ตัวแปร ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ

ตัวแปร หมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของเฉพาะของสิ่งที่ได้จากการสังเกต วัด สอบถามจากหน่วยที่ศึกษาที่มีค่าได้หลายค่าและเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ได้ เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ ตำแหน่งงาน เป็นต้น

เมื่อหน่วยศึกษาแตกต่างกัน ข้อมูลที่ได้ก็แตกต่างกันออกไป  เช่น ตัวแปร คือ อายุ ข้อมูลที่ได้จากหน่วยที่ศึกษาอาจมีอายุเป็น 18, 20, 30 เป็นต้น หรือ ตัวแปรคือระดับการศึกษา ข้อมูลที่ได้จากหน่วยศึกษาอาจเป็นระดับมัธยมศึกษา  ปริญญาตรี  ปริญญาโท เป็นต้น หากหน่วยที่ได้ศึกษาใดก็ตามให้ข้อมูลเหมือนกันหมดหรืออย่างเดียวจะไม่เรียกหน่วยศึกษานั้นว่าตัวแปร เช่น ความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานเท่ากันหมด ความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ไม่จัดว่าเป็นตัวแปร เป็นต้น  สำหรับตัวแปรทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องความคิดเห็น  ความพึงพอใจ  การมีส่วนร่วม เป็นต้น

ประเภทของตัวแปร

                โดยทั่วไปตัวแปรจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ตัวแปรเชิงคุณภาพ (Qualitative Variable)

2. ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variable)

ตัวแปรเชิงปริมาณ คือตัวแปรที่ประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นตัวเลข เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมสามารถวัดข้อมูลสามารถแสดงออกมาในรูปสถิติได้ ใช้แทนขนาดหรือปริมาณ เช่น อายุ ประกอบด้วยอายุต่าง ๆ หน่วยเป็นปี เป็นต้น

ตัวแปรเชิงคุณภาพ หรืออาจเรียกว่าตัวแปรเชิงกลุ่ม คือ ตัวแปรที่ประกอบด้วยข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ เช่น เพศ อายุ รายได้ เชื้อชาติ ความคิดเห็น เจตคติ ความคิดเห็น การมีส่วนร่วม ความเป็นผู้นำ ทัศนคติ ตัวอย่าง เพศ จะประกอบด้วยเพศต่าง ๆ ไม่มีหน่วยวัด แต่สามารถแทนค่าเป็นตัวเลขได้โดยไม่สามารถนำมาคำนวณแทนได้ เช่น เพศชายให้แทนค่าเป็นหมายเลข 1 เพศหญิงให้แทนค่าเป็นหมายเลข 2 เป็นต้น เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นนามธรรม

ลักษณะและชนิดของตัวแปร

          ในการวิจัยผู้วิจัยจำเป็นต้องจำแนกตัวแปรตามการวิเคราะห์ว่าตัวแปรทั้งหมดกี่ตัว มีอะไรบ้าง และเป็นตัวแปรชนิดใดบ้าง ซึ่งสามารถจำแนกตัวแปรได้ ดังนี้

          1. ตัวแปรต้นหรือ ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) คือตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อนหรือเป็นตัวแปรที่เป็นเหตุ ทำให้เกิดผลตามมา

          2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือตัวแปรที่เกิดขึ้นเนื่องจากตัวแปรต้น หรือเป็นตัวแปรผล อันเกิดจากเหตุ

                ตัวอย่างของตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม  เช่น การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้นำท้องถิ่น

                ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย

                                 1) เพศ มี 1 เพศ   คือ  เพศชาย     เพศหญิง

                                 2) ตำแหน่ง มี 3 ตำแหน่ง  คือ  นายก อบต.  ประธานสภา อบต.   ส.อบต.

                ตัวแปรตาม ประกอบด้วย

                                 1)    พฤติกรรมด้านการเสียสละ

                                 2)   พฤติกรรมด้านการมีวินัย

                                 3)   พฤติกรรมด้านความขยันหมั่นเพียร

  4)   พฤติกรรมด้านความซื่อสัตย์

                                 5)   พฤติกรรมด้านความมีน้ำใจนักกีฬา

                                 6)    พฤติกรรมด้านการให้ความร่วมมือ

                                 7)   พฤติกรรมด้านการรู้จักช่วยตนเอง

               ตัวอย่างการวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบการมีวินัยแห่งตนและผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมผู้นำ ของ ส.อบต.ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวิธีการอบรมแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับการอบรมแบบบรรยาย

ตัวแปรต้น คือ วิธีการอบรม ซึ่งมี 1 วิธี คือ

1)    วิธีอบรมแบบกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์

2)   วิธีอบรมแบบบรรยาย

ตัวแปรตาม คือ

1)    ผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมผู้นำ

2)   ความมีวินัยแห่งตน

          3. ตัวแปรควบคุม (Control Variable) เป็นตัวแปร คือ  ตัวแปรที่เราต้องจัดให้เหมือนกันทั้งหมดในชุดทดลอง

          4. ตัวแปรแทรกซ้อนหรือเรียกว่าตัวแปรเกิน (Extraneous Variable) เป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการศึกษาของงานวิจัยเรื่อง หนึ่ง ๆ ในขณะนั้น  มีลักษณะเหมือนตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกซ้อนนี้จะส่งผลมารบกวนตัวแปรอิสระที่ศึกษา ทำให้ผลการวัดค่าตัวแปรคลาดเคลื่อนไปได้ ตัวแปรชนิดนี้จึงต้องทำการควบคุมให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ตัวแปรชนิดนี้ผู้วิจัยคาดการณ์ได้ว่าจะมีอะไรบ้าง จึงสามารถทำการควบคุมได้ล่วงหน้า ตัวอย่างเช่น ในการทดลองการอบรมที่กล่าวมาแล้ว เพื่อจะศึกษาว่า ผู้นำจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมแตกต่างกันหรือไม่ สิ่งที่เป็นตัวแปรแทรกซ้อนจะได้แก่ วิทยากร ถ้าใช้วิทยากรคนละคนอาจจะมีผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมของผู้นำต่างกันได้ ดังนั้นจึงต้องควบคุมโดยใช้วิทยากรคนเดียวกัน นอกจากนั้น พื้นฐานของผู้เข้าอบรม  ทัศนคติและความสนใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อวิธีการอบรมกระบวนการวิชาที่ใช้อบรม เพศของผู้เข้าอบรม  เป็นต้น   สิ่งเหล่านี้เป็นตัวแปรแทรกซ้อน  ผู้วิจัยต้องทำการควบคุมตัวแปรเหล่านี้ให้เกิดมีขึ้นน้อยที่สุด  เพื่อให้ตัวแปรตามที่วัด เกิดจากการกระทำของตัวแปรอิสระแต่เพียงอย่างเดียว ผลการวิจัยจึงจะถูกต้องมากที่สุด

ตัวอย่างเรื่อง ตัวแปร

ตัวอย่างที่ 1  เด็กชายบอยต้องการศึกษาว่าดินต่างชนิดกันมีผลต่อความสูงของต้นพืชหรือไม่

               ทำการทดลองโดยปลูกต้นถั่วเขียว ลงในกระถางที่มีขนาดเท่าๆกัน โดยกระถางแต่ละใบใส่ดิน 3 ชนิด คือ     ดินเหนียว ดินร่วน ดินทราย          รดน้ำปกติ ทำการทดลองเป็นเวลาสามสัปดาห์

ตัวแปร ในงานวิจัยเชิงคุณภาพ

          ตัวแปรต้น คือ ชนิดของดินที่เราใช้ปลูกต้นถั่วเขียวนั่นเอง (เปลี่ยนชนิดของดิน เพื่อดูความสูงของต้นถั่วเขียวว่าเหมือนกันหรือไม่)

ตัวแปรตาม คือ ความสูงของต้นถั่วเขียว (เป็นผลของการทดลอง เป็นสิ่งที่เราต้องเก็บค่า)

ตัวแปรควบคุม คือ พันธุ์ของถั่วเขียวที่ปลูก, ปริมาณน้ำที่รด, ปริมาณแสง, ขนาดกระถาง เป็นต้น (เป็นสิ่งที่เราต้องทำให้เหมือนกัน เป็นสิ่งที่เราต้องควบคุม เพราะส่งผลต่อการทดลอง สมมติว่าถ้ากระถางหนึ่งรดน้ำ อีกกระถางหนึ่งไม่ได้รด ก็อาจทำให้ความสูงของต้นถั่วเขียวแตกต่างกันก็ได้ )

ตัวอย่างที่ 2  การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6

ตัวแปรต้น คือ แบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำ

ตัวแปรตาม คือ  ความสามารถในการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว 

ตัวแปรควบคุม คือ พื้นฐานของนักเรียนประถมศึกษาปีที่  6

ตัวอย่างที่ 3  การสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนราชวินิต ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่หน้าศูนย์ปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โดยใช้สื่อป้ายนิเทศแบบอินโฟกราฟฟิก

           ตัวแปรต้น คือ สื่อป้ายนิเทศแบบอินโฟกราฟฟิก

ตัวแปรตาม คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนราชวินิต

ตัวแปรควบคุม คือ ทัศนคติความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียน

ตัวอย่างที่ 4 ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ไม่ดีที่มีอิทธิพลต่อลักษณะของการประกอบอาชีพในสังคมของคนชนบท

           ตัวแปรต้น คือ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี

ตัวแปรตาม คือ ลักษณะของการประกอบอาชีพในสังคมของคนชนบท

ตัวแปรควบคุม คือ เจตคติของคนที่อยู่ในสังคมชนบท

ตัวอย่างที่ 5 การสำรวจความคิดเห็นเรื่อง นักเรียนที่ผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีพฤติกรรมความเป็นผู้นำแตกต่างกัน

          ตัวแปรต้น คือ นักเรียนที่ผู้ปกครองรับราชการ และนักเรียนที่ผู้ปกครองประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมความเป็นผู้นำ

ตัวแปรควบคุม คือ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องความมีผู้นำของนักเรียน, การปลูกฝังทัศนะคติของนักเรียนจากทางบ้าน

ตัวแปรในงานวิจัยคืออะไร

ตัวแปร (variable) คือ คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของหน่วยตัวอย่างที่สามารถแปรค่าหรือแปรเปลี่ยนได้ตามคุณสมบัติของมันหรือตามค่าที่ผู้วิจัยกำหนด เช่น เพศ แปรได้เป็น 2 ค่าคือ เพศชาย และเพศหญิง อายุ แปรได้ตั้งแต่อายุแรกเกิด 1, 2, ....

ตัวแปรเชิงคุณภาพ มีอะไรบ้าง

ตัวแปรที่ไม่ใช่ตัวเลข แต่เป็นตัวแปรที่ข้อมูลมีลักษณะเป็นการแบ่งประเภทให้เห็นถึงความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม เรียกว่า "ตัวแปรเชิงคุณภาพ" (Categorical or Qualitative) เช่น ศาสนา, อาชีพ, สถานภาพสมรส, ระดับการศึกษา ฯลฯ และจากตารางข้างต้น ตัวแปรเพศ, ชั้นปี และวิชาเอก ล้วนแล้วคือตัวแปรเชิงคุณภาพทั้งสิ้น

ตัวแปรการวิจัย มีกี่ประเภท

นักวิจัยหลายท่านได้จัดแบ่งประเภทของตัวแปรไว้หลายประเภท ในที่นี้จะกล่าวถึงตัวแปรสอง ประเภทที่นิยมใช้ในการวิจัย คือ ตัวแปรต้น (Independent Variables) และตัวแปรตาม (Dependent Variables)

ตัวแปร 3 ประเภทมีอะไรบ้าง

1. ตัวแปรอิสระ : ตัวแปรต้น 2. ตัวแปรตาม : ตัวแปรที่เกิดขึ้น 3. ตัวแปรแทรกซ้อน : ตัวแปรที่ไม่มุ่งศึกษา 4. ตัวแปรสอดแทรก : ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรแทรกซ้อน ตัวแปรตาม