรวจพบ
ร้านอาหารร้านนั้นมีสิทธิ์ถูกสั่งปิดได้ทันที ซึ่งรายละเอียดการขออนุญาตมีอะไรบ้าง ต้องติดต่อกับหน่วยงานไหน เรามีข้อมูลมาบอก

จะขายเหล้า ขายเบียร์ ร้านต้องมีทะเบียนพาณิชย์ก่อน

สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องทำ หากต้องการให้ร้านขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้คือ การจดทะเบียนพาณิชย์
เนื่องจากการขายสุรา เบียร์ถือเป็นการประกอบกิจการพาณิชย์ประเภทหนึ่งที่ร้านบุคคลธรรมดาจะกระทำไม่ได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการ
ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ประเภทร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอที่ร้านตั้งอยู่
แต่หากการทำร้านอาหารเป็นในรูปแบบนิติบุคคลอยู่แล้วจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทก็ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ในส่วนนี้

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์

  • แบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (ทพ.) ดาวน์โหลดได้ในลิงค์นี้ : https://bit.ly/2VxaPMB
  • สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ประกอบพาณิชยกิจ (กรณีมอบอำนาจให้จดทะเบียน)
  • กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นเจ้าบ้าน ให้แสดงทะเบียนบ้านต่อนายทะเบียน เว้นแต่มิได้เป็นเจ้าบ้านต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    (1) หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ หรือ (2) สำเนาสัญญาเช่าสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
  • แผนที่แสดงสถานที่ซึ่งใช้ประกอบพาณิชยกิจ และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
    ชนิดแห่งพาณิชยกิจ ร้านเหล้า

ต้องขออนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุราให้ถูกต้อง

เนื่องจากสุรา เป็นเครื่องดื่มที่มีกฎหมายควบคุมดังนั้นการจะนำสุรา รวมถึงเบียร์มาจำหน่ายในร้านจะต้องทำการขออนุญาตตามกฎหมายกำหนด
ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลและออกใบอนุญาตได้แก่ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครขออนุญาตที่กรมสรรพสามิต
ส่วนในต่างจังหวัดขออนุญาตได้ที่สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด หรือ ยื่นขออนุญาตผ่านระบบออนไลน์ของเว็บไซต์กรมสรรพสามิต >> https://bit.ly/2ykRUtQ

โดยใบอนุญาตที่จะขอเป็นใบอนุญาตเพื่อจำหน่าย ซึ่งจะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก ต่างจากการขอใบอนุญาตผู้ผลิตและนำเข้า
แต่ก็ให้รู้กันว่า ใบอนุญาตมี 2 ประเภท เพื่อจำหน่าย และ เพื่อผลิตนำเข้า

มีสิ่งสำคัญอยู่หนึ่งข้อที่ผู้ประกอบการจะต้องรู้ไว้หากจะขอใบอนุญาตเพื่อจำหน่ายสุรา นั่นคือ สถานที่ตั้งร้านจะต้องอยู่ห่างจากสถานศึกษา ศาสนสถาน
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ เขตโซนนิ่งตามที่กฎหมายกำหนดด้วย ซึ่งตรวจสอบได้กับกรมสรรพสามิตท้องที่

เอกสารที่ต้องใช้ยื่นขออนุญาตจำหน่ายสุรา

  • แบบฟอร์มคำขออนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มสุรา แบบ สยพ.1 ดาวน์โหลดได้ในลิงค์นี้ : https://bit.ly/2AXG3CJ
  • สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนผู้ยื่นขออนุญาต
  • หนังสือยินยอมของเจ้าของสถานที่ ยินยอมให้ใช้สถานที่เป็นที่จำหน่ายเครื่องดื่มสุราพร้อมสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสถานที่
  • กรณีเป็นสถานที่เช่า ให้แนบหนังสือสัญญาเช่าสถานที่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านสถานที่เช่า
  • แผนที่ตั้งร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มสุรา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบโซนนิ่ง
  • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

เมื่อยื่นคำขออนุญาตแล้ว เจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการพิจารณาเอกสารและตรวจสอบโซนนิ่งหากทุกอย่างถูกต้องตามระเบียบก็จะออกใบอนุญาตเป็นเวลา 1 ปี
ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องขอต่อใบอนุญาตปีต่อปี

ข้อพึงระวังคือ เมื่อได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสุรามาแล้ว ประเภทของสุราที่จะจำหน่ายได้คือทุกยี่ห้อที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายในประเทศไทย จะเป็นยี่ห้อคนไทยหรือ
นำเข้ามาผ่านการเสียภาษีติดแสตมป์ถูกต้องแล้วเท่านั้น ไม่สามารถจำหน่ายสุราที่ผลิตขึ้นเองได้ และไม่ว่าทางร้านจะมีเมนูใด ๆ ที่มีส่วนผสมของสุรา
หากสุราที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้นเป็นสุราได้รับอนุญาตก็สามารถทำได้ เช่น คอกเทล เป็นต้น

ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการใดที่ประสงค์มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เหล้า เบียร์จำหน่ายในร้าน ควรดำเนินการยื่นขออนุญาตแต่เนิ่น ๆ เผื่อมีประเด็นใดติดปัญหา
จะได้มีเวลาแก้ไขทัน และอีกหนึ่งประเด็นที่จำเป็นหากร้านไหนต้องการจะมีวงดนตรีมาเล่นสด ๆ ด้วย หากร้านเปิดเกินเที่ยงคืน จะต้องยืนขออนุญาต
ประกอบกิจการสถานบริการเพราะเข้าข่ายตามกฎหมายกำหนด โดยในเขตกรุงเทพมหานครยื่นขออนุญาตที่สถานีตำรวจท้องที่ ที่สถานบริการตั้งอยู่ต่างจังหวัด
ยื่นขออนุญาตที่อำเภอท้องที่ ใช้เวลาในการพิจารณาอนุญาตประมาณ 10-15 วัน