ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ ยื่นเครื่องมีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ  โขน คือการแสดงท่ารำเต้นกับจังหวะดนตรี ประกอบด้วย ตัวละครที่เป็นยักษ์ ลิง มนุษย์ และเทวดา ผู้แสดงสวมหัวโขนไม่ร้องและเจรจาเอง แต่ปัจจุบันผู้แสดงเป็นมนุษย์กับเทวดาไม่สวมหัวโขน และเพิ่มการขับร้องประกอบการแสดงแบบละครใน


ที่มาของคำว่าโขน

       โขน เป็นมหานาฏกรรมที่มีศิลปะเป็นแบบฉบับหนึ่งของไทย ซึ่งไม่ปรากฏคำนี้แน่ชัดในจารึกหรือเอกสารยุคโบราณของไทย แต่คำว่า โขนปรากฏกล่าวไว้ในหนังสือของชาวต่างประเทศ ซึ่งกล่าวถึงศิลปะแห่งการเล่นของไทยใน รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ดูจะเป็นศิลปะการเล่นที่นิยมและยึดถือเป็นแบบแผนกันมาแล้วจึงเชื่อว่านาฏกรรมชนิดนี้น่าจะมาก่อนสมัยนั้นเป็นเวลานาน

          ส่วนทางด้านภาษานั้น คำว่า โขน อาจเป็นคำซึ่งบัญญัติใช้ขึ้นในภาษาไทย หรือยืมจากภาษาอื่น ๆ ก็ยังไม่พบหลักฐานแต่อย่างใด แต่ภายหลังได้ค้นพบหลักฐานที่อ้างอิงได้บ้างว่าจะเป็นคำที่มีรากฐานมาจากภาษาอื่น จึงมีลักษณะหรือความหมายคล้ายคลึงกับคำว่า โขน ซึ่งเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทยอย่างน้อยก็มีความหมายต่างกัน ๓ ทาง คือ

๑.  คำว่า โขละ หรือ โขล ในภาษาเบงกาลีหมายถึงเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งขึงด้วยหนังและใช้ตีได้ดี ซึ่งมีรูปร่าง

คล้ายตะโพนของไทย

๒. คำว่า โกล หรือ โกลัม ในภาษาทมิฬมีความหมายถึง การแต่งตัว หรือตกแต่งประดับประดาร่างกายผู้แสดงให้

ทราบถึงเพศว่าเป็นเครื่องแต่งกายของผู้หญิงหรือผู้ชาย

๓. คำว่า ควาน หรือ โขน ในภาษาอิหร่าน หรือเปอร์เซีย หมายถึง ผู้อ่านหรือหรือผู้ขับร้องแทนตัวตุ๊กตาหรือหุ่น

หรือหมายถึง ผู้พากย์ ผู้เจรจา แทนหรือตุ๊กตา


ที่มาของศิลปะแห่งการเล่นโขน

          โขน เป็นศิลปะการแสดงที่รวมเอาลักษณะเอกลักษณ์แห่งการแสดงที่พัฒนาการเล่นต่าง ๆ เข้ามารวมกันไว้ได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน สันนิษฐานว่ามาจากการเล่น ๓ อย่างด้วยกัน คือ

              ๑.ชักนาคนึกดำบรรพ์ การทำพิธีกรรมในเรื่องพระนารายณ์กวนน้ำอมฤตประกอบด้วยฝ่ายเทวดา อสูร วานรมีอิทธิพลทางด้านการแต่งกาย แต่งหน้าการสร้างหัวโขน การกำหนดสถานที่แสดงที่เป็นรูปแบบของโขนกลางแปลง

              ๒. หนังใหญ่ ศิลปะการแสดงที่ประกอบด้วยตัวหนังที่ทำมาจากหนังวัวแกะสลักเป็นภาพในเรื่องรามเกียรติ์ ผู้เชิดหนังจะต้องแสดงลีลาการเต้นประกอบดนตรีที่หน้าจอ โดยใช้แสงไฟฟ้าส่องจากด้านหลังจอ ทำให้เกิดเงาภาพหน้าจอหนัง มีคนพากย์ และเจรจา มีอิทธิพลต่อโขนในด้านของเรื่องที่ใช้แสดง บทพากย์เจรจา ท่าเต้น ท่าเชิด ดนตรี สถานที่แสดงที่เป็นต้นกำเนิดของการแสดงโขนหน้าจอ

              ๓.กระบี่กระบอง ศิลปะการต่อสู่ของคนไทยโบราณที่มีการหลบหลีกยั่วยุคู่ต่อสู้ด้วยการชิงไหวชิงพริบโดยใช้อาวุธทำเลียนแบบอาวุธจริง เป็นไม้ โลหะหนังสัตว์ มีทั้งอาวุธสั้น เช่น ดาบ โล่ และอาวุธยาว เช่น พลอง กระบอง หอก เป็นต้นได้ให้รูปแบบวิธีการรำใช้อาวุธ ท่าต่อสู้ กระบวนลีลา ท่ารบต่าง ๆ ในการแสดงโขนซึ่งการละเล่นทั้ง ๓ นี้ ล้วนมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งก่อนและร่วมยุคสมัยกับการแสดงโขนของไทยมาในอดีต


 รูปแบบและลักษณะของการแสดงโขน

          โขน เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย เดิมผู้แสดงโขนทุกตัวจะต้องสวมหัวโขนปิดหน้าทั้งหมด จึงต้องมีผู้ทำหน้าที่พากย์เจรจา แทนเรียกว่าคนพากย์โขน ต่อมาได้วิวัฒนาการด้านการแต่งหน้านิยมให้ตัวพระและตัวนางใช้การแต่งหน้าอย่างละครแทนการสวมหัวโขนปิดหน้าทั้งหมด แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่พูดส่งเสียงเจรจาด้วยตัวเองและที่น่าสังเกตคือ โขนจะเป็นศิลปะการแสดงที่เน้นรูปแบบของการเต้นเป็นหลัก นิยมจัดแสดงเฉพาะงานพิธีสำคัญ รูปแบบที่เป็นเฉพาะตัวอย่างหนึ่งก็คือ การแต่งกายเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ หรือที่เรียกว่าแต่งกายยืนเครื่อง มีระเบียบธรรมเนียมในการแสดงที่เคร่งครัด ดำเนินเรื่องค่อนข้างช้า


ประเภทของโขน

          ศิลปะแห่งการแสดงโขนนั้น เข้าใจว่าเดิมคงจะแสดงกันกลางสนามหญ้า จึงเรียกกันว่าโขกลางแปลง ครั้นต่อมาจึงวิวัฒนาการขึ้นโดยมีการยกพื้นทำเวที ปลูกโรงสำหรับเล่นขึ้นและพัฒนามาเป็นลำดับ ซึ่งวิวัฒนาการของโขนจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ สามารถจำแนกประเภทของการแสดงโขนออกเป็น ๕ ประเภทด้วยกัน คือ

              ๑.  โขนกลางแปลงโขนกลางแปลง คือ การแสดงโขนบนพื้นดินกลางสนามหญ้า นิยมแสดงกลางแจ้ง ไม่มีเวที เชื่อว่าในรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้จัดให้มีการแสดงโขนกลางแปลงขึ้นเนื่องในงานฉลองพระบรมอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมชนกาธิราช และมีการสันนิฐานว่า โขนกลางแปลงคงจะมีแต่การยกทัพและการรบกันเป็นพื้น พลงดนตรีก็มีแต่เพลงหน้าพาทย์ และมีบทพาทย์เจรจาเท่านั้นไม่มีการขับร้อง


ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : Google Sites

              


                ๒. โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราวโขนโรงนอกหรือโขนนั่งราวคือ โขนที่จัดแสดงบนโรงไม่มีเตียงนั่ง  แต่มีราวไม้กระบอกพาดตามส่วนยาวของโรงตรงหน้าฉากออกมามีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราวนั้น ตัวโรงมักมีหลังคากันแดดกันฝน  เมื่อตัวโขนที่เป็นตัวเอกออกมาแสดงจะนั่งบนราวไม้กระบอกแทนนั่งเตียง ปี่พาทย์ประกอบการแสดงใช้ ๒ วง  เนื่องจากต้องบรรเลงเพลงหน้าพาทย์มาก ตั้งอยู่บนหัวโรงวงหนึ่ง และท้ายโรงวงหนึ่ง การดำเนินเรื่องโดยการพากย์เจรจา ไม่มีบทขับร้อง  โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว ยังมีวิธีแสดงเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือ ในตอนบ่ายก่อนถึงวันแสดงปี่พาทย์ทั้ง  ๒ วงจะโหมโรง และเมื่อโหมโรงถึงเพลงกราวใน พวกโขนที่เล่นเป็นตัวเสนาจะออกมากระทุ้งเสา  (เส้าหรือเสาไม้) แล้วจับเรื่องแสดงตอนพระราม นางสีดา และพระลักษณ์หลงเข้าไปในสวนพะวาทองของพิราพ พิราพกลับมารู้เรื่องก็โกรธ ยกไพร่พลติดตามไป เมื่อจบตอนนี้ก็เลิกแสดง ผู้แสดงโขนต้องพักนอนเฝ้าโรงโขนคือหนึ่ง  รุ่งขึ้นจึงแสดงในชุดที่กำหนดไว้ด้วยเหตุที่ผู้แสดงโขนต้องนอนเฝ้าโรงโขนนี่เองจึงเกิดมีชื่อเรียกการแสดงโขนตอนนี้ว่า โขนนอนโรง


ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : ThaiGoodView.com



              ๓. โขนโรงในเกิดขึ้นเมื่อมีผู้นำการแสดงโขนกับละครในเข้าผสมกัน มีทั้งการแสดงออกท่ารำเต้นและการฟ้อนรำตามแบบละครในการดำเนินเรื่องมีพากย์เจรจาตามแบบโขน และมีเพลงร้องเพลงระบำตามแบบละครในผสมผสานกันไป และในตอนนี้คงเป็นตอนที่กำหนดให้ผู้แสดงดขนเป็นตัวเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ชายหญิงที่เคยสวมหัวโขนปิดหน้าทั้งหมด เปลี่ยนมาสวมเครื่องประดับศีรษะ เช่น มงกุฎ รัดเกล้า ฯลฯตามแบบละครใน โดยเฉพาะในตอนที่นิยมนำเรื่องรามเกียรติ์ไปแสดงเป็นละครใน ดังเช่น บทพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ ในรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ แสดงให้เห็นว่าโขนกับละครในคลุกเคล้าปะปนกันมาตั้งแต่สมัยนั้น ทั้งได้มีการปรับปรุงขัดเกลา บทพากย์เจรจาให้ไพเราะสละสลวยขึ้นอีก จึงทำให้ศิลปะการแสดงโขนภายในพระราชสำนักงดงามยิ่งขึ้นและภายหลังนำมาแสดงในโรงอย่างละครในจึงเรียกว่า โขนโรงใน


ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : https://thapom78.wordpress.com



              ๔. โขนหน้าจอ คือโขนที่แสดงตรงหน้าจอ ซึ่งแต่เดิมขึงไว้สำหรับแสดงหนังใหญ่ ทำด้วยผ้าโปร่งสีขาวสองข้างทั้งซ้ายและขวาเจาะช่องทำเป็นประตูสำหรับผู้แสดงเข้าออก ต่อจากประตูออกไปทางขวาของเวทีเขียนเป็นภาพพลับพลาของพระราม ทางด้านซ้ายของเวทีเป็นภาพปราสาทราชวัง สมมุติเป็นกรุงลงกาหรือเมืองยักษ์ปี่พาทย์ประกอบการแสดงใช้ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ หรือเครื่องคู่ มีพากย์เจรจาและขับร้อง ในปัจจุบันจะเป็นโขนที่แสดงตามงานต่าง ๆ เช่น ที่สนามหลวงกรุงเทพมหานคร หรือตามงานวัดทั่วไป การแสดงโขนหน้าจอนำเอาศิลปะแบบโขนโรงในไปแสดง คือ การขับร้องและการจัดระบำรำฟ้อนแทรกอยู่บางตอน เช่น ตอนศึกพรหมาสตร์ เป็นต้น


ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : https://thapom78.wordpress.com



             ๕. โขนฉาก สันนิษฐานว่า โขนฉากเกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยมีผู้คิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขนบนเวทีขึ้นคล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ผู้ที่เป็นต้นคิดนั้นเข้าใจว่าจะเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์วิธีแสดงแบ่งฉากแสดงแบบละครดึกดำบรรพ์ ใช้ศิลปะการแสดงแบบโขนโรงในมีพากย์เจรจาและขับร้อง แต่ปรับปรุงบทให้กระชับขึ้น อาจจะตัดทอนเรื่องราวลงบ้างเป็นบางตอนเพื่อให้พอเหมาะกับฉากและเวลาแสดง โขนที่กรมศิลปากรจัดแสดง ณ โรงละครแห่งชาติ เช่นท้าวมาลีราชว่าความ ชุดพาลีสอนน้อง ฯลฯ ก็เป็นการแสดงแบบโขนฉากทั้งสิ้น โขนฉากยังรวมไปถึงโขนทางโทรทัศน์อีกด้วย เพราะการแสดงโขนทางโทรทัศน์มีฉากประกอบตามท้องเรื่อง



ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : http://www.rakbankerd.com





ละคร  เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ ละคร


๑.  ละครรำแบบมาตรฐานดั้งเดิม มี ๓ ชนิด คือ

 -  ละครชาตรี  เป็นรูปแบบละครรำที่เก่าแก่ของไทยที่ได้รับการฟื้นฟูจนถึงทุกวันนี้  เรื่องของละครชาตรีมีกำเนิดมาจากเรื่องมโนราห์ ซึ่งมักหาดูได้ในงานแก้บน  ละครชาตรี แต่เดิมผู้แสดงเป็นชายล้วนมีเพียง ๓ คนเท่านั้น  ได้แก่  นายโรง  ซึ่งแสดงเป็นตัวพระ อีก๒ คน คือ ตัวนาง และตัวจำอวด  ซึ่งแสดงตลก และเป็นตัวเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่น ฤาษี  พราน  สัตว์   แต่เดิมนิยมแสดงเพียงไม่กี่เรื่อง  เช่น เรื่องมโนราห์  นายโรงจะแสดงเป็นตัวพระสุธน  ตัวนางเป็นมโนราห์  และตัวจำอวดเป็นพรานบุญ  และอีกเรื่องหนึ่งที่นิยมแสดงไม่แพ้กัน คือ เรื่องพระรถเสน  นายโรงเป็นตัวพระรถ  ตัวนางเป็น เมรี  และตัวจำอวดเป็น ม้าพระรถเสนในสมัยหลังละครชาตรี เพิ่มผู้แสดงให้มากขึ้นและใช้ผู้หญิงร่วมแสดงด้วย



ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : http://oknation.nationtv.tv


ละครนอก มีการดำเนินท้องเรื่องที่รวดเร็ว  กระชับ  สนุก   การแสดงมีชีวิตชีวา  ส่วนมากใช้ผู้ชายแสดง  และมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  เข้าใจว่าละครนอกมีวิวัฒนาการมาจากละครชาตรี เพราะมุ่งที่จะให้คนดูเกิดความขบขัน  ผู้แสดงละครนอกแต่เดิมมีผู้แสดงอยู่เพียง ๒-๓ คน  เช่นเดียวกับละครชาตรี  ละครนอกไม่คำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับยศศักดิ์และฐานะของตัวละครแต่อย่างใด  ตัวละครที่เป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ก็สามารถโต้ตอบตลกกับเสนากำนัลหรือไพร่พลได้  ละครนอกที่นิยมเล่นได้แก่เรื่อง สังข์ทอง  ไกรทอง  สุวรรณหงส์  พระอภัยมณี  เป็นต้น


ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : http://mcpswis.mcp.ac.th



ละครใน  จากรูปแบบของละครนอกที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นตัวละครในวัง  ผู้แสดงหญิงล้วน  แบบอย่างละครในนี้ได้สงวนไว้เฉพาะในวังหลวงเท่านั้น  เพราะว่าผู้ชายนั้นจะถูกห้ามให้เข้าไปในพระราชฐานชั้นใน  บริเวณตำหนักของพระมหากษัตริย์  ซึ่งจะประกอบไปด้วยดนตรีที่มีเสียงไพเราะอ่อนหวาน  ใช้บทร้อยกรองได้อย่างวิจิตรบรรจง  ทั้งดนตรีที่นำมาผสมผสานอย่างไพเราะ  รวมทั้งจะมีท่าทางสง่างาม  ไม่มีการสอดแทรกหยาบโลนหรือตลก  และอนุรักษ์วัฒนธรรมและคุณลักษณะที่เป็นประเพณีสืบทอดกันมา  เรื่องที่ใช้แสดงละครในนั้นมีอยู่ ๔ เรื่อง ได้แก่  รามเกียรติ์  อุณรุท  อิเหนา  และดาหลัง  



ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : http://guru.sanook.com



๒.  ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มี ๓ ชนิด คือ

ละครดึกดำบรรพ์  เป็นการแสดงละครแบบหนึ่งในประเภทละครรำเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เนื่องมาจากในสมัยรัชกาลที่ ๕ เจ้านายชาวต่างชาติเข้าเข้าเฝ้าอยู่หลายครั้ง จึงโปรดให้มีการละเล่นให้แขกบ้านแขกเมืองได้รับชม  โดยเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน  กุญชร) ได้คิดการแสดงในรูปแบบคอนเสิร์ตโดยเนื้อเรื่องตัดตอนมาจากวรรณคดีไทย  โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  ทรงเลือกเพลงและอำนวยการซ้อม  จึงถือว่าการแสดงในครั้งนั้นนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของละครดึกดำบรรพ์   ต่อมาภายหลังเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ได้มีโอกาสชมละครโอเปร่า จึงเกิดความชอบใจและนำปรับปรุงให้เข้ากับละครดึกดำบรรพ์ของไทย  ละครดึกดำบรรพ์ที่นิยมเล่นได้แก่เรื่อง สังข์ทอง  คาวี ฯลฯ


ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : http://guru.sanook.com



ละครพันทาง  หมายถึงละครแบบผสม  คือ  การนำเอาลีลาท่าทีของชนต่างชาติเข้ามาปรับปรุงกับท่ารำแบบไทย ๆ  การแสดงละครชนิดนี้แต่เดิมเป็นการริเริ่มของเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง  เป็นผู้คิดค้นนำเอาเรื่องของพงศาวดารของชาติต่าง ๆ มาแต่งเป็นบทละครสำหรับแสดง บทที่ใช้มักเป็นบทที่กล่าวถึงตัวละครที่มีเชื้อชาติต่าง ๆ  เช่น พม่า มอญ  จีน  ลาว  บทที่นิยมนำมาเล่นในปัจจุบันมีเรื่องพระลอและราชาธิราชตอนสมิงพระรามอาสา


ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : http://www.human.nu.ac.th


ละครเสภา  คือละครที่มีลักษณะการแสดงคล้ายละครนอก  รวมทั้งเพลงร้องนำ  ทำนองดนตรี  และการแต่งกายของตัวละคร  แต่มีข้อบังคับอยู่อย่างหนึ่งคือต้องมีขับเสภาแทรกอยู่ด้วยจึงจะเป็นละครเสภา   ละครเสภาที่นิยมเล่นกันมาก คือ ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายเพชรพลายบัวออกศึก ,พระวัยแตกทัพ ,ขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา เป็นต้น



ประเภทของนาฏศิลป์ไทย 6 ประเภท

ที่มารูป : http://www.human.nu.ac.th


๓. ละครร้อง  คือละครที่ใช้ศิลปะการร้องดำเนินเรื่อง เป็นละครแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก  แบ่งได้เป็น  ๒  ประเภท คือ

- ละครร้องล้วน ๆ 

- ละครร้องสลับพูด

๔. ละครพูด  คือละครที่ใช้ศิลปะการพูดในการดำเนินเรื่อง  เป็นละครแบบใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก  แบ่งได้เป็น ๒  ประเภท คือ

- ละครพูดล้วน ๆ

- ละครพูดสลับรำ

๕. ละครสังคีต  เป็นละครที่ใช้ศิลปะการพูดและการร้องดำเนินเรื่องเสมอกัน



 รำ และ ระบำ  เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้องโดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้ 

         รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ ๑-๒ คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา รามสูร เป็นต้น  ส่วนประเภทของการรำ การรำจะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๒ประเภท คือ   

                  

แบ่งตามลักษณะของการแสดงโขน - ละคร ได้แก่

                 ๑. การรำหน้าพาทย์ เป็นการรำประกอบเพลงแบบหนึ่ง ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า "หน้าพาทย์" ไว้ดังนี้

          "การรำหน้าพาทย์ คือ การรำตามทำนองเพลงดนตรีปี่พาทย์ บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร และอื่นๆ ผู้แสดงจะต้องเต้นหรือรำไปตามจังหวะ และทำนองเพลงที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือถือหลักการบรรเลงเป็นสำคัญ"

                 ๒. การรำบท เป็นการรำอีกประเภทหนึ่งซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายต่างๆดังนี้การรำบท คือ การแสดงท่าทางแทนคำพูดให้มีความหมายต่างไป รวมทั้งแสดงอารมณ์ด้วย หรือการแสดงท่าทางไปตามบท และไม่ใช้เสียงประกอบการพูด ฉะนั้นจึงหมายถึงการแสดงในความหมายของนาฏศิลป์ โดยใช้ภาษาท่าทางสื่อความหมาย


ประเภทที่แบ่งตามลักษณะของการรำ

               ๑.รำเดี่ยว คือ การแสดงการรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว ได้แก่ การรำฉุยฉายต่างๆ เช่น ฉุยฉายวันทอง ฉุยฉายเบญกาย เป็นต้น

               ๒.รำคู่ คือการแสดงที่นิยมใช้เบิกโรงอาจจะเกี่ยวข้องกับการแสดงหรือไม่ก็ได้ เช่น รำประเลง รำแม่บท รำอวยพร หรือเป็นการรำคู่ที่ตัดตอนมาจากการแสดงละคร เช่นพระลอตามไก่จากเรื่องพระลอ

               ๓. รำหมู่ คือ การแสดงที่ใช้ผู้แสดงมากกว่า ๒คนขึ้นไป มุ่งความงามของท่ารำ และความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เช่น รำวงมาตรฐาน รำพัด รำโคมรำสีนวล

             ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ ๒ คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น โดยประเภทของระบำเราจะจำแนกออกเป็น ๒ประเภท คือ

                ๑. ระบำมาตรฐาน เป็นระบำแบบดั้งเดิมที่มีมาแต่โบราณกาล ไม่สามารถนำมาเปลี่ยนแปลงท่ารำได้ เพราะถือว่าเป็นการร่ายรำที่เป็นแบบฉบับ บรมครูนาฏศิลป์ได้คิดประดิษฐ์ไว้ และนิยมนำมาเป็นแบบแผนในการรำที่เคร่งครัด การแต่งกายของระบำประเภทนี้ มักแต่งกายในลักษณะที่เรียกว่า "ยืนเครื่อง"

                ๒.ระบำที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เป็นลักษณะระบำที่ปรับปรุงหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของผู้แสดง และการนำไปใช้ในโอกาสต่างๆกัน จำแนกออกเป็น

                -ปรับปรุงมาจากพื้นบ้าน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นมาจากแนวทางความเป็นอยู่ของคนพื้นบ้าน การทำมาหากิน อุตสาหกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีในแต่ละท้องถิ่นออกมาในรูประบำ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของตน เช่น เซิ้งบั้งไฟ เต้นกำรำเคียว ระบำงอบ ระบำกะลา ฯลฯ

                -ปรับปรุงมาจากท่าทางของสัตว์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ตามลักษณะลีลาท่าทางของสัตว์ชนิดต่างๆ บางครั้งอาจนำมาใช้ประกอบการแสดงโขน - ละคร บางครั้งก็นำมาใช้เป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด เช่น ระบำนกยูง ระบำนกเขา ระบำมฤครำเริง ระบำตั๊กแตน ฯลฯ

                -ปรับปรุงมาจากตามเหตุการณ์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ระบำพระประทีป ระบำโคมไฟ ประดิษฐ์ขึ้นรำในวันนักขัตฤกษ์ ลอยกระทงในเดือนสิบสอง ระบำที่เกี่ยวกับการอวยพรต่างๆสำหรับเป็นการต้อนรับ และแสดงความยินดี

                -ปรับปรุงขึ้นใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ระบำประเภทนี้เป็นระบำประดิษฐ์ และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสื่อนำสู่บทเรียน เหมาะสำหรับเด็กๆ เป็นระบำง่ายๆ เพื่อเร้าความสนใจประกอบบทเรียนต่างๆ เช่น ระบำสูตรคูณ ระบำวรรณยุกต์ ระบำเลขไทย ฯลฯ 


๔. การแสดงพื้นเมืองเป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค 

ประเภทของนาฏศิลป์ไทยคืออะไร

นาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์ไทย แบ่งออกเป็น แบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1. ระบา 2. ร าา 3. การแสดงพื้นเมือง การแสดงพื้นเมือง 4. โขน 5. ละคร

นาฏศิลป์ ละครมีกี่ประเภท

ละครแบบดั้งเดิม มีอยู่สามประเภท คือ โนห์ราชาตรี ละครนอก ละครใน.
ละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ มีอยู่หกประเภท ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครเสภา ละครพูด ละครร้อง ละครสังคีต.

รํามีกี่ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง

รํา หมายถึง การแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรํา จะ มีบทร้องหรือไม่มีก็ได้ จุดมุ่งหมาย เป็นการแสดง ความสามารถในการร่ายรํา แบ่งออกเป็น 3ประเภท ดังนี้ 1. รําเดี่ยว 2. รําคู่ 3. รําหมู่

รำของไทยมีอะไรบ้าง

รํา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) รำเดี่ยว หมายถึง การรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงคนเดียว เช่น รำฉุยฉาย รำพลายชุมพล รำมโนราห์บูชายัญ เป็นต้น 2) รำคู่ หมายถึง การรำที่ใช้ผู้แสดง 2 คน การรำคู่ แบ่งลักษณะการรำออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 2.1 รำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ เช่น กระบี่กระบอง ดาบสองมือ โล่ เขน ดั้ง ทวน เป็นต้น